การฟังพระธรรม ต้องอาศัย ชื่อ ชื่อเป็นสี่งที่สำคัญมาก

 
pirmsombat
วันที่  26 เม.ย. 2554
หมายเลข  18267
อ่าน  1,880

ข้อความบางตอนจากการบรรยายธรรมโดยท่านอาจารย์ สุจินต์ บริหารวนเขตต์

พระภิกษุ แล้วแบบเดียวที่มีความสงสัยว่า การเจริญสติปัฏฐานนี้ ไม่ต้องมีชื่อว่า

สี่งนั้น สี่งนี้เป็นอะไร ระลึกในสี่งนั้นสี่งนี้เป็นอย่างไร อันนี้ก็มีความสับสนเหมือนกัน

ว่าอย่างการศึกษาการเจริญสติปัฏฐานนี้ ถ้ามีความเข้าใจในเรื่องของอภิธรรมบ้าง ซึ่ง

จะทำให้เรื่องของ จิต เจตสิก ละเอียดยี่งขึ้น อันนี้ก็เกิดการสับสนว่าถ้าเราไม่เข้าใจ

ชื่อเรียกของสี่งนั้นๆ คือจะเป็น นาม หรือเป็น รูป อันใดก็แล้วแต่ จะทำให้เราเข้าใจ

เรื่องการเจริญสติปัฏฐานได้อย่างไร

ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ ไม่เข้าใจ ชื่อ เรียก

การฟังพระธรรม ต้องอาศัย ชื่อ ชื่อเป็นสี่งที่สำคัญมาก

ที่ใขัคำว่า เจตสิก นี่ก็ต้องเป็นชื่อที่แสดงลักษณะ ของสภาพปรมัตถธรรม

ที่ต่างกัน คือไม่ใช่คำเดียวกัน เพราะว่าสภาพธรรมต่างกัน นี่ก็แสดงให้เห็นว่า

เมื่อใช้คำว่า จิต จิตตะ หรือ จิตตัง ก็ตามแต่ ก็จะต้องเข้าใจความหมายของชื่อนั้นว่า

หมายความถึง ปรมัตถธรรมอะไร เป็นสภาพธรรมที่เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้

คือในขณะที่กำลังเห็นนี่เอง เป็น จิต ขณะที่กำลังได้ยินนี่เองเป็นจิต แต่พอพูดถึงคำ

อื่น เช่นคำว่า เจตสิก ก็จะต้องเข้าใจว่า เจตสิกหมายถึงสภาพปรมัตถธรรมอะไร

ไม่ใช่ ไม่ให้เข้าใจเจ้าค่ะ ต้องเข้าใจจริงๆ ให้ถูกต้อง เพราะฉะนั้นต้องสมบูรณ์ทั้ง

พยัญชนะและอรรถ

แต่ว่าการอบรมเจริญปัญญาที่จะประจักษ์ในสภาพที่

ไม่ใช่ สัตว์ บุคคล ไม่ใช่ตัวตนนั้น

ไม่ใช่เพียงเข้าใจคำ

เรื่องของสภาพธรรม

แต่ต้องประจักษ์แจ้งในลักษณะของสภาพธรรม

โดยในขณะนั้น ไม่ได้คิดเรื่องคำ

แต่ว่าถ้าเกิดการคิดนึกขึ้นในขณะนั้นก็เป็นปรมัตถธรรม

เป็นจิตที่คิดคำ

เพราะฉะนั้นปัญญาก็จะต้องละเอียดที่จะต้องรู้ว่า ในขณะที่กำลังคิดเป็นคำๆ ก็

ไม่ใช่เรา จึงสามารถที่จะหมดวิจิกิจฉา ความสงสัยในนามธรรมและรูปธรรมทั้งปวงได้

เพราะว่าถ้ายังมีความสงสัย ยังมีความข้องใจว่าขณะนี้เป็น นามธรรม หรือเป็น รูปธรรม

ที่กำลังคิดนึก สติปัฏฐานเกิดก็จะต้องระลึกรู้ลักษณะของสภาพคิด ซึ่งกำลังมีคำเป็น

อารมณ์ในขณะนั้นว่า ไม่ใช่เราที่คิด และความคิดนั้นก็เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย

พระภิกษุ คือสติปัฏฐาน นี้ก็ไม่เลือกการที่จะระลึกศึกษาเลย

ท่านอาจารย์ ต้องมีปรมัตถธรรมเป็นอารมณ์ มีสภาพธรรมที่มีจริงๆ ซึ่ง เกิด ดับ

เพราะว่าสภาพธรรมที่ เกิด ดับ เป็นปรมัตถธรรม

ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน

เพราะว่าไม่มีตัวตน ในปรมัตถธรรม

เช่นแข็ง ไม่มีเรา ไม่มีใครในแข็ง แข็งเป็นแข็งอย่างดียว

เป็นอย่างอื่นไม่ได้ จะเป็นเราในแข็งไม่ได้ เป็นแข็งอย่างเดียว

เสียงก็เหมือนกันเจ้าค่ะ ไม่มีสัตว์ ไม่มีบุคคลในเสียง

เสียงเป็นเสียงเท่านั้น จะเป็นอื่นจากเสียงไปไม่ได้

สภาพที่ร้อนก็จะเป็นเราร้อน เราเย็นไม่ได้

เพราะว่าสภาพร้อนเป็นร้อนเท่านั้นจะเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้

เพราะฉะนั้นจิตที่เห็นก็เป็นแต่เพียงสภาพที่รู้

คือเห็นสี่งที่ปรากฏทางตา

จะรู้อารมณ์อื่นไม่ได้เลย

เพราะฉะนั้นไม่มีตัวตน ไม่มีสัตว์บุคคล ในสภาพธรรมแต่ละอย่าง

ซึ่งปัญญาจะต้องประจักษ์แจ้งจริงๆ ว่า ไม่ใช่เรา จึงจะดับกิเลสได้เป็นสมุจเฉทเจ้าค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 26 เม.ย. 2554

แต่ว่าการอบรมเจริญปัญญาที่จะประจักษ์ในสภาพที่

ไม่ใช่ สัตว์ บุคคล ไม่ใช่ตัวตนนั้น

ไม่ใช่เพียงเข้าใจคำ

เรื่องของสภาพธรรม แต่ต้องประจักษ์แจ้งในลักษณะของสภาพธรรม

โดยในขณะนั้น ไม่ได้คิดเรื่องคำ

แต่ว่าถ้าเกิดการคิดนึกขึ้นในขณะนั้นก็เป็นปรมัตถธรรม

เป็นจิตที่คิดคำ

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณหมอครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
win@wavf
วันที่ 26 เม.ย. 2554
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
pirmsombat
วันที่ 26 เม.ย. 2554

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณผเดิม คุณคำปั่น และทุกท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
khampan.a
วันที่ 26 เม.ย. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลวิริยะของคุณหมอด้วยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 27 เม.ย. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ธรรมะหน้าเดียว
วันที่ 27 เม.ย. 2554

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
orawan.c
วันที่ 28 เม.ย. 2554

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
Supakij.k
วันที่ 28 เม.ย. 2554

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
wannee.s
วันที่ 28 เม.ย. 2554

ปัญญาขั้นการฟัง ก็เพียงแต่รู้ชื่อ แต่ต้องอาศัยปัจจัยอีกหลายปัจจัย กว่าจะรู้

ตัวธรรมะจริงๆ ต้องเป็นปัญญาที่มั่นคงในสภาพธรรมจริง ๆ ที่ไม่ใช่เพียงชื่อค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
Suparerk
วันที่ 10 พ.ค. 2554
คำตอบของท่านอาจารย์ใน paragraph สุดท้าย ชัดเจนมากๆ ครับ ขออนุโมทนา
 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
raynu.p
วันที่ 28 พ.ค. 2554
กราบอนุโมทนาค่ะ
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ