การอยู่ร่วมกับผู้เสมอกัน [คาถาธรรมบท]

 
เมตตา
วันที่  15 เม.ย. 2554
หมายเลข  18211
อ่าน  2,100

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ หน้า-178

. ทุปฺปพฺพชฺชํ ทุรภิรมํ ทุราวาสา ฆรา ทุกฺขา ทุกฺโข สมานสํวาโส ทุกฺขานุปติตทฺธคู ตสฺมา น จทฺธคู สิยา น จ ทุกฺขานุปติโต สิยา. "การบวชก็ยาก การยินดีก็ยาก เรือนที่ปกครอง ไม่ดี ให้เกิดทุกข์ การอยู่ร่วมกับผู้เสมอกัน เป็น ทุกข์ ผู้เดินทางไกล ก็ถูกทุกข์ติดตาม, เพราะฉะนั้น ไม่พึงเป็นผู้เดินทางไกล และไม่พึงเป็นผู้อันทุกข์ ติดตาม." แก้อรรถ บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทุปฺกพฺพชฺชํ ความว่า ชื่อว่า การละกองแห่งโภคะน้อยก็ตาม มากก็ตาม และเครือญาติ บวชมอบอุระ (ถวายชีวิต) ในศาสนานี้ เป็นการยาก. บทว่า ทุรภิรมํ ความว่า การที่กุลบุตรแม้บวชแล้วอย่างนั้น สืบต่อความเป็นไปแห่งชีวิต ด้วยการเที่ยวไปเพื่อภิกษา ยินดียิ่ง ด้วยสามารถแห่งการคุ้มครองคุณคือศีลอันไม่มีประมาณ และบำเพ็ญข้อปฏิบัติธรรมอันสมควรแก่ธรรมให้บริบูรณ์ เป็นการยาก. บทว่า ทุราวาสา ความว่า ก็ราชกิจของพระราชา อิสรกิจของอิสรชนทั้งหลาย อันผู้ครองเรือนต้องนำไป, ชนข้างเคียงและสมณ-พราหมณ์ผู้ประพฤติธรรม อันผู้ครองเรือนต้องสงเคราะห์, แม้เมื่อเป็นอย่างนี้ การครองเรือนก็เต็มได้ยาก เหมือนหม้อที่ทะลุและมหาสมุทร;เพราะฉะนั้น ชื่อว่าเรือนเหล่านั่น ที่ปกครองไม่ดีจึงชื่อว่าให้เกิดทุกข์คือให้ลำบากเพื่อจะอยู่ครอบครอง เพราะเหตุนั้นนั่นแล. บาทพระคาถาว่า ทุกฺโข สมานสํวาโส ความว่า จริงอยู่ ชนเหล่าใดเป็นคฤหัสถ์ แม้เสมอกันโดยชาติ โคตร ตระกูล และโภคะก็ตาม เป็นบรรพชิต เสมอกันโดยคุณทั้งหลาย มีศีล อาจาระและพาหุสัจจะเป็นต้นก็ตาม (แต่) กล่าวคำเป็นต้นว่า "ท่านเป็นใคร? เราเป็นใคร?" เป็นผู้ขวนขวายในอธิกรณ์อยู่, ชนเหล่านั้น ชื่อว่าผู้ไม่เสมอกัน, ชื่อว่าการ อยู่ร่วมกับชนเหล่านั้นเป็นทุกข์. บาทพระคาถาว่า ทุกฺขานุปติตทฺธคู ความว่า ชนเหล่าใดชื่อว่าผู้เดินทางไกล เพราะความเป็นผู้ดำเนินไปสู่ทางไกล กล่าวคือวัฏฏะ; ชนเหล่านั้นถูกทุกข์ติดตามแท้...


เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ