ความเห็นผิดดูเหมือนจะไม่สั่นคลอนได้จากความเชื่อความศรัทธา

 
WS202398
วันที่  2 มิ.ย. 2554
หมายเลข  18473
อ่าน  1,127

ความเห็นผิดดูเหมือนจะไม่สั่นคลอนจากความเชื่อความศรัทธา

รู้สึกว่าความเห็นผิดนี้จะเพิกถอนออกไปได้ด้วยการเห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็นมาก่อนที่หัก

ล้างความเห็นผิดนี้ได้โดยอัตโนมัติแม้เชื่อว่าตนเห็นผิดอยู่ แต่ความเห็นผิดนั้นก็ยังอยู่ที่

เดิมไม่เปลี่ยนแปลง แม้ความคิดปรุงแต่งร่วมกับสัญญา ปรุงแต่งอย่างไรความเห็นผิดก็

เหมือนจะไ่ม่กระเทือน เหมือนคนที่ลิ้นพิการชิมเกลืออยู่และเห็นอยู่ว่าเกลือไม่มีรสเค็ม

เลย ทั้งที่คนทั้งโลก ตำราทั้งโลก บอกว่าเกลือนั้นเค็ม ก็เห็นว่าไม่เค็มอยู่ดี อย่างมากก็

ปรุงใจเชื่อว่าลิ้นตนคงพิการ และเกลือนี้ก็คงเค็มจริงๆ ถึงอย่างนั้นก็หาเห็นเองไม่ว่า

เกลือมันเค็มจนกว่าลิ้นจะหายพิการ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 2 มิ.ย. 2554

ความเห็นผิดมีจริง เป็นสภาพธรรมที่เป็นทิฏฐิเจตสิก สัตว์ผู้ที่เป็นปุถุชน สะสม

ความเห็นผิดมามากในสังสารวัฏฏ์ สะสมความเห็นผิดว่ามีเรา มีสัตว์ บุคคล เห็นผิด

ว่าเที่ยง เป็นสุขและมีเรา เป็นต้น การจะไถ่ถอนความเห็นผิด ก็ด้วยปัญญา แต่ต้อง

เข้าใจว่าความเห็นผิด เป็นกิเลสที่ฝังลึกอยู่ในหทัย สะสมเป็นอนุสัย ดังนั้นปัญญา

เพียงแค่ขั้นการฟัง เพิ่มเริ่มมีความเห็นถูก ยังไม่สามารถละคลายความเห็นผิดได้

ยังคงสงสัย ไม่แน่ใจและสับสนอยู่ เพราะยังไม่ใช่ปัญญาระดับสูงที่ประจักษ์ความ

เป็นธรรม ที่มีแต่ธรรมไม่ใช่เราได้เลย ขณะนี้มีธรรม หากกล่าวว่าไม่มีสัตว์ บุคคล ไม่มี

เรา กิเลสที่เป็นความเห็นผิด สะสมความไม่รู้มาก็ย่อม สงสัย ต่อต้านว่าไม่มีเรา ไม่มี

สัตว์ บุคคลได้อย่างไร ในเมื่อก็ยังเห็นอยู่ว่ามีคนนั้น คนนี้ สิ่งนั้นสิ่งนี้ นี่คือความ

เข้าใจเดิมด้วยความไม่รู้และความเห็นผิด ต่อเมื่อได้ฟังพระธรรม พิจารณาไตร่ตรอง

ตาม ว่าขณะที่เห็น เห็นอะไรก่อน ขณะที่มองกระจก ขณะนั้นสำคัญว่ามีเราจริงๆ ใน

กระจก แต่ความจริงก็เป็นเพียงความคิดนึก ในสิ่งที่เห็นในกระจกว่าเป็นเราเท่านั้น

แท้ที่จริงก็เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฎให้เห็น แต่คิดนึกถึงรูปร่างในสิ่งที่เห็นและสัญญาก็จำ

ผิดว่ามีเรา มีสัตว์บุคคลจริงๆ ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 2 มิ.ย. 2554

ดังนั้นการจะรู้ว่าตัวเองเห็นผิด เข้าใจผิดก็เพราะความเห็นถูกเกิด ปัญญเกิด ตราบ

ใดที่ยังไม่มีปัญญ า ตราบใดที่ความเห็นถูกไม่เกิดก็สำคัญในความเห็นผิดว่าเป็นสิ่งที่

ถูก ดังนั้นปัญญาเพียงขั้นการฟัง เข้าใจว่ามีแต่ธรรมเพียงขั้นการฟัง เป็นความเข้าใจ

เพียงเล็กน้อยก็ยังไม่พอที่จะละความเห็นผิดได้หมด แต่ค่อยๆ เข้าใจขึ้นทีละน้อย

ค่อยๆ ละความไม่รู้ ความเห็นผิดไปจากการฟังพระธรรม เมื่อเข้าใจขึ้นทีละน้อย ก็ค่อยๆ

ละความเห็นผิดความไม่รู้ทีละน้อย เพราะต้องเข้าใจว่ากิเลสสะสมมามากเท่าไหร่ หาก

จะละความเห็นผิดทันทีนั้นเป็นไปไม่ได้ แต่ต้องอดทนฟังพระธรรม เป็นจิรกาลภาวนา

คือ อบรมปัญญาด้วยเวลายาวนานครับ ที่สำคัญเริ่มจากความเห็นถูก ขั้นการฟัง แม้ละ

ความเห็นผิดยังไม่ได้ แต่ความเข้าใจเบื้องต้น จะเป็นก้าวแรกที่ถูกและจะทำให้ถึงก้าว

สุดท้ายคือละความเห็นผิดได้จริงๆ ครับ เริ่มจาก 1 ที่ความเข้าใจถูกขั้นการฟังครับ

ขณะนี้มีธรรม มีเห็น ได้ยิน เป็นต้น เข้าใจอย่างนี้ว่าจริงไหม มีจริงไหม แม้จะยังประจักษ์

สภาพธรรมที่ไม่ใช่เรา ไม่ใช่สัตว์ บุคคลก็ตามทีครับ ดังนั้นเพียงความเชื่อ ศรัทธาที่

เกิดกับปัญญา ยังไม่สามารถทำอะไรกับความเห็นผิดได้เพราะต้องละได้จริงๆ ด้วย

ปัญญาระดับสูง แต่ก็อาศัยปัญญาขั้นการฟังเบื้องต้นก็ย่อมถึงปัญญาระดับสูงได้ครับ

ดังนั้นไม่มีทางอื่นนอกจากฟังพระธรรมต่อไป ขออนุโมทนาครับ

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 2 มิ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น พระธรรม ผู้ที่ตรัสเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเป็นบุคคลผู้เลิศ ผู้ประเสริฐที่สุดในโลกทรงห่างไกลจากกิเลสโดยประการทั้งปวง เป็นพระธรรมเทศนาที่เตือนสติสำหรับผู้ที่ได้ยินได้ฟังอย่างแท้จริง เพื่อประโยชน์ของผู้นั้น แต่ว่าจิตใจของคน เป็นไปตามการสะสม สะสมมาไม่เหมือนกัน แม้ว่าจะได้ฟังพระธรรมที่พระองค์ตรัส แต่เพราะกิเลสที่สะสมหมักหมมอยู่ในจิตมาอย่างเนิ่นนานนี้เอง ทำให้ไม่มีความเลื่อมใส ไม่เกิดศรัทธาที่จะน้อมรับฟังด้วยดี ซึ่งแสดงให้เห็นว่ากิเลสมีกำลังที่รุนแรงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ ความเห็นผิด (มิจฉาทิฏฐิ) ถ้ามีความเห็นผิดแล้ว วาจาก็ผิด การกระทำทางกายก็ผิด ทุกอย่างย่อมผิดไปหมด ความเห็นผิด จึงเป็นอันตรายมาก ถ้าความเห็นของแต่ละบุคคลคลาดเคลื่อนไป ผิดไป ไม่ตรงกับความเป็นจริง ทุกอย่างก็จะผิดไปด้วย โดยที่สิ่งที่ผิด ก็จะเห็นว่าถูก, สิ่งที่ถูกก็จะเห็นว่าผิด นี่แหละคือความเห็นผิดซึ่งเป็นอันตรายอย่างยิ่ง เป็นเหตุให้กระทำอกุศลกรรมประการต่างๆ มากมาย เป็นไปเพื่อความเสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลายโดยประการทั้งปวง ไม่เป็นประโยชน์ใดๆ เลยทั้งแก่ตนและแก่ผู้อื่น

และเป็นความจริงที่ว่า บุคคลผู้ที่ยังไม่ได้รู้แจ้งอริยสัจจธรรมบรรลุถึงความเป็นพระอริยบุคคลขั้นพระโสดาบัน โอกาสที่จะมีความเห็นผิด (มิจฉาทิฏฐิ) ก็ย่อมสามารถที่จะเกิดขึ้นได้ แล้วแต่ว่าจะมีมากหรือมีน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเห็นผิดที่ยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นเรา เป็นตัวตน เป็นสัตว์บุคคล

การมีโอกาสได้ฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม มีประโยชน์อย่างยิ่ง ขณะที่ฟังแล้วเข้าใจ ขณะนั้นกุศลธรรมเจริญขึ้น ศรัทธา ปัญญา เป็นต้น เกิดขึ้น เป็นการขัดเกลาละคลายความเห็นผิด รวมถึงอกุศลธรรมประการอื่นๆ ด้วย ขณะที่กุศลธรรมเกิด อกุศลธรรมจะเกิดร่วมด้วยไม่ได้ และความเห็นผิดจะถูกดับได้อย่างเด็ดขาดเมื่ออบรมเจริญปัญญาถึงความเป็นพระโสดาบัน เมื่อนั้น ความเห็นผิด จะไม่เกิดขึ้นอีกเลยในสังสารวัฏฏ์ ซึ่งจะต้องเริ่มสะสมอบรมความเข้าใจถูกเห็นถูก ตั้งแต่ในขณะนี้ ครับ ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
วินิจ
วันที่ 3 มิ.ย. 2554

อ.คำปั่นครับ...จริงๆ ,"โสตฯ,จินตาฯ"ก็พอเข้าใจได้ไม่ยาก,ซึ่งก็พอเข้าใจอยู่ว่า"ทุกสิ่งที่

เกิดขึ้นแล้วเรารับรู้หรือแม้แต่การคิดก็ล้วนเป็น'สภาพธรรม'อันไม่ใช่สัตว์,บุคคล,ตัวตน,

เราเขาทั้งสิ้น",คือถ้าเราสามารถไม่รับรู้สึกเรื่องใดๆ เลยได้ตลอดกาลก็คือจบเป็น"อนุปา

ทิเสสนิพพาน"ก็ไม่ต้องพูดอะไรกันอีก,แต่เมื่อวานผมลองสังเกตตอนตื่นขึ้น,มันก็รู้สึกงง

ว่ามันก็ยังรู้สึกเป็นตัวเรา,เนื้อตัวของเรา,เรากำลังคิดอยู่,มันก็น่าจะเป็นอย่างนี้อยู่ทุกวี่

ทุกวันไป,จนบางครั้งอดคิดไม่ได้ว่าจิตมันเป็นส่วนหนึ่งของกาย,ตายแล้วเผาแล้วก็คง

จะจบสิ้นสูญไป,ถึงเราพยายามจะบอกว่ามีชาติหน้า,แต่ก็ไม่เห็นมีใครที่ตายแล้วเป็น

โอปปาติกะกลับมาบอกให้เรารู้ว่าชาติหน้ามีจริง,เห็นมีแต่เอาเรื่องมาแต่งหนังสือขาย

"กลับชาติมาเกิด",ฯลฯ,ไม่รู้แต่งเพื่อขายหรือเปล่า?,ไม่มีการรับรองจากองค์กรใดอย่าง

จริงจัง,กว่าเราจะรู้ความจริงก็ต้องตายก่อนจึงจะรู้ความจริง,พอเกิดใหม่ก็ลืมอีกว่าชาติ

ก่อนเป็นใคร?,คือเราคิดว่าถ้าจิตกับกาย (นามกับรูป,เหมือนที่เรากำลังพากันพยายามที่

จะเรียนรู้เสริมเพิ่มเติมปัญญากันอยู่นี่) มันเป็นคนละส่วนกัน,มันก็น่าจะมีวิธีแยกตอน

เป็นๆ ให้มันรู้ดำรู้แดงไปเลย,คนละอันหรือเปล่าก็จะได้รู้,หรือพากันฝึกฌานให้ได้"อิทธิ

วิธี"แบบแยกร่างแบบที่เขาว่ากันดีไหม?,จะได้รู้กันไปเลย,ไม่ต้องสงสัยอีก;ทีนี้เปลี่ยน

เรื่อง,เวลาเราเริ่มตั้งสติสมาธิที่จะดูจิตตัวเอง,มันก็สงบดีนะ,แต่ความรู้สึกว่า"ตัวเรา"เป็น

ผู้กำลังคิดยังมีอยู่,บางทีก็พาลรู้สึก"ปฏิฆะ"ความรู้สึกเป็น"ตัวตน"เอามากๆ คือเกิดความ

นึกรังเกียจอยากสลัดให้หลุดมันก็ไม่หลุดให้สักที,ฟังธรรมมาก็มาก,รู้บัญญัติก็ไม่ใช่น้อย,

ขวนขวายหาอาจารย์มาไม่รู้กี่ต่อกี่สำนักก็ยังไม่หลุดพ้นถึงฝั่งสักที,นี่แหละจึงเป็นเหตุให้

มาคิดบางแว็บ (มลำเมลือง) ว่า"ตัวตน"อาจไม่มีจริง,ถ้ามีจริงมันก็ไม่น่าจะติดกับตัวเรา

แน่นยังกะติดด้วยกาวตราช้างอย่างนี้,ความตั้งใจดูจิต,ทำให้จิตมันละเอียดขึ้นนะ,พอมี

อะไรมากระทบ เช่น ชอบ,ชัง,ระวัง,ตกใจ,กลัว,กังวล,มันจะวื๊ดขึ้นมา (เหมือนตอนเปิด

เครื่องคอมบางรุ่น) สมองมันก็จะไวเหมือนเวลาเราคลิกเม้าส์,นั่นกิเลสตัวนั้นตัวนี้ผุดแล้ว

นะ,แต่มาคิดว่าเวลาจะข้ามถนนหรือเดินริมทางถนนแคบคนและรถจอแจ,คงไม่สามารถ

มาคอยดูจิตได้,เพราะสติสมาธิต้องไปอยู่ที่ความปลอดภัย,หรือถ้ามีเรื่องเร่งด่วน เช่น

ท้องจะไหล,ก็แป๊บเดียวไปถึงหน้าห้องน้ำแล้ว,มานึกดูอีกที,สติสมาธิตกอยู่ตรงหน้าจอ

คอมพิวเตอร์นั่นแหละ,แต่ก็OKจิตไวขึ้นแน่ในการตามเห็นกิเลสอกุศลเกิดดับ,แต่จะให้

ไม่รู้สึกว่า"อัตภาพ"นี้ไม่ใช่"ตัวตน"ของเราน่ะยังทำไม่ได้เลย,แค่ระลึกรู้เหมือนท่องจำ

เป็นทฤษฎีเท่านั้นเอง,จึงขอคำแนะนำจากอ.คำปั่นด้วยครับ...ขอบคุณมากครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
wannee.s
วันที่ 3 มิ.ย. 2554

เป็นธรรมดา เป็นปกติอย่างนี้ที่ยังมีความยึดถืออยู่ เป็นสัตว์ เป็นวัตถุ สิ่งของต่างๆ

เพียงฟังเข้าใจบ้าง ไม่เข้าใจบ้าง แต่ยังไม่ใช่ขั้นรู้จักลักษณะของสภาพธรรมจริงๆ

จนกว่าจะมึความเข้าใจมากขึ้น จากความไม่รู้สู่ความรู้ที่เป็นธรรมจริงๆ อย่างหนึ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
วินิจ
วันที่ 3 มิ.ย. 2554

จากคห.4,บรรทัดที่2จากล่าง,คำว่า"ไม่รู้สึกว่า'อัตภาพ'นี้ไม่ใช่'ตัวตน'ของเรา...",อาจอ่าน

แล้วสับสน,จริงๆ คือต้องแก้ไขเป็นว่า"ไม่รู้สึกว่า'อัตภาพ'นี้เป็น'ตัวตน'ของเรา...",ขอบคุณ

ครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
khampan.a
วันที่ 4 มิ.ย. 2554

เรียน ความคิดเห็นที่ ๔ ครับ ก็ขอให้เริ่มต้นด้วยการฟัง การศึกษา สะสมปัญญา ต่อไป เพราะปัญญาจะเจริญขึ้นได้ต้องไม่ขาดการฟัง การศึกษา ปัญญาจะมีมากได้ ก็ต้องค่อยๆ สะสมไปทีละเล็กทีละน้อย และไม่มีทางลัด ด้วย ฟังพระธรรมในวันนี้แล้วจะให้ดับกิเลสได้ทั้งหมด ย่อมเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ต้องสะสมเป็นจิรกาลภาวนา (อบรมเจริญปัญญาที่ต้องอาศัยกาลเวลาที่ยาวนาน) ครับ ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
Sensory
วันที่ 5 มิ.ย. 2554

ปัญญาขั้นสุตะหรือจินตามยปัญญา ก็ไม่ใช่ของง่ายนะคะ

หรือแม้แต่ ปทปรมบุคคล ก็ไม่ใช่ว่าจะเป็นกันง่ายๆ

ที่ในบางสำนักมักมีการพูดว่า พระอภิธรรมเป็นปัญญาขั้นสุตะ จินตา

หรือกล่าวถึงคนอื่นว่าเป็นปทปรมะ

ทั้งที่จริง ตนเองอาจไม่เคยถึงความเป็นปทปรมะเลยด้วยซ้ำ

หรือแม้แต่สุตะ-จินตาก็ยังไม่เคยถึง

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
วินิจ
วันที่ 6 มิ.ย. 2554

ขอบคุณในข้อแนะนำและความเอื้อกรุณาของคุณวรรณี (คห.5) ,อ.คำปั่น (คห.7) ,คุณ

Sensory (คห.8) ,ขอให้ประสพพรทั้ง5ประการ (อายุ,วรรณะ,สุขะ,พละ,ปฏิภาณ) ทุกท่าน

ครับ...

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ