ด้วยบุคคล ๔ จำพวก ที่ ๔ [ฉวาลาตสูตร]

 
เมตตา
วันที่  10 เม.ย. 2554
หมายเลข  18169
อ่าน  1,623

[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ ๒๗๐

๕. ฉวาลาตสูตร

ว่าด้วยบุคคล ๔ จำพวก ที่ ๔

[๙๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ ฯลฯ คือบุคคลไม่ปฏิบัติ เพื่อประโยชน์ตน และไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่นพวก ๑ บุคคลปฏิบัติเพื่อประโยชน์ ผู้อื่น แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนพวก ๑ บุคคลปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน แต่ไม่ ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่นพวก ๑ บุคคลปฏิบัติทั้งเพื่อประโยชน์ตน ทั้งเพื่อ ประโยชน์ผู้อื่นพวก ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดุ้นฟืนเผาศพ ที่ไฟไหม้ปลาย ๒ ข้างตรงกลางก็เปื้อนคูถ ย่อมไม่สำเร็จประโยชน์ที่จะใช้เป็นเครื่องไม้ในบ้านในป่า ฉันใด เรากล่าวบุคคลผู้ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่นนี้ ว่า มีอุปมาฉันนั้น ในบุคคล ๒ พวก (ข้างต้น) บุคคล (ที่ ๒) ผู้ปฏิบัติ เพื่อประโยชน์ผู้อื่น แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ดีกว่าประณีตกว่า ในบุคคล ๓ พวก (ข้างต้น) บุคคล (ที่ ๓) ผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนแต่ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ดีกว่าประณีตกว่า ในบุคคลทั้ง ๔ พวก บุคคล (ที่ ๔) ผู้ปฏิบัติทั้งเพื่อประโยชน์ ตนทั้งเพื่อประโยชน์ผู้อื่น เป็นผู้เลิศ เป็นผู้ประเสริฐสุด เป็นประธานเป็นผู้อุดม เป็นผู้ สูงสุดเปรียบเหมือนน้ำนมโค นมส้มดีกว่าน้ำนม เนยข้นดีกว่านมส้ม เนยใส ดีกว่า เนยข้น ยอดเนยใส (สัปปิมัณฑะ) ดีกว่า เนยใสทั้งหมดนั้น ยอดเนยใส (สัปปิ มัณฑะ) นับว่าเป็นเลิศฉันใด ในบุคคลทั้ง ๔ จำพวก บุคคลจำพวกที่ ๔ ผู้ ปฏิบัติทั้งเพื่อประโยชน์ตน ทั้งเพื่อประโยชน์ผู้อื่นเป็นเลิศ เป็นประธาน เป็นผู้อุดม เป็นผู้สูงสุด ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย นี้แล บุคคล ๔ จำพวก มีปรากฏอยู่ ในโลก.

จบฉวาลาตสูตรที่

อรรถกถาฉวาลาตสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในฉวาลาตสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ฉวาลาตํ ได้แก่ ดุ้นฟืนเผาศพในป่าช้า.

บทว่า มชฺเฌคูถคตํ ได้แก่ ตรง กลางก็เปื้อนคูถ.

บทว่า เนว คาเม กฏตฺถํ ผรติ ความว่า ไม่สำเร็จประโยชน์ที่จะใช้ เป็นเครื่องไม้ในบ้าน เพราะไม่ควรนำเข้าไปเพื่อประโยชน์แก่ทัพสัมภาระมี อกไก่ ไม้ กลอนหลังคา เสาและบันได เป็นต้น ไม่สำเร็จประโยชน์ที่จะใช้เป็นเครื่องไม้ใน ป่าเพราะไม่ควรนำเข้าไปทำขาค้ำกระท่อมในนา หรือขาเตียง เมื่อจับที่ปลายทั้งสองก็ ย่อมไหม้มือ เมื่อจับที่ตรงกลาง ก็เปื้อนคูถ.

บทว่า ตถูปมํ ความว่า บุคคลนั้นก็เหมาะสม กัน.

บทว่า อภิกฺกนฺตตโร คือ ดีกว่า. บทว่า ปณีตตโร คือสูงุสุดกว่า.

บทว่า ควา ขีรํ ได้แก่ น้ำมันแต่แม่โค.

ในบทว่า ขีรมฺหาทธิ เป็นต้น ความว่า แต่ละ อย่าง เป็นของเลิศกว่าก่อนๆ ส่วนสัปปิมัณฑะ หัวเนยใสเป็นยอดเยี่ยมในน้ำมัน เป็นต้น เหล่านั้น แม้ทั้งปวง.

ในบทว่า อคฺโค เป็นต้น พึงทราบว่าเป็นผู้เลิศประเสริฐเป็น ประมุขสูงสุดและล้ำเลิศ ด้วยคุณทั้งหลาย บุคคลผู้ทุศีลตรัสเปรียบด้วยดุ้นฟืนเผา ศพ แต่พึงทราบว่าตรัสบุคคลผู้มีสุตะน้อย ผู้ละเลยการงานเปรียบด้วยโคดังนี้.

จบอรรถกถาฉวาลาตสูตรที่ ๕


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
chatchai.k
วันที่ 6 เม.ย. 2564

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ