ขณะคิดไม่ใช่ผลของกรรม

 
Nareopak
วันที่  18 เม.ย. 2554
หมายเลข  18228
อ่าน  2,481

ช่วยอธิบายให้เข้าใจด้วยค่ะว่าทำไม"ขณะคิดไม่ใช่ผลของกรรม"

ขอบพระคุณค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 18 เม.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

เข้าใจก่อนครับว่า ผลของกรรมคืออะไร และคิดคืออะไร ผลของกรรม ก็คือผลของ กรรมดี กรรมชั่วที่ให้ผล ผลของกรรมจึงมีทั้งที่เป็นรูปและนาม แต่โดยทั่วไปแล้ว ก็คือ เป็นนามธรรมที่เป็นจิตและเจตสิก ที่เรียกกันว่าวิบาก ผลของกรรมที่เป็นวิบาก มีจิต มากมายหลายประเภท เช่น ปฏิสนธิจิต (การเกิด) ภวังคจิต (จิตที่ดำรงภพชาติ) และจุติ- จิต (การตาย) เป็นต้น สำหรับวิบากจิต เป็นผลของกรรมที่มีในชีวิตประจำวัน ในขณะนี้ เอง คือ ขณะที่เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส นี่คือผลของกรรมที่เป็น วิบากจิตในชีวิตประจำวัน

การคิด คิดมีจริง คิดได้เพราะมีจิต แต่ขณะที่คิด ขณะนั้นไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้กลิ่น ไม่ได้รู้รส ไม่ได้รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส เพราะขณะนั้นกำลังคิด คิดนึกเป็นเรื่องราว เป็นสิ่ง ต่างๆ เป็นสัตว์ บุคคลต่างๆ คิดจึงไม่ใช่วิบากคือไม่ใช่ผลของกรรม ขณะที่คิด มีจิตที่คิด ขณะที่คิดเป็นได้ทั้งกุศลจิตและอกุศลจิต กิริยาจิต แต่จิตมี 4 ชาติ คือ กุศล อกุศล วิบาก (ผลของกรรม) กิริยา แต่ขณะที่คิดนึก เป็นกุศลจิต อกุศลจิต ขณะนั้นไม่ใช่ชาติวิบาก (ผลของกรรม) เพราะฉะนั้น คิดจึงไม่ใช่ผลของกรรม

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 18 เม.ย. 2554

อีกประการหนึ่ง ขณะที่คิดนึก ขณะนั้นคิดเป็นไปในทางมโนทวาร คิดนึกถึงรูปร่างสัณฐานเป็นเรื่องราว เป็นสัตว์ บุคคลต่างๆ มีบัญญัติเป็นอารมณ์ รู้ว่าเป็นอะไร เป็นสิ่งใด แต่ขณะที่เป็นผลของกรรมที่เป็นวิบาก เช่น ขณะที่เห็น เกิดทางปัญจทวาร ทางปัญจทวาร ขณะนั้นไม่คิดนึกเป็นเรื่องราว สัตว์ บุคคลเพียงแต่เห็นเท่านั้น ยังไม่รู้ว่าเป็นอะไร คือ เห็น สิ่งที่ปรากฎทางตา มีสิ่งที่ปรากฎทางตา เป็นอารมณ์ที่เป็นปรมัต ไม่ใช่บัญญัติ เพราะฉะนั้นขณะที่คิดจึงไม่ใช่ผลของกรรมครับ

เพราะฉะนั้นเมื่อเราเข้าใจว่าผลของกรรมคืออะไรคือวิบากจิต ที่เป็นไปในขณะเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส และรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส เป็นผลของกรรม และคิดคืออะไร ก็จะ ทำให้เข้าใจความจริงว่าต่างกัน ตามเหตุผลข้างต้นที่กล่าวมาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
paderm
วันที่ 18 เม.ย. 2554

ในชีวิตประจำวัน คิดโดยไม่ได้เห็น ไมได้ยิน ไม่ได้กลิ่น ไม่ได้ลิ่มรส ไม่ได้รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสได้ คิดนึกถึงเรื่องนั้นเรื่องนี้ จะเห็นได้ว่าคิดนึกเกิดบ่อยกว่าทางปัญจทวารที่เป็นขณะที่เห็น..รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส (ผลของกรรม) มาก หากว่าคิดเป็นผลของกรรมแล้ว ในชีวิตประจำวันก็คงมีแต่ผลของกรรมเกือบตลอดเวลา แต่ในความเป็นจริงแล้ว คิดนึกเป็นเหตุที่เป็นกุศล อกุศล ส่วนวิบากหรือผลของกรรม ก็เป็นผลของกรรมในอดีต ไม่ใช่ตัวเหตุที่เป็นกุศลหรือกุศลในขณะที่คิดนึกครับ

ขออนุญาตเล่าความเข้าใจเดิมของกระผมก่อนศึกษาธรรมและหลังศึกษาครับว่า ก่อนศึกษาเคยเข้าใจและคิดว่า วิบาก (ผลของกรรม) ไม่ดีเลย มีแต่เรื่องทุกข์ใจ เรื่องนั้น เรื่องนี้ คำนี้ผิดเมื่อได้มาศึกษาธรรม เพราะในความเป็นจริงแล้ว วิบากที่เป็นผลของกรรม ไม่ใช่ความทุกข์ใจที่เป็นการคิดนึก เพราะขณะที่เป็นผลของกรรมจริงๆ ในชีวิต ประจำวันที่พอจะรู้ได้คือ ขณะที่เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสเท่านั้น ขณะที่ทุกข์ใจอันเป็นการคิดนึกถึงเรื่องราวบางสิ่ง ขณะที่คิดนึกแล้วทุกข์ใจเป็นอกุศลจิต ที่เป็นเหตุ ไม่ใช่เป็นผลของกรรมที่เป็นวิบาก อันเป็นตัวผลของกรรมที่ทำไว้แล้วคิดนึกจึงต่างกับผลของกรรมตามที่กล่าวมาครับ

ขออนุโมทนาครับ

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 19 เม.ย. 2554

คิดดีหรือคิดไม่ดี-คิดแล้วเป็นทุกข์-บางครั้งไม่อยากคิดแต่ก็คิด-ไม่ใช่ผลของกรรมแต่เป็นผลการสะสมของอกุศลคิดไม่ดี (หรือคิดดี) มากๆ สามารถทำกรรมได้ทั้งทางกายและทางวาจาที่จะทำให้เกิดผลของกรรมเป็นวิบากจิต (เช่นจิตเห็น จิตได้ยิน จิตได้กลิ่น ฯลฯ) หรือกัมมัชชรูป (เช่น จักขุปสาท โสตปสาท..ฯลฯ) และหากครบกรรมบถ ผลของกรรมสามารถนำเกิดในภพภูมิต่างๆ ได้

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
chaiyut
วันที่ 19 เม.ย. 2554

นานแสนนานในวัฏฏะ ที่ความไม่รู้ปกปิดความจริง ทำให้เราเข้าใจผิด หลงปะปนธรรมที่ไม่ใช่อย่างเดียวกัน ว่าเป็นอย่างเดียวกัน เช่น ไม่รู้ว่าความทุกข์ที่เป็นผลของอกุศลกับ ความทุกข์ใจที่เกิดจากกิเลสที่สะสมมา ไม่ใช่อย่างเดียวกัน แต่เพราะจิตเกิดดับสืบต่อเนื่องกันอย่างรวดเร็ว เมื่อไม่รู้ความจริง ก็ลวงให้เสมือนว่าอะไรๆ ก็เป็นสิ่งเดียวกัน ยิ่งไปกว่านั้น คือ ไม่รู้แล้วติดข้องและเห็นผิดว่าเป็นเรา แต่พระธรรมที่ทรงแสดงไว้ ทรงเปิดเผย ทรงจำแนก ทรงชี้บอกให้สาวกเห็นแจ้งในธรรมตามความเป็นจริงของธรรมแต่ละอย่างๆ ให้ศึกษา ให้ฟังจนกว่าจะเห็นถูกจริงๆ ว่าเป็นธรรมะทั้งหมด โดยเข้าใจถูกในลักษณะของธรรมนั้นๆ ที่เกิดปรากฏ ไม่เพียงแต่เข้าใจความต่างโดยชื่อเท่านั้น แต่ต้องฟังจนกว่าจะเข้าใจถึงความต่างโดยลักษณะของธรรมประการต่างๆ ด้วยปัญญาจริงๆ ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
wannee.s
วันที่ 19 เม.ย. 2554

คิดไม่ใช่ผลของกรรม ปุถุชนคิดเป็นกุศลก็ได้ คิดเป็นอกุศลก็ได้ ส่วนพระอรหันต์ คิดเป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล ฯลฯ เห็นเป็นผลของกรรม เช่น เห็น ดอกไม้สวย เป็นผลของกุศลกรรม เห็นขยะ ก็เป็นผลของอกุศลกรรม ฯลฯ ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
khampan.a
วันที่ 19 เม.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขณะที่เป็นวิบากในชีวิตประจำวัน คือ เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสทางกาย ซึ่งเ็ป็นผลของกรรมที่ดีบ้าง ไม่ดีบ้าง ตามสมควรแก่เหตุที่ได้กระทำมาแล้ว และขณะที่เป็นภวังคจิต (จิตที่เกิดขึ้นดำรงภพชาติรักษาความเป็นบุคคลนี้ไว้) [ขณะที่เป็นปฏิสนธิจิต เกิดขึ้นแล้วดับไปแล้ว และขณะที่เป็นจุติจิต ยังไม่เกิดขึ้น] ธรรมดาของบุคคลผู้ที่ยังมีกิเลส อกุศลจิตย่อมจะเกิดขึ้นมากในชีวิตประจำวัน หลังเห็น หลังได้ยิน เป็นต้น คงไม่ต้องกล่าวถึงอดีตชาติที่ผ่านๆ มาว่าจะมากสักแค่ไหน แม้แต่วันนี้วันเดียว อกุศลจิตก็เกิดมากเหลือเกิน แม้แต่ในเรื่องคิด ก็เช่นเดียวกัน คิดที่เป็นอกุศลย่อมมีมาก ซึ่งไม่ใช่ผลของกรรม แต่เป็นผลมาจากการสะสม เพราะขณะที่เป็นวิบากก็ตามที่ได้กล่าวไปแล้วว่ามีในในขณะไหนบ้าง ตามความเป็นจริงแล้ว ในฐานะที่ยังเป็นผู้มีกิเลส ขณะที่คิด ย่อมเป็นกุศลบ้างเป็นอกุศล บ้าง ขึ้นอยู่กับการสะสมมาของแต่ละบุคคลจริงๆ ว่าจะเป็นจิตประเภทไหน เพราะเหตุว่าเวลาที่จิตเกิดนั้น ไม่ได้เกิดเพียงจิตเท่านั้น ยังมีเจตสิก (สภาพธรรมที่เกิดร่วมกับจิต) เกิดร่วมด้วย ซึ่งเป็นสภาพธรรมที่ปรุงแต่งจิตให้เป็นจิตที่ดี ก็มี ปรุงแต่งให้เป็นจิตที่ไม่ดี ก็มี ดังนั้น การมีโอกาสได้ฟังพระธรรม

ได้ศึกษาพระธรรม อบรมเจริญปัญญาในชีวิตประจำวัน ย่อมเป็นสิ่งที่มีค่าต่อชีวิตเป็นอย่างยิ่ง เพราะเมื่อความรู้ความเข้าใจค่อยๆ เจริญขึ้นไปตามลำดับ ย่อมเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้กุศลธรรมประการต่างๆ เจริญขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน คิด ก็คิดดี เมื่อคิดดีแล้ว การกระทำทางกาย และทางวาจา ก็ย่อมจะดีด้วยเหมือนกัน เพราะฉะนั้น ความเข้าใจพระธรรม จึงเกื้อกูลให้กุศลธรรมทั้งหลาย เจริญขึ้นในชีวิตประจำวันอย่างแท้จริง ครับ.

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
Jans
วันที่ 19 เม.ย. 2554
ขอบคุณและขออนุโมทนาคะ
 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
Nareopak
วันที่ 20 เม.ย. 2554

ขออนุโมทนาในคำตอบและความเห็นของทุกท่านค่ะ ขอยกตัวอย่าง เวลาที่เห็น ความคิดก็เกิดซึ่งบางครั้งก็คิดเป็นกุศลบางครั้งก็เป็นอกุศล นี่เป็นการสะสมของแต่ละคนใช่หรือไม่ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
paderm
วันที่ 20 เม.ย. 2554

เรียนความเห็นที่ 9

ถูกต้องครับ การเห็นเป็นวิบากเป็นผลของกรรม แต่เมื่อเห็นแล้ว ต้องมีสิ่งที่ถูกเห็นคือ รูปที่ดีบ้าง รูปที่ไม่ดีบ้าง แต่หลังจากเห็นแล้ว ก็เป็นกุศลบ้าง อกุศลบ้างหรือเป็นกิริยา จิตก็ได้เมื่อเป็นพระอรหันต์ เป็นไปตามการสะสมมาของแต่ละบุคคล ผู้ที่สะสมอกุศล มามาก เมื่อเห็นแล้วก็ย่อมเป็นอกุศลได้ง่าย ส่วนผู้ที่สะสมกุศลมามาก สะสมปัญญามา มากเมื่อเห็นสิ่งที่ดีหรือไม่ดีก็ย่อมเป็นกุศลได้ครับ เพราัะฉะนั้นจึงแล้วแต่การสะสมครับ เราจึงไม่สามารถโทษใครได้เลยเพราะมีเพียงแต่วิบากที่เป็นจิต เจตสิกและการจะ เป็นอกุศลและกุศลก็แล้วแต่การสะสมของแต่ละบุคคล จะโทษในสิ่งที่เห็นว่าดีหรือ ไม่ดีไม่ได้ครับ บางคนเห็นสิ่งที่ไม่ดี ก็เป็นกุศลได้ หรือเป็นอกุศลก็ได้ บางคนเห็นสิ่งที่ ดีก็เป็นกุศลได้ หรือเป็นอกุศลก็ได้ จึงเป็นไปตามการสะสมมาครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 21 เม.ย. 2554

กรรมกิเลสสะสมในจิตสืบต่อและจะสะสมเพิ่มในขณะที่เป็นชวนะวิถี-ในขณะที่คิดเป็นชวนวิถีจิตซึ่งปกติเป็นชาติกุศลและอกุศลยกเว้นขณะโลกุตตรจิตเกิดและจิตของพระอรหันต์..จิตชาติกุศลและอกุศลประกอบด้วยเหตุ (เจตสิกที่เป็นเหตุ) หรือเรียกว่าสเหตุกจิตขณะนั้นจึงเป็นการสร้างเหตุ (และสะสมกรรมกิเลสเพิ่มหรือในทางอกุศลที่เรียกว่าอนุสัยกิเลส) ที่จะก่อให้เกิดผลคือการรับผลของกรรมรวมทั้งสะสมอุปนิสัยที่จะเป็นไปทางกาย วาจา และความคิดได้ทั้งในชาติปัจจุบันและอนาคตดังนั้นการคิดจึงไม่ใช่การรับผลของกรรม แต่เป็นผลการสะสมของจิต

ขออนุโมทนาคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
pamali
วันที่ 22 เม.ย. 2554
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
ไรท์แจกแล้วไง
วันที่ 3 พ.ค. 2554

ถ้าขณะคิด เป็นผลของกรรม กุศลและอกุศลก็จะไม่มี

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
worrasak
วันที่ 13 มิ.ย. 2560

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
Satitat
วันที่ 31 พ.ค. 2564

(ถ้าผมพูดส่วนใดผิดขออภัยครับ) แล้วเรื่องที่พระพุทธเจ้าชาติหนึ่งเคยยินดีในเรื่องประมงล่ะครับ แล้วส่งผลให้เป็นวิบากแล้วทำให้ปวดพระเศียร 

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
chatchai.k
วันที่ 1 มิ.ย. 2564

เรียนความเห็น 15 ครับ

ขอเชิญอ่าน...

ทุกข์โทษภัยในวัฏฏะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ