ย่อมไม่เศร้าโศกถึงวัตถุที่แปรปรวนไป
ว่าด้วยกาม ๒ อย่าง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 488
[๘๕๓] คำว่า ผู้ใด ในคำว่า ผู้ใดข้ามพ้นกามทั้งหลาย และ เครื่องข้องที่ล่วงได้โดยยากในโลก ความว่า ผู้ใด คือ เช่นใด ประกอบ อย่างไร ชนิดอย่างไร มีประการอย่างไร ถึงฐานะใด ประกอบด้วยธรรม ใด เป็นกษัตริย์ก็ตาม เป็นพราหมณ์ก็ตาม เป็นแพศย์ก็ตาม เป็นศูทรก็ตาม เป็นคฤหัสถ์ก็ตาม เป็นบรรพชิตก็ตาม เป็นเทวดาก็ตาม เป็นมนุษย์ก็ ตาม. โดยอุทานว่า กาม ได้แก่ กาม ๒ อย่าง คือ วัตถุกาม ๑ กิเลส กาม ๑ ฯลฯ เหล่านี้เรียกว่า วัตถุกาม ฯลฯ เหล่านี้เรียกว่า กิเลสกาม ชื่อว่าเครื่องข้อง ได้แก่เครื่องข้อง ๗ ประการ คือ เครื่องข้องคือราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ กิเลส ทุจริต. คำว่า ในโลก คือ ในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก. คำว่า ที่ล่วงได้ โดยยาก ความว่า ผู้ใดได้ข้าม ข้ามขึ้น ข้ามพ้น ก้าวล่วง เป็นไป ล่วงแล้ว ซึ่งกามและเครื่องข้องที่ล่วงได้โดยยาก ล่วงไปได้ยาก ข้ามขึ้น ได้ยาก ข้ามพ้นได้ยาก ก้าวล่วงได้ยาก เป็นไปล่วงได้ยาก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ใดข้ามพ้นกามทั้งหลาย และเครื่องข้องที่ล่วงได้โดยยากในโลก.
[๘๕๔] คำว่า ผู้นั่นย่อมไม่เศร้าโศก ย่อมไม่เพ่งเล็ง ความว่า ย่อมไม่เศร้าโศกถึงวัตถุที่แปรปรวนไป หรือเมื่อวัตถุแปรปรวนไปแล้ว ก็ไม่เศร้าโศกถึง คือ ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบากใจ ไม่รำพัน ไม่ทุบอก คร่ำครวญ ไม่ถึงความหลงใหลว่า จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ สกุล คณะ อาวาส ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร มารดา บิดา พี่น้องชาย พี่น้องหญิง บุตร ธิดา มิตร พวกพ้อง ญาติสาโลหิต ของเรา แปรปรวน ไปแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมไม่เศร้าโศก. คำว่า ย่อมไม่เพ่งเล็ง ความว่า ย่อมไม่เพ่งเล็ง ไม่เพ่งถึง ไม่มุ่งถึง ไม่มุ่งหมายถึง อีกอย่าง หนึ่ง ผู้นั้นย่อมไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่เคลื่อน ไม่อุบัติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้นั้นย่อมไม่เศร้าโศก ย่อมไม่เพ่งเล็ง.
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ที่มีความเพ่งเล็งอยากได้สิ่งหนึ่งสิ่งใด และ เกิดความเศร้าโศก ที่ไม่ได้ดังที่อยากได้ก็เป็นเรื่องของกิเลสที่ได้สะสมมา เพราะโลภะความคิดข้องต้องการในรูป เสียง กลิ่นรส โผฏฐัพพะ ยังไม่ถูกดับ ความเศร้าโศกเสียใจ ความไม่สบายใจ จึงเกิดขึ้นเป็นไปได้
ดังนั้น การที่จะข้ามพ้นจากความติดข้องยินดีพอใจ ข้ามพ้นจากความเศร้าโศกเสียใจ รวมถึงกิเลสประการอื่นๆ ได้ ต้องอาศัยการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง เพราะพระธรรมที่พระองค์ทรงแสดงนั้น เป็นไปเพื่อความเข้าใจถูกเห็นถูก เป็นไปเพื่อละกิเลสทั้งหลาย มี โลภะ โทสะ โมหะเป็นต้น เมื่อละกิเลสได้ตามลำดับขั้น กิเลสที่ละได้แล้ว ย่อมจะไม่เกิดขึ้นอีก และกิเลสทั้งปวงจะถูกดับได้อย่างหมดสิ้นไม่มีเหลือ เมื่ออบรมเจริญปัญญาจนกระทั่งบรรลุถึงความเป็นพระอรหันต์ ครับ
...ขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลของคุณหมอ มา ณ ที่นี้ด้วยครับ...
...ขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลของคุณคำปั่น และ ทุกท่าน มา ณ ที่นี้ด้วยครับ...
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 693
อัฏฐกวรรคที่ ๔
กามสูตรที่ ๑ ว่าด้วยเรื่องของกาม
[๔๐๘] ถ้าว่าวัตถุกาม จะสำเร็จแก่ สัตว์ผู้ปรารถนาอยู่ไซร้ สัตว์ปรารถนาสิ่งใด ได้สิ่งนั้นแล้ว ก็ย่อมเป็นผู้มีใจเอิบอิ่มแน่แท้. ถ้าเมื่อสัตว์นั้นปรารถนาอยู่ เกิด ความอยากได้แล้ว กามเหล่านั้นย่อมเลื่อมไป ไซร้ สัตว์นั้นย่อมย่อยยับเหมือนถูกลูกศร. แทง ฉะนั้น.
ผู้ใดงดเว้นกามทั้งหลาย เหมือน อย่างบุคคลเว้นศีรษะงูด้วยเท้าของตน ผู้นั้น เป็นผู้มีสติ ย่อมก้าวล่วงตัณหาในโลกนี้ได้.
ผู้ที่ยังเศร้าโศกถึงสิ่งที่ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน หาสาระอะไรไม่ได้เลย เพราะสิ่ง ที่เกิดแล้วดับแล้วย่อมหวนกลับมาอีกไม่ได้ ผู้ที่มีปัญญาเท่านั้นจึงจะเห็นความไม่มีสาระ ของสิ่งที่แปรปรวนไป การอบรมเจริญปัญญาก็ต้องเป็นไปตามลำดับขั้น โดยเริ่มจาก การอบรมความเห็นถูกเข้าใจถูกในสภาพธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนี้ว่าเป็นเพียงสภาพ ธรรมที่เกิดขึ้นเพราะมีปัจจัยปรุงแต่งจึงเกิดขึ้น ไม่มีเราที่จะไปบังคับบัญชาได้ แม้แต่ ความเศร้าโศกก็เป็นธรรมที่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย เมื่อมีความติดข้องสิ่งใด แล้วไม่ได้ สิ่งนั้นมา หรือต้องพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ก็ย่อมเศร้าโศก การติดข้องในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะนั้นดับได้ด้วยอนาคามิมรรคเท่านั้น แต่ท่านพระอนาคามีแม้จะไม่มีความ เห็นผิดในสภาพธรรมตามความเป็นจริง ท่านไม่มีความติดข้องในรูป เสียง..แต่ท่านยังมี ความติดข้องในรูปภพและอรูปภพ ซึ่งจะดับได้ด้วยพระอรหัตตมรรค เพราะฉะนั้น การ ที่จะไม่ติดข้องจากวัตถุอันเป็นที่ตั้งแห่งความพอใจ และจะถึงความหลุดพ้นหมดจดจาก กิเลสกามได้ก็ด้วย ปัญญา ค่ะ
ขอเชิญคลิกอ่านได้ที่...
โทษของกาม [อรรถกถาสุภากัมมารธิดาเถรีคาถา]
ว่าด้วยโทษของกาม [อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต]
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านค่ะ...
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเป็นผู้ไม่เศร้าโศก ทรงเป็นผู้ไม่เพ่งเล็ง เพราะทรงหลุดพ้นแล้วจากเครื่องข้องที่ล่วงได้โดยยากในโลก ด้วยการตรัสรู้โดยชอบโดยพระองค์เอง ต่างกันโดยสิ้นเชิงกับสัตว์โลกผู้ไม่รู้ความจริง ถูกดักให้ติดอยู่ในเครื่องข้องทั้งหลาย เป็นผู้มีน้ำตานองหน้า เศร้าโศก คร่ำครวญ ถึงสิ่งอันเป็นที่รักโดยไม่เห็นความจริงว่าสิ่งนั้นมีความเป็นแปรปรวนแตกสลายไปเป็นธรรมดา เต็มไปด้วยความเพ่งเล็งถึงสิ่งที่จะนำมาซึ่งความยินดีพอใจ อันเป็นเหตุให้กระทำกุศลกรรม และ อกุศลกรรมไม่สิ้นสุด ถูกตัณหาซัดไปให้เกิดภพภูมิต่างๆ ในวัฏฏะอยู่ร่ำไป ไม่อาจที่จะพาตนให้หลุดพ้นไปจากเครื่องข้องที่ดักตนไว้อยู่ได้
พระพุทธองค์ทรงเห็นดังนี้ ทรงมีพระมหากรุณาคุณอย่างยิ่งในสิ่งที่สัตว์โลกประสพอยู่ ทรงมีพระทัยน้อมไปที่จะช่วยให้สัตว์โลกพ้นทุกข์ ด้วยการทรงแสดงพระธรรมให้สัตว์โลกเข้าใจ เกิดปัญญารู้ความจริง สั่งสมกำลังคือกุศลที่จะดึงตนออกจากเครื่องข้องทั้งหลายอันล่วงได้ยากได้ในที่สุด เครื่องข้องขณะนี้ที่ล่วงยากมาก คือ ความไม่รู้และความเห็นผิด ยังต้องฟังธรรมต่อไปให้เข้าใจขึ้นๆ ครับ
ขอขอบพระคุณและขออนุโมทนาคุณหมอ คุณคำปั่น และทุกๆ ท่านด้วยครับ