มิจฉาสติ กับ โลภมูลจิต

 
โชติธัมโม
วันที่  24 พ.ค. 2554
หมายเลข  18404
อ่าน  4,418

มิจฉาสติ กับ โลภมูลจิต เกี่ยวเนื่องกันอย่างไร


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 24 พ.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

มิจฉาสติ คือความระลึกผิด ในความเป็นจริงแล้ว ไม่ใช่ตัวสติที่ระลึกผิด เพราะ สติ

เกิดกับจิตฝ่ายดีเท่านั้น แต่มิจฉาสติเป็นอกุศลจึงไม่ใช่สติครับ แต่ที่พระพุทธองค์ทรง

แสดงว่า การระลึกผิด ที่เป็นมิจฉาสติเพื่อแสดงให้เห็นว่าหนทางที่ผิด ก็มีทั้งที่เป็น

มิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ....มิจฉาสติ มิจฉาสมาธิ มิจฉาญาน เป็นต้น

เชิญคลิกอ่านที่นี่........ สติไม่มีในมิจฉาสติ [ธรรมสังคณี]

มิจฉาสติ จึงเป็นอกุศล เป็นการนึกถึงเรื่อราวต่างๆ ที่เป็นไปในอกุศล คำถามคือ

มิจฉาสติทำไมถึงเป็นโลภะ เหตุผลเป็นดังนี้ครับ

พระพุทธเจ้าทรงแสดงว่า โดยทั่วไปแล้ว มิจฉาสติ การระลึกผิดก็เหมือนกับมิจฉา

สังกัปปะ การตรึก นึกคิดที่ผิด คือเหมือนกันตรงที่เป็นการนึกถึงด้วยจิตที่เป็นอกุศล แต่

มิจฉาสตินั้นย่อมนึกถึงเรื่องราวในอดีต เช่น การได้บุตร การได้ลาภ ได้สิ่งต่างๆ ซึ่งเป็น

ลักษณะของโลภะ

เชิญคลิกอ่านที่นี่............ว่าด้วยมิจฉาสติ [มูลปัณณาสก์]

เหตุผลประการสำคัญที่ทำให้มิจฉาสติเป็นไปด้วยโลภะ เพราะว่า ในความเป็นจริง

แล้ว ผู้ที่มีความเห็นผิดคือ มิจฉาทิฏฐิ ย่อมมีมิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวาจา มิจฉากัมมันตะ

มิจฉาอาชีวะ มิจฉาสติ มิจฉาสมาธิ ขณะที่เข้าใจผิด เห็นผิด ขณะนั้นเป็นมิจฉาทิฏฐิ

ขณะที่เห็นผิดก็ต้องมีการคิดนึก ระลึกที่ผิดในขณะนั้นด้วย อันเป็นมิจฉาสติในขณะนั้น

เชิญคลิกอ่านที่นี่

มิจฉาสติ คิดด้วยความเห็นผิดเกิดกับจิตที่เป็นโลภมูลจิต [สีลขันธวรรค]

หากเราศึกษาพระอภิธรรมจะเข้าใจได้ว่า ความเห็นผิด ทิฏฐิเจตสิกจะเกิดขึ้นย่อม

เกิดกับโลภมูลจิต เกิดกับโลภเจตสิกเท่านั้น จะไม่เกิดกับโทสมูลจิต โทสเจตสิกเลย

ขณะที่เห็นผิด ก็จะไม่เกิดกับจิตที่โมหมูลจิตเช่นกัน ทิฏฐิเจตสิกจึงไม่เกิดกับโทสะ

เจตสิกในขณะนั้นครับ มิจฉาสติโดยส่วนใหญ่ เป็นโลภะครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 24 พ.ค. 2554

ประเด็นเรื่องโทสะ ที่สำคัญขณะที่คิดพยาบาท เบียดเบียน เป็นโทสะ โทสะใน

ขณะนั้นเป็นมิจฉาสังกัปปะครับ ไม่ใช่มิจฉาสติ เพราะมิจฉาสังกัปปะ ประการหนึ่งคือ

การคิดปองร้าย พยาบาท เป็นต้นครับ ดังนั้นโดยทั่วไปโทสะจึงป็นมิจฉาสังกัปปะครับ

ประเด็นเรื่องโมหะ โมหะ เกิดกับอกุศลจิตทุกประเภทแต่ขณะที่เกิดโมหะ ความไม่รู้

ในข้อปฏิบัติ ผู้ที่ปฏิบัติ มีความเห็นผิด พระพุทธเจ้าทรงแสดงว่า โมหะนั้นเป็น

ความรู้ผิด ที่เป็นมิจฉาญานครับ ไม่ใช่เป็นมิจฉาสติครับ โมหะคือความไม่รู้ จึงทำให้รู้

ผิด เป็นมิจฉาญานครับ ดังนั้นโดยทั่วไปแล้ว มิจฉาสติก็จะหมายถึงอกุศล ที่เป็นโลภะ

เป็นส่วนใหญ่ครับ ตามเหตุผลที่อธิบายมาครับ ดังข้อความในพะรไตรปิฎกที่แสดงว่า

โมหะนั้นเป็นมิจฉาญาน ไม่ใช่มิจฉาสติครับ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 503

ก็โมหะที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจการคิดถึงอุบาย ในการทำบาปทั้งหลายและโดยอาการ

แห่งการทำชั่ว และพิจารณาว่า เราทำดีแล้ว พึงทราบว่าเป็นมิจฉาญาณในคำว่า

มิจฺฉาาณี ผู้มีความรู้ผิด นี้.

-----------------------------------------------------------------------------------

ที่สำคัญขณะที่เข้าใจหนทางที่ผิด เช่น ในเรื่องข้อประพฤติปฏิบัติในการเจริญ

สติปัฏฐาน เมื่อเข้าใจผิดก็ย่อมมีตัวตน มีความต้องการที่จะระลึก จะจดจ้อง แต่ไม่ใช่

สติที่ระลึกแต่เป็นความต้องการที่จะจดจ้องสภาพธรรมว่านี่เป็นธรรมไม่ใช่เรา พยายาม

ตามดูสภาพธรรม สภาพธรรมที่ต้องการตามดูจิตในขณะนั้น เป็นโลภะ เป็นมิจฉาสติ

จึงเป็นโลภะครับ ดังนั้นโดยทั่วไปมิจฉาสติจึงเป็นอกุศล มีโลภะ เป็นต้นครับ

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 24 พ.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทางมี ๒ ทาง คือ ทางถูก กับ ทางผิด ถ้าเป็นทางถูก ได้แก่ อริยมรรคมีองค์ ๘ คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ วาจาชอบ การงานชอบ อาชีพชอบ ความเพียรชอบ ระลึกชอบ ตั้งมั่นชอบ เป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์หมดจดของสัตว์ทั้งหลาย ซึ่งเริ่มด้วยความเห็นที่ถูกต้อง, แต่ถ้าเป็นทางผิดแล้ว ตรงกันข้าม ไม่เป็นไปเพื่อความเจริญขึ้นของปัญญา มีแต่จะเป็นไปเพื่อเพิ่มพูนอกุศลธรรมให้มากยิ่งขึ้น, เมื่อเดินทางผิด ตั้งต้นด้วยความเข้าใจผิด มีความหวังความต้องการที่จะรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใดด้วยความเป็นตัวตน ในขณะใด ขณะนั้น ย่อมไม่พ้นไปจากอกุศลประเภทที่เป็นโลภมูลจิต เป็นไปด้วยความติดข้องต้องการ นึกไปด้วยอำนาจของอกุศล (ดูเหมือนเป็นการระลึกรู้สภาพธรรม แต่แท้ที่จริงแล้วไม่ใช่ จึงมีคำว่า มิจฉาสติ) เพราะในขณะนั้น มีทั้งโลภะ มีทั้งมิจฉาทิฏฐิ เกิดร่วมด้วย เพราะโลภ-มูลจิต หมายถึง จิตที่มีโลภะ เป็นมูล จิตไม่ใช่โลภะ แต่เกิดร่วมกัน ซึ่งจะต่างจากขณะที่เป็นโทสมูลจิตเพราะขณะนั้นไม่สบายใจ ไม่พอใจ ขุ่นใจ ด้วยอำนาจของโทสะ หรือ ถ้าเป็นโมหมูลจิต (ไม่ใช่โทสมูลจิต และ ไม่ใช่โลภมูลจิต) ก็หลง ไม่รู้ตามความเป็นจริง ประกอบด้วยความลังเลสงสัย หรือ ความฟุ้งซ่าน ครับ. ขอเชิญคลิกอ่านข้อความทบทวนได้ที่หัวข้อนี้ครับ มิจฉาสติ ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของท่านโชติธัมโม,คุณผเดิม และ ทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
โชติธัมโม
วันที่ 24 พ.ค. 2554
ขอน้อมจิตอนุโมทนาบุญด้วยเศียรเกล้าครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 25 พ.ค. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาอาจารย์ผเดิมและอาจารย์คำปัน กับทุกท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
wannee.s
วันที่ 25 พ.ค. 2554

ในครั้งพุทธกาลก็มี พวกลัทธิภายนอก บางคนแสวงหาทางพ้นทุกข์ เขาคิดว่า

เขาเจริญถูก แต่ไม่ถูกเพราะเขาระลึกผิด เป็นมิจฉาสติ ขณะนั้นเป็นอกุศลไม่

ใช่ทางพ้นทุกข์ ทางพ้นทุกข์คืออริยมรรคมีองค์แปดที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ