เรียนถามเรื่องการเจริญสติ

 
icenakub
วันที่  12 เม.ย. 2554
หมายเลข  18194
อ่าน  1,704

ผมได้มีโอกาสฟังเรื่อง สติปัฏฐาน แผ่นที่ 1 และ แผ่นที่ 2 ถึงเรื่องของ เวทนาบรรพ ก็ได้เข้าใจในเรื่องของการเจริญสติว่าการเจริญสตินั้น ไม่ใช่การระลึกรู้แค่บางรูปหรือ บางนาม แต่เป็นการรู้รูปหรือนามใดก็ตามที่สติระลึกขึ้นรู้ ซึ่งสิ่งที่รู้นั้นก็คือสิ่งที่เป็นรูป หรือนาม ในแต่ละลักษณะของรูปหรือนามนั้นๆ โดยค่อยๆ เข้าใจในทีละลักษณะไป เรื่อยๆ ไม่บังคับ ไม่เพ่งดู ไม่จดจ้องและ ผมก็ได้เข้าใจว่า อาณาปาณสติสมาธิ กับ อาณาปาณสติใน สติปัฏฐานนั้นต่างกัน วัตถุประสงค์ของการเจริญก็ต่างกัน อานา- ปาณสติสมาธินั้นเพื่อความสงบเป็นกุศลอย่างหนึ่ง แต่ว่าไม่ใช่กุศลที่เป็นไปเพื่อการ หลุดพ้นแต่ในอาณาปาณสติของสติปัฏฐานนั้นก็คือการระลึกรู้ลมหายใจที่มีเป็นปกติ สั้น ยาว ในส่วนของกาย ถ้าเราเจริญอาณาปาณสติสมาธิเป็นปรกติอยู่แล้วก็ระลึกรู้ตาม ปกติไป แต่ถ้าสมมติเราไม่ได้เจริญเป็นปรกติ ก็ไม่ต้องไปสร้างขึ้นมา เช่นบังคับตัวเอง ให้ไปนั่งดูเฉพาะลมหายใจ นี่คือสิ่งที่ผมเข้าใจครับ

เรื่องของการรู้รูป ก็คือรูปใน 28 รูปที่ได้ยินบ่อยๆ ว่าอาจารย์กล่าวถึง แต่ผมก็ยังไม่รู้ว่า ทั้ง 28 รูปนั้นมีอะไรบ้าง แต่ที่ ได้ยินจากซีดีก็จะเป็น สี เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ตึง ไหว ซึ่งเหล่านี้คือสิ่งที่ผมพอเข้าใจได้ เพราะว่าเป็นชีวิตปรกติ ทั้ง วันต้องเจอกัสิ่งเหล่านี้อยู่แล้วตลอดๆ ทั้งตอนเดินก็เห็นการไหวของเท้า ความแข็งของ พื้น ตาเห็นสิ่งนั้นสิ่งนี้เช่นสีของอาหาร เวลาทานอาหารก็รู้สึกถึงรส เวลาอาบน้ำก็เจอ ผมเวลาสระผมพอสัมผัสก็เจอความแข็งที่ผม พอน้ำจากฝักบัวมาโดนที่หน้าทำให้ หายใจไม่คล่องก็เห็นลมหายใจ เวลาฟังเพลงก็ได้ยินเสียง

นอกจากนั้นพอผมสัมผัสกับสิ่งต่างๆ เหล่านี้ แล้วเกิดอารมณ์ความรู้สึก ชอบบ้าง ไม่ ชอบบ้าง สุขบ้าง ทุกข์บ้าง ทานอาหารรู้รสแล้วก็อร่อยนี่ก็เป็นสุขเวทนาอาศัยเรือน ฟัง เพลงแล้วเพราะชอบนี่ก็เป็นสุขเวทนาอาศัยเรือน แต่บางทีโดนดุว่าก็เป็นทุกขเวทนา อาศัยเรือน แบบนี้ก็เรียกว่า สติระลึกรู้ที่เวทนาใช่หรือไม่ครับ

ถ้าผมระลึกรู้สิ่งเหล่านี้อยู่เรื่อยๆ ถ้าปรากฏก็รู้ อย่างนี้ผมเข้าใจว่าเป็นการเจริญสติ อย่าง นี้ผมเข้าใจถูกแล้วใช่หรือไม่ครับ

แล้วเท่าที่ผมเข้าใจ ผมไม่จำเป็นจะต้องไปรู้สึกอยากละหรือไม่ละอะไร ให้ค่อยๆ รู้ไปที ละอย่างเรื่อยๆ แล้วปัญญาจะเกิดเองใช่มั้ยครับ

สิ่งที่ผมสังเกตคือ ทุกสิ่งที่ระลึกรู้ก็รู้แว๊บๆ แป๊บเดียวก็ผ่านไป เราก็ไปเพลิดเพลินต่อ บ้างก็ไปเครียดบ้าง โมโหบ้างต่อ อารมณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น เกิดแล้วก็หายไป ทั้งวันทั้งคืน ตลอดๆ รุ้ตัวบ้างไม่รู้ตัวบ้าง ทำให้เห็นว่าอะไรๆ ก็ไม่ถาวร เปลี่ยนไปเรื่อยๆ แล้วก็บังคับให้ เป็นไปดั่งใจไม่ได้ด้วย อย่างเรียกว่าเป็นปัญญาอย่างนึงหรือไม่ครับ หรือเป็นเพราะแค่ ผมศึกษาและเข้าใจจากการฟังและสังเกต

เท่าทีสังกตุจากตัวเองรู้สึกว่าวันๆ นึงเป็นอกุศลเยอะจริงๆ ครับ ไม่อยากละอะไรเลย แม้จะเห็นว่ามีความปรวนแปร แต่ก็จำประโยคที่อาจารย์เคยกล่าวไว้ว่า "กุศลทุกอย่าง ควรเจริญ" ผมก็จึงพยามย้อนกลับมาคิดถึงพระพุทธเจ้า พระธรรมที่ฟังๆ มา แล้วก็นึกถึง เรื่องราวๆ ต่างๆ ที่ได้ฟังจากชาดกเป็นเรื่องของพระสงฆ์หลายๆ ท่าน ก็รู้สึกดีครับ มี โอกาสทำทานก็ทำ ช่วยเหลือใครได้ก็ช่วย อย่างนี้ผมวางตัวถูกแล้วใช่มั้ยครับ ที่สอบถามเพื่อความเข้าใจถูกครับ เพราะผมรู้สึกว่าการเจริญสติเป็นเรื่องละเอียดอ่อน คงไม่ใช่ของง่ายๆ ที่จะเข้าใจได้ทั้งหมดในเวลาไม่นาน

ผิดถูกประการใดขอให้พี่ๆ และ อาจารย์ช่วยชี้แนะครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 13 เม.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

การอบรมเจริญสติปัฏฐานเป้นเรื่องที่ยากเพราะเป็นเรื่องของความเข้าใจถูกและปัญญา จริงๆ

ในขณะที่สติปัฏฐานเกิดจริงๆ นั้นจะมีปัญญาเกิดร่วมด้วย ขณะนั้นจะเข้าใจถูกจะไม่สงสัย หากสงสัยเมื่อไหร่ ใช่หรือไม่ใช่ให้รู้ได้ทันทีว่านั่นไม่ใช่แล้วเพราะความสงสัย ไม่ใช่ปัญญาครับ

สติปัฏฐานคือการระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ โดยรู้ตัวลักษณะที่สำคัญที่สุด สติปัฏฐานม่ใช่การคิด พิจารณาว่าเป็นธรรม เป็นเวทนา เป็นจิต เป็นต้น ไม่ใช่ขั้นคิดนึกเพราะขณะที่คิดนึกในขณะนั้น ไม่ได้รู้ตัวจริงของสภาพธรรม ไมได้รู้ ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังเกิดขึ้นว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา ปัญญาจึงมีหลายขั้น หลาย ระดับทั้งขั้นฟัง ขั้นคิดพิจารณาและขั้นสติปัฏฐาน เพราะฉะนั้นจากที่เจ้าของกระทู้เล่า มาจึงเป็นเพียงขั้นการคิดนึกในเรื่องราวของสภาพธรรมที่ดับไปแล้ว ไม่ใช่การรู้ลักษณะ ของสภาพธรรมที่เป็ฯสติปัฏฐานและเมื่อมีความสงสัยว่าใช่หรือไม่ใช่ ก็แสดงให้เห็นว่า ไม่ใช่สติปัฏฐานแน่นอน เพราะขณะที่สติปัฏฐานเกิดมีปัญญาย่อมไม่สงสัยในขณะนั้น เลยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 13 เม.ย. 2554

สำคัญทีสุดคือเริ่มจากการฟังให้เข้าใจ ฟังไปเรื่อยๆ ความเข้าใจคือปัญญาจะเจริญขึ้น เองไม่ต้องไปหาวิธี ไม่ต้องไปพยายามรู้เวทนานั้น เวทนานี้ สภาพธรรมนั้น สภาพธรรมนี้ ค่อยๆ ฟังไป ปัญญา ความเห็นถูกจะเป็นปัจจัยให้สติเกิดระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรม เองที่มีในขณะนี้ ธรรมจะทำหน้าที่

เพียงแต่ว่าอย่าไปสำคัญในสิ่งที่เป็นเพียงขั้นการคิด พิจารณาว่าเป็นสติปัฏฐานเพราะจะทำให้หลงทางได้ครับ

ประเด็นในเรื่องการเจรฺิญกุศล เป็นสิ่งที่ดีครับ กุศลควรเจริญทุกประการตามกำลังของ ปัญญา การศึกษาธรรม เมื่อมีความเข้าใจย่อมเกื้อกูลการขัดเกลากิเลสและกุศลก็เพิ่มขึ้น ทุกๆ ทาง แต่ที่สำคัญที่สุดคือเรื่องของปัญญา การอบรมปัญญานั่นคือสติปัฏฐานครับ ขออนุโมทนาที่เป็นผู้สนใจ ไตร่ถามเพื่อความเข้าใจถูกมากขึ้น

ขออนุโมทนาครับ

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 13 เม.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ต้องเริ่มที่การฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม มีความมั่นคงในความเป็นจริงของสภาพธรรมว่าเป็นสิ่งที่มีจริงในชีวิตประจำวัน ที่จะเป็นฐานหรือเป็นที่ตั้งให้สติเกิดขึ้นระลึกรู้นั้น ก็ไม่พ้นไปจากสภาพธรรมเหล่านี้ ซึ่งจะเห็นได้ว่า สิ่งที่พระอริยบุคคลทั้งหลายในอดีต รู้ ท่านก็รู้ในสิ่งเหล่านี้ ซึ่งก็ไม่พ้นไปจากสิ่งที่มีจริงในชีวิตประจำวัน การเจริญสติปัฏฐาน หรือ การอบรมมรรค ซึ่งเป็นหนทางแห่งการอบรมเจริญปัญญา เพื่อความเข้าใจถูก เห็นถูก นั้น เป็นหนทางที่ยาวไกล ต้องอาศัยการอบรมเป็นเวลาที่ยาวนาน ถ้าหากว่าเป็นผู้มุ่งหน้าที่จะให้สติเกิดขึ้นระลึกรู้ตรงลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ย่อมเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ถ้าขาดสติปัญญา ละเลยกุศลธรรมประการอื่นๆ ในชีวิตประจำวัน เพราะฉะนั้น ถึงแม้ว่าจะยังเป็นผู้เต็มไปด้วยกิเลสมากมาย มี โลภะ โทสะ โมหะ เป็นต้น แต่ก็ควรที่จะมีความมั่นคงที่จะเจริญกุศลประการต่างๆ และ ที่ขาดไม่ได้เลย คือ การศึกษาพระธรรม ฟังพระธรรม ฟังในสิ่งที่มีจริงบ่อยๆ เนืองๆ อบรมเจริญปัญญาต่อไป เพื่อขัดเกลากิเลสให้เบาบางลงจนกระทั่งสามารถดับได้อย่างเด็ดขาดในที่สุด ครับ.

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณผเดิมและทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ups
วันที่ 14 เม.ย. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาทุกท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
chaiyut
วันที่ 14 เม.ย. 2554

ขอให้ฟังธรรมะต่อไป แม้ว่าจะได้เข้าใจถูกในหลายจุดแล้วก็ตามครับ เพราะความเข้าใจขั้นฟัง เป็นขั้นที่สำคัญมาก ฟังเพื่อเข้าใจ จนกว่าจะมั่นคงว่าทุกอย่าง ไม่ว่าจะอะไรก็ตามที่เกิดปรากฏ เป็นธรรมะ เมื่อไรที่เข้าใจธรรมะ ขณะนั้นต่างกับขณะที่ไม่เข้าใจธรรมะ หลังฟัง ไตร่ตรอง พิจารณา แล้วก็เป็นปกติที่จะมีการคิดสังเกตให้เข้าใจธรรมะตามที่ได้ฟังมาเป็นธรรมดา เพราะเพิ่งได้ฟังความจริงที่ไม่เคยฟังมาก่อน เราฟังเรื่องไหน ใจก็จะน้อมไปคิดถึงเรื่องนั้น แต่ขณะที่คิดนั้น ก็ควรรู้ว่าคิดเป็นธรรมะ ไม่ใช่เราด้วยเช่นกันครับ

และไม่ลืมว่าธรรมที่ได้ฟัง ไม่ว่าจะเรื่องใดก็ตาม ฟังเพื่อเข้าใจถูก เห็นถูกจริงๆ เมื่อฟังเข้าใจขึ้นๆ ก็จะค่อยๆ รู้ขึ้นด้วยปัญญาของตนว่า ขณะนี้เป็นความรู้ระดับใด ขั้นไหน ตรวจสอบความเข้าใจของตนบ่อยๆ ด้วยการศึกษาพระธรรมโดยละเอียด เพื่อไม่ประมาท ไม่หลงพอกพูนความเห็นผิด ไม่หลงเข้าใจผิดว่าฟังแล้วคือรู้แล้ว เพราะความจริง ความรู้ขั้นฟัง ยังไม่ใช่ขั้นที่รู้ลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริงครับ ค่อยๆ สั่งสมความเข้าใจขั้นฟังต่อไป จนกว่าจะเป็นปัจจัยปรุงแต่งให้รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏในขณะนี้ จึงจะสามารถเข้าใจธรรมตรงตามที่ได้ฟังเข้าใจมาได้ตามลำดับของปัญญาครับ และขณะใดที่สติเกิด ขณะนั้นปัญญาก็ย่อมรู้ว่า ต่างกับขณะที่หลงลืมสติ

การจะรู้ว่า มีอกุศลมากมายเพียงใดนั้น ไม่ใช่เพียงได้ฟังธรรมแล้วเห็นด้วยในขั้นตรึกตรองเหตุผลเท่านั้น แต่รู้ด้วยปัญญาที่อบรมดีแล้ว อันเป็นเรื่องเฉพาะตน เมื่อสติสัมปชัญญะเกิด ปัญญาจึงจะรู้ถูกว่า ขณะที่หลงลืมสติในวันหนึ่งๆ เป็นอย่างไร ต่างกับขณะที่สติเกิดอย่างไร ขณะที่หลงลืมสติทั้งหมดเป็นอกุศล แล้วเป็นอกุศลประเภทไหน ไม่ใช่การเรียกชื่ออกุศล แต่ต้องเป็นปัญญาที่รู้ลักษณะของอกุศลประเภทนั้นโดยมีลักษณะที่ปรากฏจริงๆ ปัญญาที่เกิดพร้อมสติที่ระลึกรู้ตรงลักษณะอย่างนั้นของอกุศลประเภทนั้นตามความเป็นจริง จึงน้อมศึกษา อกุศล และเห็นถูกว่าอกุศล ก็เป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่ใคร ไม่ใช่ของใคร แต่เป็นโทษ

ระลึกรู้ต่อไปๆ ก็จะค่อยๆ รู้ว่า อกุศลมีมากอย่างไรในชีวิตประจำวัน ปัญญาเท่านั้นที่จะรู้ว่าอกุศลมีมากมายแค่ไหน และรู้ว่าอกุศล ก็เป็นสภาพธรรม ซึ่งควรละ ไม่ควรสั่งสม ความรู้ถูก เห็นถูกที่เพิ่มขึ้น ย่อมจะค่อยๆ ละคลายความไม่รู้และความติดข้องที่มีมากในชีวิตประจำวันได้ทีละเล็กทีละน้อยอย่างช้าๆ ไม่มีเราจะไปทำอะไรกับอกุศล หรือเร่งไม่ให้มีอกุศลได้ นอกจากจะมีความเข้าใจถูกในอกุศลที่เกิดขึ้นแล้วเพราะเหตุปัจจัย แล้วละคลายความเห็นผิดว่าอกุศลเป็นตัวตนเสียก่อน

การเจริญสติฯ เป็นหนทางซึ่งยากที่จะอบรมได้ ถ้าไม่ได้ฟังพระธรรม ฟังแล้วก็ไม่สามารถจะทำอะไรได้ เพราะธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา นอกจากจะฟังเพื่อเข้าใจจนกว่าปัญญาที่เข้าใจสภาพธรรมจะสามารถมีปัจจัยเกิดได้เพราะอาศัยความสมบูรณ์ของปัญญาขั้นฟัง ต้องอดทน มีความเพียร ที่จะตั้งต้นอบรม ด้วยการฟังพระธรรมเพื่อค่อยๆ เข้าใจต่อไป พระธรรมทั้งหมด ศึกษาเพื่อรู้แล้วละตามลำดับ เป็นเรื่องทวนกระแสของกิเลสทุกประการ รวมทั้งทวนกระแสความต้องการในผลที่หวังด้วย

ไม่ลืมว่า การศึกษาพระธรรมเพื่อความเจริญขึ้นของธรรมที่เป็นปฏิปักษ์กับธรรมฝ่ายอกุศล ต้องเป็นเรื่อง "ละ" ตั้งแต่ขั้นต้นคือขั้นฟังครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
wannee.s
วันที่ 14 เม.ย. 2554

ปกติทุกวันอกุศลเกิดมาก ถ้าเป็นโอกาสที่กุศลจะเจริญขึ้นไม่ว่าจะเป็นขั้นทาน หรือ ขั้นศีล ก็เป็นขณะที่ดี กุศลขั้นการฟัง ไม่ใช่กุศลขั้นสติปัฏฐาน แต่ถ้าฟังธรรม แล้วเข้าใจจริงๆ ขณะนั้นสังขารขันธ์ก็ปรุงแต่งให้สติปัฏฐานเกิดตามการสะสมค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
icenakub
วันที่ 15 เม.ย. 2554

ขออนุโมทนาครับ ผมจะเพียรศึกษาต่อไปครับ ขอบพระคุณมากครับ :)

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
โชติธัมโม
วันที่ 24 พ.ค. 2554
ขอน้อมจิตอนุโมทนาบุญกับทุกๆ ท่านด้วยเศียรเกล้าครับ
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ