ว่าด้วยพระอภิธรรมมีนิทาน [ธรรมสังคณี]

 
เมตตา
วันที่  21 เม.ย. 2554
หมายเลข  18241
อ่าน  1,905

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 65

ว่าด้วยพระอภิธรรมมีนิทาน

ส่วนพระติสสคุตตเถระ ผู้อยู่ในมัณฑลาราม ได้นำปเทสวิหารสูตรนี้มากล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรานั้นตรัสรู้ครั้งแรก อยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่อันใด เราก็อยู่ด้วยปเทสะ คือส่วนแห่งธรรมอันนั้น ดังนี้ เพื่อแสดงว่าพระอภิธรรมนี้ มีมหาโพธิเป็นนิทาน ดังนี้.

จริงอยู่ ชื่อว่า ปเทสะ (ในปเทสสูตร) มี ๑๐ อย่าง คือ ขันธปเทสะ อายตนปเทสะ ธาตุปเทสะ สัจจปเทสะ อินทรียปเทสะ ปัจจยาการปเทสะ สติปัฏฐานปเทสะ ฌานปเทสะ นามปเทสะ ธรรมปเทสะ บรรดาปเทสะ ๑๐ เหล่านั้น พึงทราบดังต่อไปนี้.

พระศาสดาทรงแทงตลอดเบญจขันธ์โดยสิ้นเชิง (นิปปเทสะ) ณ ควงไม้มหาโพธิ์ แล้วทรงประทับอยู่ด้วยเวทนาขันธ์นั้นแหละ ตลอดไตรมาสนี้ทรงแทงตลอดอายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ โดยสิ้นเชิง แล้วประทับอยู่ด้วยอำนาจเวทนาในธัมมายตนะ และด้วยอำนาจเวทนาในธัมมธาตุนั้นแหละ ตลอดไตรมาสนี้

ทรงแทงตลอดสัจจะ ๔ โดยสิ้นเชิง แล้วประทับอยู่ด้วยอำนาจเวทนาในทุกขสัจจะนั่นแหละตลอดไตรมาสนี้

ทรงแทงตลอดอินทรีย์ ๒๒ โดยสิ้นเชิงแล้วประทับอยู่ด้วยอำนาจแห่งอินทรีย์ในหมวด ๕ แห่งเวทนาตลอดไตรมาสนี้

ทรงแทงตลอดการหมุนเวียนแห่งปัจจยาการ ๑๒ บท โดยสิ้นเชิง แล้วประทับอยู่ด้วยเวทนาอันมีผัสสะเป็นปัจจัยตลอดไตรมาสนี้

ทรงแทงตลอดสติปัฏฐาน ๔ โดยสิ้นเชิง แล้วประทับอยู่ด้วยสามารถแห่งเวทนาสติปัฏฐานตลอดไตรมาสนี้

ทรงแทงตลอดฌาน ๔ ด้วยสามารถแห่งเวทนาในองค์ฌานนั่นแหละตลอดไตรมาสนี้

ทรงแทงตลอดนามโดยสิ้นเชิง แล้วประทับอยู่ด้วยสามารถแห่งเวทนา ในนามนั้นนั่นแหละตลอดไตรมาสนี้

ทรงแทงตลอดธรรมทั้งหลายโดยสิ้นเชิง แล้วประทับอยู่ด้วยสามารถแห่งเวทนาติกะนั่นแหละตลอดธรรมทั้งหลายโดยพระเถระกล่าวนิทานแห่งพระอภิธรรม ด้วยสามารถแห่งปเทสวิหารสูตรไว้อย่างนี้.

ฝ่ายพระสุธรรมเทวเถระผู้อยู่ในคามวาสี เมื่อจะเปลี่ยนแปลงธรรมที่ภายใต้โลหปราสาท กล่าวไว้ว่า ปรวาทีบุคคลนี้ เป็นเหมือนประคองแขนทั้ง สองคร่ำครวญอยู่ในป่า และสร้างคดีที่ไม่มีพยาน จึงไม่ทราบแม้พระอภิธรรมว่ามีนิทาน แล้วกล่าวอย่างนี้อีกว่า สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ณ ควงไม้ปาริชาต สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ในครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอภิธรรมกถาแก่เทวดาชั้นดาวดึงส์ว่า กุสลา ธมฺมา อกุสลา ธมฺมา อพฺยากตา ธมฺมา เป็นต้น. ส่วนในพระสูตรอื่นๆ ก็มีนิทานอย่างเดียวกันนั่นแหละ.


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
คุณจิต
วันที่ 27 ก.ค. 2554

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
nopwong
วันที่ 14 พ.ย. 2559

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ํํญาณินทร์
วันที่ 15 พ.ย. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
chatchai.k
วันที่ 7 ส.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
Jarunee.A
วันที่ 9 ธ.ค. 2566

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ