ถ้าขาดการศึกษาพระธรรมอย่างถูกต้องแล้ว
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย และ ท่านอาจารย์สุจินต์ด้วยเศียรเกล้าครับ
และขออนุญาตนำธรรมที่ท่านทั้งหลายได้เคยตอบไว้มาให้อ่าน กันอีกครั้งครับ มีประโยชน์มากครับ ถ้าขาดการศึกษาพระธรรม อย่างถูกต้องแล้ว การปฏิบัติธรรมที่ถูกต้องย่อมมีไม่ได้ เพราะการปฏิบัติมี ๒ อย่าง คือ ปฏิบัติผิด ๑ ปฏิบัติถูก ๑ อนึ่งการปฏิบัติธรรมของผู้ที่เป็นฆราวาส ไม่จำเป็นต้องเข้าป่า หรือนั่งใน ห้องแคบๆ แต่ถ้าเข้าใจถูกต้องแล้ว แม้ในชีวิตประจำวัน สติปัฏฐานย่อมเกิด ได้ สติขั้น สมถภาวนาย่อมเกิดได้ และกุศลจิตที่กระทำกิจหน้าที่ เช่น ดูแลมารดาบิดา เป็นต้น ก็ เกิดได้
ดังนั้น ความเข้าใจจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ไม่ควรรีบปฏิบัติอะไร จนกว่าจะเข้า ใจจริงๆ ว่า คืออะไร รู้อะไร เพื่ออะไร พระธรรมที่พระองค์ทรง แสดงเป็นความจริงทุกประการ และไม่พ้นไปจากปกติชีวิต ประจำวัน ทั้งทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ผู้ที่ท่านรู้แจ้งอริย- สัจจธรรมนั้น ท่านก็รู้แจ้งอริยสัจจ ธรรมในชีวิตประจำวันตามปกติ ซึ่งต้องเป็นปัญญา เท่านั้น จึงจะสามารถรู้ความจริงของ สภาพธรรมได้ เมื่อไม่ใช่ปัญญาก็ไม่สามารถที่ จะรู้ความจริงในขณะนี้ได้ ปัญญา ย่อม เกิดจากการฟัง การศึกษา จึงต้องอดทนที่จะฟัง อดทนที่จะศึกษา ในสิ่งที่มีจริง เป็นจริง แล้วความเข้าใจถูกเห็นถูก ก็จะค่อยๆ เจริญขึ้น เพิ่มขึ้น ตามลำดับ โดยไม่ต้องทำอะไร ที่ผิดปกติทั้งนั้น ไม่ต้องนั่งสมาธิ ไม่ต้องอดอาหาร ไม่ต้องทรมานตนให้ลำบาก โดย ประการทั้งปวง เพราะหนทางที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงไว้ เป็นทางสายกลาง ทาง สายกลางนั้น ก็คือ การรู้สภาพธรรมทั้งหลาย ตามความเป็นจริง มีเวลา เดินจงกรม นั่งสมาธิ แต่ไม่มีเวลาฟังธรรม
การไปปฏิบัติธรรมที่สำนักใดสำนัก หนึ่งบาง ครั้งต้องลางานไปหลายวัน แต่การฟังพระธรรมสามารถฟังได้โดยไม่ต้องลา งาน การฟัง ธรรมคือการได้ฟังความจริงที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ แต่ การไปนั่งสมาธิ หรือเดินจงกรมไม่ได้ทำให้เราทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าท่านทรง ตรัสรู้ความจริงอะไร
แล้วสิ่งใดจะสำคัญกว่าระหว่างการฟังธรรมกับการไปปฏิบัติ? ปัญญา ไม่ได้เกิดจากการบวช แต่ปัญญาเกิดจากการฟัง การเข้าใจถูกต้องทีละ เล็กละน้อย ดัง นั้น หากบวช แต่ไม่เข้าใจหนทางการปฏิบัติ ก็ไม่สามารถบรรลุ มรรคผลได้ แต่เมื่อเข้าใจ หนทางแล้ว ไม่ว่าบวชหรือไม่บวชก็สามารถบรรลุได้ เพียงแต่ว่าการบวชเป็นการ ขัดเกลากิเลสทุกทาง และต้องเป็นผู้สะสมอุปนิสัย มาในการเห็นโทษของการครองเรือน จึงบวช นี่เป็นจุดประสงค์ของการบวชที่ถูก ต้อง ซึ่งย่อมเกื้อกูลต่อการปฏิบัติหากเข้าใจ หนทางที่ถูกต้องและจุดประสงค์ถูก ต้องในการบวช คำสอน ของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มี ๓ ระดับ “ปริยัติศาสนา” คือ การศึกษาให้เข้าใจใน เรื่องของสภาพธรรมที่มีจริงก่อน เพราะว่าถ้าไม่ มีการฟังพระธรรมเลย จะไม่เข้าใจว่า ธรรมคืออะไร ธรรมอยู่ที่ไหน ขณะนี้ เป็นเราหรือเป็นธรรม แต่ถ้ามีความเข้าใจถูก ก็จะถึง อีกระดับหนึ่ง คือ มี ปัจจัยที่จะทำให้มีการระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมเดี๋ยวนี้ ไม่ใช่แต่ เพียง ฟังเรื่องราวของสภาพธรรมเดี๋ยวนี้
ขณะที่ฟังนี้ สภาพธรรมเกิดดับทำหน้าที่ ของ สภาพธรรมแต่ละประเภท แต่ไม่มีการระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรม เลย เพียงแต่กำลัง ฟังให้เข้าใจเรื่องราวของสภาพธรรมเท่านั้น ต่อเมื่อ ใดมีความเข้าใจเพิ่มขึ้นเป็นปัจจัย เป็นสังขารขันธ์ ทำให้มีการระลึกลักษณะ ของสภาพธรรมที่ศึกษา ฟังเข้าใจ แล้วค่อยๆ ศึกษาอีกระดับหนึ่ง คือ อธิศีลสิกขา อธิจิตสิกขา อธิปัญญาสิกขา จนกว่าจะประจักษ์แจ้ง สภาพ ธรรมตรงตามที่ได้ศึกษา เพราะฉะนั้น ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ต้องตรงกัน แยกกัน ไม่ได้เลย ใครก็ตามที่ไม่มีปริยัติ ไม่มีการศึกษาให้เข้าใจเรื่องสภาพธรรม แล้วจะ ปฏิบัติ ต้องผิด ใครก็ตามเมื่อไม่ได้ศึกษา แล้วปฏิบัติ ก็หมายความว่า คน นั้นไม่ได้มีพระธรรม เป็นสรณะ เพราะว่าคิดเอง ไม่ได้ศึกษาพระธรรมของ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเลย แล้วก็ต้องผิด เพราะว่าใครจะมีความรู้ หรือมีความสามารถที่จะเข้าใจธรรมโดยไม่ศึกษา พระธรรม เพราะฉะนั้น ต้องเป็นสิ่งที่ค่อยๆ พิจารณาในความสมบูรณ์ของพระ ธรรมที่ ทรงแสดงไว้ทั้งในขั้นปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ
ขอน้อมจิตอนุโมทนา
บุญกับทุกๆ ท่านด้วยเศียรเกล้าครับ
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลจิตของท่าน โชติธัมโม ด้วยครับ
เรียนถามค่ะ
คำว่า อธิศีลสิกขา อธิจิตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา นั้น คือเป็นอย่างไร คำว่า อธิ มีความหมายอย่างไร
ขอบพระคุณอย่างสูงค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
เรียน ความคิดเห็นที่ 7 ครับ
ธรรมเป็นเรื่องที่ละเอียดมาก แม้แต่อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา แสดงไว้หลายนัยซึ่งเป็นการกล่าวรวมสิกขา คือ สิ่งที่จะต้องศึกษาในพระพุทธศาสนา ทั้งหมด คำว่า อธิ หมายถึง ยิ่ง อธิศีล คือ ศีลที่ยิ่ง อธิจิต คือ จิตที่ยิ่ง อธิปัญญา คือ ปัญญาที่ยิ่ง
ขณะที่สติปัฏฐานเกิดขึ้น ขณะนั้นศีลเป็นอธิศีล สมาธิ คือ เอกัคคตาเจติสก ที่เกิดร่วมกับจิตและเจตสิกประการอื่นๆ ก็เป็นอธิจิต ปัญญาเจตสิกที่เกิดขึ้นทำกิจรู้ชัดในลักษณะของสภาพธรรมในขณะนั้น ก็เป็นอธิปัญญา
โดยนัยอื่นก็มีแสดงไว้เช่นกัน คือ ศีลที่เป็นโลกุตตรศีลเป็นอธิศีล สมาธิใน โลกุตตรจิตเป็นอธิจิต โลกุตตรปัญญาเป็นอธิปัญญา
ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเิติมได้ที่นี่ ครับ
อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา [อรรถกถามานกามสูตร]
อธิปัญญาสิกขา อธิศีลต่างจากศีล ๕ อย่างไร
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณวิริยะ และ ทุกๆ ท่านครับ...