ที่พึ่ง [ตอนที่ ๒ จบ...ที่พึ่งที่แท้จริงของชีวิต]
ทุกคนที่เกิดมาแล้ว ล้วนต้องจากโลกนี้ไป ระหว่างที่มีชีวิตอยู่นั้น จะพึ่งอะไร ที่พึ่งที่แท้จริงคือ ทุกคนต้องตาย ที่พึ่งคือ ไม่หวั่นไหวที่ต้องตาย เพราะว่ามีความ เข้าใจว่าธรรมทั้งหลายไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาได้ ที่พึ่งที่แท้จริงสูงสุด ก็คือ ความเข้าใจธรรมซึ่งเป็นปัญญาที่เข้าใจความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ซึ่งจะ เป็นที่หลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวง การที่ปัญญารู้ความจริงของสภาพธรรมโดยความ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา จนถึงการดับกิเลสหมดสิ้น หลุดพ้นจากการเวียน ว่ายอยู่ในสังสารวัฏฏ์ ก็ต้องเริ่มจากขณะนี้ ฟังพระธรรมให้เข้าใจ ค่อยๆ สะสมความ เข้าใจถูกเห็นถูกในสภาพธรรมทั้งหลาย การพิจารณาธรรมโดยแยบคาย แสงเงิน แสงทองที่เริ่มส่องแสงในกาละที่พระสัทธรรมยังดำรงอยู่ ในขณะที่ยังมีกัลยาณมิตร หนทางคือการอบรมเจริญสติปัฏฐานก็มีอยู่ จงมีธรรมเป็นที่พึ่งคือสติปัฏฐาน มีตน เป็นเกาะมีตนเป็นที่พึ่ง ตนนั้นหมายถึง สภาพธรรมซึ่งเป็นจิต เจตสิก และรูป การ เจริญกุศลต่างๆ ซึ่งจะเป็นที่พึ่งได้ ที่พึ่งของชีวิตนั้นอยู่ที่ความเข้าใจความจริงเข้า ใจพระธรรมคำสอน เทศนาโวหารต่างๆ หลายนัยะส่องให้เข้าใจถึงสิ่งที่มีจริงที่กำลัง ปรากฏในชีวิตประจำวัน ทั้งหมดมีอรรถเหมือนกันคือ มีธรรมคือสติปัฏฐานเป็นที่พึ่ง.. มีตนเป็นเกาะมีตนเป็นที่พึ่ง...มีพระรัตนตรัยเป็นสรณะ เป็นที่พึ่งสูงสุด...บุญเท่านั้น ที่จะเป็นที่พึ่ง...การมีกัลยาณมิตรเป็นที่พึ่ง...
ขอเชิญคลิกอ่านได้ที่...
โยนิโสมนสิการเป็นนิมิตแห่งอริยมรรค [ทุติยโยนิโสมนสิการสัมปทาสูตร]
....ขออนุโมทนาค่ะ..
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
ความเข้าใจเรื่องโยนิโสมนสิการ
โยนิโสมนสิการคือสภาพธรรมที่มีจริง เป็นเจตสิกที่เป็น มนสิการเจตสิก มนสิการเจตสิก เกิดกับจิตทุกประเภท ขณะใดที่เป็นไปในกุศล มนสิการเจตสิกนั้นเป็นโยนิโสมนสิการ การ พิจารณาโดยแยบคาย โดยถูกต้อง แต่ขณะใดจิตเป็นอกุศล ขณะนั้นมนสิการเจตสิกเป็น อโยนิโสมนสิการ เป็นการพิจารณาโดยไม่แยบคาย ไม่ถูกต้องครับ
โยนิโสมนสิการ คือการทำไว้ในใจโดยถูกอุบาย การทำไว้ในใจโดยถูกทาง การนึก การน้อมนึก การผูกใจการใฝ่ใจ การทำไว้ในใจอย่างถูกต้อง ซึ่งขณะใดที่กุศลจิต เกิดขณะนั้นจะต้องมีโยนิโสมนสิการเกิดขึ้นด้วยเสมอ เพราะฉะนั้นจึงไม่มีตัวตนที่จะ ทำโยนิโสมนสิการ จะทำการพิจารณาโดยแยบคาย เพราะขณะใดที่กุศลจิตเกิด โยนิโสมนสิการก็เกิดแล้วในขณะนั้น ไม่มีใครทำโยนิโสเลยครับ เพราะธรรมทำ หน้าที่นั่นเอง เช่นเดียวกับอโยนิโสมนสิการ ไม่มีใครเลยที่จะพูดว่าหรืออยากจะ ทำอโยนิโสมนสิการเพราะรู้ว่าเป็นธรรมที่ไม่ดี แต่ขณะใดที่อกุศลจิตเกิด ขณะนั้นก็ เป็นอโยนิโมนสิการแล้ว ไม่ตองทำก็เป็นอโยนิโสมนสิการแล้วครับ จะเห็นถึงความเป็น อนัตตาเพราะการที่ธรรมทำหน้าที่ของเขาเองครับ แม้โยนิโสมนสิการ ไม่มีใครทำครับ
โยนิโสมนสิการไม่ใช่ปัญญา
โยนิโสมนสิการ คือมนสิการเจตสิกส่วนปัญญาเป็นปัญญาเจตสิก โยนิโสมนสิการ เกิดกับกุศลจิตทุกประเภท แต่ปัญญาไม่ได้เกิดกับกุศลจิตทุกประเภท ขณะที่มีปัญญา ขณะนั้นมีโยนิโสมนสิการ ขณะที่มีโยนิโสมนสิการไม่จำเป็นจะต้องมีปัญญา เช่น ขณะ ที่ให้ทาน เป็นกุศลจิต มีโยนิโสมนสิการเกิดร่วมด้วย แต่ขณะนั้นไม่จำเป็นต้องมีปัญญา เกิดร่วมด้วยครับ เพระาฉะนั้นจะต้องไม่สำคัญผิดว่าโยนิโสมนสิการเป็นปัญญาครับ ในมิลินทปัญญาพระนาคเสนท่านแสดงความแตกต่างของโยนิโสมนสิการและ ปัญญาไว้ว่า เมื่อเกี่ยวข้าว การจับรวงข้าวคือลักษณะของโยนิโสมนสิการ คือการจับ พิจารณาด้วยดี การถือเอาด้วยดี ส่วนปัญญาเปรียบเหมือนลักษณะที่เคียวตัดข้าว มี ลักษณะตัดขาด เพราะรู้ตามความเป็นจริง แต่เพราะอาศัยโยนิโสมนสิการ มีการถือเอา ด้วยดีจึงมีการตัดขาดด้วยปัญญาครับ
โยนิโสมนสิการจึงมีหลายระดับเพราะกุศลมีหลายระดับ (โยนิโสมนสิการเกิดกับ กุศล ทุกประเภท) เพราะฉะนั้นโยนิโสมนสิการที่เป็นแสงเงิน แสงทอง เป็นเบื้องต้น ในการเจริญอริยมรรคในการบรรลุธรรม โยนิโสมนสิการนั้นจะต้องไม่ใช่โยนิโสมนสิการ ที่เกิดกับกุศลจิตขั้นทาน ศีล และสมถภาวนา แต่ต้องเป็นโยนิโสมนสิการที่เกิดร่วมกับ กุศลจิตที่ประกอบด้วยปัญญาในขั้น วิปัสสนานั่นคือการเจริญสติปัฏฐานครับ จึงเป็น แสงเงิน แสงทองก่อนที่พระอาทิตย์จะขึ้นคือเป็นเบื้องต้นที่จะทำให้ถึงอริยมรรค มีองค์ 8 อันนำไปสู่การบรรลุธรรม เพราะฉะนั้นโยนิโสมนสิการคือพิจารณาโดยแยบคาย โดย ถูกต้องในสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา พิจารณาโดยอุบายอันถูก ต้องของสภาพธรรมที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์และเป็นอนัตตาครับ ขณที่ี่ระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริง ขณะนั้นก็มีโยนิโสมนสิการเกิดแล้ว ไม่ต้องไปทำโยนิโสมนสิการ ไม่ต้องมีตัวตนไปพิจารณาให้แยบคาย เมื่อปัญญาเกิด โยนิโสมนสิการก็เกิดพร้อมกับปัญญานั่นเองครับ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑- หน้าที่ 157
โยนิโสมนสิการกับอโยนิโสมนสิการทั้ง ๒ อย่างนั้น ที่ชื่อว่า โยนิโสมนสิการ ได้แก่ การทำไว้ในใจโดยถูกอุบาย = การทำไว้ในใจโดยถูกทาง= การนึก = การน้อมนึก = การผูกใจ = การใฝ่ใจ = การทำไว้ในใจ ซึ่งจิตในอนิจจลักษณะเป็นต้น โดยนัยเป็นต้นว่า ไม่เที่ยง หรือโดยสัจจานุโลมิก-ญาณ นี้เรียกว่า โยนิโสมนสิการ
เหตุให้เกิดโยนิโสมนสิการ
เหตุให้เกิดโยนิโสมนสิการและเจริญมากขึ้นจนบริบูรณ์ก็คือการคบสัตบุรุษและการ ได้ฟังพระสัทธรรม ได้ฟังธรรมที่ถูกต้อง เืมื่อได้ฟังธรรมที่ถูกต้องย่อมได้คิดพิจารณาใน สิ่งที่ถูก ขณะนั้นเป็นกุศลจิต มีปัญญา ขณะนั้นก็มีโยนิโสมนสิการอันประกอบด้วย ปัญญาเกิดขึ้นเพราะฉะนั้นการฟังพระธรรมและการคบสัตบุรุษจึงเป็นเหตุและมีอุปการะ มากในการเจริญขึ้นของโยนิโสมนสิการ ที่สำคัญการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมใน เรื่องของสภาพธรรม ในเรื่องการเจริญสติปัฏฐานย่อมเป็นปัจจัยให้เกิดโยนิโสมนสิการ ที่เป็นแสงเงิน แสงทองอันนำไปสู่การเจริญอริยมรรค มีองค์ 8 และถึงการดับกิเลสได้ ในที่สุด เพราะฉะนั้นไม่ต้องไปทำโยนิโสมนสิการ แต่ศึกษาพระธรรม ฟังพระธรรม ขณะที่เข้าใจ ขณะที่ระลึกสภาพธรรมที่มีจริง ขณะนั้นก็เป็นโยนิโสมนสิการอันเป็นแสง เงิน แสงทองเป็นเบื้องต้นในการบรรลุธรรมแล้วครับ
ขออนุโมทนา
[เล่มที่ 38] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้าที่ 203
ตัณหาสูตร
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังนี้ การคบสัปบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมยังการ ฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์ การฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์ย่อมยังการทำไว้ในใจโดยแยบคาย ให้บริบูรณ์ การทำไว้ในใจโดยแยบคายที่บริบูรณ์ ย่อมยังสติสัมปชัญญะให้บริบูรณ์ สติสัมปชัญญะ..... โพชฌงค์ ๗ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์
อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
เป็นความจริงที่ว่า ไม่มีบุคคใดที่เกิดมาแล้วจะไม่ตาย ไม่มีบุคคลใดที่จะหนีความตายไปได้ เกิดมาแล้ว ต้องตายทุกคน จักต้องตายอย่างแน่แท้ เพราะชีวิตมีความตายเป็นที่สุด ไม่ช้าก็เร็ว และไม่มีใครทราบได้ว่า ความตายจะมาถึงเมื่อใด เพราะเหตุว่า ไม่มีใครสามารถรู้ได้ว่าชีวิตจะดำรงอยู่อีกยาวนานเท่าใด จะตายเมื่อใด จะตายที่ไหน จะตายด้วยโรคอะไร และ ตายแล้วจะไปไหน ตราบใดที่ยังมีกิเลส ตายแล้วเกิด เกิดแล้วตายภพแล้วภพเล่า วนเวียนอยู่ในสังสารวัฏฏ์อย่างไม่มีวันจบสิ้น ความตายเป็นสัจจธรรม (ความจริง) ที่ทุกคนจะต้องประสบ อย่างไม่ต้องสงสัย ช่วงเวลาที่ยังมีชีวิตอยู่ เป็นช่วงเวลาที่สำคัญ จึงไม่ควรประมาท ไม่ประมาทในการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมสะสมปัญญาต่อไป เพราะเหตุว่าเป็นการยากมากที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ แต่ก็ได้เกิดมาแล้ว และในขณะนี้พระสัทธรรมยังดำรงอยู่ อีกทั้งยังมีโอกาสได้พบกับกัลยาณมิตรผู้มีปัญญาเข้าใจพระธรรมตามความเป็นจริง ที่แสดงพระธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง เป็นผู้ส่องแสงสว่างในที่มืด คอยกำจัดความมืดคืออวิชชา บอกหนทางที่ควรเดินให้สำหรับผู้มีโอกาสได้ฟัง ได้ศึกษา จึงไม่ควรล่วงเลยขณะอันมีค่าเหล่านี้ไป
ทรัพย์สมบัติ รวมไปถึงญาติสนิทมิตรสหาย ไม่ใช่ที่พึ่งอย่างแท้จริง เพราะในที่สุดแล้วก็จะต้องจากพลัดพรากจากสิ่งเหล่านี้ไป ซึ่งแท้ที่จริงก็จากอยู่ทุกขณะ ดีที่สุด คือ ประพฤติตนเป็นคนดี สุจริตทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ พร้อมทั้งมีความมั่นคงที่จะฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมให้เข้าใจ เป็นปัญญาของตนเอง มีธรรมะเป็นเกาะ (เกาะ หมายถึง ส่วนที่น้ำท่วมไม่ถึง คำว่า มีธรรม เป็นเกาะ จึงหมายถึงมีธรรมที่เป็นที่พึ่งดุจเกาะที่อยู่กลางมหาสมุทร เป็นที่พึ่งที่ทำให้สัตว์โลกไม่จมในมหาสมุทรคือกิเลสทั้งหลาย ซึ่งได้แก่ ปัญญา ที่เข้าใจสภาพธรรมตามความจริง) และ มีธรรมะเป็นที่พึ่ง สะสมความเข้าใจพระธรรมไปในภพชาติต่อๆ ไป จึงจะเป็นผู้มีชีวิตไม่ว่างเปล่าจากประโยชน์ในชาติที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ และได้พบพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นคำสอนของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ถึงแม้ว่าจะยังไม่มีปัญญาที่เจริญขึ้นคมกล้าขึ้นจนสามารถรู้แจ้งอริยสัจจธรรมในชาตินี้ แต่ก็สะสมเป็นที่พึ่ง สะสมเป็นอุปนิสัยที่ดีต่อไป เพราะการเดินทางในสังสารวัฏฏ์ยังอีกยาวไกล อย่างน้อยๆ ในชาตินี้ก็ได้เริ่มสะสมปัญญาแล้ว ครับ.
...ขอบพระคุณพี่เมตตาและขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
ไม่ควรปล่อยวันเวลาให้ไร้ประโยชน์ ราตรีล่วงไปเท่าใด ชีวิตของสัตว์ก็ล่วงไปเท่านั้น จึงไม่ควรประมาทเวลาค่ะ