พระศรีมหาโพธิ์กับการทำผาติกรรม
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
ธรรมเป็นเรื่องละเอียดและทีละประเด็นนะครับ
ประเด็นเรื่องผาติกรรมก่อนครับ
ผาติกรรมคือ การชดเชยของสงฆ์ ด้วยสิ่งอื่น ซึ่งของที่จะต้องชดเชยก็ต้องมีค่าเท่า กันหรือมากกว่าจึงจะสมควรในการเป็นผาติกรรม อย่างเช่น ในกรณีของพระภืกษุรูปหนึ่ง ต้องการไม้ไผ่ซึ่งเป็นของสงฆ์ ไปใช้ ท่านก็ต้องทำผาติกรรมกับสงฆ์โดยแลกเปลี่ยนกับ สิ่งที่ค่าเท่ากันหรือมากกว่าครับ เพราะว่าเป็นของสงฆ์จะถือวิสาสะไม่ได้ต้องพิจารณา ก่อนครับ สำหรับใบไม้ หญ้า ต้นไม้ที่เกิดขึ้นในบริเวณของสงฆ์ ถ้าจะตัดนำเอาไป ก็จะ ต้องพิจารณาก่อนจะเอาไปส่วนตัวไม่ได้ครับ ต้องขออนุญาตสงฆ์ ส่วนสำหรับคฤหัสถ์เมื่อยืมของสิ่งใดไปใช้เกิดเสียหายก็ต้องใช้คืนตามราคาหรือ มากกว่าก็ได้ครับ แต่ไม่ได้หมายถึงต้องเป็นผาติกรรมเพราะ ผาติกรรมเป็นกิจของสงฆ์ ด้วยกันเป็นส่วนมากครับ เพียงแต่ว่าถ้าทำอะไรเสียหายเมื่อยืมของวัด ของสงฆ์มาใช้ก็ ใช้คืนตามราคาหรือมากกว่าก็เท่านั้นซึ่งเป็นธรรมเนียมที่ถูกต้องครับ
สำหรับในเรื่องประเด็นของใบโพธิ์และที่ดินของวัดต่างๆ ตามความเห็น ตามความเข้าใจ นั้น ในกรณีของต้นพระศรีมหาโพธิ์ ไม่ได้ตั้งอยู่ในเขตวัด เขตของพระภิกษุสงฆ์ที่จะต้องมี การทำผาติกรรม ชดใช้ แต่ประด็นอยู่ที่ว่าในพระไตรปิฎกพูดถึงการดูแล การปฏิบัติกับต้น โพธิ์ไว้ครับซึ่งเป็นเรื่องละเอียดทีเดียว ซึ่งจะขออธิบายดังนี้
การปฏิบัติกับต้นโพธิ์ ถ้าบุคคลมีเจตนาทำร้ายต้นโพธิ์ด้วยนึกถึงพระพุทธเจ้า กรรม นั้นเป็นกรรมหนัก มีโทษเท่าอนันตริยกรรม อันนี้เป็นเจตนาร้ายครับ เป็นอกุศลเจตนา จึงเป็นกรรมหนัก แต่ถ้าบุคคลตัดกิ่งโพธิ์เพราะว่า กิ่งโพธิ์นั้นเบียดพระเจดีย์ที่บรรจุพระ บรมสารีริกธาตุก็ตัดได้ หรือขึ้นเบียดพระพุทธรูปก็ตัดกิ่งโพธิ์ที่เบียดได้ ไม่เป็นไร นี่เป็น เจตนาดีครับ เจตนาดีไม่เป็นไรครับ ถ้าพวกนกถ่ายอุจาระเปื้อนกิ่งโพธิ์ตัดกิ่งโพธิ์นั้นทิ้ง ก็ไม่เป็นไร เพราะไม่ใช่เจตนาประทุษร้าย เจตนาดี หรือจะตัดกิ่งโพธิ์เพื่อให้ต้นโพธิ์ เจริญงอกงามดีอันนี้ก็ไม่เป็นไร จะเห็นได้ว่าสำคัญที่เจตนาเป็นสำคัญ เจตนาดีก็ไม่ เป็นไร คือเจตนารักษาต้นโพธิ์ครับ
ส่วนในกรณีที่ใบโพธิ์ล่วงลงมาจากต้นแน่นอนครับว่าต้นพระศรีมหาโพธิ์แม้จะไม่ได้ อยู่ในเขตที่เป็นสีมา เป็นเขตของสงฆ์ที่จะต้องมีการทำผาติกรรม แต่ว่าต้นพระศรีมหา โพธิ์หรือสิ่งใดที่มีการบูชาก็เป็นของพระรัตนตรัย ควรแก่การพิจารณาและเคารพอย่าง ยิ่ง อันเป็นเหมือนตัวแทนพระพุทธเจ้าครับ
ดังนั้นใบโพธิ์ที่ร่วงลงมา เก็บมาเพื่ออะไร สำคัญตรงนี้ครับ
แน่นอนครับว่าใบโพธิ์ ที่ร่วงมาแล้ว ไม่มีผลอะไรกับต้นโพธิ์นั้นอีกคือไม่สามารถทำให้ต้นโพธิ์ล้มตายเพราะ การเก็บใบโพธิ์ที่ร่วง แต่สำคัญที่เก็บใบโพธิ์เพื่ออะไร เพื่อน้อมไปสักการะบูชา เจตนา เป็นอย่างไรครับ เจตนาดี เพื่อบูชาพระพุทธเจ้าในส่วนที่หล่นลงมาแล้วและก็ไม่ใช่ ของสงฆ์ที่อยู่ในเขตวัดที่มีพระภิกษุอยู่ครับ ที่สำคัญที่สุด เจตนาดีในขณะนั้น แต่บาง บุคคลอาจเก็บไปขาย เจตนาดีหรือไม่ ดังเช่นที่เราเห็นที่พุทธคยาที่แขกเก็บมาเพื่อ ขาย นั่นก็ผิด เจตนาไมดี ดังนั้นดีไม่ดี สำคัญที่เจตนาด้วยครับ เพราะควรแก่การ เคารพ สักการะ ไม่ใช่การแลกเปลี่ยนครับ
แต่ถ้าจะไปตัดกิ่งโพธิ์เลยหรือเด็ดใบที่ต้นพระศรีมหาโพธิ์หรือต้นใดก็ตามเอามาบูชา นั่นไม่สมควรครับ เพราะอาจเป็นอันตรายกับ ต้นโพธิ์ได้ แม้ในพระไตรปิฎกยังกล่าวว่าแม้การจะตัดกิ่งโพธิ์เพราะเบียดบังอาสนะของ ตนก็ไม่ควรครับ
ดังนั้นการเก็บใบโพธิ์ที่ร่วงแล้วที่ต้นพระศรีมหาโพธิ์ไม่เป็นไรครับ ด้วยเจตนาที่ดีคือนำไปเคารพ สักการะหรือให้ผู้อื่นสักการะบูชาครับ
ซึ่งเหตุการณ์นี้คือการเก็บใบโพธิ์ที่ร่วงจากต้นผิดหรือไม่ สำคัญที่เจตนาเป็นสำคัญ ที่สำคัญมีเหตุการณ์ในอดีตให้พิจารณาและจะแจ่มแจ้งเมื่อได้อ่านครับ ซึ่งมีเหตุการณ์ ในสมัยเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว 200 กว่าปี พระเจ้าอโศกมหาราช ต้องการ เผยแพร่พระพุทธศาสนาไปที่ศรีลังกา ครั้งนั้นท่านได้ให้พระสังฆมิตตาเถรี (เป็นราช ธิดาของพระองค์) ได้ไปเผยแพร่เพื่ออุปสมบทพระภิกษุณีที่นั่น แต่ก่อนจะไปนั้น พระ เจ้าอโศกมหาราช มีความปรารถนาจะให้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ไปบูชาที่เกาะศรีลังกา พระองค์ไม่ได้ไปตัดกิ่งที่ต้น แต่พระองค์ทรงตั้งสัตยธิษฐานว่าหากต้นพระศรีมหาโพธิ์ สมควรไปที่เกาะลังกาไซร้ก็ขอให้ต้นพระศรีมหาโพธิประดิษฐานที่กระถางนี้
เมื่อตั้ง อธิษฐานเสร็จ กิ่งต้นพระศรีมหาโพธิ์ก็ขาดลงมาเอง ลงมาที่กระถาง และก็นำไปที่ศรีลังกา เพื่อให้คนสักการะกัน ครับซึ่งปัจจุบันต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่ศรีลังกาก็ยังอยู่ยังไม่ตายเลยครับ ตัวอย่างนี้จะเห็นได้ว่าไม่ควรไปตัดกิ่งเอง แต่เมื่อกิ่งล่วงมาแล้ว เราก็เอาไปบูชาเองหรือให้บุคคลอื่นบูชา ดังเช่นพระเจ้าอโศกนำกิ่งไปให้ชาวศรีลังกาบูชาครับ
ส่วนใบต้นพระศรีมหาโพธิ์โพธิ์ที่ร่วงลงมา ก็สามารถเก็บไปบูชาเองหรือให้บุคคลอื่น บูชาได้ครับเพราะเจตนาดี ดังมีเรื่องพระเจ้าอโศกเป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่องนี้ครับ ขอเสริมอีกนิดครับในเรื่องต้นพระศรีมหาโพธิ์ซึ่งกระผมได้เคยอ่านในพระไตรปิฎกบาง เรื่องที่เป็นอดีตชาติของพระสาวกที่ท่านได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ ท่านก็กล่าวว่าเพราะ ท่านเก็บใบโพธิ์ที่หล่นแล้วไปทิ้ง ด้วยเจตนาทำความสะอาด เพราะผลบุญนั้นท่านก็ เข้าสู่สุคติมากมายนับไม่ถ้วนและบัดนี้ท่านก็ได้บรรลุครับ ดังนั้นสำคัญที่เจตนาเป็น สำคัญครับ
ส่วนในเรื่องดินของวัดต่างๆ ที่เอาไปนั้น ในเมื่อเป็นที่ดินของสงฆ์ ควรพิจารณาและ รับอนุญาตจึงจะเหมาะสม แต่คงไม่ลืมว่าเรามีเจตนาดี แต่ทุกสิ่งทุกอย่างก็ต้องพิจารณา ก่อนทำครับซึ่งถ้าไม่สบายใจก็เพียงฝากสิ่งของปัจจัยที่เหมาะสมถวายแด่สงฆ์ ก็เป็น การได้ทำบุญด้วยครับ ในวัดที่เราเอาดินไป
เจตนาดี กุศลเจตนา ก็ขออนุโมทนาครับที่บูชาบุคคลที่ควรบูชาครับ และที่สำคัญ ไม่ลืมที่จะอบรมปัญญาเพื่อเข้าใจถึงความเป็นโพธิคือการตรัสรู้อันเป็นจุดประสงค์สูงสุด ที่พระองค์ตรัสรู้ก็เพื่อช่วยให้หมู่สัตว์ตรัสรู้ตาม นั่นคือฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม ครับ
หวังว่าคงเข้าใจและสบายใจขึ้นด้วยเพราะความเข้าใจที่ถูกขึ้นนะครับ ขออนุโมทนา
อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
กราบขอบพระคุณอาจารย์เผดิมครับ ขอเรียนให้ทราบว่าใบพระศรีมหาโพธิ์ที่ ผมได้มาด้วยความเคารพสูงสุดนี้มีที่มา กล่าวคือผมได้นำดินปั้นโอ่งราชบุรีจากไทย ไปถวายไว้ ณ สังเวชณียทั้งสี่ เฉพาะที่พระศรีมหาโพธิ์เมื่อผมนำดินดังกล่าวไปถวาย ไว้แล้วร่วมสวดมนต์กับคณะ ครั้นถึงเวลาเดินทางกลับมีน้องชายคนหนึ่งเกิดความ สงสารชวนผมเดินไปหาใบพระศรีฯ เพื่อนำกลับมาบูชาที่เมืองไทยเพราะในคณะ ยกเว้นผมได้กลับมาบูชาเกือบทุกคน เมื่อเดินกลับไปตรงที่ผมนำดินไปถวายน้องได้ พบใบพระศรีฯ เล็กๆ ตกอยู่หนึ่งใบ ขณะที่น้องยื่นให้ผมๆ ได้หันกลับไปเห็นใบพระศรี มหาโพธิ์ใหญ่เท่าฝ่ามือตกห่างจากดินที่ถวายไม่ถึงคืบ ผมเกิดความปิติเป็นอย่างยิ่ง พร้อมนำใบพระศรีฯดังกล่าวกลับมาบูชาที่เมืองไทย แต่เมื่อนำของฝากไปให้ญาติ มิตรบางคนเตือนด้วยความหวังดีในทำนองเอาของวัดมาจะบาปหนักมาก คำเตือนนี้ ทำให้ผมไม่กล้าที่จะเก็บใบพระศรีฯไว้อีก หมดแรงเลยครับ จนเมื่อต้นปีที่ผ่านมามี โอกาสเดินทางไปแดนพุทธภูมิอีกครั้งว่าจะนำไปคืน แต่ด้วยความเสียดายผมทำเป็น ลืมไม่ได้นำไปตอนนั้นสับสนมากครับ แต่ในวันนี้เมื่อได้รับความอนุเคาระห์จากคำตอบ ของอาจารย์ ผมไม่สับสนแล้วและจะขอเก็บสิ่งศักดิ์สิทธิสูงสุดนี้บูชาไว้เหนือเศียร เกล้าผมต่อไป
ส่วนดินที่วัดเชตวันตรงกุฎีพระสีวลีผมได้ถวายปัจจัยไว้ที่แท่นบูชาแล้วครับ
ตามความเห็นที่ 6 คือภาพพระศรีมหาโพธิ์ และกุฏีองค์พระตถาคตเจ้าที่ พระเชตวันใช่มั้ยครับ เห็นกี่ครั้งก็เกิดความปิติซาบซึ้งทุกครั้งครับ
ใช่ครับ ต้นพระศรีมหาโพธิ์และพระคันธกุฎีพระพุทธเจ้าที่พระเชตวันมหาวิหาร ซึ่ง สถานที่สองแห่งนี้คือสถานที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้คือต้นพระศรีมหาโพธิ์และเตียงที่ประทับ ที่คันธกุฎีที่พระเชตวัน พระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์จะไม่ทรงละ คือทุกๆ พระองค์จะต้อง ตรัสรู้ ณ จุดนี้และเตียงที่ประทับที่คันธกุฎีที่พระเชตวัน พระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ก็ ประทับ ณ จุดนี้เสมอไม่เปลี่ยนแปลงเลยครับ สถานที่ทั้งสองแห่งนี้จึงอัศจรรย์ด้วยพระ คุณธรรมของพระพุทธเจ้า ผู้ที่มีศรัทธา เลื่อมใสอันเกิดจากความเข้าใจ ย่อมเกิดปิติ โสมนัสเมื่อได้เห็นสถานที่อันควรเห็น อันเป็นสังเวชนียสถาน สถานที่ที่พุทธบริษัทควร เห็นและเกิดศรัทธาและเกิดความสังเวชด้วยปัญญา อันทำให้ปรารภความเพียรที่จะ ศึกษาพระธรรมต่อไปครับ
ขออนุโมทนา
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
โพธิพฤกษ์ หรือ ต้นโพธิ์, ต้นพระศรีมหาโพธิ์ เป็นต้นไม้เป็นที่่ตรัสรู้ (โพธิ หมายถึง ปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้) เป็นต้นไม้ที่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมสัมพุทธเจ้า ทรงบำเพ็ญพระบารมีมาตลอดระยะเวลานานถึงสี่อสงไขยแสนกัปป์ เมื่อทรงเป็นพระโพธิสัตว์ เพื่อที่จะได้เสด็จมาประทับ ณ บรเวณใต้ต้นไม้ต้นนี้ แล้วตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นการตรัสรู้โดยชอบได้โดยพระองค์เอง ไม่มีใครเป็นครูเป็นอาจารย์ โพธิพฤกษ์ จึงเป็นบริโภคเจดีย์ เป็นสถานที่ที่พระองค์ทรงใช้สอย เป็นเครื่องเตือนให้พุทธศาสนิกชนได้ระลึกถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ที่ได้ศึกษาพระธรรม ได้เข้าใจพระธรรม ก็จะซาบซึ้งในพระคุณของพระองค์ที่ทรงมีพระมหากรุณาเกื้อกูลแก่สัตว์โลกด้วยการทรงแสดงพระธรรมตลอด ๔๕ พรรษา วันหนึ่งๆ พระองค์ทรงมีเวลาพักผ่อนน้อยมาก ทั้งหมดเพื่อประโยชน์แก่สัตว์โลกโดยแท้
เมื่อได้เดินทางไปกราบนมัสการสังเวชนียสถาน และ พุทธสถาน ที่ประเทศอินเดียโดยเฉพาะที่พุทธยคา ซึ่งเป็นสถานที่ที่พระองค์ทรงตรัสรู้ ก็จะมีต้นพระศรีมหาโพธิ์ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วที่ไป ก็จะเก็บใบที่ร่วงหล่นลงมาที่พื้น เพื่อสักการะบูชาระลึกถึงพระคุณของพระองค์ และยังนึกถึงผู้อื่น ประสงค์จะให้ผู้อื่นได้เกิดกุศลจิตในส่วนนี้ด้วย ก็นำมาฝากเพื่อนๆ ญาติๆ เป็นต้นที่ไม่ได้ไป (ดังที่คุณ oj.simon คุณไตรสรณคมณ์ เป็นต้น ได้กระทำ) เป็นกุศลเจตนา เป็นเจตนาที่ดี ไม่ได้ผิดแต่ประการใด ครับ
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณ oj.simon, คุณผเดิม และ ทุกๆ ท่านครับ...
ขอเรียนตามตรงว่าเว็ปไซด์นี้เป็นเว็ปที่มีความอบอุ่นอย่างยิ่งครับ ขออนุโมทนาในกุศลจิตของอาจารย์คำปันและของทุกๆ ท่านด้วยครับ
อยู่ที่เจตนาเอามาเพื่ออะไร เช่น ใบโพธิ์ พระพุทธรูป เอามาบูชา เพื่อเตือนสติ ให้ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า เตือนให้ไม่ประมาท ให้ทำความดี ละเว้นความชั่ว และการบูชาที่สูงสุดคือการปฏิบัิติตามพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าค่ะ
อ่านแล้วขอถามที่สงสัยมานาน คือ ที่บ้านชอบมีต้นโพธิ์มาขึ้นตามซอกกำแพงรั้ว บ้าน (คิดว่านกบินผ่านมาอึทิ้งไว้) เลยให้คนถอนออกเพราะถ้าต้นใหญ่มีปัญหาแน่ ตั้ง3-4ต้น คนกลัวกันเลยบอกว่าดึงไม่ขึ้นเพราะรากยาว (ต้นสูงแค่ฝ่ามือเอง) ก็เลยต้อง ทำเองคือเอาน้ำมารดขันนึงแล้วก็ดึงออกง่ายๆ เบาๆ ทั้งต้นไม่ขาด ตอนนั้นไม่ได้นึก อะไรเลย พอพี่สาวทราบก็บอกว่าต้นโพธิ์หรือต้นไม้ใหญ่ๆ ส่วนมากจะเป็นที่อาศัยของ เทวดา ทำให้คิดว่าไปทำลายที่อยู่อาศัยเทวดาหรือเปล่า (แต่ต้นนี้เล็กอยู่) พอวันหลังมี ขึ้นอีกก็เลยดึงมาใส่กระถางไว้ระยะหนึ่ง ค่อยนำไปปลูกที่วัดในต่างจังหวัด ฟอร์มต้น สวยมาก ตอนที่ถอนมาลงกระถางก็พูดว่านำมาลงกระถางเพื่อจะไปไว้ในที่เหมาะสม ใครจะอยู่อาศัยหรือเป็นเจ้าของก็ดูแลเอานะ และจะพูดทุกครั้งที่รดน้ำ เลยอยากจะถาม ว่าการที่เราถอนต้นโพธิ์ (ตามเหตุผลข้างบน) ถือเป็นการประทุษร้ายหรือเปล่า และทุก ต้นมั้ยที่ถือเสมือนหรือเป็นบริโภคเจดีย์ ต้นโพธิ์ใหญ่ๆ ถ้าเป็นสัญลักษณ์การเกิด ปัญญาของพระพุทธเจ้า แล้วจะมีสิ่งอื่นมาอาศัยได้หรือ
คำถามอาจจะแปล่งๆ เพราะไม่ทราบว่าจะ เริ่มคำถามยังไงดี แต่เพราะทราบว่าท่าน คงให้คำตอบที่เป็นเหตุเป็นผลเกี่ยวกับเรื่องนี้ จึงได้พยายามเรียบเรียงเหตุการณ์และ ความคิดเท่าที่นึกได้ และที่อยากได้คำตอบ เพราะว่าส่วนตัวถึงแม้มีความพยายาม เจริญสติ ก็ไม่ได้เกิดตลอด เลยจึงยังอยากได้ข้อคิดข้อเตือนใจต่างๆ ที่สามารถนำมา พิจารณาเพื่อ สำรวม หลีกเลี่ยง หรือแม้แต่สร้างกุศลเล็กๆ น้อยๆ เพื่อเป็นปัจจัยใน อนาคตกาล ขอขอบพระคุณอย่างสูงค่ะ
เรียนความเห็นที่ 15 ครับ
ในพระไตรปิฎกแสดงว่าการจะตัดหรือถอนต้นโพธิ์เพราะเหตุเพราะเบียดบังที่อยู่ ของตนเองไม่ควรครับ คำว่าไม่ควรในที่นี้คือไม่ควรทำ แต่ไม่ได้หมายถึงว่าจะต้อง เป็นอกุศลกรรม เป็นกรรมที่จะต้องให้ผลในทางที่ไม่ดีครับ เพราะขณะนั้นไมไ่่ด้มีเจตนา ที่จะทำร้ายต้นโพธิ์ด้วยนึกถึงพระพุทธเจ้าครับ เพียงเจตนาถอนต้นไม้เท่านั้นครับ แต่ เมื่อรู้แล้วก็ไม่ควรครับ
การจะตัดกิ่งอะไรก็ตามของต้นโพธิ์ มีเหตุผลที่ควรตัดคือ หากกิ่งโพธิ์หรือต้นโพธิ์ นั้นไปเบียดเจดีย์หรือที่เก็บพระบรมสารีริกธาตุ เพราะเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ สำคัญกว่าต้นโพธิ์ครับ ดังนั้นถ้าต้นโพธิ์ไปเบียดพระเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ สามารถตัดได้ครับ หรือจะตัดเพื่อให้ต้นโพธิ์แตกหน่อหรือเจริญขึ้นอันนี้ก็ควร หรือจะ ตัดเพราะกิ่งนั้นเปื้อนสิ่งที่ไม่ดีมี อุจจาระนก เป็นต้น ก็ตัดได้ แต่ในกรณีอื่นไม่ควรตัด ดังนั้นสำคัญที่เจตนา เราไมไ่ด้มีเจตนาประทุษร้าย ทำร้ายต้นโพธิ์ ดังเช่น พระมเหสี ของพระเจ้าอโศกมหาราชที่ริษยาต้นพระศรีมหาโพธิ์เพราะพระเจ้าอโศกรักและเคารพ อย่างยิ่ง จึงเอายาพิษมารดทำให้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ตาย อันนี้เป็นเจตนาประทุษร้าย ครับ บาปแน่นอนครับ แต่ถ้าไม่มีเจตนาประทุษร้ายอย่างนั้น ด้วยถอนเพราะเบียดที่อยู่ อันนี้ไม่ได้เจตนาทำร้ายต้นโพธิ์ จะเห็นได้ว่าเป็นเจตนาต่างกันแต่เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ ครับ เพราะเป็นต้นไม้ที่แสดงถึงพระพุทธเจ้าเพราะพระองค์ทรงประทับตรัสรู้ที่ต้นโพธิ์
ขออนุโมทนาครับ
เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ...
อืม แต่ต้นโพธิ์ตามความเห็นที่ ๑๕ ไม่ใช่ต้นพระศรีมหาโพธิ์นะคะ และไม่ได้มีความเกี่ยว เนื่องใดๆ กับต้นที่เป็นบริโภคเจดีย์เลย เพียงแต่ว่าเป็นต้นไม้พันธุ์เดียวกันเท่านั้นค่ะ จากคำถามของท่าน จขกท นะคะ ...
ศาสนาพุทธไม่เคยสอนให้ใครเป็นผู้ที่ไร้เหตุผล การเก็บกวาดใบโพธิ์ที่ร่วงหล่น จากต้นพระศรีมหาโพธิ์ ไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างใดเลยต่อต้นพระศรีมหา โพธิ์ มีแต่จะทำให้ลานพระมหาเจดีย์ดูมีระเบียบ สะอาดสะอ้านและงดงามขึ้นค่ะ นี่คือข้อดีประการหนึ่ง
อีกประการหนึ่งสำหรับผู้ที่มีศรัทธาและเห็นคุณค่า เห็นว่าการนำใบโพธิ์ที่เก็บได้ไป บูชาเพื่อเป็นการน้อมรำลึก ถึงสถานที่ที่พระพุทธองค์ทรงประทับเพื่อการตรัสรู้ อันเป็น เหตุให้กุศลจิตเกิดขึ้นบ่อยๆ ค่ะ
ดังนั้นการกระทำหรือสิ่งใดก็ตาม ที่เป็นเหตุให้กุศลธรรมเจริญ อกุศลธรรมเสื่อม การ กระทำนั้นเป็นสิ่งที่ควรและชอบด้วยเหตุและผลค่ะ
ขอบพระคุณ คุณ Paderm มากค่ะ ขอถามเพิ่มอีกนิดนะคะ คือ แม้แต่จะดึงต้นออกมาใส่ไว้ในกระถางชั่วคราวและบำรุงรักษาอย่างดีเพื่อที่จะนำไปไว้ในสถานที่ๆ คิดว่าเหมาะสม (ย้ายสถานที่) ก็เป็นการ ไม่ควรหรือเปล่าคะ (ถ้าไม่ควรวันหลังจะได้ไม่ทำ)
เรียนความเห็นที่ 17 ครับ
ต้นโพธิ์แม้จะไม่ใช่ต้นที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้แต่เมื่อเห็นต้นโพธิ์ เห็นพระพุทธรูปนั่นก็ แสดงให้ระลึกถึงว่่าเป็นตัวแทนพระพุทธเจ้าได้ครับ อันเป็นต้นไม้ที่ควรเคารพสักการะ ดังที่พุทธศาสนิกชนทั้หลายเคารพสักการะต้นโพธิ์กันเพราะเป็นต้นไม้พันธุ์ที่พระพุทธ เจ้าทรงตรัวรู็ครับ อันให้น้อมระลึกถึงพระพุทธเจ้าได้ครับ ซึ่งข้อความในพระไตรปิฎกก็ ได้แสดงโดยไมไ่ด้เจาะจงเลยว่าจะต้องเป็นต้นพระศรีมหาโพธิ์ครับ และข้อความในพระ ไตรปิฎกก็แสดงว่ากิ่งโพธิ์ที่เบียดพระพุทธรูปหรือที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุก็สามารถ ตัดได้ครับ แต่จะตัดเพราะรักษาอาสนะ ที่อยู่จองตนไม่ควรครับ และได้เรียนปรึกษากับ วิทยากรทั้งหลายซึ่งท่านอธิบายให้ฟังและตรวจบาลีแล้วก็็มิได้มุ่งหมายถึงต้นพระศรี มหาโพธิ์เท่านั้นครับ
เชิญคลิกอ่านข้อความในพระไตรปิฎกอีกครั้งครับ
เรียนความเห็นที่ 18 ครับ
เจตนาดีหากเพื่อจะย้ายไปที่ที่เหมาะสมและบำรุงอย่างดีก็ควรครับ
เรียนอาจารย์เผดิมครับ เนื่องจากผมไม่รู้ธรรมข้อนี้มาก่อน ดังนั้นเมื่ออ่านความเห็นที่ 16 และที่ 19 แล้วเหนื่อยใจครับเพราะที่บ้านเก่าผมเคยถอนต้นโพธิ์ต้นเล็กๆ ทิ้งไปแล้ว แต่บริเวณดังกล่าวก็ยังมีต้นโพธิ์ขึ้นอยู่อีก มาเห็นภายหลังต้นค่อนข้างโตแล้ว จึงใช้มี ตัดทิ้งไปด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ วันนี้กลับมาอ่านความเห็นข้างต้นแล้วตกใจครับ ผมขอคิดอย่างนี้ได้มั้ยครับคือเมื่อไม่รู้ถือว่าไม่มีเจตนา หรือมิฉะนั้นก็คิดเสียว่าเรื่อง ผ่านไปแล้วอย่างไรก็แก้ไขอดีตไม่ได้สู้ทำปัจจุบันให้ดี โดยให้ระมัดระวังตัวเรื่องการ ล่วงละเมิดจาบจ้วงคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ให้ดีต่อไปครับ
ขออนุโมทนาครับ
เรียนความเห็นที่ 21 ครับ
เมื่อก่อนไม่รู้ เพียงเจตนาถอนหรือตัดต้นไม้ ไม่ใช่เจตนาประทุษร้ายต้นโพธิ์ ดังตัวอย่างพระมเหสีพระเจ้าอโศกที่ยกมาครับที่ริษยาต้นโพธิ์จึงตั้งใจทำร้ายต้นโพธิ์ นี่เป็นเจตนาหยาบประทุษร้ายครับ เจตนาต่างกันครับ จึงไม่ต้องกังวลครับ เพราะที่ ทำไม่ได้มีเจตนาประทุษร้ายครับ แต่เมื่อรู้แล้วก็ควรพิจารณาเหตุผลในการจะตัดว่าจะ ตัดเพราะอะไร ซึ่งในลิ้งพระไตรปิฎกที่ผมลิ้งมาให้อธิบายไว้ชัดเจนครับ ว่าควรตัด เพราะอะไร เมื่อไหร่ไม่ควรตัด และท่านจะใช้คำว่าไม่ควร ไม่ไ่้ด้หมายถึงว่าจะต้องเป็น กรรมที่เป็นอกุศลกรรมครับ เพราะเจตนาในขณะนั้นไม่ใช่เจตนาประทุษร้าย ตั้งใจทำ ร้ายต้นโพธิ์ด้วยเจตนาหยาบครับ สิ่งใดผ่านไปแล้วก็เป็นอันผ่านไปแล้วครับ และเรา ไม่ไ่ด้มีเจตนาประทุษร้ายต้นโพธิ์เพียงแต่ทำในสิ่งที่ไม่สมควรครับ ดังนั้นทำปัจจุบัน ให้ดีที่สุดเพราะเราเข้าใจธรรมมากขึ้นจากเมื่ออดีตที่ผ่านมานั่นเองครับ
ขออนุโมทนา
พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงตรัสรู้ที่ใต้ต้น โพธิพฤกษ์
โพธิ แปลว่า ตรัสรู้ โพธิพฤกษ์คือต้นไม้แห่งการตรัสรู้ โพธิพฤกษ์ของพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์นั้นแตกต่างกันออกไป
ตามหลักฐานที่ปรากฎในคัมภีร์ พุทธวงศ์ ค่ะ บางพระองค์ตรัสรู่ที่ใต้ต้นนาคะ (กากะทิง) บางพระองค์ตรัสรู้ที่ใต้ต้นมหาโสณะ ต้นสลละ (ต้นช้างน้าว) , ต้นสะเดา, ต้นมหาเวฬุ (ต้นไผ่ใหญ่) , ต้นกกุธะ (ต้นกุ่ม) , ต้นกณิการ์, ต้นปากลี เป็นต้น ส่วนต้นโพธิพฤกษ์ที่พระพุทธโคดม พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันทรงตรัสรู้ คือ ต้นอัสสัตถะ ต้นอัสสัตถะเป็นพันธุ์ไม้ชนิดหนึ่ง แต่ต้นอัสสัตถะทุกต้นไม่ใช่ "โพธิพฤกษ์" ค่ะ
แม้ต้นโพธิ์บางต้นจะไม่ใช่ที่พระพุทธเจ้าทรงนั่งประทับตรัสรู้แต่เป็นเครื่องหมายและ แสดงให้เห็นว่าพระพุทธองค์ได้ทรงประทับตรัสรู้ที่ต้นไม้พันธุ็์นี้ครับ
แม้พระพุทธรูปจะไม่ใช่ รูปพระุพุทธเจ้าจริงแต่ก็เป็นเครื่องหมายแสดงให้ระลึกถึงพระ คุณของพระพุทธเจ้า การปฏิบัติกับพระพุทธรูปจึงควรปฏิบัติด้วยความเหมาะสม เคารพ ยำเกรงดังเช่นปฏิบัติกับพระพุทธเจ้า
เช่นเดียวกับต้นโพธิ์ แม้จะไม่ใช่ต้นโพธิ์ที่พระพุทธเจ้าทรงประทับนั่ง แต่ก็เป็นเครื่อง หมายให้ระลึกพระคุณเพราะเป็นต้นไม้พันธิ์ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ จึงควรปฏิบัติด้วย ความเคารพและเหมาะสมเช่นกันครับ ดังเช่นพระพุทธเจ้า ดังเช่น พุทธศาสนิกชนผู้ ประกอบด้วยความเข้าใจพระธรรม เมื่อเข้าใจพระธรรมแล้วก็ย่อมปฏิบัติด้วยความเหมาะ สมทั้งพระพุทธรูปและต้นโพธิ์ครับ ดังอรรถกถาได้อธิบายไว้ครับ
ขออนุโมทนา
เหรอค่ะ ... ถ้าเช่นนั้นเราก็ควรปฏิบัติต่อต้นอัสสัตตะทุกๆ ต้น รวมทั้งต้นไม้พันธุ์อื่นๆ ที่เคย เป็นโพธิพฤกษ์ด้วยความเคารพซินะคะ
ป.ล. อ่านข้อความในอรรถกถาดูแล้ว เข้าใจว่าท่านหมายถึง "โพธิพฤกษ์" ค่ะ
ใช่ครับ เราควรเคารพ ด้วยความน้อมระลึกถึงพระพุทธเจ้า ดังเช่น ท่านอาจารย์สุจินต์ เคยถามว่าใครเคยมามูลนิธิไหว้ ต้นโพธิ์และต้นสาละ ที่มูลนิธิบ้างคะ
ซึ่งก็มีวิทยากรบาง ท่าน มีอาจารย์ประเชิญ ได้ยกมือและท่านอาจารย์ก็อนุโมทนา เพราะเป็นต้นไม้ที่ควร เคารพสักการะ เพราะเป็นไม้พันธุที่พระพุทธเจ้าองค์ทรงตรัสรู้ครับ และต้นสาละก็เคย เป็นต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าพระองค์อื่นตรัสรู้ด้วยครับ รวมทั้งพระพุทธเจ้้าของเราก็ ประสูติต้นสาละและปรินิพพานที่ต้นสาละคู่ครับ ดังนั้นการปฏิบัติต้นโพธิ์ที่มูลนิธิหรือ ที่ไหนก็ควรให้เหมาะสม เคารพบูชาดังเช่นพระพุทธเจ้าครับ ดังนั้นเมื่อรู้แล้ว ได้เข้าใจ ธรรมแล้ว ก็ควรปฏิบัติด้วยความเหมาะสม เพราะขณะที่เข้าใจแล้ว ขณะที่ปฏิบัติ ด้วยความเหมาะสม ด้วยความเคารพ ด้วยน้อมระลึกถึงพระพุทธเจ้า จิตขณะนั้นก็เป็น กุศลครับ การปฏิบัติด้วยความนอบน้อมจึงไม่ใช่จำกัดแค่เพียงต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่ พุทธคยา แม้ต้นโพธิ์ที่มูลนิธิหรือที่ไหนๆ เมื่อมีความเข้าใจพระธรรมแล้วก็ควรปฏิบัติ ด้วยความนอบน้อมและพิจารณาก่อนดัวยปัญญาว่าจะทำอะไร สิ่งใดให้เหมาะสมกับต้น โพธิ์ครับ
ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนาเพื่อเความเข้าใจที่ถูกต้องครับ ขออนุโมทนา
ขออนุโมทนาในกุศลศรัทธาค่ะ
ความเข้าใจเกี่ยวกับต้นโพธิ์คิดว่าควรแยกเป็น ๒ ประเด็นคือ
๑. โพธิพฤกษ์อันเป็นโพธิมัณฑสถาน เพื่อการตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณของพระ อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า อันเป็นบริโภคเจดีย์ ซึ่งในอรรถกถาที่คุณเผดิมยกมาอ้าง ตามความเห็นที่ ๑๙ นั้น ท่านอรรถกถาจารย์มุ่งหมายถึง "โพธิพฤกษ์" เพราะอยู่ในหัว ข้อ การวินิจฉัยอนันตริยกรรม ค่ะ ลองอ่านและพิจารณาดูอีกครั้งนะคะ เพราะหากท่าน จะเหมารวมต้นอัสสัตถะอื่นๆ ด้วย การปฏิบัติผิดต่อต้นอัสสัตถะอื่นๆ ก็คงจะเทียบเท่ากับ อนันตริยกรรมเช่นกัน ซึ่งตามอรรถที่ท่านอรรถกถาจารย์กล่าวไว้ไม่ได้เป็นเช่นนั้นค่ะ
๒. ประเด็นนี้เข้าใจว่า ต้นอัสสัตถะอื่นๆ ที่ไม่ใช่โพธิพฤกษ์ แต่เพราะเป็นไม้พันธุ์เดียว กัน อันเป็นนิมิตเครื่องหมายให้เกิดการระลึกถึงโพธิพฤกษ์ได้ เป็นเหตุให้กุศลจิตเกิด ก็เป็นเรื่องศรัทธาของแต่ละบุคคลค่ะ แต่ทั้งนี้ควรมีความเข้าใจที่ถูกต้องด้วยค่ะ
ป.ล. ทราบมาว่าต้นสาละและต้นโพธิ์ที่ มศพ ได้มาจากอินเดียค่ะ
บทสนทนาในกระทู้นี้ มีสาระมากจริงๆ ครับ ใช้ตรวจสอบธรรมะอันเป็นอารมณ์แห่งกุศลจิต ในบทของพุทธานุสติได้เป็นอย่างดีทีเดียวครับ
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาทุกท่านครับ
เห็นด้วยกับความเห็นที่ 20
อยู่ที่เจตนา ถ้าเจตนาดีย้ายต้นโพธิ์ ก็ไม่เป็นไรค่ะ
เรียนความเห็นที่ 28 ครับ โดยนัยเดียวกันครับ
แม้จะไม่ใช่ต้นโพธิ์ที่พุทธคยา แต่เมื่อบุคคลมีเจตนาจิตทำร้าย ประทุษร้าย ต้นโพธิ์ โดยปรารภพระพุทธเจ้า นั่นก็ชื่อว่าเป็นกรรมหนักเท่าอนันตรยกรรม เพราะว่ามีจิต ประทุษร้ายในต้นโพธิ์โดยปรารภพระพุทธเจ้าครับ และโดยนัยกลับกันครับ เมื่อบุคคล ทำบุญกับต้นโพธิ์ด้วยปรารภพระพุทธเจ้าก็มีบุญเสมอกับการปรนนิบัติพระพุทธเจ้า ซึ่ง อรรถกถาได้อธิบายไว้ในประเด็นนี้ครับ และมิใช่ว่าถ้าการจะเป็นกุศลปรารภพระพุทธเจ้า จะต้องเป็นที่ต้นพระศรีมหาโพธิ์เท่านั้นครับ
หากมีจิตน้อมระลึกถึงพระพุทธเจ้า ด้วยปรารภต้นโพธิ์อันเป็นต้นไม้ตรัสรู้ ก็มีบุญเสมอกับต้นพระศรีมหาโพธิ์เช่นกัน ด้วยเพราะจิตเสมอกันครับ ในเมื่อเป็นบุญเท่ากันแล้ว
[เล่มที่ 48] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 384
เมื่อพระตถาคตยังทรงพระชนม์อยู่ก็ตาม เสด็จปรินิพพานแล้วก็ตาม เมื่อจิตสม่ำเสมอ ผลบุญก็ย่อมสม่ำเสมอ
จากข้อความพระไตรปิฎกนี้แสดงให้เห็นว่า ไม่ใช่ว่าการทำบุญกับพระพุทธเจ้าตอนมี พระขนม์อยู่จะมีผลมากกว่าการทำบุญกับสิ่งอื่นมีต้นโพธิ์หรือพระปฏิมา อันปรารภพระ พุทธเจ้าจะมีผลน้อยกว่าครับ
แต่เมื่อมีจิตเสมอกันคือมุ่งบูชาพระพุทธเจ้า น้อมระลึกถึงพระคุณเมื่อจิตเสมอกันแล้ว ผลบุญก็ย่อมเท่ากัน สำคัญที่จิตที่ระลึกถึงครับ โดยนัย เดียวกัน ไม่ได้หมายความว่าเมื่อบูชาที่ต้นพระศรีมหาโพธิ์แล้วจะมีผลมากกว่า มีบุญ มากกว่าที่ต้นโพธิ์อื่น แต่เมื่อจิตเสมอกันแล้ว ผลบุญก็เท่ากันเพราะจิตเสมอกันด้วย ปรารภพระพุทะเจ้าเช่นกันครับ ขณะที่ไหว้ต้นโพธิ์ไม่ว่าต้นใด ขณะนั้นก็น้อมระลึกถึง พระุพุทธเจ้า ปรารภพระคุณพระพุทธเจ้า ขณะนั้นป็นพุทธานุสติที่ระลึกโดยมีวัตถุที่ ให้ระลึกครับ ไม่ไ่ด้นึกเลยในขณะนั้นว่านี่ต้นโพธิ์อินเดียนะ อันนี้ไม่ใช่ต้นโพธิ์อินเดีย แต่ขณะนั้นจิตระลึกถึงพระคุณพระพุทธเจ้าครับ เมื่อจิตเสมอกันแล้วก็มีบุญเท่ากัน ในฝ่ายอกุศลก็เช่นกันครับ ต้องมีวัตถุให้ระลึกที่จะเป็นอกุศลให้ประทุษร้าย โดยนัยตรงกันข้าม บุคคลใดมีจิตประทุษร้ายต้นโพธิต้นใดต้นหนึ่งเพราะปรารภ พระพุทธเจ้า เพราะอาศัยต้นโพธิ์นั้น ไม่ว่าจะเป็นต้นพระศรีมหาโพธิ์หรือต้นโพธิ์อื่นจัด ว่ามีกรรมหนักเท่าอนันตริยกรรม เพราะมีจิตเสมอกันคือจิตประทุษร้ายครับ
ดังนั้นเป็น กรรมหนักเพราะปรารภพระพุทธเจ้าโดยมีต้นโพธิ์เป็นวัตถุทำร้ายครับ ซึ่งในอรรถกถา ไม่ได้กล่าวไว้ครับว่าจะต้องเป็นต้นพระศรีมหาโพธิ์เท่านั้นจึงจะเป็นกรรมหนักทีเ่ป็น อนันตรริกรรม แต่ได้กล่าวถึงจิตในเรื่อการทำลายและจิตประทุษร้ายครับ ความเข้าใจพระธรรมย่อมทำให้เป้นผู้ประพฤติเหมาะสมในสิ่งควรเคารพบูชา ด้วย ความเข้าใจและเมื่อมีสิ่งใดที่จะต้องทำกับต้นโพธิ์ใดอันเป็นเครื่องหมายให้รู้ว่า เป็น พันธุไม้ ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ก็ด้วยความเหมาะสมและนอบน้อมตามอรรถกถาได้ อธิบายไว้ครับ
ขออนุโมทนาครับ
ขอกราบขอบพระคุณทุกท่านค่ะ ที่ได้ให้ความกระจ่าง ด้วยการขยายความกระทู้ต่อ กระทู้ เหมือนกับอ่านพระไตรปิฏกแล้วไม่เข้าใจในบางความหมาย ก็ได้อ่านต่อในอรรถกถา แล้วมาต่อในฎีกา จนถึงอนุฎีกา ทำให้ทราบยิ่งขึ้นว่าควรจะปฏิบัติตนและวางใจอย่างไร ให้ เหมาะสมกับสิ่งต่างๆ
ร่มโพธิ์ร่มไทรเป็นที่อาศัยของเหล่าสัตว์ทั้งหลาย ใต้ร่มเงาแห่งบวรพุทธศาสนาเป็นที่พึงของสัตว์ยิ่งกว่าที่พึงใดๆ ครับ
คราวที่ไปฟังธรรมที่ มศพ ครั้งล่าสุด ได้สังเกตเห็นต้นโพธิ์เล็กๆ ความสูงประมาณ ๑ ฟุต ขึ้นอยู่ข้างทาง (ซ้ายมือ) จากกึ่งกลางปากทางเข้า (ไปลานจอดรถ) เห็นคนเดินเฉี่ยวไป เฉี่ยวมา รวมทั้งรถที่เข้าออกด้วย ถ้าเป็นอย่างที่ท่านเผดิมว่า อาจมีคนทำอนันตริยกรรม โดยไม่รู้ตัว - เห็นแล้วน่าเป็นห่วงค่ะ
เข้าใจตรงกันว่าสำคัญที่เจตนา แต่ดูเหมือนว่าต้นโพธิ์ต้นนั้นจะไม่ได้รับการปฏิบัติด้วย ความเคารพเลยนะคะ
จากหลายความเห็นของท่านเผดิมที่อ่านมา ก็เน้นว่าให้ปฏิบัติต่อต้น "อัสสัตถะ" เหมือนดั่ง "โพธิพฤกษ์" จาก คห ๒๕ เช่นเดียวกับต้นโพธิ์ แม้จะไม่ใช่ต้นโพธิ์ที่พระพุทธเจ้าทรงประทับนั่ง แต่ก็เป็นเครื่อง หมายให้ระลึกพระคุณเพราะเป็นต้นไม้พันธิ์ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ จึงควรปฏิบัติด้วยความเคารพและเหมาะสมเช่นกันครับ
รบกวนฝากดูแลด้วยนะคะ ไม่แน่ว่าวันนึงอาจจะมีคนเผลอไปเหยียบ หรือรถทับเข้าให้ เดี๋ยวจะกลายเป็นการปล่อยปละละเลยในสิ่งที่ควรเคารพนะคะ
เรียนความเห็นที่ 37 ครับ
ได้ครับ ส่วนคนอื่นคงห้ามจิตและการกระทำคนอื่นไม่ได้ครับ ธรรมเป็นอนัตตาแม้กุศลจิต และอกุุศลจิตที่เกิดขึ้นก็เป็นอนัตตาเช่นกันครับ แม้เห็นสิ่งเดียวกัน ผู้ใดมีความเคารพ จิต เป็นกุศล ผู้ที่ไม่เคารพก็อนัตตาอีกเช่นกันครับ บังคับกันไม่ได้เลย
ขออนุโมทนาครับ
เรียนถามคุณ paderm
แล้วถ้าได้ไปกินใบของต้นสะเดา ตัดต้นไผ่มาทำประโยชน์ ซึ่งเคยเป็นต้นไม้ ที่เกี่ยวข้อง กับการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าในอดีต (ตามความเห็นที่ 24) จะทำให้เกิดผลไม่ดีด้วยไหมครับ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับเรียนความเห็นที่ 39 ครับ
บาปไม่บาปสำคัญที่เจตนาเป็นสำคัญครับ ถ้ารู้ว่าต้นไม้นั้นเป็ตัวแทนพระพุทธเจ้า มีเจตนา ทำลาย ทำร้ายอันนี้บาป แต่ไม่รู้ หรือ รู้แ่ไม่มีเจตนาทำร้าย ไม่บาปครับ
เรียนท่านอาจารย์ที่เคารพทุกท่านผมมีคำถามครับ
1. สมมติว่าถ้าเรานำใบของต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่หล่นแล้ว มาไว้ที่โต๊ะหมู่ที่บ้านเมื่อเวลา ทำความสะอาดมีการกวาดหยากไย่เป็นต้น ผมเผลอลืมย้ายไปเก็บไว้ในที่สูงๆ ผมไม่มี เจตนาลบหลู่แต่ความรู้สึกไม่ดีมากๆ เพราะใบพระมหาศรีโพธิ์เป็นตัวแทนของพระ พุทธเจ้าขอความกรุณาช่วยชี้แนะด้วยครับ
2. อยากทราบว่าในพระไตรปิฎกได้กล่าวถึงการขอขมาหรืออดโทษไว้ว่าอย่างไรบ้างครับ
เรียนความเห็นที่ 42 ครับ
1. ไม่มีเจตนาลบหลู่ ไม่บาปครับ บาปไม่บาป สำคัญที่เจตนา
2. การขออดโทษและขอขมาในพระธรรมวินัย ในสมัยพุทธกาล พระภิกษุเมื่อทำผิด ท่านก็จะทูลพระพุทธเจ้าในสิ่งที่ผิดและก็ได้ทูลว่า จะขอสำรวมระวังต่อไป ครับ
เรียน อาจารย์และญาติธรรมทั้งหลาย
ดิฉันเพิ่งกลับจากอินเดียมา และได้ไปซื้อใบโพธิ์ ซึ่งแขกที่พุทธคยา นำมาขาย เจตนาจะนำมาฝากคนที่ไม่ได้ไป เป็นใบโพธิ์ที่แช่น้ำให้ใบเปี่อยเห็น แต่เส้นใยและโครงร่างของใบโพธิ์ เนื่องจากเมื่อนำมาแกะดูปรากฎว่ามีกลิ่นเหม็นมาก จึงต้องการนำมาทำใหม่ให้สะอาด ก่อนนำไปแจก บังเอิญว่าต้องการหาข้อมูลว่าต้องทำอย่างไร แล้วก็มาเจอข้อมูลเกี่ยวกับต้นโพธิ์ในเว็ปไซด์นี้ ก็เลย งง ว่าใบโพธิ์ที่ได้มาจากเจตนาที่ไม่ดีของแขกในเบื้องต้น แล้วจะเหมาะสมไหมที่จะนำไปแจกต่อให้บุคคลอื่น และควรจะทำอย่างไรดีกับใบโพธิ์ที่ซื้อมาแล้ว
จึงเรียนมาปรึกษาค่ะ
เรียนความเห็นที่ 45 ครับ
ใบโพธิ์ที่ได้มา แม้เกิดจากเจตนาไม่ดีของผู้อื่น แต่เรามีเจตนาดี ดังนั้นสำคัญที่เจตนา ของเรา จึงสามารถให้ผู้อื่นได้ แต่ควรให้ใบที่ดี ไม่เน่าเหม็นครับ
ในการเรียกต้นโพธิ์ กับ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ มีความต่างกันอย่างไรคะ
เรียนความเห็นที่ 49 ครับ
ต่างกัน ตรงที่พระพุทธเจ้าทรงนั่งประทับที่ต้นที่ตรัสรู้ กับ ต้นที่ไม่ไ้ดนังประทับตรัสรู้ ครับ
รบกวนสอบถามอาจารย์เผดิมครับ เมื่อประมาน 3-4 ปี ที่แล้ว ผมได้เดินเที่ยวตลาดน้ำอัมพวาและได้เข้าไปกราบพระในวัดอัมพวันเจติยาราม และได้เก็บใบโพธิ์แห้งแล้วที่ร่วงจากต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่ปลูกอยู่หน้าพระอุโบสถ ซึ่งเจตนาของผมเพื่อที่จะนำมาเก็บไว้เพื่อสักการะบูชา เพื่อความเป็นสิริมงคลเป็นร่มโพธิ์ร่มไทร กับตนเองและครอบครัว โดยอธิษฐานขอกับพระประธานและต้นศรีมหาโพธิ์แล้วครับ ผมจะบาปตกนรกและติดหนี้สงฆ์มั้ยครับ ผมรูกสึกไม่สบายใจมากเลยครับ จึงเรียนมาเพื่อปรึกษาครับ