เรื่อง ครุภัณฑ์ มีไม้ เป็นต้น
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 247
ต่างกันแค่โดยพยัญชนะ โดยอรรถก็เป็นอันเดียวกันนั่นเอง, เพราะฉะนั้น ผู้ศึกษาควรทราบความอธิบายแล้ว จึงถือเอา. ในเรื่องไม้มีวินิจฉัยดังนี้ :- หลายบทว่า ตาวกาลิโก อห ภควา ความว่า ภิกษุนั้นใคร่จะ กราบทูลว่า ข้าพระองค์มีความติดจะขอยืม พระพุทธเจ้าข้า! ดังนี้ จึงได้ กราบทูลว่า. คำว่า ตาวกาลิกจิตฺโต นี้ ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า ข้าพระ- พุทธเจ้า มีควา มคิดอย่างนี้ว่า จักนำมาคืนให้อีก. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เธอไม่เป็นอาบัติ เพ ราะขอยืม.
ก็ในเรื่องไม้นี้ มีวินิจฉัยที่พ้นจากบาลี ดังต่อไปนี้ :- ถ้าสงฆ์ใช้ให้ ภิกษุทำการงานของสงฆ์ จะเป็นโรงอุโบสถหรือหอฉันก็ตาม, ภิกษุต้องถาม การกสงฆ์เสียก่อน จึงควรขอยืมไป จากไม้ที่เป็นทัพสัมภาระ ซึ่งเก็บไว้เพื่อ สร้างโรงอุโบสถเป็นต้นนั้น. ส่วนทัพสัมภาระที่เป็นของสงฆ์อันใด ไม่ได้ คุ้มครองไว้ ย่อมเปียกในเมื่อฝนตก, ทั้งแห้งเพราะแดดเผา, ภิกษุจะนำ ทัพสัมภาระแม้ทั้งหมดนั้นมาสร้างเป็นที่อยู่ของตน ก็ควร, เมื่อสงฆ์ให้นำ คืนมา ควรตกลงยินยอมกันด้วยทัพสัมภาระ หรือด้วยมูลค่าอย่างอื่น. ถ้า ไม่อาจตกลงยินยอมกันได้, เธอควรจะกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ! เสนาสนะ ที่ผมสร้างด้วยทัพสัมภาระของสงฆ์, ขอท่านทั้งหลายจงใช้สอย โดยบริโภค เป็นของสงฆ์เถิด. แต่ภิกษุนี้ เท่านั้น เป็นอิสระแห่งเสนาสนะแล. แม้ถ้าเสาหิน ก็ดี เสาไม้ก็ดี บานประตูก็ดี หน้าต่างก็ดี ไม่เพียงพอไซร้, จะขอยืมของสงฆ์ ทำให้เป็นปกติ ก็ควร. ในทัพสัมภาระแม้อย่างอื่น ก็มีนัยเหมือนกันนี้. ในเรื่องน้า มีวินิจฉัยดังนี้ :- ในกาลใด น้ำย่อมเป็นของหาได้ยาก ในกาลนั้น เขาย่อมนำน้ำมาไกลโยชน์หนึ่งบ้าง กึ่งโยชน์บ้าง, ในน้ำที่เขา
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 307
สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งมีของใช้มาก มีบริขารมาก ได้ถึงมรณภาพ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลายเมื่อภิกษุถึงมรณภาพ สงฆ์เป็นเจ้าของบาตรจีวร แต่ภิกษุผู้พยาบาล ไข้มีอุปการะมากเราอนุญาให้สงฆ์มอบไตรจีวรและบาตรให้แก่ภิกษุผู้พยาบาล ไข้ บรรดาสิ่งของเหล่านั้น สิ่งใดเป็นลหุภัณฑ์ ลหุบริขาร สิ่งนั้นเราอนุญาต ให้สงฆ์พร้อมเพรียงกันแบ่ง บรรดาสิ่งของเหล่านั้น สิ่งใดเป็นครุภัณฑ์ ครุ บริขาร สิ่งนั้นเป็นของสงฆ์ผู้อยู่ในจตุรทิศ ทั้งที่มาแล้วและยังไม่มา ไม่ควร แบ่ง ไม่ควรแจก.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 212
วินิจฉัยกถาในครุภัณฑ์นั้น พึงทราบดังต่อไปนี้ :-
ก็ครุภัณฑ์แม้ทั้งปวงนี้ แม้ในเสนาสนักขันธกะนี้ ท่านกล่าวว่า ไม่ ควรแจก. ส่วนในคัมภีร์ปริวารมาแล้วว่า: ครุภัณฑ์ ๕ หมวด พระพุทธเจ้าผู้แสวงคุณใหญ่ตรัสว่า ไม่ควรสละ ไม่ควรแจก. แต่ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้สละ ผู้ใช้สอย ; ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว. เพราะเหตุนั้น พึงทราบอธิบายินในคำนี้ อย่างนี้ว่า ครุภัณฑ์นี้ ที่ว่า ไม่ควรสละ ไม่ควรแจก ด้วยอำนาจขาดตัวนั้น แต่เมื่อภิกษุผู้สละและใช้สอย ด้วยอำนาจการแลกเปลี่ยน ไม่เป็นอาบัติ. อนุปุพพีกถาในครุภัณฑ์นั้น ดังนี้: - ไม่ควรน้อมครุภัณฑ์แม้ทั้ง ๕ ชนิดนี้เข้าไป เพื่อประโยชน์แก่จีวร บิณฑบาตและเภสัชก่อน. แต่จะเอาถาวรวัตถุแลกกับถาวรวัตถุและเอาครุภัณฑ์ แลกกับครุภัณฑ์ ควรอยู่.