อริยุปวาท-ว่าร้ายอริยบุคคล

 
นาวาเอกทองย้อย
วันที่  2 มิ.ย. 2554
หมายเลข  18470
อ่าน  4,999

อริยุปวาท คือการตำหนิว่าร้ายอริยบุคคล ท่านว่ามีโทษร้ายแรงเทียบเท่าอนันตริยกรรม

อริยบุคคลย่อมมี ๒ ฝ่าย คือฝ่ายบรรพชิต และฝ่ายคฤหัสถ์

บิดามารดาหรือผู้เลี้ยงดูโสดาบันบุคคลขณะที่ยังเป็นทารก (ตามหลักที่ท่านผู้รู้ตอบ

ไว้ในกระทู้เรื่อง การเกิดใหม่ของพระโสดาบัน) ถ้าดุด่าว่ากล่าวหรือเฆี่ยนตีทารกนั้น

ตามวิสัยของการเลี้ยงดูทารกที่จะต้องมีการกระทำเช่นนั้นอยู่บ้างเป็นธรรมดา ผู้ดุด่าว่า

กล่าวหรือเฆี่ยนตีทารกที่เป็นโสดาบันบุคคลนั้น จะมีโทษฐานกระทำอริยุปวาทหรือไม่

ด้วยเหตุผลอะไร

ขอขอบพระคุณทุกท่านที่จะกรุณาให้ความรู้ในเรื่องนี้ครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 2 มิ.ย. 2554

ขอนอบน้อบแด่พระรัตนตรัย

อริยุปวาท คือ เจตนา ว่าร้ายพระอริยเจ้า ซึ่งมีพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าและ

พระสาวก รวมทั้งแม้พระอริยเจ้าที่เป็นคฤหัสถ์ การมีเจตนาด้วยจิตที่เป็นอกุศล เจตนา

ว่าร้ายและทำการว่า ร้าย ชื่อว่า อริยุปวาท ซึ่งการติเตียนว่าร้ายพระอริยเจ้า ก็ด้วยการ

กล่าวว่าร้ายในสิ่งที่ไม่จริง เป็นต้น ว่ากล่าวว่าไม่มีคุณความดี ติโทษพระอริยะเจ้าครับ

ซึ่งโทษก็คือห้าม สวรรค์และมรรคผล นิพพาน โทษหนักเท่าอนันตริยกรรม

จากที่ผู้ถาม ถามในกรณี มารดาหรือบิดา ที่เลี้ยงทารก ซึ่งทารกนี้เป็นพระโสดาบัน

แล้ว เพราะชาติก่อนเป็นพระโสดาบัน จุติและปฏิสนธิมาเกิดเป็นมนุษย์แต่เป็นเด็ก

ทารกอยู่ หากมารดาหรือบิดา ว่า ดุด่า เด็กทารก จะเป็นอริยุปวาทหรือไม่ ว่าร้ายพระ

อริยเจ้าหรือไม่

ในประเด็นนี้ก็ต้องเข้าใจครับว่า กรรม คือเจตนา ดังนั้นจะเป็นอกุศลกรรม เป็นผรุส

วาจาหรือเป็นอริยุปวาท ต้องเป็นอกุศลกรรมที่เกิดจากเจตนาที่ไม่ดี เจตนาร้าย อันมุ่ง

หมายถึง เจตนา ด่าว่า แต่ในกรณีของมารดาและบิดา ว่าบุตรที่เป็นทารก เจตนาเป็น

อย่างไร ว่าร้ายหรือไม่ หรือ การพูดสั่งสอน ด้วยคำพูดนั้นด้วยเจตนาดี มุ่งสั่งสอน

อบรมบุตร แต่ไม่ใช่เจตนามุ่งว่าร้าย จะเห็นครับว่าเจตนาต่างกันครับ ซึ่งในมังคลัต-

ถทีปนี ก็แสดงถึงเรื่องการกล่าวว่าร้ายของมารดา ที่มีต่อบุตรว่าเป็นความหวังดี มุ่งสั่ง

สอน ไม่เป็นผรุสวาจาหรืออาจารย์ที่สังสอนศิษย์ ว่ากล่าวก็เพื่อสั่งสอน ไม่ได้มีเจตนา

ร้ายครับ ไม่เป็นการว่าร้ายครับและจิตอ่อนครับ ดังนั้นสำคัญที่เจตนาเป็นสำคัญครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 2 มิ.ย. 2554

มังคลัตถทีปนีแปล เล่ม ๒ - หน้าที่ 109

[๒๑๔] ถามว่า "ก็เจตนาที่หยาบโดยส่วนเดียว มีได้อย่างไร? "

แก้ว่า "มิได้ เพราะเป็นผู้มีจิตอันโทสะประทุษร้าย." เพื่อจะ

ประกาศความเป็นผู้มีจิตอันโทสะประทุษร้าย จะเล่าเรื่องดังนี้ :-

[ตัวอย่างปากร้ายใจดี]

ดังได้สดับมา เด็กคนหนึ่ง ไม่เชื่อคำของมารดา เข้าไปป่า

มารดาเมื่อไม่อาจจะให้เด็กนั้นกลับได้ จึงด่าว่า "ขอแม่กระบือดุ

จงไล่ตามมัน." ครั้งนั้น แม่กระบือในป่าปรากฏแก่เด็กนั้น อย่างนั้น

เหมือนกัน. เด็ก ได้ทำสัจจกิริยาว่า "มารดาของข้า พูดเรื่องใด

ด้วยปาก ของเรื่องนั้นอย่ามี มารดาคิดเรื่องใดด้วยจิต ขอเรื่องนั้นจงมี."

แม่กระบือได้หยุดอยู่ เหมือนถูกผูกในที่นั้นนั่นเอง.

วจีประโยค แม้เป็นเหตุตัดเสียซึ่งคำรักอย่างนั้น ก็ยังไม่ชื่อว่า

เป็นผรุสวาจา เพราะเป็นผู้มีจิตอ่อน. จริงอยู่ บางครั้งมารดาบิดา

ย่อมพูดกะบุตรทั้งหลายอย่างนี้ว่า "ขอพวกโจรจงทำพวกมันให้เป็น

ท่อนเล็กท่อนน้อยเถิด," แต่ท่านก็ไม่ปรารถนา แม้แต่จะให้กลีบ

อุบลตกลงเบื้องบนของบุตรเหล่านั้น. อนึ่ง บางครั้ง อาจารย์และ

อุปัชฌายะทั้งหลาย ย่อมพูดกะพวกนิสิตอย่างนี้ว่า "พวกเหล่านี้

ไม่มีความละอาย ย่อมพูดกะพวกนิสิตอย่างนี้ว่า "พวกเหล่านี้,

ก็แต่ท่านย่อมปรารถนาความถึงพร้อม ด้วยปริยัติปฏิบัติและปฏิเวธ

เพื่อศิษย์เหล่านั้น.

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
นาวาเอกทองย้อย
วันที่ 3 มิ.ย. 2554

ขอบพระคุณครับที่กรุณาให้ความรู้

ประเด็นที่เกี่ยวกับเจตนาดี หรือ "ปากร้ายใจดี" นั้นกระผมไม่สงสัยเลย แต่สงสัยในแง่ที่ใจถูกอกุศลครอบงำแล้วก็มีการกระทำเกิดขึ้น ขออนุญาตยกตัวอย่างเทียบเคียงเพื่อท่านผู้ตอบจะได้เข้าใจประเด็นตรงกับที่สงสัย

สมมติว่า (๑) เราเอาของอะไรสักอย่าง เช่นของกิน วางไว้ แล้วมีสุนัขหรือแมวจะเข้ามากิน หรืออาจจะจู่เข้ามากินไปแล้ว เราก็จะไล่มัน หรือตีมัน ด่าว่ามัน หรือ (๒) แมวในบ้านกระโดดไล่จิ้งจกบนหลังตู้ทำให้ของบนหลังตู้ตกลงมาแตก เราก็จะตีมันหรือด่าว่ามันเช่นเดียวกัน การที่เราตีสุนัขตีแมวหรือด่าว่ามันนั้นย่อมจะมิได้กระทำไปด้วยเจตนาที่จะอบรมสั่งสอนให้มันรู้สำนึกใดๆ คือมิได้ทำด้วยความหวังดีต่อมันเลย แต่ย่อมจะกระทำไปด้วยโทสะโดยแท้

ในการเลี้ยงเด็กก็เช่นกัน สมมติว่าเราเอาของอะไรวางไว้แล้วบอกเด็กว่า "อย่าจับนะ" "อย่าซนนะ" ถ้าเด็กจับของนั้นตามประสาเด็ก คนเลี้ยงก็จะดุด่า หรือ "ซัดเข้าให้เผียะหนึ่ง" หรือกรณีเด็กทำของตก ทำของแตก ก็จะถูก "ซัดเข้าให้เผียะหนึ่ง" เหมือนกัน การที่ดุด่าหรือตีเด็กเช่นนั้นก็มิได้ทำด้วยเจตนาที่จะอบรมสั่งสอน หรือ "ปากร้ายใจดี" เหมือนแม่ด่าลูกให้ควายป่าขวิดตายแต่ประการใดเลย หากแต่ทำด้วยเจตนาเดียวกับที่ตีสุนัขหรือตีแมว คือทำด้วยความโกรธแบบเดียวกันนั่นเอง คนที่เคยเลี้ยงเด็กย่อมจะรับรองได้ว่า ในการเลี้ยงเด็กนั้นจะต้องมีเหตุการณ์ทำนองนี้เกิดขึ้นอย่างแน่นอนถ้าผู้เลี้ยงยังเป็นปุถุชนอยู่

ประเด็นดังที่อธิบายมานี้แหละครับที่กระผมสงสัย "ปากร้ายใจดี" ไม่สงสัยครับ แต่ ปากร้าย และใจ (โดยเฉพาะในขณะจิตที่กำลังดุด่าหรือตีนั้น) ก็ร้ายด้วย นี่สิ ถ้าเด็กนั้นเป็นโสดาบัน ผู้กระทำจะพ้นจากอริยุปวาทหรือ?

ขอบพระคุณที่จะกรุณาชี้แนะหลักคิดที่ถูกต้องครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
wannee.s
วันที่ 3 มิ.ย. 2554

อกุศลก็ต้องเป็นอกุศลจะเปลี่ยนไม่ได้ ถ้าทำกับบุคคลที่มีคุณมาก ก็มีโทษมาก เช่น

พระเจ้าสุปปพุทธ เป็นบิดาของพระนางพิมพา พระเจ้าสุปปพุทธ มาขวางทางไม่ให้

พระพุทธเจ้าเสด็จ ทำบาปมาก หลังจาก 7 วัน พระเจ้าสุปปพุทธก็ถูกแผ่นดินสูบค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ