ให้ทานไม่ได้เพราะเหตุใด [มัจฉริสูตร]
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 161
๒. มัจฉริสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ให้ทานไม่ได้
[๘๗] เทวดาองค์หนึ่ง ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า เพราะความตระหนี่ และความประมาทอย่างนี้ บุคคลจึงให้ทานไม่ได้ บุคคลผู้หวังบุญ รู้แจ้งอยู่ พึงให้ทานได้
[๘๘] ในลำดับนั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้กล่าวคาถาทั้งหลายนี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า คนตระหนี่กลัวภัยใดย่อมให้ทานไม่ได้ ภัยนั้นนั่นแลย่อมมีแก่คนตระหนี่ผู้ไม่ให้ทาน คนตระหนี่ย่อมกลัวความหิวและความกระหายใด ความหิวและความกระหายนั้นย่อมถูกต้องคนตระหนี่นั้นนั่นแลผู้เป็นพาลทั้งในโลกนี้ และในโลกหน้า ฉะนั้น บุคคลควรกำจัดความตระหนี่อันเป็นสนิมในใจ ให้ทานเถิด เพราะบุญทั้งหลาย ย่อมเป็นที่พึ่งของสัตว์ ทั้งหลายในโลกหน้า
[๘๙] ในลำดับนั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้กล่าวคาถาทั้งหลายนี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ชนทั้งหลายเหล่าใด เมื่อของมีน้อยก็แบ่งให้เหมือนพวกเดินทางไกลก็แบ่งของให้แก่พวกที่เดินทางร่วมกัน ชนทั้งหลายเหล่านั้น เมื่อบุคคลทั้งหลายเหล่าอื่นตายแล้ว ก็ชื่อว่าย่อมไม่ตาย ธรรมนี้เป็นของบัณฑิตแต่ปางก่อน ชนพวกหนึ่งเมื่อของมีน้อยก็แบ่งให้ ชนพวกหนึ่งมีของมาก ก็ไม่ให้ ทักษิณาที่ให้แต่ของน้อย นับเสมอด้วยพัน
ฯลฯ
[๙๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า คำของพวกท่านทั้งหมดเป็นสุภาษิต โดยปริยาย ก็แต่พวกท่านจงพึงคำของเราบ้าง บุคคลแม้ใด พึงประพฤติธรรม ประพฤติสะอาด เป็นผู้เลี้ยงภริยา และ เมื่อของมีน้อยก็ไห้ได้ เมื่อบุรุษแสนหนึ่ง บูชาภิกษุพันหนึ่ง หรือบริจาคทรัพย์พันกหาปณะ การบูชาของบุคคลเหล่านั้น ย่อมไม่ถึงส่วนร้อย ของบุคคลอย่างนั้น
ฯลฯ
การบูชาของบุคคลเหล่านั้น ย่อมไม่ถึงส่วนร้อย ของบุคคลอย่างนั้น หมายความว่าอย่างไรครับ
ตอบความเห็นที่ 2
ที่ว่า ย่อมไม่ถึงส่วนร้อย ของบุคคลอย่างนั้น บุคคลนั้นในที่นี้หมายถึงผู้ประพฤติธรรม
ตอบความเห็นที่ 3
การทำบุญได้บุญมากอยู่ที่สภาพจิตเป็นสำคัญ ไม่ขึ้นอยู่กับวันเวลา คือ สภาพจิตก่อนให้ ดีใจ ขณะให้และหลังให้ก็เช่นกัน คือ มีเจตนาทั้ง ๓ กาล และผู้ให้เป็นผู้ประพฤติธรรม