ปรารภความเพียร วีริยารมฺภกถา

 
pirmsombat
วันที่  25 พ.ค. 2554
หมายเลข  18412
อ่าน  2,721

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ในบทว่า วีริยารมฺภกถา กถาปรารภความเพียรนี้ มีความว่า ภิกษุ

ใดเป็นผู้ประคองความเพียรไว้ เป็นผู้มีความเพียรทางกายและทางจิต

บริบูรณ์ ในเวลาเดิน ก็ไม่ให้กิเลสเกิด ในเวลายืน นั่ง นอน ก็ไม่ให้

กิเลสเกิด ประพฤติดุจจับบีบงูเห่าด้วยมนต์ และดุจเหยียบศัตรูที่คอ กล่าว

สรรเสริญคุณของผู้ปรารภความเพียรเช่นนั้น ชื่อว่ากล่าว วีริยารัมภกถา.


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 25 พ.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย ความเพียรหรือวิริยเจตสิกเป็นสภาพธรรมที่มีจริง ที่สำคัญความเพียรเกิดไ้ด้ทั้ง

จิตที่เป็นกุศหรือกุศลก็ได้ครับ ดังนั้นพุทธเจ้าจึงตรัสไว้ว่าเราไม่สรรเสริญความเพียร

ทุกอย่างและไม่ติเตียนความเพียรทุกอย่าง ความเพียรใดเมื่อเกิดขึ้นย่อมยังกุศลธรรม

ให้เจริญเราย่อมสรรเสริญความเพียรนั้น และความเพียรใดทำให้อกุศลธรรมเจริญขึ้น

เราติเตียนความเพียรนั้น ดังนั้นในหนทางปฏิบัติอบรมปัญญา จึงไม่ใช่มีตัวตนที่จะ

พยายามทำความเพียรหรือจะพยายามทำ เพราะนั่นเป็นความเข้าใจผิด ส่วนความ

เข้าใจถูก คือ ธรรมทำหน้าที่เพียรคือวิริยเจตสิก ขณะที่รู้สภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้

ขณะนั้นมีความเพียรแล้ว วิริยเจตสิกเกิดกับกุศลจิตขณะนั้น จึงไม่มีตัวตนที่พยายาม

ไม่มีตัวตนที่จะเพียรครับ การเริ่มจากความเข้าใจถูกย่อมนำไปสู่การปฏิบัติถูกครับ

การปรารภความเพียรจึงเป็นเรื่องของปัญญา เมื่อมีปัญญาเข้าใจความจริง ไม่ว่าใน

อริยาบถใดคือขณะที่ยืน สติเกิดได้ ขณะที่เดิน นั่ง นอน สติเกิดได้ ขณะนั้นมีความ

เพียรเกิดร่วมด้วย รู้ความจริงของสภาพธรรม ขณะนั้นละกิเลสไม่ให้เกิดขึ้นเพราะขณะ

นั้นปัญญาเกิดขึ้นครับ การระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้จึงเป็นการละ

อกุศล เป็นการปรารภความเพียรในขณะที่ ยืน เดิน นั่ง นอน นั่นเองครับ ไม่มีตัวตนที่จะ

พยายามเพียรครับ ขออนุโมทนา

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 25 พ.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ความเพียร (วิริยะ) เป็นสภาพธรรมที่มีจริง เกิดขึ้นเป็นไปในชีวิตประจำวัน เช่น ในขณะที่ฟังพระธรรม ขณะที่ให้ทาน รักษาศีล เป็นต้น ก็มีความเพียรเกิดร่วมด้วย หรือแม้กระทั่งขณะที่อกุศลจิตเกิด ไม่พอใจ ขุ่นเคืองใจ โกรธ หรือ ติดข้องยินดีพอใจ เป็นต้น ก็มีความเพียรเกิดร่วมด้วย ดังนั้น ความเพียรจึงมีทั้งเพียรที่เป็นกุศล และเพียรที่เป็นอกุศล ด้วย จึงควรพิจารณาว่า ความเพียรใดๆ ก็ตามถ้าหากว่าเมื่อเพียรไปแล้วเป็นไปเพื่อความเจริญขึ้นของอกุศล ทำให้กุศลธรรมเสื่อมไป ความเพียรนั้นไม่ควรเริ่มตั้ง ไม่ควรประกอบ ในทางตรงกันข้าม ความเพียรใดๆ ถ้าหากว่าเมื่อเพียรไปแล้ว เป็นไปเพื่อความเจริญขึ้นของกุศลธรรม ทำให้อกุศลธรรมเสื่อมไป ความเพียรนั้น ควรเริ่ม ควรประกอบ ดังนั้น ในชีวิตประจำวัน ความเพียรที่เป็นไปกับการศึกษาพระธรรม ฟังพระธรรมอบรมเจริญปัญญา พร้อมทั้งเจริญกุศลประการต่างๆ เพื่อขัดเกลากิเลสในชีวิตประจำวัน เป็นความเพียรที่ควรประกอบ ควรอบรมให้มีขึ้นเป็นอย่างยิ่ง ทั้งหมดทั้งปวงนี้ล้วนเกิดจากความเข้าใจพระธรรม ซึ่งไม่มีตัวตนที่จะไปทำ ไม่มีตัวตนที่เพียร แต่สภาพธรรมกล่าวคือ จิตและเจตสิก (สภาพธรรมที่เกิดร่วมกับจิต) เกิดขึ้นเป็นไปในกุศลธรรม นั่นเอง ซึ่งในขณะนั้น ความเพียร และโสภณธรรมอื่นๆ มีศรัทธา สติ หิริโอตตัปปะ เป็นต้น เกิดขึ้นเป็นไปแ้ล้วในขณะนั้น หาความเป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นตัวตน ไม่ได้เลยครับ. ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณหมอ,คุณผเดิมและทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
pirmsombat
วันที่ 25 พ.ค. 2554

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณคำปั่น,คุณเผดิมและทุกๆ ท่านครับ...

กถานี้หมายความว่า ปรารภความเพียร อบรมเจริญสติปัฏฐานเนืองๆ บ่อยๆ นั่นเอง

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 25 พ.ค. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
bsomsuda
วันที่ 26 พ.ค. 2554

ขอเรียนถามเพิ่มเติมว่า..

ขณะที่สติเกิด แต่ไม่ประกอบด้วยปัญญา (ความเข้าใจถูกในสภาพธรรม)

ขณะนั้นมีความเพียรในกุศล ได้หรือไม่คะ

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
paderm
วันที่ 26 พ.ค. 2554

เรียนความเห็นที่ 5 ครับ

ความเพียร หรือ วิริยเจตสิก เป็นปกิณณกเจตสิก คือ เมื่อวิริยะเกิดกับจิตชาติใด

ประเภทใด วิริยะจตสิกก็เป็นชาตินั้นประเภทนั้น ดังนั้นโดยทั่วไปแล้ว วิริยเจตสิก

เกิดกับจิตเกือบทุกประภท เว้น ทวิปัญจวิญญาณจิต 10 ดวง มีจิตเห็นดีหรือไม่ดี รวม

ทั้งปัญจทวาราวัชนจิต ดังนั้นขณะใดที่เป็นอกุศลจิตแล้ว วิริยเจตสิกหรือความเพียร

นั้นก็เกิดร่วมด้วยก็เป็นความเพียรทีเ่ป็นไปในอกุศล เช่น ขณะที่เป็นโกรธก็มีความเพียร

ที่เป็นวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย มีความเพียรทีเ่ป็นไปในความโกรธ เป็นไปในอกุศลใน

ขณะนั้นครับ

โดยนัยตรงกันข้าม ขณะที่เกิดกุศลจิต ไม่ว่าประเภทใด ขณะนั้นจะต้องมีวิริยเจตสิก

เกิดร่วมด้วยเสมอ ไม่ว่าขณะที่ให้ทาน รักษาศีล เจริญสมถภาวานาและวิปัสสนา มีสติ

ปัฏฐาน ขณะนั้นก็ต้องมีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย มีความเพียรที่เป็นไปในกุศลครับ ซึ่ง

กุศลก็แบ่งเป็นทีั้กุศลที่ประกอบด้วยปัญญาและไม่ประกอบด้วยปัญญา ในเมื่อความ

เพียรที่เป็นวิริยเจตสิกเกิดกับกุศลจิตทุกประเภทแล้ว ขณะที่กุศลประกอบด้วย

ปัญญาเกิดขึ้น มีสติปัฏฐานเกิด เป็นต้น ก็มีความเพียรอันเป็นไปในการเจริญปัญญา

รู้ลักษณะของสภาพธรรมในขณะนั้นครับ และถ้าเป็นกุศลที่ไม่ประกอบด้วยปัญญา เช่น

ขณะที่ให้ทาน ก็ต้องมีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย มีความเพียรอันเป็นไปในกุศลคือให้

ทานในขณะนั้นครับ สรุปคือไม่ว่าจะเป็นกุศลระดับใด แม้กุศลที่ไม่ประกอบด้วยปัญญา

ก็มีความเพียรที่เป็นไปในกุศลธรรมในขณะนั้นครับ เพียรแล้วทีเ่ป็นกุศล เพียรแล้วที่จะ

ให้ในขณะนั้นครับ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
bsomsuda
วันที่ 26 พ.ค. 2554

ขอบพระคุณมากค่ะ และขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณผเดิมค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
SOAMUSA
วันที่ 8 มิ.ย. 2554

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านค่ะ

และ อวิริยะ16 ที่เป็นทวิปัญจฯ พอเข้าใจได้ค่ะ

แต่ที่เหลืออีก 6 ดวงนั้น ขอความกรุณาอธิบายต่อด้วยค่ะ

กราบขอบพระคุณค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
paderm
วันที่ 8 มิ.ย. 2554

เรียนความเห็นที่ 8 ครับ

จิตที่ไม่มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วยอีก 6 ดวงคือ สัมปฏิฉันนะ 2 ดวงและสันตีรณะ 3 ดวง

และปัญจทวาราวัชนจิต อีก 1 ดวง

สัมปฏิฉันนะ 2 ดวงและสันตีรณะ 3 เป็นชาติวิบาก เป็นเพียงรับอารมณ์ต่อและพิจารณา

อารมณ์เท่านั้นครับ ไม่มีวิริยเจตสิก ส่วนปัญจทวาราวัชนจิต ก็เป็นเพียงจิตที่รำพึงถึง

อารมณ์ที่มากระทบเท่านั้น ไมไ่ด้มีวิริยเจตสิกครับ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
SOAMUSA
วันที่ 9 มิ.ย. 2554

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของ อ.เผดิมค่ะ

สติปัฏฐาน4นั้น มีสติตั้งมั่นอยู่ในการพิจารณาอยู่เนืองๆ

ก็มีวิริยเจตสิกที่่เป็นปกิณณกเจตสิกประกอบอยู่แล้ว

การที่เราจะระลึกรู้และทำให้เนืองๆ ต่อเนื่่องกันได้ เกิดจากการศึกษา

การฟัง ความเข้าใจพระธรรม สติถึงจะระลึกต่อเนืองได้เอง

โดยไม่จงใจใช่หรือไม่ค่ะ

องค์ธรรมของสติปัฏฐาน4 นั้นมีแต่ สติเจตสิก

ดิฉันทำความเข้าใจได้อย่างนี้เกี่ยวกับเจตสิก

ผิดถูกอย่างไร ขอความกรุณาด้วยค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
paderm
วันที่ 9 มิ.ย. 2554

เรียนความเห็นที่ 10 ครับ

ถูกครับ แล้วแต่สติจะเกิดไม่เกิด แต่ขณะที่สติเกิดก็มีวิริยะเจตสกิเกิดร่วมด้วยอยู่แล้ว

ไม่ต้องทำความเพียรอะไร ขณะต่อไปสติจะเกิดต่อหรือไม่เกิดต่อก็ได้เพราะเป็นอนัตตา

ไม่ต้องทำความเพียรให้เกิดสติครับ

ส่วนองค์ธรรมของสติปัฏฐาน 4 ก็มีสภาพธรรมหลากหลาย ทั้งสติและปัญญา แต่ถ้า

เป็นใหญ่ที่จะเห็นความเป็นใหญ่ของสติ ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า จะเห็นสตินทรีย์ในที่

ไหน พึงเ้ห็นในสติปัฏฐาน 4 ครับ แต่โดยทั่วไปแล้วก็ต้องมีปัญญาและสภาพธรรมอื่นๆ

เกิดร่วมด้วยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
SOAMUSA
วันที่ 10 มิ.ย. 2554

กราบอนุโมทนาค่ะ ได้เข้ามากขึ้นค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ