พราหมณ์ชื่อจูเฬกสาฎก [คาถาธรรมบท]
[เล่มที่ 42] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 8
พระศาสดาเสด็จมา ตรัสถามว่า " ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เธอทั้งหลายนั่งสนทนากันด้วยกถาอะไรเล่า? " เมื่อพวกภิกษุกราบทูลว่า " ด้วยกถาชื่อ นี้ พระเจ้าข้า"ตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเอกสาฎกนี้ จักได้อาจเพื่อถวายแก่เราในปฐมยามไซร้เขาจักได้สรรพวัตถุอย่างละ ๑๖, ถ้าจักได้อาจถวายในมัชฌิมยามไซร้ เขาจักได้สรรพวัตถุอย่างละ ๘, แต่เพราะถวายในเวลาจวนใกล้รุ่ง เขาจึงได้สรรพวัตถุอย่างละ ๔, แท้จริง กรรมงามอันบุคคลผู้เมื่อกระทำ ไม่ให้จิตที่เกิดขึ้นเสื่อมเสียควรทำในทันทีนั้นเอง, ด้วยว่า กุศลที่บุคคลทำช้า เมื่อให้สมบัติ ย่อมให้ช้าเหมือนกันเพราะฉะนั้น พึงทำกรรมงามในลำดับแห่งจิตตุปบาททีเดียว" เมื่อทรงสืบอนุ-สนธิแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า อภิตฺถเรถ กลฺยาเณ ปาปา จิตฺตํ นิวารเย ทนฺธิ หิ กรโต ปุญฺญํ ปาปสฺมึ รมตี มโน "บุคคลพึงรีบขวนขวายในความดี, พึงห้ามจิตเสียจากบาป, เพราะว่าเมื่อบุคคลทำความดีช้าอยู่, ใจจะยินดีในบาป"
แก้อรรถ บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อภิตฺเรถ ความว่า พึงทำด่วนๆ คือเร็วๆ .จริงอยู่ คฤหัสถ์เมื่อจิตเกิดขึ้นว่า "จักทำกุศลบางอย่าง ในกุศลทานทั้งหลายมีถวายสลากภัตเป็นต้น" ควรทำไวๆ ทีเดียว ด้วยคิดว่าเราจะทำก่อน เราจะทำก่อน " โดยประการที่ชนเหล่าอื่นจะไม่ได้โอกาส ฉะนั้น หรือบรรพชิต เมื่อทำวัตรทั้งหลายมีอุปัชฌาย-วัตรเป็นต้น ไม่ให้โอกาสแก่ผู้อื่น ควรทำเร็วๆ ทีเดียว ด้วยคิดว่า " เราจะทำก่อน เราจะทำก่อน." สองบทว่า ปาปา จิตฺตํ ความว่า ก็บุคคลพึงห้ามจิต จากบาปกรรมมีกายทุจริตเป็นต้นหรือจากอกุศลจิตตุปบาท ในที่ทุกสถาน. สองบทว่า ทนฺธิ หิ กรโต ความว่า ก็ผู้ใดคิดอยู่อย่างนั้นว่า " เราจักให้, จักทำ, ผลนี้จักสำเร็จแก่เราหรือไม่ " ชื่อว่าทำบุญช้าอยู่ เหมือนบุคคลเดินทางลื่น. ความชั่วของผู้นั้นย่อมได้โอกาส เหมือนมัจเฉรจิตพันดวงของพราหมณ์ชื่อเอกสาฎกฉะนั้น.เมื่อเช่นนั้นใจของเขาย่อมยินดีในความชั่ว, เพราะว่าในเวลาที่ทำกุศลกรรมเท่านั้นจิตย่อมยินดีในกุศลกรรม, พ้นจากนั้นแล้ว ย่อมน้อมไปสู่ความชั่วได้แท้. ในกาลจบคาถา ชนเป็นอันมาก ได้บรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องพราหมณ์ชื่อจูเฬกสาฎก จบ