การเกิดการดับของรูปธรรมนามธรรม

 
showtana
วันที่  14 ส.ค. 2549
หมายเลข  1841
อ่าน  2,865

ขอเรียนถามว่า..

สภาวธรรมที่เกิดและดับของรูปธรรมและนามธรรม......ที่มีการเกิดและดับเกิดในขณะที่ปรากฏทางอายตนะทั้ง 6 แล้วนั้น...หมายถึงเกิดและดับที่ทวารทั้ง 6 ใช่ใหมคะ?ส่วนลักษณะของรูปภายนอกที่มากระทบทางทวารทั้ง 6 ......นั้นก็มีการเกิดดับอยู่ตลอดเวลาในตัวของรูปเองด้วยใช่ใหมคะ?........ขออธิบายถึงการเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปของรูปธรรมและนามที่ปรากฏ.....และขอยกตัวอย่างให้มองเห็นชัดๆ ๆ ด้วยค่ะ.....


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 15 ส.ค. 2549

ลักษณะของสังขารธรรมเมื่อมีปัจจัยจึงเกิดขึ้น เมื่อเกิดขึ้นแล้วตั้งอยู่ชั่วขณะแล้วดับไปทั้งภายในและภายนอก เมื่อจิตรับรู้ย่อมรู้ทางทวารทั้ง ๖ ผู้ที่จะประจักษ์แจ้ง

ความเกิดของ นามธรรม และรูปธรรม ต้องอบรมเจริญปัญญาวิปัสสนาญาณถึงขั้น

อุทยัพพยญาณ ดังนั้น ถ้าจะยกตัวอย่างรูปธรรมนามธรรมเกิดดับให้เห็นชัดเป็นเรื่องยาก แม้ในทางโลกพูดถึงการเปลี่ยนแปลงของวัตถุต่างๆ แสงไฟฟ้าเกิดดับ ๕๐ รอบ

ต่อนาที เป็นต้น ก็ไม่ใช่การเกิดดับของนามธรรม และรูปธรรม เพราะเร็วกว่านั้นมาก

ด้านนามธรรมความคิดนึกของเราในแต่ละขณะ เป็นไปในหลายๆ เรื่องในเวลาเดียว

กัน โทสะเกิดเดี๋ยวก็หายไป ความสุขความทุกข์ในวันๆ หนึ่งก็มีชั่วขณะ ก็หายไป ก็

เป็นตัวอย่างของนามธรรมที่เปลี่ยนแปลงไปเพราะไม่ตั้งอยู่นาน (เกิดดับ) แต่ความรู้

อย่างนี้ก็ไม่ใช่การเห็นการเกิดดับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
TemplarKnight
วันที่ 18 ส.ค. 2549
นามธรรม และรูปธรรม ที่กล่าวถึง เป็นอย่างเดียวกันกับ นามรูป ในปฏิจจสมุปบาท

หรือแตกต่างกันอย่างไรครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
saowanee.n
วันที่ 19 ส.ค. 2549

โดยนัยของปรมัตถธรรม...

- นามธรรมหมายถึง จิตปรมัตถ์ (จิต ๘๙ / ๑๒๑) , เจตสิกปรมัตถ์ (เจตสิก ๕๒) ,

นิพพานปรมัตถ์ (อสังคตธาตุ)

- รูปธรรมหมายถึง รูปปรมัตถ์ (รูป ๒๘)

โดยนัยของปฏิจจสมุปบาท...

- นามรูป หมายถึง เจตสิก และกัมมชรูปที่เกิดพร้อมกับปฏิสนธิจิต เพราะวิญญาณ

(ปฏิสนธิจิต) เป็นปัจจัย

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
TemplarKnight
วันที่ 20 ส.ค. 2549

ขอบคุณครับ ผมได้อ่านพบมา ในวิภังคสูตร กล่าวไว้ว่า ก็นามรูปเป็นไฉน เวทนาสัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ นี้เรียกว่า นาม มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูต-รูป ๔ นี้เรียกว่ารูป นาม และ รูป ดังพรรณนามาฉะนี้ เรียกว่านามรูป ดังนี้จะกล่าวว่า

นาม+รูป = ขันธ์๕ ได้หรือเปล่าครับ (หรือคลาดเคลื่อนอย่างใดบ้าง เพราะผมได้รับคำอธิบายไปในแบบ นาม+รูป = ขันธ์ ๕ บ่อยๆ ) ไม่ได้ลองภูมินะครับ แต่ผมกำลังสับสนจริงๆ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
saowanee.n
วันที่ 20 ส.ค. 2549

นามรูปสามารถจำแนกออกได้หลายนัยนะคะ เช่น ปรมัตถธรรม ๔ (จิต, เจตสิก,

รูป, นิพพาน) , ขันธ์ ๕ (รูป, เวทนา, สัญญา, สังขาร, วิญญาณ) , อายตนะ ๑๒ และธาตุ ๑๘ ตามที่คุณTemplarKnight , เข้าใจว่านามรูป (ยกเว้นนิพพาน) คือ ขันธ์ ๕นั้นถูกต้องแล้วค่ะ เพราะรูปขันธ์หมายถึงรูป ๒๘, เวทนาขันธ์หมายถึงเวทนาเจตสิก,สัญญาขันธ์หมายถึงสัญญาเจตสิก, สังขารขันธ์หมายถึงเจตสิกที่เหลือ ๕๐ ประเภทและวิญญาณขันธ์หมายถึงจิต๘๙ / ๑๒๑ โดยพิเศษ

ส่วนนามรูปในปฏิจจสมุปบาทนั้น ท่านกล่าวถึงโดยความเป็นปัจจยาการ นามในที่นี้จึงหมายถึงเจตสิกที่เกิดพร้อมกับปฏิสนธิจิต และรูปในที่นี้จึงหมายถึงกัมมชรูป (รูปที่เกิดจากกรรม) เพราะวิญญาณ (ปฏิสนธิจิต) เป็นปัจจัย

อยากแนะนำให้คุณ TemplarKnight ศึกษาต่อเพิ่มเติมจากหนังสือ " ปรมัตถ-ธรรมสังเขป " ซึ่งสามารถขอรับได้จากมูลนิธิฯ หรือบ้านธัมมะค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
TemplarKnight
วันที่ 21 ส.ค. 2549
ขอบคุณครับ ที่บ้านมีหนังสือนั้นอยู่ จะลองทบทวนดูครับ
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ