การเกิดใหม่น่าจะไม่ใช่เรา

 
peak
วันที่  28 พ.ค. 2554
หมายเลข  18437
อ่าน  3,338

๑. ตามที่คนตายไปแล้วร่างหมดอายุไขไปแล้ว และจิตไปเกิดใหม่ในร่างใหม่ก็ไม่ใช่เราคน

เดิมแล้ว อย่างนี้เวลาเราไปชี้แจงบอกคนอื่นเพื่อให้เข้าใจ เค้าเลยบอกว่าไปสนใจทำดีเพื่อ

การเกิดใหม่ในชาติหน้าทำไมเพราะชาติหน้าไม่ใช่ตัวเค้าแล้ว ๒.ถ้ามันเป็นจริงไปตามข้อ

๒. คนทั่วไปก็จะไม่สนใจในการเกิดภพชาติแน่นอน มันจะยุ่งกันมากขึ้นอีกน่ะซิครับ จึง

อยากถามผู้รู้หรือ อจ.สุจินต์ ช่วยกรุณาให้วิทยาทานด้วยครับ ขอบคุณอย่างยิ่ง


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 28 พ.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัยตอบรวมในข้อ 1 และ ข้อ 2 ครับ ขณะที่ปฏิสนธิจิตเกิดขึ้น หลังจากปฏิสนธิจิตเกิดแล้ว ก็มีจิตอื่นๆ เกิดต่อ จนมี

จิตเห็นบ้าง ได้ยินบ้าง จิตคิดนึกบ้างอันมีในชีวิตประจำวัน จนเมื่อถึงเวลาที่สิ้นชีวิต

ก็เป็นจุติจิตเกิดครับ และเมื่อยังไม่สิ้นกิเลส ก็ต้องมีการเกิดคือปฏิสนธิจิตเกิดต่อ

จากจุติครับ ดังนั้น เพราะอาศัยจิตก่อนๆ คือจุติจิต เป็นปัจจัยให้เกิดปฏิสนธิจิตคือ

การเกิด เกิดต่อครับ ดังนั้นจิตเกิดใหม่ที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยจิตดวงเก่าๆ ที่เกิดดับไป

นั่นเอง สืบเนื่องกันไป ดังนั้นกรรมที่เคยทำไว้ กรรมนั้นย่อมจะให้ผลได้ โดยเป็นจิต

เกิดขึ้นสืบต่อจากจิตดวงก่อนๆ เพราะฉะนั้นไม่ว่าชาตินี้จะเกิดเป็นใคร เมื่อกรรมให้ผล

ชาติหน้าจะเกิดในนรก ก็เพราะอาศัยการสืบเนื่องของจิตของบุคคลนั้นนั่นแหละครับ

ไม่ใช่จิตของบุคคลอื่นๆ แม้จะเป็นจิตดวงใหม่ เป็นร่างใหม่ แต่ก็เป็นจิตที่อาศัยความ

สืบเนื่องที่เกิดดับสืบต่อกันมาจากจิตดวงก่อนๆ ของบุคคลนั้นเองครับ ดังนั้นเมื่อเกิด

ในนรก เป็นโอปปาติกะคือเกิดเป็นตัวโตทันที ก็ยังจำได้ว่าเมื่อก่อนเราเป็นใคร และทำ

กรรมใดไว้ จึงทำให้ต้องได้รับกรรมนี้ ต้องตกนรก มีตัวอย่างในพระไตรปิฎก เช่น นาง

เรวดี เมื่อเป็นมนุษย์ ด่าว่าพระ เมื่อตายไปก็ไปเกิดในอเวจีมหานรกและนางก็จำได้ว่า

เคยทำกรรมนี้ไว้ และก็ได้รับความทุกข์ทรมานและก็บ่นเพ้อว่าหากเรากลับไปเป็น

มนุษย์จะไม่ทำกรรมนี้อีก

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 28 พ.ค. 2554

จะเห็นครับว่าสัญญา ความจำไมได้หายไปไหน เพียงแต่จิตเกิดดับสืบเนื่องกันไป

เท่านั้น จากจุติ (ตาย) เป็นปฏิสนธิ (เกิด) เพียงชั่วขณะเดียวเท่านั้นและที่สำคัญก็

ไม่ใช่จิตใคร ก็จิตของบุคคลนั้นนั่นแหละที่สืบต่อครับ แม้จะเป็นจิตดวงใหม่ ร่างใหม่

แต่ก็เป็นบุคคลนั้นนั่นแหละที่สมมติจากจิตที่เกิดดับสืบต่อได้รับผลของกรรม ดังนั้น

จะกล่าวทีเดียวไมได้ว่าจะไม่ใช่บุคคลนั้นรับผลของกรรมในอนาคต เปรียบเหมือน

แสงเทียนในยามต้น กับแสงเทียนในยามปลาย แสงเทียนในยามต้น ไม่ใช่แสงเทียน

ในยามปลายก็จริง แต่เพราะอาศัยแสงเทียนในยามต้น จึงมีแสงเทียนในยามปลาย

ครับ และในชาตินี้ ตอนเป็นวัยรุ่น กับตอนที่อายุมากจะบอกว่าเหมือนกันก็ไมได้ แต่

เพราะอาศัยเมื่อคราวเป็นวัยรุ่นจึงมีตอนอายุมากครับ ดังนั้นจึงเกี่ยวข้องกันหมด เพราะ

ความสืบเนื่องของจิตครับ สรุปคือ แม้จะเป็นจิตดวงใหม่เกิดขึ้น ร่างใหม่ แต่ก็คือบุคคล

นั้นนั่นแหละโดยสมมติเพราะอาศัยการสืบเนื่องของจิตทีเกิดดับสืบต่อกันไปที่ได้รับผล

ของกรรมและที่สำคัญถ้าเกิดในนรกก็จำได้ว่าเป็นใครมา ดังเช่น เรื่องนางเรวดี เป็นต้น

ดังนั้นการเกิดใหม่ไม่ใชเราและไม่ใช่สัตว์ บุคคลด้วยครับ แต่เป็นจิตเกิดดับสืบต่อกัน

ครับ อันเป็นการสมมติว่าเป็นบุคคลนั้นนั่นเองครับ

ขออนุโมทนาครับ

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 28 พ.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น การเวียนว่ายตายเกิดจากภพหนึ่งไปอีกภพหนึ่ง แสดงถึงการที่ยังเป็นผู้มีกิเลสอยู่ จึงมีการเกิดการตายอย่างไม่จบสิ้น, การตายของสัตว์โลก คือ จุติจิตเกิดขึ้น ทำกิจเคลื่อนจากความเป็นบุคคลนี้ ในภพนี้ชาตินี้, เมื่อจุติจิตดับไปแล้ว เป็นปัจจัยให้ปฏิสนธิจิตเกิดขึ้น ทำกิจสืบต่อความเป็นบุคคลใหม่ สืบต่อทันที (สำหรับผู้ที่ยังมีกิเลส) เพราะฉะนั้น ผู้ที่ไม่ได้บรรลุถึงความเป็นพระอรหันต์ดับกิเลสได้ทั้งหมด เมื่อตายไป (จิตขณะสุดท้ายของชีวิตในชาตินี้ เกิดขึ้นทำกิจเคลื่อนจากความเป็นบุคคลนี้) ย่อมเกิดทันที แต่จะไปเกิดเป็นอะไร และ ที่ไหนนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับกรรมที่กระทำแล้ว กล่าวคือ ผู้ทำกรรมดี เมื่อตายไป กรรมดีให้ผลย่อมเกิดในสุคติภูมิ ได้แก่ ภูมิมนุษย์ ภูมิสวรรค์ ตามควรแก่เหตุ (คือกรรม) ในทางตรงกันข้ามผู้ทำกรรมชั่วไว้ (ถ้ายังไม่บรรลุเป็นพระอริยบุคคล) เมื่อกรรมชั่วนั้นให้ผลย่อมเกิดในอบายภูมิ คือ นรก เปรต อสุรกาย และ สัตว์เดรัจฉาน ไม่มีคนเกิด สัตว์เกิด แต่มีความเกิดขึ้นเป็นไปของธรรม (คือจิต เจตสิก รวมถึง รูป ด้วย) ควรที่จะได้พิจารณาว่า ไม่ได้มีเฉพาะชาตินี้ชาติเดียว ชาติต่อไป ก็มีด้วย (เหมือนกับในอดีตชาติที่เคยเกิดมาแล้ว) ชีวิตของแต่ละบุคคลที่เกิดมา ไม่มีใครเหมือนใครซักคนเดียว ตั้งแต่เกิดมา ไม่ว่าจะเป็นรูปร่าง หน้าตา ฐานะ ความเป็นอยู่ เป็นต้น นอกจากนั้นเวลาที่มีชีวิตอยู่ก็ยังต่างกันไป มีความประพฤติที่แตกต่างกันออกไปตามเหตุปัจจัยที่ได้สะสมมา เป็นความหลากหลายอย่างยิ่งของธรรม ซึ่งใครก็บังคับบัญชาไม่ได้เลย ต้องเป็นอย่างนี้และกำลังเป็นอย่างนี้ทุกขณะ แต่ละคนเป็นแต่ละหนึ่งจริงๆ ไม่ปะปนกันกับคนอื่น เลย ในที่สุดแล้ว ทุกคนก็จะต้องละจากโลกนี้ไป (ตาย) เกิดมาแล้วทุกคนก็จะต้องตาย เนื่องจากว่า ชีวิตมีความเป็นเป็นที่สุด ตายแล้วเกิดใหม่เป็นบุคคลใหม่ในภพใหม่ ซึ่งก็เป็นการเกิดดับสืบต่อของจิตแต่ละขณะๆ สิ่งที่เคยสะสมแล้วไม่สูญหายไปจากจิต ทั้งกุศล และ อกุศล สะสมสืบต่อในจิตทุกขณะ และสิ่งที่ควรพิจารณา คือกว่าจะถึงวันนั้น ระหว่างที่ยังมีชีวิตอยู่ อะไรคือสิ่งที่เป็นประโยชน์ที่สุด ถึงแม้ว่าจะจากโลกนี้ไปแล้ว ก็ยังมีโลกหน้าหรือชาติหน้า ซึ่งต้องเกิดสืบต่อ เหมือนเมื่อวานนี้กับขณะนี้ และพรุ่งนี้ ซึ่งจะมีต่อจากวันนี้ เพราะฉะนั้น ก็ควรที่จะได้พิจารณาว่า ระหว่างที่มีชีวิตอยู่ในโลกนี้ ได้สาระอะไรจากการมีชีวิตอยู่? เพราะเหตุว่า ประโยชน์สูงสุดของการมีชีวิต คือ เข้าใจความจริง ความจริง คือ ธรรม ซึ่งกำลังปรากฏในขณะนี้ นั่นเอง โดยสรุปแล้ว คือ ความเข้าใจธรรม เป็นสาระสำคัญของชีวิต คนอื่นเขาจะคิดอย่างไร ไม่สำคัญ สำคัญอยูที่ความเข้าใจพระธรรมซึ่งเป็นปัญญาของเราเอง ครับ. ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
peak
วันที่ 29 พ.ค. 2554

หากคนทั่วไปเข้าใจตามที่ท่านทั้งสองกล่าวมาแล้ว เค้าก็รู้และเข้าใจว่าภพหน้า ชาติหน้ามันไม่ใช่ตัวเค้าในโลกปัจจุบันนี้อยู่ดี เค้าก็บอกว่าชาตินี้ฉันจะทำอย่างไรก็เรื่องของฉันเพราะชาติหน้ามันก็ไม่ใช่ตัวฉันในปัจจุบันอยู่ดี จะสนใจทำดี (เพราะต้องอดทนทำอย่างโน้น อย่างนี้ที่ทำให้คนในชาตินี้เห็นว่าดี) ไปทำไม ก็จะไม่สนใจที่จะต้องทำดีไปทำไม ไม่มีประโยชน์เพราะชาติหน้าก็ไม่ใช่คนเดิม ชื่อเดิมไงครับ ขอวิทยาทานด้วยครับ ขอบคุณเป็นอย่างยิ่ง

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
peak
วันที่ 29 พ.ค. 2554

ตามที่ท่านได้เขียนไว้ว่า ๑. "นางเรวดี เมื่อเป็นมนุษย์ ด่าว่าพระ เมื่อตายไปก็ไปเกิดในอเวจีมหานรกและนางก็จำได้ว่าเคยทำกรรมนี้ไว้ และก็ได้รับความทุกข์ทรมานและก็บ่นเพ้อว่าหากเรากลับไปเป็นมนุษย์จะไม่ทำกรรมนี้อีก" และ ๒. "ระหว่างที่มีชีวิตอยู่ในโลกนี้ ได้สาระอะไรจากการมีชีวิตอยู่? เพราะเหตุว่าประโยชน์สูงสุดของการมีชีวิต คือ เข้าใจความจริง ความจริง คือ ธรรม ซึ่งกำลังปรากฏในขณะนี้ นั่นเอง โดยสรุปแล้ว คือ ความเข้าใจธรรม เป็นสาระสำคัญของชีวิต คนอื่นเขาจะคิดอย่างไร ไม่สำคัญสำคัญอยูที่ความเข้าใจพระธรรม ซึ่งเป็นปัญญาของเราเอง ครับ" ผมเห็นด้วยครับแต่หากมีคนคิดว่าทำดีทำยาก ต้องมีข้อจำกัด ข้อห้ามอย่างนั้น อย่างนี้ ตายไปก็ไม่ใช่ตัวฉันนี้ โลกนี้จะวุ่นวายมากขึ้นน่าดูเลยนะครับ และคนทำดีแต่ไม่พอที่จะหลุดพ้น ก็มาพบกับความวุ่นวายที่คนเหล่านั้นทำไว้ เช่น การทิ้งระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิม่า ผลกระทบมันไปทั่วโลกนะครับ เราก็หลีกมันไม่พ้นอยู่ดี ถ้าไม่บรรลุการหลุดพ้น

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ลุงหมาน
วันที่ 29 พ.ค. 2554

ขอร่วมสนทนาด้วยครับ

ตามที่ จขกท. ตั้งคำถามนั้น แม้ว่าจิตขณะที่เป็นปัจจุบันชาตินี้ จิตก็เกิดดับอยู่ตลอด

เวลาดังท่านที่กล่าวไว้ว่าช่วงขณะลัดนิ้วมือจิตเกิดดับไปแล้วแสนโกฎิขณะ รูปนั้นก็เกิด

ดับอยู่ตลอดเวลาโดยอาศัยวัดเอาจากจิตเกิดดับไป ๑๗ ขณะ รูปจึงจะเกิดดับไปหนึ่ง-

ขณะหมายถึงรูปเกิดดับช้ากว่าจิตที่เกิดดับไป ๑๗ ขณะของจิต แล้วต้องถาม จขกท.ว่า

เรายังคิดว่ายังเป็นเราอยู่หรือเปล่า เพราะจิตก็ไม่ใช่จิตดวงเก่า รูปก็ไม่ใช่รูปเก่า จิตดวง

เก่าดับเป็นปัจจัยให้จิตดวงใหม่เกิด รูปดวงเก่าดับเป็นปัจจัยให้รูปดวงใหม่ รูปกับจิตเกิด

ดับนั้นไม่พร้อมกันเป็นการต่างขณะกัน ถ้าจิตดับรูปดับพร้อมกันเรียกว่าจุติเรียกว่าสิ้นภพ

จึงไปปฏิสนธิในภพอื่นอีก (ยกเว้นพระอรหันต์) การไปปฏิสนธิใหม่นั้นก็แล้วแต่กรรมที่นำ

ไปปฏิสนธิ คือจุติจิตนำเอามาจากภพก่อนที่เรียกว่า กรรม กรรมนิมิต คตินิมิต สืบต่อกัน

อย่างนี้ไม่ขาดสายของวัฏฏะ ๓ กรรมดีกรรมชั่วทั้งหลายที่สร้างมาก็ติดตามเหมือนเงา

ตามตัวจนกว่าจะเข้าพระนิพพาน จึงจะเป็นอโหสิกรรม แล้วถ้าเรามาถึงตรงนี้แล้วจะ

กล่าวว่าใครเป็นผู้นิพพาน แล้วการแสวงหานิพพานใครเป็นผู้แสวงหานิพพาน

ถ้าเป็นประโยชน์กับทุกท่านก็ขออนุโมทนากับทุกท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
วินิจ
วันที่ 29 พ.ค. 2554

เคยคิดเช่นคุณ"peak"และเข้าใจว่าเป็นช่องว่างของการแสดงธรรมที่มักมีผู้หยิบฉวย

ไปเป็นข้ออ้างว่าเมื่อทุกสิ่งเป็น"สภาพธรรม"อัน"ไร้ตัวตน"แล้วจะไปพากเพียรประกอบ

กรรมดี (กุศลธรรม) ทำไม?คือเข้าใจว่าชาติหน้าไม่ได้รู้สึกเป็น"เรา"อันเดิม,แต่เป็น

"สภาพรับรู้"อัน"อื่น"ไปแล้ว,ไม่รับรู้เป็น"เรา"แล้วจะทุกข์จะสุขก็เป็น"สังขารธรรมอื่น"ก็

ช่างปะไรอะไรประมาณนี้เช่นเดียวกับที่อาจารย์ขององคุลีมาลเคยใช้"ตรรกะ"นี้หลอก

ศิษย์"อหิงสกะ"ให้ประหัตประหารชีวิตคนเพื่อจะจบการเรียนวิชา;แต่จริงๆ แล้วเข้าใจว่า

แม้เป็นชาติ"อื่น"แล้วก็ยังรู้เจ็บรู้ปวดเป็น"สันตติ"ของ"กรรม"ของ"สภาพธรรมเดิม"อยู่ดี,

เพียงแต่จำความเก่าแต่ภพก่อนไม่ได้เท่านั้นเอง,ความรู้สึก"อันเป็นเรา"เพราะยังไม่หมด

สิ้นซึ่งกิเลสยังคงมีอยู่,ไม่ได้หายไปจากจักรวาลแต่อย่างใด;แต่ก็อยากเรียนถามว่า,กรณี

"พระอรหันต์"ตัด"สันตติ"ที่สืบต่อ"ภพชาติ"ได้แล้ว,"พลังงาน"ของ"สภาพธรรม

เดิม"ก่อน"ดับขันธ์"เมื่อถึงวาระ"ดับขันธ์"แล้ว"พลังงาน"ที่เดิมเป็น"เวทนา

เจตสิก","สัญญาเจตสิก","สังขารเจตสิก"และ"เจตสิกอื่นๆ "ที่บริสุทธิ์อันเนื่องจากไร้"กิ

เลส"นั้นอยู่ในสภาพไหน?หรือสลายหายสูญ?หรือเปลี่ยนเป็นพลังงานอื่นเช่นความ

ร้อน,แสง,เสียง,โดยไม่มี"สภาพสมมติเดิม"ใดๆ ของ"พระอรหันต์" ณ จุดใดๆ ในจักรวาล

"หลงเหลือ"อยู่เลยใช่หรือไม่?

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
paderm
วันที่ 30 พ.ค. 2554

เรียนความเห็นที่ 4 และ 5 ครับ

เราห้ามความคิดของผู้อื่นไมไ่ด้เพราะแล้วแต่การสะสมมาของแต่ละบุคคล ความเห็น

ถูกและความเข้าใจธรรม จึงไม่สาธารณะกับทุกคน ผู้ที่ไม่ไ่ด้สะสมศรัทธา และปัญญามา

ย่อมคิดต่างจากความเป็นจริงและเป็นการยากที่จะเปลี่ยนความคิดของผู้อื่น โดยเฉพาะ

ผู้ที่ไม่ไ่ด้สสะมปัญญาแต่สะสมความเห็นผิดมา แม้แต่พระพุทธเจ้าก็ไม่สามารถช่วยบุคคล

เหล่านี้ได้ และไม่สามารถช่วยสัตว์โลกให้คิดถูกได้ทั้งหมดครับ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
paderm
วันที่ 30 พ.ค. 2554

เรียนความเห็นที่ 7 ครับ จากคำถามที่ว่า

อยากเรียนถามว่า,กรณี

"พระอรหันต์"ตัด"สันตติ"ที่สืบต่อ"ภพชาติ"ได้แล้ว,"พลังงาน"ของ"สภาพธรรม

เดิม"ก่อน"ดับขันธ์"เมื่อถึงวาระ"ดับขันธ์"แล้ว"พลังงาน"ที่เดิมเป็น"เวทนาเจตสิก","

สัญญาเจตสิก","สังขารเจตสิก"และ"เจตสิกอื่นๆ "ที่บริสุทธิ์อันเนื่องจากไร้"กิเลส"นั้น

อยู่ในสภาพไหน?หรือสลายหายสูญ?หรือเปลี่ยนเป็นพลังงานอื่นเช่นความร้อน,

แสง,เสียง,โดยไม่มี"สภาพสมมติเดิม"ใดๆ ของ"พระอรหันต์" ณ จุดใดๆ ในจักรวาล

"หลงเหลือ"อยู่เลยใช่หรือไม่?

--------------------------------------------------------------------------------

สภาพธรรมที่มีจริงคือ จิต เจตสิก รูปหรือขันธ์ 5 เมื่อพระอรหันต์ท่านปรินิพพาน

ท่านก็ดับขันธ์ 5 คือ จิต เจตสิก รูปไม่เกิดอีกเลย คำถามคือแล้วเจตสิก จิตทีเ่กิดขึ้น

ก่อนๆ หายไปไหน เรียนอย่างนี้ครับ จิตเป็นสภพาธรรมที่สะสม เมื่อจิตเกิดขึ้น ก็มี

เจตสิกเกิดขึ้น สะสมกิเลสบ้าง สะสมกุศลบ้าง แต่เมื่อไม่มีจิตเกิดขึ้นอีก ก็ไม่มีเจตสิก

เกิดด้วยและไม่มีรูปเกิดด้วย สิ่งที่เคยสะสมมาที่จิต เมื่อไม่มีจิตก็ไม่มีสภาพธรรมอื่นๆ

อีกเลย สิ่งที่สะสมมาก็ไม่มีอีกครับ เพราะไม่มีการเกิดของสังขารธรรมแล้วนั่นเอง

ดังนั้นสิ่งที่ดับไปแล้ว ไม่เกิดอีกเมื่อพระอรหันต์ปรินิพพาน ก็จะไม่เปลี่ยนไปเป็นอย่าง

อื่น เป็นพลังานอย่างอื่น เพราะหากมีการเปลี่ยนไปเป็นอย่างอื่น ก็แสดงว่ายังมีการ

เกิดขึ้น ของสภาพธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่ง นั่นก็แสดงว่ายังมีสภาพธรรมอยู่ก็เท่ากับว่า

ยังไมไไ่ด้ดับขันธปรินิพพาน คือดับไม่เหลือจริงๆ ครับ พระอรหันต์เมื่อท่านปรินิพพาน

จะไม่เกิดสภาพธรรมใดๆ เลยทั้งสิ้น และไม่แปรเปลี่ยนเป็นสภาพธรรมอื่นๆ เลยครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
วินิจ
วันที่ 31 พ.ค. 2554

จริงๆ คือไม่เจตนาจะหมายถึง"สภาพธรรม"แต่ต้องการจะพูดถึง"ตัวบรรจุจิต",อยากจะ

เปรียบเที่ยบว่ากายคือcpu,จิตคือฮาร์ดดิสก์,เจตสิกคือโปรแกรมต่างๆ ,อวิชชาคือไวรัส,

ตัณหาคือการเปิดระบบขณะมีไวรัส,วิชชาคือระบบสั่งงานปกติในขณะที่ไร้ไวรัส,ดังนั้น

เมื่อบรรลุ"สอุปาทิเสสฯ"ก็คือละอวิชชา,ละตัณหา,เกิดวิชชา,ก็คือเครื่องทำงานตามปกติ

โดยปราศจากไวรัส,เจตสิกคือโปรแกรมบางตัวที่มีล้นเกินและไม่เป็นประโยชน์ก็ถูกลบ

ไปโดยระบบอัตโนมัติของวิชชา,เครื่องคอมฯก็ทำงานได้ตามปกติไม่ติดขัด;ทีนี้เมื่อเป็น

"อนุปาทิเสสฯ"ก็คือ"ดับขันธ์"ก็คือไร้"กาย" (รูป) ,คือสรุปว่าcpuเสีย,แต่จิตคือฮาร์ดดิสก์

ยังเป็นปกติ,แต่เจตสิกและวิชชาที่อยู่ในจิตเมื่อcpuเสียก็ต้องพลอยยุติการทำงานไป

ด้วย,เพียงอยากทราบว่าจิตคือฮาร์ดดิสก์ซึ่งไม่ถูกทำลายไปพร้อมเครื่องจะอยู่ในสภาพ

ไหนเมื่อเครื่องเสีย,หรือจะสลายตัวเองโดยอัตโนมัติ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
paderm
วันที่ 31 พ.ค. 2554

เรียนความเห็นที่ 10 ครับ

เป็นการอุปมา ยกตัวอย่างโดยใช้ความเข้าใจเดิมที่เข้าใจว่า เมื่อดับกิเลสแล้ว

ปรินิพพาน ดับขันธ์หมดจะยังมีจิตและเจตสิก ซึ่งเป็นความเข้าใจเดิมที่ไม่ถูกต้อง

ครับ ดังนั้นคำอุปมานี้ไม่แสดงตรงตามความเป็นจริงและไม่มีในพระไตรปิฎก ดังนั้น

เมื่อดับเหตุคือกิเลสหมดแล้ว ย่อมไม่มีเชื้อที่จะให้ไฟเกิดขึ้นอีก ไฟจึงไม่เกิดขึ้น

เพราะดับเหตุคือเชื้อ อันเป็นกิเลสหมดแล้วครับ ดังนั้นไม่ว่ากรณ๊ใดๆ เมื่อดับเหตุคือ

อวิชชาและตัณหา รวมทั้งกิเลสเหล่าอื่นทั้งหมดแล้ว เมื่อพระอรหันต์ปรินิพพาน ก็จะ

ไม่มีการเกิดขึ้นของขันธ์ ของสภาพธรรมทั้งหมดครับ

เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ.... พระอรหันต์ ย่อมถึงความไม่มี [จูฬนิทเทส ]

-------------------------------------------------------------

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 218

พระผู้นี้พระภาคเจ้าเมื่อจะตรัสถามว่า ก็พระพุทธเจ้าทั้งหลายซึ่งมีในอดีตดับไปก่อน

แล้ว คือ ถึงความเป็นผู้หาบัญญัติไม่ได้ ได้แก่ ดับไปเหมือนเปลวประทีปฉะนั้น เมื่อ

พระพุทธเจ้าดับไป คือ ถึงความเป็นผู้หาบัญญัติมิได้อย่างนี้ เธอจักรู้ ได้อย่างไร

-----------------------------------------------------------------------

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 281

พระองค์ทั้งพระสาวก รุ่งโรจน์แล้ว ก็เสด็จดับ

ขันธปรินิพพาน เหมือนกองไฟโพลงแล้วก็ดับไป.

พระวรฤทธิ์ด้วย พระยศด้วย จักรรัตนะที่พระ

ยุคลบาทด้วย ทั้งนั้นก็อันตรธานไปสิ้น สังขารทุก

อย่างก็ว่างเปล่า แน่แท้.

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
akrapat
วันที่ 31 พ.ค. 2554

ก็เพราะความไม่รู้ หรืออวิชชา นี่แหละครับจึงทำให้ยังเวียน ว่ายตายเกิด ไม่รู้อะไร ไม่รู้แจ้ง อริสัจจธรรม เมื่อไม่รู้ ก็เลยไม่เชื่อ เมื่อไม่เชื่อ (ไม่ศรัทธา) ก็ย่อมได้รับ ผลของความไม่เชื่อ คือยังวน เวียน ต่อไป ในสังสารวัฏฏ์ อย่างไม่รู้จักจบสิ้น

การที่จะทำให้คนอื่นเชื่อ หรือศรัทธาไม่ใช่เรื่องง่ายเลย หากคนๆ นั้น ประกอบ ด้วย ยิ่งคนๆ นั้น ประกอบด้วยตัณหา มานะ ทิฏฐิ หรือสั้นว่า อัตตาสูง แม้แต่พระพุทธเจ้าในสมัยพุทธกาล ตามพระสูตรต่างๆ ก่อนที่ท่านจะสอนใครท่านก็ดูว่า คนๆ นั้นพร้อมหรือยัง ที่จะฟังธรรมหรือ ลดอัตตาลงยัง ดังเช่น เมื่อท่านเจอ พรานป่าที่กำลังถือดาบหรืออะไรไม่ทราบ พระพุทธเจ้า ท่านก็ให้วางลงก่อน นายพรานก็วางดาบลง แต่พระพุทธเจ้า ท่านก็บอกว่า สิ่งที่ให้ วางลงไม่ใช่ดาบ แต่เป็น ทิฏฐิ มานะ แล้วท่านก็แสดงธรรม จนที่สุดพรานป่าก็บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน

แม้แต่พระภาหิยะน ซึ้งดั้นด้น มาแต่ไกลเพื่อฟังธรรมพระพุทธเจ้า และกล่าวขอฟังธรรมจากพระพทุธเจ้าถึง ๓ ครั้ง ท่านถึงแสดงธรรม เพราะพระพุทธเจ้าเอง ท่านเหตุว่า ขณะนั้น จิตพระพาหิยะ ประกอบด้วย โลภะ (กระตือรือร้นอยากฟังธรรมมากๆ ) แสดงธรรมไปก็เป็นการเปล่าประโยชน์ ท่านรอจนกระทั่ง พระพาหิยะ อ่อนโยนลง ท่านจึงแสดงธรรม จนในที่สุด พาหิยะบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ และภายหลังก็โดนแม่โค ขวิดตาย

ที่ผมยกมาข้างต้น อาจจะจำชื่อ เรื่องราวผิดบ้างต้องขออภัย แต่สาระคือ ถ้าเรามีเจตนาดีในการแนะนำ หรือแสดงธรรม เพื่อเกื้อกูลและเป็นประโยชณ์ แก่เพื่อนมนุษย์ โดยไม่ประกอบด้วย โลภะ คือต้องการสิ่งหนึ่งสิ่งใด หรือ อามิสตอบแทน หรือหวังลาภสักการะ คำสรรเสริญ เยินยอ จากผู้ฟัง เราก็ไม่จำเป็นต้องเป็นทุกข์ แม้เขาเหล่านั้น จะไม่เข้าใจ หรือไม่เชื่อฟังก็ตาม เพราะท้ายสุดแต่ละคนถ้าตราบใดถ้าไม่ประจักษ์ด้วยตัวเอง ก็จะไม่ยอมเชื่อง่ายๆ ครูบาอาจารย์เองท่านก็ ทำหน้าที่ของท่านด้วยความเมตตา กรุณาต่อลูกศิษย์ และท่านก็คงไม่ได้ทุกข์อะไร กับคำสอนที่ท่านกล่าวออกไป (แม้คนฟังจะไม่เชื่อก้ตาม) เพราะท่านทำไปด้วยเจตนาที่บริสุทธิ์

ไม่รู้ว่าเป็น คนละประเด็นเดียวกัน หรือเปล่านะครับ อนุโมทนากับทุกๆ ท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
วินิจ
วันที่ 31 พ.ค. 2554

บรรทัดที่3จากล่าง,ขอช่วยเปลี่ยนจาก"อวิชชา"เป็น"วิชชา"ด้วย (พิมพ์ผิด) ,"อวิชชา"ละไป

แล้วเมื่อเข้า"สอุปาทิเสสฯ"ตั้งแต่ช่วงแรก (ขอบคุณมาก)

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
wannee.s
วันที่ 31 พ.ค. 2554
 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
วินิจ
วันที่ 31 พ.ค. 2554

จากคห.11,ผมเข้าใจว่า"อวิชชา,ตัณหา,อกุศลเจตสิก"ได้ดับไปแล้วแต่เข้า"สอุปาทิเสสฯ"

และ"ตัณหา"คือ"เชื้อไฟ","ภพ,ชาติ,ชรา..."คือ"ไฟ",ซึ่งสื่อถึงชีวิตอันเต็มไปด้วยทุกข์ไม่มี

อีกต่อไป,แต่"จิต,กุศลเจตสิก (โสภณเจตสิก,กิริยาจิตอื่นๆ ฝ่ายดี) ,วิชชา"ยังดำรงอยู่ตอนยัง

ไม่ถึง"อนุปาทิเสสฯ",แต่เมื่อถึงแล้ว,สิ่งดังกล่าวเช่น"วิชชา"เป็นต้นซึ่งไม่ใช่"เชื้อไฟหรือ

ไฟ"อยู่ในสภาพไหน?...ขอบคุณครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
akrapat
วันที่ 31 พ.ค. 2554

ต่ออีกนิดนะครับ คนในยุคนี้ส่วนใหญ่ จะคล้ายกับๆ คุณ วินิจ นี่แหละครับ คือชอบคิดค้นคว้าหาเหตุผล ในทางวิทยาศาสตร์ที่พิสูจน์ได้ สิ่งไหนที่พิสูจน์ไม่ได้ก็ เลยไม่เชื่อ แต่ถ้าผมเรียนคุณ วินิจ ว่าแม้วิทยาศาสตร์เองยังตั้ง อยู่บนพื้นฐานทาง สมมุต หรือสมมติฐาน คือ อาศัย การทดอง เมื่อผลการทดลองไกล้เคียงกับ สมมติฐานที่ตัวเองตั้งมากที่สุด ก็ยอมรับว่านั้น เป็น "ทฤษฎี" ใครทดลอง หรือใครคิดทฤษฎีคนแรก ก็ดังไป แต่แม้ ทฤษฎีเองจาก อดีต ก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ถ้ามีเหตุผลใหม่ หรือ ทฤษฎีใหม่มาหักล้าง จากอดีตจนปัจจุบัน วิทยาศาสตร์ เจริญมาเรื่อย พยายามเข้าให้ถึง อนุภาคที่เล็กที่สุด จนกระทั่งไม่รู้ว่า จะจบยังไง แม้แต่คนที่คิด ทฤษฎีเองก็จะยังไม่หยุด ก็จะศึกษาทดลองไปเรื่อย สร้างอะไรต่อมิอะไรมาเยอะแยะ และที่สร้างที่คิดมาทั้งหมด ทั้งมวล ล้วนเป็นไปโดย อำนาจของโลภะ และกิเลสของคนคิดทั้งนั้น

พระพุทธเจ้าเอง ท่านก็เป็นนักคิด และนักคิดไปไกลกว่า วิทยาศาสตร์ สมัยนี้มาก พิสูจน์ได้จากคำสอนของท่านเมื่อ ๒๕๐๐ ปีก่อน เป็นจริง ฉันใดบัดนี้ เรื่องบางเรื่องก็สามารถพิสูจน์ได้ สามารถหาอ่านได้ตามพระไตรปิฎก แต่พระพุทธเจ้าท่านทราบสิ่งเหล่านี้ไม่ได้เป็นไปเพื่อออกจาก วัฎฏะ คือออกจากโลกของการเวียนว่ายตายเกิด ไม่ได้คิดเพื่อที่จะอยู่เสพสุขกับโลกอย่างสุขสบาย ผมว่าตัวท่าน วินิจ เองก็ทราบเรื่องนี้ดี แต่ไม่รู้จะตอบคำถามของพวกนักคิดอย่างไร

แต่ทั้งหมดทั้งสิ้น ที่กล่าวมาแม้กระทั่ง การเปรียบเทียบด้วยคอมพิวเตอร์ cpu ไวรัส อาร์ดแวร์ เป็นเรื่องที่ท่าน คิดเอง สมมติเอง แล้วก็เลยสงสัยเอง (เป็นไปตามสังขาร หรือความปรุงแต่งของจิต และเจตสิก) เมื่อสงสัยก็หาคำตอบ เมื่อตอบไม่ได้ ก็เลยต้องถาม ที่พูดนี่ไม่ใช่ให้ไม่สงสัย นะครับ แต่ต้องต้องการที่ จะเตือนว่า ความสงสัยเอง ก็คือ ธรรมะ แต่เชื่อไหมครับว่า เมื่อท่านหายสงสัยเรื่องนี้ เรื่องอื่นก็จะผุดขึ้นอีก เรื่อยๆ จนกระทั่ง.....ตัวท่านเองหายสงสัย ดับวิจิกิจฉา นั่นแหละ แต่เมื่อ วิจิกิจฉาดับ (ระดับพระโสดา สกทา) ก็ยัง มี อุทธัจจะ กุกุจะ คือ คิดใคร่ครวญในธรรม ไปอีก จนกระทั่ง ท่านสามารถปล่อยว่างด้วยสติ และปํญญา เป็นพระอรหันต์นั่นแหละ

ขออนุญาติใช้สมมุตอธิบายสิ่งเหนือสมมติ แล้วกันนะครับ

ด้วยเหตุนี้เอง เวลามีคนถามอาจารย์ว่า นิพพานเป็นอย่างไร ท่านจึงไม่อยากที่จะตอบ เพราะไม่รู้จะตอบอย่างไร พระพุทธเจ้า ท่านจึงกล่าว อย่าเพิ่ง เชื่อ แต่ให้ลองดูเองเถิด

วจีกรรม มโณกรรมที่ล่วงเกิน คุณ วินิจ และท่านใดก็ตาม ต้องขออโหสิกรรมด้วยนะครับ อาจจะมีบางคำที่ทำอาจจะให้ท่านไม่สบายใจ

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
paderm
วันที่ 31 พ.ค. 2554

เรียนความเห็นที่ 15 ครับ

อนุโมทนาครับที่ร่วมสนทนากัน จากคำถามที่ว่า

ผมเข้าใจว่า"อวิชชา,ตัณหา,อกุศลเจตสิก"ได้ดับไปแล้วแต่เข้า"สอุปาทิเสสฯ"

และ"ตัณหา"คือ"เชื้อไฟ","ภพ,ชาติ,ชรา..."คือ"ไฟ",ซึ่งสื่อถึงชีวิตอันเต็มไปด้วยทุกข์ไม่มี

อีกต่อไป,แต่"จิต,กุศลเจตสิก (โสภณเจตสิก,กิริยาจิตอื่นๆ ฝ่ายดี) ,วิชชา"ยังดำรงอยู่ตอนยัง

ไม่ถึง"อนุปาทิเสสฯ",แต่เมื่อถึงแล้ว,สิ่งดังกล่าวเช่น"วิชชา"เป็นต้นซึ่งไม่ใช่"เชื้อไฟหรือ

ไฟ"อยู่ในสภาพไหน?...ขอบคุณครับ...

---------------------------------------------------------------------

เรียนอย่างนี้ครับ จิตเป็นสภาพธรรมที่สะสม สะสมทั้งฝ่ายดีและไม่ดี คือสะสมทั้ง

ปัญญา (วิชชา) และสะสมทั้ง อวิชชา และกิเลสอื่นๆ ด้วย ดังนั้นเมื่อพระอรหันต์

ปรินิพพาน ก็ไม่มีการเกิดขึ้นของ จิตและเจตสิกอีก ซึ่งวิชชาตามที่กล่าวมาคือ

ปัญญาหรือ อโมหเจตสิก เมื่อไม่มีการเกิดขึ้นของนามธรรม ที่เป็นจิตและเจตสิก

และรูปธรรมอีกเมื่อพระอรหันต์ปรินิพพาน เมื่อไม่มีการเกิดขึ้นของจิต เจตสิกก็เกิด

ไม่ไ่ด้ เพราะ เจตสิกจะเกิดขึ้นก็ต้องอาศัยจิต วิชชา ปัญญาเป็นเจตสิกที่เป็นอโมหะ

เจตสิก วิชชาที่เป็นเจตสิกฝ่ายดีจึงไม่เกิดขึ้นครับ แม้จะไม่ใช่ตัวเชื้อ ตัวกิเลสแต่

เพราะดับกิเลสหมด ไฟไม่เกิดขึ้น คือ จิต เจตสิกไม่เกิดขึ้น วิชชา หรือ อโมหเจตสิก

ก็ไม่เกิดขึ้นครับ จึงไม่มีการเกิดขึ้นของสภาพธรรมใดเลยทั้งฝ่ายดีและไม่ดีครับ

ในเมื่อจิตสะสมปัญญา วิชชาด้วยแต่เมื่อไม่มีจิตเกิดอีกจึงไม่มีสภาพธรรมใดๆ อีกแม้

วิชชาหรือปัญญาที่สะสมมาครับ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 18  
 
วินิจ
วันที่ 31 พ.ค. 2554

ก็ขอขอบคุณคห.16,17ที่ร่วมให้ข้อแนะนำแลกเปลี่ยนที่เป็นเรื่องลึกซึ้ง,ว่าที่จริงผมก็ไม่

ได้คิดเอาเองซะที่เดียวทั้งหมดแต่ก็เคยเรียนรู้ถามไถ่ครูบาอาจารย์มาบ้าง,จริงๆ ก็ไม่

อยากเป็นคนที่เรียกว่า"อเหตุกะ..."เช่น อยู่ไม่อยู่"เจตสิก"ทั้งฝ่ายกุศลอกุศลวนมารวม

กันแล้วกลายเป็นจิต (สภาพธรรมที่สะสม) ,หลัก"กาลามฯ"ก็มีอยู่,แม้ภาษาบางครั้งก็เป็น

เรื่องโวหาร เช่น ถามว่า"คุณเป็นหนี้ไหม?"ก็อาจตอบว่า"จะว่าไม่เป็นก็ได้",อีกคนตอบ

"ไม่เป็น",คน2ก็ย่อมชัดเจนในคำตอบมากกว่า,คนแรกต้องขอคำอธิบายเพื่มเติม,อาจจะ

บอกว่า"ก เป็นหนี้ผม100บาท,ผมเป็นหนี้ ข 100บาทถือว่าไม่ได้เป็นหนี้",โดยสาระคือ

"เป็นหนี้อยู่"เพราะ ข อาจไม่ใช้หนี้เลยก็ได้,เว้นแต่คนเป็นหนี้กับคนค้างหนี้เป็นคนเดียว

กันแต่คนละกาละแต่จำนวนเงินเท่ากันจึงจะบอกว่า"ถือว่าไม่ได้เป็นหนี้",พระไตรปิฎก

ต้องยอมรับว่าเป็นการจำมาทอดหนึ่ง,แล้วมาบันทึกทอดหนึ่ง,แล้วมี"อรรถกถาฯ"อธิบาย

เพิ่มเติมอีกทอดหนึ่ง,แล้วยังมีแปลเป็นสำนวนไทยอีกทอดหนึ่ง,ภาษาพระไตรปิฎกที่

แปลมาบางตอนก็ใช่จะเข้าใจได้ง่ายๆ ,การถามบางครั้งก็เลยต้องใช้การเปรียบเทียบ

แบบร่วมสมัยเจตนาให้เข้าใจจุดที่ต้องการสื่อได้ง่าย,อย่างเช่นในพระพุทธวจนะที่แนะ

นำให้อ่านก็มีเช่น"มุนีนั้น...ไม่มีการณ์ เครื่องให้ถึงการนับ...จึงชื่อว่า ย่อมถึงความไม่มี

ไม่เข้าถึงความนับ"ถ้าให้เด็กป.4อ่านก็คงจะงงพอสมควร;จริงๆ คือ1.เป็นสำนวนที่แปล

มาจากบาลีแต่เป็นสำนวนไทยของคณะที่แปล2.โดยเนื้อหา (ผมเข้าใจส่วนตัวผนวกกับ

ที่เคยฟังอาจารย์) เข้าใจว่าพระพุทธเจ้าไม่ได้ตอบแบบ"ฟันธง"ว่าไม่เหลืออะไร,แต่คง

เห็นว่าเป็นเรื่องที่อธิบายลำบากและไม่ใช่ประโยชน์เฉพาะหน้าแบบที่คุณAkrapatบอก

นั่นแหละ,ก็เหมือนคุณเห็นก้อนหินก้อนหนึ่งวางอยู่ถามคนธรรมดาว่ามีพลังงานอะไรอยู่

ไหม?ก็ต้องตอบว่าไม่มี,แต่เผอิญก้อนหินก้อนนี้วางอยู่ขอบเหว,เมื่อคุณส่งพลังงานเขี่ย

ให้มันเล็กน้อย,มันจะดิ่งลงเหวด้วยพลังงานศักย์ที่แฝงอยู่ทันที;ก็อยากเปรียบกับก้อน

หินอีกเช่นเดียวกัน,ถามว่าก้อนหินมีไม่มี?ก็ต้องตอบว่า"มี",แต่จะตอบว่า"ไม่มี"ก็ได้,คือ

ไม่มีในสถานะที่ถือว่าเป็น"ตัวตน"ของเรา,คือมีก็"สักแต่ว่า"มีอย่างนั้น,หมดสภาพความ

เป็นสัตว์บุคคลตัวตนเราเขา,ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความยึดมันว่าเป็น"ใคร"ว่าเป็น"ตัวตน"

ของ"ใคร",ก็ขอขอบคุณอีกครั้งสำหรับจิตใจที่เอื้อเฟื้อของทั้ง2ท่านและเพื่อนสหธรรมิก

ทุกคน,ขอโมทนาในคุณความดีของทุกท่าน...

 
  ความคิดเห็นที่ 19  
 
homenumber5
วันที่ 3 มิ.ย. 2554

เรียนท่านเจ้าของความเห็นที่ 17 และวิทยากรท่านอื่นๆ

1.ที่ดิฉันเข้าใจ วิทยาศาสตร์นั้นมีสมมติฐานบนเรื่องเวลา แพระพุทธศาสนาไม่ใช่ และพระพุทธศาสนา สอนให้ละอวิชชาเพื่อสู่ปัญญา โลกุตร เพือ่ดับทุกข์คือ จิต 121 เจตสิก 52 รูป 28 เพื่อไปถึงนิพพาน อันนี้ ถูกต้องไหมคะ

2.สำหรับเรื่อง จุติแล้ว ไปปฏิสนธินั้น กายเที่แตกสลายเป็นขันธ์ที่เราใช้ไปแล้วชาตินี้ แต่ขันธืที่รอการปฏิสนธิจากจิตที่สั่งสมด้วยกิเลส ตัณหานานา ก็จะมีตามมา ขันธ์ที่ปฏิสนธิใหม่นี้เป็นผลจากจิตที่เคยสั่งสมมาจากอดีต ดังนั้นเมื่อชาตินี้ เราสร้างกุสลกรรม รูป ขันธ์ที่จะไปปฏิสนธิในชาติต่อๆ ไป ต้องเป็นรูป ขันธ์ฝ่ายกุสล เช่น จุติจากคน ปฏิสนธิเป็นเทพ พรหม หรือ ดับธาติขันธ์ฯลฯ เป็นนิพพาน หรือเข้าสู่อริยะบุคคล เรื่องนี้ต้องอ้างถึงระดับบุคคล 12 ประเภทที่เกิดจากเหตุแตกต่างกัน

ทุคติอเหตุกบุคคล ปฏิสนธิจาก จิตอกุสล 12

สุคติอเหตุกะบุคคลปฏิสนธิจาก อเหตุกะจิต คือสันตีรณอเหตุกะ อกุสลวิปากจิตและอเหตุกะกุสลวิปากจิต

ทวิเหตุกะบุคคลปฏิสนธิจาก เหตุ 2 มีญาณวิปยุตตมหาวิปากจิตเป็นจิตปฏิสนธิ

เป็นต้น ใช่ไหมคะ

3.มาที่ว่าทำดีชาตินี้ไปทำไมเพราะชาติหน้าเป็นคนใหม่ เข้ากับ อวิชชาสามข้อคือ ไม่รู้เรื่อง ขันธ์ ใ

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

นอดีต ไม่รู้ขันธ์ในอนาคต และไม่รู้ขันธ์ทั้งในอดีตและอนาคน เป็นเหตุของอวิชชา สามข้อที่ เราจึงยังมาวนเกิดตายอยู่ ข้อนี้ดิฉันเข้าใจถูกไหมคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 20  
 
paderm
วันที่ 3 มิ.ย. 2554

เรียนความเห็นที่ 19 ครับ

ถูกต้องทั้ง 3 ข้อครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 21  
 
ลุงหมาน
วันที่ 3 มิ.ย. 2554
อ้างอิงจาก : หัวข้อ 18437 ความคิดเห็นที่ 19 โดย homenumber5

เรียนท่านเจ้าของความเห็นที่ 17 และวิทยากรท่านอื่นๆ

1.ที่ดิฉันเข้าใจ วิทยาศาสตร์นั้นมีสมมติฐานบนเรื่องเวลา แพระพุทธศาสนาไม่ใช่ และพระพุทธศาสนา สอนให้ละอวิชชาเพื่อสู่ปัญญา โลกุตร เพือ่ดับทุกข์คือ จิต 121 เจตสิก 52 รูป 28 เพื่อไปถึงนิพพาน อันนี้ ถูกต้องไหมคะ

2.สำหรับเรื่อง จุติแล้ว ไปปฏิสนธินั้น กายเที่แตกสลายเป็นขันธ์ที่เราใช้ไปแล้วชาตินี้ แต่ขันธืที่รอการปฏิสนธิจากจิตที่สั่งสมด้วยกิเลส ตัณหานานา ก็จะมีตามมา ขันธ์ที่ปฏิสนธิใหม่นี้เป็นผลจากจิตที่เคยสั่งสมมาจากอดีต ดังนั้นเมื่อชาตินี้ เราสร้างกุสลกรรม รูป ขันธ์ที่จะไปปฏิสนธิในชาติต่อๆ ไป ต้องเป็นรูป ขันธ์ฝ่ายกุสล เช่น จุติจากคน ปฏิสนธิเป็นเทพ พรหม หรือ ดับธาติขันธ์ฯลฯ เป็นนิพพาน หรือเข้าสู่อริยะบุคคล เรื่องนี้ต้องอ้างถึงระดับบุคคล 12 ประเภทที่เกิดจากเหตุแตกต่างกัน

ทุคติอเหตุกบุคคล ปฏิสนธิจาก จิตอกุสล 12

สุคติอเหตุกะบุคคลปฏิสนธิจาก อเหตุกะจิต คือสันตีรณอเหตุกะ อกุสลวิปากจิตและอเหตุกะกุสลวิปากจิต

ทวิเหตุกะบุคคลปฏิสนธิจาก เหตุ 2 มีญาณวิปยุตตมหาวิปากจิตเป็นจิตปฏิสนธิ

เป็นต้น ใช่ไหมคะ

3.มาที่ว่าทำดีชาตินี้ไปทำไมเพราะชาติหน้าเป็นคนใหม่ เข้ากับ อวิชชาสามข้อคือ ไม่รู้เรื่อง ขันธ์ ใ

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

นอดีต ไม่รู้ขันธ์ในอนาคต และไม่รู้ขันธ์ทั้งในอดีตและอนาคน เป็นเหตุของอวิชชา สามข้อที่ เราจึงยังมาวนเกิดตายอยู่ ข้อนี้ดิฉันเข้าใจถูกไหมคะ

ขอร่วมวงสนทนาด้วยครับ ตามที่ผมเข้าใจมานะครับ

1. ทุกข์เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ องค์ธรรมได้แก่ โลกียะจิต 81 เจตสิก 51 (เว้นโลภเจตสิก) รูป 28 สมุทัยควรกำหนดละ องค์ธรรมได้แก่โลภเจตสิก 1

2. จุติจิตจากชาตินี้ ก็ไปปฏิสนกัมมชรูปใหม่ในชาติต่อไปแล้วแต่กรรม อันมี กรรม กรรมนิมิต คตินิมิต

ทุคติอเหตุกบุคคลนั้น อกุศลจิตปฏิสนธิได้ 11 ดวง (เว้นอุทธัจจะ) ได้แก่สันตีรณอกุศลวิปากจิต 1 นำเกิดในอบายภูมิ 4

สุคติอเหตุกบุคคล ได้แก่ กุศลญานวิปปยุตตจิต 4 ได้แก่สันตีรณกุศลวิปากจิต นำเกิดในมนุษย์ และเทวดาชั้นจาตุมฯ ที่ บ้า ใบ บอด หนวก พิการ

3. ข้อสามนี้ไม่เข้าใจคำถาม ถ้าจะถามว่าตัวอวิชชานั้นถูกต้อง เพราะตัวอวิชชาเขาก็รู้เหมือนกัน แต่เขาไม่รู้นั้นมี 8 อย่าง .......

รูปภาพ

 
  ความคิดเห็นที่ 22  
 
homenumber5
วันที่ 19 มิ.ย. 2554
เรียนท่านเจ้าของความเห็นที่ 21 ข้อ 3 คำถาม มาที่ว่าทำดีชาตินี้ไปทำไมเพราะชาติหน้าเป็นคนใหม่ เข้ากับ อวิชชาสามข้อคือ ไม่รู้เรื่อง ขันธ์ ในอดีต ไม่รู้ขันธ์ในอนาคต และไม่รู้ขันธ์ทั้งในอดีตและอนาคน เป็นเหตุของอวิชชา สามข้อที่ เราจึงยังมาวนเกิดตายอยู่ ข้อนี้ดิฉันเข้าใจถูกไหมคะ และเหตุแห่งอวิชชา มี 8 ข้อตามที่ท่านระบุไว้ค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 23  
 
ลุงหมาน
วันที่ 20 มิ.ย. 2554
อ้างอิงจาก : หัวข้อ 18437 ความคิดเห็นที่ 22 โดย homenumber5
เรียนท่านเจ้าของความเห็นที่ 21 ข้อ 3 คำถาม มาที่ว่าทำดีชาตินี้ไปทำไมเพราะชาติหน้าเป็นคนใหม่ เข้ากับ อวิชชาสามข้อคือ ไม่รู้เรื่อง ขันธ์ ในอดีต ไม่รู้ขันธ์ในอนาคต และไม่รู้ขันธ์ทั้งในอดีตและอนาคน เป็นเหตุของอวิชชา สามข้อที่ เราจึงยังมาวนเกิดตายอยู่ ข้อนี้ดิฉันเข้าใจถูกไหมคะ และเหตุแห่งอวิชชา มี 8 ข้อตามที่ท่านระบุไว้ค่ะ

อวิชชา 8 ข้อที่อวิชชาไม่รู้ครับ

1. ทุกฺเข อญาณํ = ไม่รู้ในทุกข์

2. ทุกฺสมุทเย อญาณํ = ไม่รู้เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์

3. ทุกฺขนิโรเธ อญาณํ = ไม่รู้ธรรมอันเป็นที่ดับทุกข์

4. ทุกฺขนิโรธคามินีปฏิปทาย อญาณํ = ไม่รู้หนทางที่ให้เข้าถึงความดับทุกข์

5. ปุพฺพนฺเต อญาณํ = ความไม่รู้ในขันธ์ อายตนะ ธาตุ ที่เป็นอดีต

6. อปรนฺเต อญาณํ =  ความไม่รู้ในขันธ์ อายตนะ ธาตุ ที่เป็นอนาคต

7. ปุพฺพนฺตาปรนฺเต อญาณํ = ความไม่รู้ในขันธ์ อายตนะ ธาตุที่เป็นอดีตและอนาคต

8. อิทปฺปจฺจยตาปฏิจฺจสมุปฺปนฺเนสุ ธมฺเมสุ อญาณํ = ความไม่รู้ใน รูป นาม ที่เกิดขึ้น

โดยอาศัยมีเหตุให้เกิดขึ้นตามในปฏิจจสมุปบาท

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ