ไม่พึงยึดถือสังขาร อะไร ๆ ว่าของเราในโลก.

 
pirmsombat
วันที่  9 เม.ย. 2554
หมายเลข  18165
อ่าน  1,323

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 313[๗๓๒] ภิกษุไม่พึงเป็นผู้โลเลด้วยจักษุทั้งหลาย

พึงป้องกันหูจากคามกถา

ไม่พึงติดใจในรส

ไม่พึงยึดถือสังขารอะไรๆ ว่าของเราในโลก.

โปรดอ่าน

"ไม่พึงเป็นผู้โลเลด้วยจักษุ"

"ดิรัจฉานคามกถา"

"ไม่พึงติดใจในรส"

"ไม่พึงยึดถือสังขารอะไรๆ ว่าของเราในโลก"

หน้า 313 ถีง 318

หรือ ที่ความคิดเห็นที่ 3 ครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 11 เม.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น พระธรรม อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว ไม่ใช่เป็นเรื่องสั่ง ไม่ใช่เป็นเรื่องบังคับ ความจริงเป็นอย่างไร คุณประโยชน์ของกุศลธรรม เป็นอย่างไร โทษของกุศลธรรมเป็นอย่างไร พระองค์ก็ทรงแสดงไปตามความเป็นจริงอย่างนั้น เพื่อประโยชน์สำหรับผู้ที่ได้ฟังได้ศึกษาพิจารณาไตร่ตรองตาม จะได้เข้าใจตามความเป็นจริง เป็นไปเพื่อความเจริญขึ้นของกุศลธรรม ละคลายกุศลในชีวิตประจำวันเพราะ กุศลนำมาซึ่งทุกข์ ไม่เคยนำประโยชน์ใดๆ มาให้เลย เมื่อมีความเข้าใจมากขึ้น ความสำรวม คือ ขณะที่จิตเป็นกุศล ก็จะเกิดขึ้น แทนที่จะไหลไปด้วยอำนาจของกุศลทั้งทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และ ทางใจ ไม่ว่าจะประสบกับอารมณ์ประเภทใด ก็ตาม สำคัญที่สุด คือ การฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม สะสมความเข้าใจไปตามลำดับ ความเข้าใจถูก จะเป็นเครื่องปรุงแต่งให้มีการอารักขา คือ การรักษาไม่ให้จิตเป็นกุศล ครับ ...ขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณหมอ ครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 12 เม.ย. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
pirmsombat
วันที่ 12 เม.ย. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาทุกท่านครับ

ผมอ่านแล้วรู้สึกว่าถ้าทำตามได้มากเท่าใด กิเลสก็จะะลดลงมากเท่านั้น

และความทุกข์ลดลง ความสุขความสบายเพี่มมากขึ้นเท่านั้น

ว่าด้วยผู้โลเลด้วยจักษุ

[๗๓๓] คำว่า ภิกษุไม่พึงเป็นผู้โลเลด้วยจักษุทั้งหลาย ความว่า

ภิกษุเป็นผู้โลเลด้วยจักษุอย่างไร? ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้

โลเลด้วยจักษุ ประกอบด้วยความเป็นผู้โลเลด้วยจักษุคิดว่า รูปที่ยังไม่

เคยดูเราควรดู รูปที่เคยดูเราควรผ่านไป ดังนี้ เป็นผู้ประกอบเนืองๆ

ซึ่งความเที่ยวไปนาน ซึ่งความเที่ยวไปไม่แน่นอน สู่อารามแต่อาราม

สู่สวนแต่สวน สู่บ้านแต่บ้าน สู่นิคมแต่นิคม สู่นครแต่นคร สู่แว่นแคว้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 314

แต่แว่นแคว้น สู่ชนบทแต่ชนบท เพื่อจะดูรูป ภิกษุเป็นผู้โลเลด้วยจักษุ

แม้อย่างนี้.

อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเข้าไปสู่ละแวกบ้าน เดินไปตามถนนเป็นผู้ไม่

สำรวม เดินไป คือแลดูช้าง แลดูม้า แลดูรถ แลดูพลเดินเท้า แลดู

สตรี แลดูบุรุษ แลดูกุมาร แลดูกุมารี แลดูร้านตลาด แลดูหน้ามุข

เรือน แลดูข้างบน แลดูข้างล่าง แลดูทิศน้อย ทิศใหญ่ เดินไป ภิกษุ

เป็นผู้โลเลด้วยจักษุ แม้อย่างนี้.

อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเห็นรูปด้วย จักษุแล้ว เป็นผู้ถือนิมิต เป็นผู้ถือ

อนุพยัญชนะ. ย่อมไม่ปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว

จะพึงเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น

ย่อมไม่รักษาจักขุนทรีย์ ย่อมไม่ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ภิกษุเป็นผู้

โลเลด้วยจักษุ แม้อย่างนี้.

อนึ่ง ท่านสมณพราหมณ์บางพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธา

แล้ว ย่อมขวนขวายดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศลเห็นปานนี้ คือการฟ้อน

การขับ การประโคม มหรสพมีการรำเป็นต้น การเล่านิยาย เพลงปรบ-

มือ ฆ้อง ระนาด หนัง เพลงขอทาน เล่นไต่ราว การเล่นหน้าศพ

ชนช้าง แข็งม้า ชนกระบือ ชนโค ชนแพะ ชนแกะ ชนไก่ ชน

นกกระทา รำกระบี่กระบอง ชกมวย มวยปล้ำ การรบ การตรวจพล

การจัดกระบวนทัพ กองทัพ ฉันใด ภิกษุเป็นผู้โลเลด้วยจักษุ แม้

ฉันนั้น.

ภิกษุไม่เป็นผู้โลเลด้วยจักษุอย่างไร? ภิกษุในธรรมวินัยนี้เข้าไป

สู่ละแวกบ้าน เดินไปตามถนน เป็นผู้สำรวมเดินไป ไม่แลดูช้าง ไม่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 315

แลดูม้า ไม่แลดูรถ ไม่แลดูคนเดินเท้า ไม่แลดูสตรี ไม่แลดูบุรุษ ไม่

แลดูกุมาร ไม่แลดูกุมารี ไม่แลดูร้านตลาด ไม่แลดูหน้ามุขเรือน ไม่

แลดูข้างบน ไม่แลดูข้างล่าง ไม่แลดูทิศน้อยทิศใหญ่ เดินไป ภิกษุไม่

เป็นผู้โลเลด้วยจักษุ แม้อย่างนี้.

อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถือ

อนุพยัญชนะ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่ไม่สำรวมแล้วจะเป็น

เหตุให้อกุศลธรรมลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ย่อมรักษา

จักขุนทรีย์ ย่อมถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ภิกษุไม่เป็นผู้โลเลด้วย

จักษุ แม้อย่างนี้.

อนึ่ง ท่านสมณพราหมณ์บางพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธา

แล้ว ย่อมขวนขวายดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศลเห็นปานนี้ คือการฟ้อน

การขับ การประโคม มหรสพมีการรำเป็นต้น การเล่านิยาย ฯลฯ

กองทัพ ฉันใด ภิกษุเป็นผู้เว้นขาดจากการขวนขวายในการดูการเล่นอัน

เป็นข้าศึกแก่กุศลเห็นปานนี้ ภิกษุเป็นผู้ไม่โลเลด้วยจักษุ แม้อย่างนี้.

คำว่า ไม่พึงเป็นผู้โลเลด้วยจักษุ ความว่า พึงละ บรรเทา ทำ

ให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งความเป็นผู้โลเลด้วยจักษุ คือเป็นผู้งดเว้น

เว้นขาด ออกไป สลัดออกไป หลุดพ้นไม่เกี่ยวข้อง ด้วยความเป็นผู้

โลเลด้วยจักษุ เป็นผู้มีจิตปราศจากแดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า

ไม่พึงเป็นผู้โลเลด้วยจักษุ.

ว่าด้วยติรัจฉานกถา

[๗๓๔] ติรัจฉานกถา ๓๒ ประการ คือเรื่องพระราชา เรื่องโจร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 316

เรื่องมหาอำมาตย์ เรื่องภัย เรื่องรบ เรื่องข้าว เรื่องน้ำ เรื่องยาน เรื่อง

ที่นอน เรื่องดอกไม้ เรื่องของหอม เรื่องญาติ เรื่องบ้าน เรื่องนิคม

เรื่องนคร เรื่องชนบท เรื่องสตรี เรื่องบุรุษ เรื่องคนกล้า เรื่องตรอก

เรื่องท่าน้ำ เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้ว เรื่องเบ็ดเตล็ด เรื่องโลก เรื่อง

ทะเล เรื่องความเจริญและความเสื่อม ด้วยประการนั้น เรียกว่า คามกถา

ในคำว่า พึงป้องกันหูจากคามกถา เพราะฉะนั้น จ่งชื่อว่า จากคามกถา.

คำว่า พึงป้องกันหู คือพึงป้องกัน ห้าม สกัดกั้น รักษา คุ้มครอง

ปิด ตัดขาด ซึ่งหู จากคามกถา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงป้องกันหูจาก

คามกถา.

ว่าด้วยรสต่างๆ

[๗๓๕] ชื่อว่า รส ในคำว่า ไม่พึงติดใจในรส ได้แก่รสที่ราก

รสที่ลำต้น รสที่เปลือก รสที่ใบ รสที่ดอก รสที่ผล รสเปรี้ยว รส

หวาน รสขม รสเผ็ดร้อน รสเค็ม รสปร่า รสเฝื่อน รสฝาด รสอร่อย

รสไม่อร่อย รสเย็น รสร้อน มีสมณพราหมณ์บางพวก ติดใจในรส

เที่ยวแสวงหารสอันเลิศด้วยปลายลิ้น ได้รสเปรี้ยวแล้วก็แสวงหารสไม่

เปรี้ยว ได้รสไม่เปรี้ยวแล้วก็แสงหารสเปรี้ยว ฯลฯ ได้รสเย็นแล้วก็

แสวงหารสร้อน ได้รสร้อนแล้วก็แสวงหารสเย็น สมณพราหมณ์เหล่านั้น

ได้รสใดๆ แล้ว ย่อมไม่พอใจด้วยรสนั้นๆ ย่อมเที่ยวแสวงหารสอื่นๆ

เป็นผู้กำหนัด ปรารถนา ยินดี ติดใจ หลงใหล เกี่ยวข้อง พัวพัน

ในรสที่ชอบใจ ความอยากในรสนั้น อันภิกษุใดละ ตัดขาด ฯลฯ เผา

เสียแล้วด้วยไฟคือญาณ ภิกษุนั้นพิจารณาด้วยปัญญาแล้ว ย่อมฉันอาหาร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 317

ไม่ฉันเพื่อเล่น ไม่ฉันเพื่อเมา ไม่ฉันเพื่อตบแต่ง ไม่ฉันเพื่อประดับ

ฉันเพื่อดำรงอยู่แห่งกายนี้ เพื่อให้กายนี้เป็นไป เพื่อกำจัดความลำบาก

เพื่อความอนุเคราะห์แก่พรหมจรรย์ อย่างเดียวเท่านั้น ฯลฯ ความอยู่

สบายของเราจักมีด้วยอุบายดังนี้ บุคคลทาแผลเพื่อให้แผลหาย หยอด

น้ำมันเพลาเกวียนเพื่อจะขนภาระ กินเนื้อบุตรเพื่อจะออกจากทางกันดาร

อย่างเดียวเท่านั้น ฉันใด ภิกษุพิจารณาด้วยปัญญาแล้ว จึงฉันอาหาร

ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่ฉันเพื่อเล่น ฯลฯ ความไม่มีโทษและความอยู่

สบายจักมีด้วยอุบายดังนี้ ภิกษุพึงละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความ

ไม่มี ซึ่งความอยากในรส คือเป็นผู้งด เว้น เว้นขาด ออก สละ

พ้นไป ไม่เกี่ยวข้อง ด้วยความอยากในรส พึงเป็นผู้มีจิตปราศจากแดน

กิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึงติดใจในรส.

ว่าด้วยความถือว่าของเรา

[๗๓๖] ชื่อว่า ความถือว่าของเรา ในคำว่า ไม่พึงถือสังขาร

อะไรๆ ว่าของเราในโลก ได้แก่ความถือ ๒ อย่าง คือความถือว่าของ

เราด้วยตัณหา ๑ ความถือว่าของเราด้วย ทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่าความ

ถือว่าของเราด้วยตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความถือว่าของเราด้วยทิฏฐิ ภิกษุ

ละความถือว่าของเราด้วยตัณหา สละคืนความถือว่าของเราด้วยทิฏฐิแล้ว

ไม่ถือ ไม่จับ ไม่ยึดถือ ไม่ถือมั่นจักษุว่าของเรา ไม่ถือ ไม่จับ ไม่ยึดถือ

ไม่ถือมั่น หู จมูก ลิ้น กาย รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ สกุล

คณะ อาวาส ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ

คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร กามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ กามภพ รูปภพ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 318

อรูปภพ สัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ เอกโวการภพ

จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ อดีต อนาคต ปัจจุบัน รูปที่เห็น เสียง

ที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ว่าของเรา. คำว่า สังขาร

อะไรๆ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อะไรๆ . คำว่า

ในโลก คือ ในอบายโลก ฯลฯ อายตนโลก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า

ไม่พึงถือสังขารอะไรๆ ว่าของเราในโลก เพราะเหตุนั้น

พระผู้มีพระ-ภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า

ภิกษุไม่พึงเป็นผู้โลเลด้วยจักษุทั้งหลาย พึงป้องกันหู

จากคามกถา ไม่พึงติดใจในรส ไม่พึงถือสังขารอะไรๆ

ว่าของเราในโลก.

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
wannee.s
วันที่ 13 เม.ย. 2554

พระพุทธเจ้่าทรงแสดงธรรมให้ภิกษุ อบรมปัญญาเป็นเครื่องคุ้มครองทวารทั้้งหลาย

ไม่ประมาท สำรวมระวัง มีปัญญารักษาตนค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ