บังคับบัญชาไม่ได้ ห้ามไม่ได้ หมายความแค่ไหน

 
นาวาเอกทองย้อย
วันที่  5 มิ.ย. 2554
หมายเลข  18485
อ่าน  1,582

"ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้ ห้ามไม่ได้ อย่างตาเห็นรูป

จะห้ามไม่ให้เห็นไม่ได้ หูได้ยินเสียง จะห้ามไม่ให้ได้ยินก็ไม่ได้ ..."

จากคำกล่าวนี้ มีผู้แสดงความเห็นแย้งว่า สมมติว่าเราเห็นรูปจากโทรทัศน์ ถ้าเรา

ไม่อยากเห็นเราก็ปิดโทรทัศน์เสีย หรือเพียงแค่หลับตาเสีย ก็ไม่เห็นรูปแล้ว นี่เท่ากับ

ห้ามไม่ให้เห็นรูปได้ (หมายเฉพาะรูปจากโทรทัศน์ตามที่ยกตัวอย่าง) หรือสมมติว่าได้ยิน

เสียงเพลงจากวิทยุ ถ้าปิดวิทยุเสีย ก็ไม่ได้ยินเสียงแล้ว นี่ก็เท่ากับห้ามไม่ให้ได้ยินเสียง

ได้ (หมายเฉพาะเสียงจากวิทยุนั้น)

กระผมทราบดีว่าคำแย้งนี้คงไม่ถูกต้องตามหลักสัจจธรรม จึงขอทราบคำอธิบายว่า

การที่ผู้แย้งอ้างว่าสามารถห้ามไม่ให้เห็น ห้ามไม่ไห้ได้ยินได้ ตามตัวอย่างที่กล่าวมานั้น

เป็นการห้ามได้จริง หรือว่าเป็นเพียงการกระทำได้ในระดับไหน และที่คำกล่าวข้างต้น

โน้นกล่าวว่า "อย่างตาเห็นรูป จะห้ามไม่ให้เห็นไม่ได้ หูได้ยินเสียง จะห้ามไม่ให้ได้ยินก็

ไม่ได้" นั้น มีความหมายในระดับไหนอย่างไร

ขอขอบพระคุณที่จะกรุณาชี้แนะหลักคิดที่ถูกต้องครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 5 มิ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

จากข้อความที่ว่า"ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้ ห้ามไม่ได้ อย่างตาเห็นรูป จะ

ห้ามไม่ให้เห็น ไม่ได้ หูได้ยินเสียง จะห้ามไม่ให้ได้ยินก็ไม่ได้ ..."

--------------------------------------------------------------------------------

ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา หมายถึง มีเหตุปัจจัยให้เกิดคืออาศัยสภาพธรรมอื่น เมื่อ

เหตุพร้อม ธรรมนั้นก็เกิดขึ้น เช่น เมื่อมีตา (จักขุปสาท) มีรูป (สี) และมีแสงสว่าง มีจิตที่

รำพึงถึงเกิดขึ้น การเห็นก็เกิดขึ้น ดังนั้นการเห็นจึงต้องอาศัยเหตุคือสภาพธรรมอื่นๆ

มาประชุมกัน จนถึงพร้อมครับ ดังนั้น ตาก็เป็นธรรมไม่ใช่เรา รูป ก็เป็นธรรมไม่ใช่เรา

แสงสว่างก็ไม่ใช่เรา รวมทั้งจิตที่รำพึงถึงก็เป็นจิต ไม่ใช่เราเช่นกันครับ ดังนั้นอาศัย

สิ่งที่ไม่ใช่เราประชุมกันก็เกิดสภาพธรรมที่เป็นจิตเห็น ซึ่งไม่ใช่เราครับ ดังนั้น ถ้าจะ

เห็น จะห้ามไม่ให้เห็นไม่ได้ เพราอะไร เพราะเห็นเกิดแล้วก่อนที่คิดจะห้ามเสียอีก

หูได้ยินเสียง จะห้ามไม่ให้ได้ยินก็ไมได้ เพราะได้ยินเกิดแล้ว ก่อนที่คิดจะห้าม ยังไม่

ต้องไปถึงการกระทำที่จะห้ามครับ ได้ยินก็เกิดแล้วและก็ดับไป ดังนั้น สภาพธรรมจึง

บังคับบัญชาไมได้เลย เพราะเป็นเรื่องของธรรมไม่ใช่เรา ไม่มีใครรู้เลยว่าขณะต่อไปจะ

เห็นหรือไม่เห็น ไม่มีใครรู้เลยว่าขณะต่อไปจะได้ยินหรือไม่ได้ยิน เหมือนจะห้ามการ

เห็นได้ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 5 มิ.ย. 2554

ถ้าด้วยความยึดถือด้วยความเป็นเรา ไม่รู้ว่าเป็นสภาพธรรมทีเกิดจากเหตุปัจจัย

ปิดตาก็ไม่เห็น นี่คือคิดใช่ไหมครับ แล้วตอนนี้ก็ยังเห็นอยู่ เห็นสิ่งที่ปรากฎทางตา คือ

รูป แต่การเห็นเป็นสิ่งต่างๆ เป็นคนในโทรทัศน์ขณะนั้นเป็นการคิดนึกในสิ่งที่เห็นแล้ว

ครับ ดังนั้นก็จะต้องแยกก่อนว่าขณะที่เห็น เห็นเพียงสิ่งที่ปรากฎทางตาเท่านั้น คือ เป็น

เพียงสี ยังไม่เป็นอะไร ยังไม่เป็นสัตว์ บุคคลอะไรครับ ดังนั้นขณะที่ปิดตา ก็ยังเห็น ก็

เห็นสิ่งที่ปรากฎทางตาเหมือนกัน คือเป็นรูปธรรมเหมือนกัน ใม่ว่าจะดูที่โทรทัศน์

ขณะที่เห็นก็ต้องเห็นเพียงสิ่งที่ปรากฎทางตา คือ เป็นเพียงสี เหมือนกัน จะเป็นสีอะไร

ก็ตาม ก็ต้องเป็นเพียงรูปธรรม ที่เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฎทางตาเช่นดียวกับหลับตาก็

เห็นสี ที่เป็นสิ่งที่ปรากฎทางตา เช่นกัน ดังนั้นไม่ว่าจะปิดตา หรือ ไม่ปิดตา ถ้ามีเหตุ

ปัจจัยให้เห็นก็ต้องเห็นสิ่งที่เป็นรูปธรรมที่เป็นสิ่งที่ปรากฎทางตาเหมือนกันครับ ส่วน

ตัวสภาพเห็นเกิดแล้ว ตัวจิตเห็นที่เห็นที่โทรทัศน์ กับตัวจิตเห็นที่หลับตาไม่ต่างกัน

เลยครับ เป็นเพียงวิบากจิต ทำกิจรู้สิ่งที่ปรากฎทางตา ดังนั้นไม่ว่าเห็นของพระอรหันต์

เห็นของปุถุชน เห็นสิ่งที่อยู่ในโทรทัศน์ เห็นในขณะที่หลับตา สภาพเห็นเหมือนกัน ไม่

เปลี่ยนแปลง เป็นชาติวิบาก เป็นผลของกรรม และที่สำคัญทำหน้าที่รู้สิ่งที่ปรากฎทาง

ตาเหมือนกันครับ ยังไม่เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด แต่เมื่อเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด เป็นสัตว์ บุคคล

ไม่ใช่ขณะที่เห็น แต่เป็นขณะที่คิดนึกในสิ่งที่เห็นครับ ดูโทรทัศน์ก็เห็น มีสภาพเห็น

หลับตาก็มีสภาพเห็น จะเห็นนิดหน่อย ก็ยังเห็น สภาพเห็นไม่ต่างกันเลย ตามที่กล่าว

มาครับ แล้วบังคับไม่ให้เห็นตามใจชอบไม่ไ่ด้เลยครับ เพราะเป็นเรื่องของสภาพธรรม

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
paderm
วันที่ 5 มิ.ย. 2554

ดังนั้นการเห็น เป็นสิ่งที่บังคับบัญชาไม่ได้ เพราะเป็นวิบาก เป็นผลของกรรม กรรมใด

ให้ผลก็ทำให้เห็นต่างๆ กัน และก็ไม่มีใครรู้ว่าจะเห็นอะไรต่อไป คิดได้ครับ ว่าจะทำให้

เห็นอย่างนั้น อย่างนี้จะไม่ให้เห็น แต่ไม่ได้เป็นไปตามที่คิด เพราะเป็นเรื่องของธรรม

และอนัตตาครับ นี่พูดถึงเรื่องการเห็น การได้ยินและสภาพธรรมอื่นๆ ก็โดยนัยเดียวกัน

ขออนุญาตนำความเห็นที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงในเรื่องความเป็นอนัตตา ซึ่งมีบาง

คนยืนยันว่าบังคับบัญชาได้ ซึ่งก็ได้มาสนทนากับพระพุทธเจ้า คือ สัจจกนิครนถ์ ผู้ที่

คิดว่าตัวเองมีปัญญามาก สัจจกนิครนถ์ยืนยันว่า บังคับบัญชาได้และก็คนอื่นโดยส่วน

มากก็เห็นด้วยกับเขา พระพุทธเจ้าจึงตรัสถามว่า พระราชา มีอำนาจ สามารถสั่งฆ่า

ริบทรัพย์ผู้คนต่างๆ มีพระเจ้าปเสนทิโกศล เป็นต้นมีหรือไม่และมีอำนาจอย่างนั้นใช่ไหม

สัจจกนิครนถ์ก็กราบทูลตอบว่า เป็นอย่างนั้นพระเจ้าข้า พระราชาผู้มีอำนาจ สามารถทำ

อย่างนั้นได้กับชนเหล่าอื่น มีการสั่งฆ่าและจองจำ เป็นต้น พระพุทธเจ้าตรัสถามว่าและ

ที่ท่านกล่าวว่า รูปเป็นตัวของเราดังนี้ อำนาจของท่านเป็นไปในรูปนั้นว่า รูปของเรา

จงเป็นอย่างนั้นเถิด อย่าได้เป็นอย่างนี้เลย ดังนี้หรือ.

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามอย่างนี้ สัจจกะได้นิ่งอยู่ พระองค์ตรัสถามอย่างนี้ถึงครั้งที่สาม จึงได้ทูลตอบว่า ข้อนี้ไม่เป็นอย่างนั้นได้ พระโคดม.

--------------------------------------------------------------------------------

จะเห็นครับว่าจากเรื่องนี้ หากมีอำนาจจริงก็ต้องไม่ตกอยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของ

ใครหรือคนอื่น มีพระราชา เป็นต้น แต่หากยังเป็นไปในอำนาจของผู้อื่น ในอำนาจของ

เหตุปัจจัยภายนอกแล้ว จะกล่าวได้อย่างไรว่าบังคับได้ บังคับตัวตนได้ครับ

เพราะฉะนั้นคิดได้ว่าทำได้ บังคับได้ บังคับตัวเราได้ แต่บังคับไม่ได้จริงๆ เพราะเป็น

ไปตามเหตุปัจจัยของสภาพธรรมอื่นที่ไม่ใช่เราทั้งนั้นครับ ขออนุโมทนา

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
khampan.a
วันที่ 5 มิ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง เป็นเรื่องที่ละเอียดมาก คือ ทรงจำแนก

รูปธรรมและนามธรรมแต่ละขณะๆ ว่าเกิดเพราะปัจจัยทั้งหมด จิตแต่ละขณะที่เกิดล้วนมีปัจจัยให้เกิดขึ้นทั้งสิ้น แม้จิตที่คิดจะเปิดโทรทัศน์ หรือ ปิดวิทยุ เป็นต้น ก็เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ถ้าไม่มีปัจจัยย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ พระพุทธองค์จึงทรงแสดงความจริงว่าเป็นเพราะปัจจัย บังคับบัญชาไม่ได้ ถ้าหากบังคับได้ ทุกคนจะมีแต่จิตดีๆ ตลอดไปไม่มีอกุศลเลย ไม่มีการแก่ ไม่มีการเจ็บ ไม่มีการตายเลย แต่ความจริงไม่เป็น

เช่นนั้น เพราะบังคับไม่ได้ ทุกสิ่งทุกอย่าง (ที่เป็นสังขารธรรม) ล้วนเกิดขึ้นเพราะ

เหตุปัจจัยทั้งสิ้น ไม่สามารถบังคับบัญชาอะไรให้เกิดได้ เริ่มตั้งแต่จิตขณะแรกในภพ

นี้ชาตินี้เกิดขึ้น คือ ปฏิสนธิจิต ไม่มีใครสามารถบังคับบัญชาให้ปฏิสนธิจิตเกิดได้ แต่ปฏิสนธิจิตก็เกิดแล้ว เพราะมีกรรมเป็นปัจจัย และอีกหลายๆ ปัจจัย นี้คือความจริง ซึ่งจะต้องอาศัยการฟัง การศึกษาพระธรรม ไปตามลำดับจริงๆ ครับ ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเิติมได้ที่นี่ ครับ อนัตตา

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
นาวาเอกทองย้อย
วันที่ 5 มิ.ย. 2554

ขอบพระคุณที่ชี้แนะแนวการขบคิดตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา

ท่านอื่นๆ จะมีแนวการขบคิดตามหลักคำสอนในแนวอื่นอีกบ้างไหมครับ ขอเรียนเชิญด้วยความเคารพ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 5 มิ.ย. 2554

ถ้าบังคับบัญชาได้จริง....อย่าเพียงแค่หลับตา หรืออุดหูซิค่ะ

ต้องบังคับแม้ไม่ให้จิตเห็น หรือจิตได้ยินเกิด

เพราะขณะที่หลับตา ขณะนั้นก็ยังเห็นอยู่ ไม่มืดสนิทเหมือนคนตาบอด

ขณะที่อุดหู ขณะนั้นก็ยังได้ยินอยู่ ไม่ดับสนิทเหมือนคนหูหนวกค่ะ

อืม....อยากบังคับให้เห็นแต่สิ่งที่สวยงามตลอดชีวิตเหมือนกันค่ะ

แต่ก็ทำไม่ได้.....เพราะไม่มีเราค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
นาวาเอกทองย้อย
วันที่ 5 มิ.ย. 2554

ความคิดเห็นที่ 6 นี้ สั้น กระทัดรัด กระชับ แต่เด็ดขาดมาก

ขออนุญาตจำเอาไปใช้อ้างอิงเวลาใครอวดอ้างว่า เขาสามารถห้ามได้ บังคับได้

สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
ลุงหมาน
วันที่ 6 มิ.ย. 2554

ขอออกความคิดเห็นด้วยครับ

อย่างเช่นทวารตาต้องมีธรรม 3 ประการ คือ ต้องมีตา มีรูปารมณ์ มีจักขุวิญญาณ และต้องมีปัจจัยอื่นอีก เช่น แสงสว่างพอควร รูปารมณ์ที่อยู่ในระยะพอสมควรแก่การเห็น จักขุปสาทต้องดี มีมนสิการที่จะดู การเห็นจึงจะเกิดได้อย่างสมบูรณ์ ถ้าขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใดการเห็นก็เกิดขึ้นไม่ได้ เช่นว่าหลับตาเสีย รูปารมณ์ก็เกิดขึ้นไม่ได้ จักขุวิญญานก็ไม่เกิด การเห็นก็เกิดขึ้นไม่ได้ บางครั้งเราจะดูเหมือนว่าเราบังคับบัญชาไม่ให้เห็นนั้นได้ มันเป็นเพียงปัจจัยในการเห็นเกิดขึ้นไม่พร้อมกันนั่นเอง ที่นี้ถ้าหากว่าปัจจัยเกิดพร้อมกันเราจะบังคับไม่ให้เห็นได้ไหมก็บังคับไม่ได้ก็ต้องมีการเห็นเกิดขึ้น

บางครั้งเราหลับตาจะดูเหมือนว่ายังเห็นอยู่ ทางทวารตานั้นเขาเห็นได้ขณะที่เป็นปัจจุบันเท่านั้น อดีต อนาคตเขาเห็นไม่ได้ เมื่อหลับตาเสียก็เป็นอดีตไปแล้วตาเห็นไม่ได้ ที่ดูเหมือนว่ายังเห็นอยู่นั้นเป็นเพราะมโนทวารจำสิ่งที่เห็นทางทวารตาต่างหาก เพราะว่าทางมโนทวาร นั้นรู้ได้ทั้ง 3 กาล คือ อดีต อนาคต ปัจจุบัน การเห็นทางตานั้นดับไปแล้วเป็นอดีตไปแล้ว มโนทวารมารู้อดีตทางตาที่ดับไปแล้ว ฉะนั้นทั้งทวาร 5 นั้นก็เป็นเช่นเดียวกัน ดังนั้นจึงบังคับไม่ได้เพราะมันไม่มีเราเข้าไปบังคับบัญชา แต่ที่เรายกคำว่าเราขึ้นมากล่าวนั้นก็เพื่อบัญญัติคำมาสื่อสารกันเพื่อให้รู้เรื่องเท่านั้น ไม่งั้นสื่อสารกันไม่ได้ นี่เป็นเพียงการคิดเห็นส่วนตัวแต่ก็อยู่ในหลักการของความจริง

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
govit2553
วันที่ 6 มิ.ย. 2554

กัมมปัจจัย.................คือการกระทำกรรมเป็นปัจจัย

วิปากปัจจัย..............คือผลของกรรมเป็นปัจจัย

การปิดวิทยุ การปิดโทรทัศน์ คือ กัมมปัจจัย

การที่เสียงวิทยุหายไป เสียงโทรทัศน์หายไป จากการที่เราปิดคือ วิปากปัจจัย

ไม่ทราบว่า ................. แบบนี้ ถูกหรือผิดประการใดครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
นายเรืองศิลป์
วันที่ 6 มิ.ย. 2554

ขออนุโมทนา กับคุณนาวาเอกทองย้อย

...การจะเข้าใจถูกในพระธรรม จะห่างการฟัง ไม่ได้เลย และคุณจะได้พบกับ คำคม เหล่านี้ได้อีก จากการฟังพระธรรม....

การศึกษาธรรม เพื่อเข้าใจ ไม่ใช่สิ่งอื่น เมื่อเข้าใจ ก็ละ ละความไม่รู้...

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
choonj
วันที่ 6 มิ.ย. 2554

ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตาบังคับบัญชาไม่ได้ เป็นคำสอนให้รู้ให้เข้าใจธรรมให้ถูก

ต้องตามความเป็นจริง ซึ่งมีความสำคัญในการศึกษาเข้าใจ แต่เมื่อมีการสังสมก็จะทำให้

คิดไปว่าเมื่อปิดหูปิดตาก็จะบังคับไม่ให้เห็นได้ยินได้ ถ้าจะบอกว่าที่ปิดหูปิดตานั้นนะก็

บังคับไม่ได้ไม่ใช่เราที่จะปิดหูปิดตา แต่เป็นเพราะเหตุปัจจัยแล้ว พอจะได้มั้ยครับ....ฯ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 6 มิ.ย. 2554
อ้างอิงจาก : หัวข้อ 18485 ความคิดเห็นที่ 9 โดย govit2553

กัมมปัจจัย.................คือการกระทำกรรมเป็นปัจจัย

วิปากปัจจัย..............คือผลของกรรมเป็นปัจจัย

การปิดวิทยุ การปิดโทรทัศน์ คือ กัมมปัจจัย

การที่เสียงวิทยุหายไป เสียงโทรทัศน์หายไป จากการที่เราปิดคือ วิปากปัจจัย

ไม่ทราบว่า ................. แบบนี้ ถูกหรือผิดประการใดครับ

ถ้าจะกล่าวโดยละเอียดในเรื่องของปัจจัย ต้องพิจารณาลงไปที่สภาพธรรมค่ะ นั่นคือ

จิต เจตสิก รูป

กัมมปัจจัยจริงๆ แล้วหมายถึงเจตนาเจตสิก เพราะเป็นสภาพธรรมที่จงใจ ตั้งใจ จัดสรร

ให้สภาพธรรมที่สัมปยุตต์ (เกิดร่วม) กับตนเป็นไปในอารมณ์นั้นๆ

วิปากปัจจัย หมายถึง วิบากจิตและเจตสิกที่เกิดร่วมกันทำกิจรับรู้อารมณ์ต่างๆ ที่มา

กระทบ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ซึ่งเป็นผลของกรรม อันหมายถึงนามขันธ์ ๔

(ไม่เกี่ยวกับรูป เพราะรูปไม่เป็นวิปากปัจจัย แต่เป็นกัมมชรูป) ค่ะ

การพิจารณาเรื่องของปัจจัยจึงไม่ใช่การคิดพิจารณาเป็นเรื่องยาวๆ ค่ะ แต่พิจารณาที่

สภาวธรรมที่เกิดขึ้นเป็นปัจจัยต่อกันในหนึ่งหรือหลายปัจจัย ในแต่ละขณะค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
วินิจ
วันที่ 6 มิ.ย. 2554

อ่านถึงแค่คห.2ก็"ซาโตริ" (บรรลุความเข้าใจ) แล้วเฉพาะเรื่องการเห็นว่า,สภาพ"เห็น"

แท้ๆ แล้วนั้น"บังคับบัญชา"ไม่ได้เลย,สว่างกระจ่างแจ้งแล้วจริงๆ เฉพาะส่วนนี้,คือ

เปลือกตา=ม่านสีดำ,บังคับสั่งให้ปิดเปลือกตาน่ะบังคับได้,แต่ก็ยังเห็นสีดำของม่าน

เปลือกตาอยู่ดี;ว่าโดย"สัจจะ"แล้ว,ถ้าคิด"จินตา"ซึ้งๆ ก็จะเข้าใจได้ว่า"บังคับบัญชา"

อะไรไม่ได้สักกะอย่างจริงๆ ,เพียงแต่ที่ว่า"ควบคุมได้"คือเพียงใช้การคำนวณคะเนโดย

"จิต"อัตโนมัติที่ยังยึดถือเป็น"ตัวเรา"โดยใช้ความชำนาญหรือความเคยชิน,แต่ถ้ามีเหตุ

ปัจจัยอื่นแทรก,ก็อาจไม่เป็นไปตามที่คิดก็ได้,แม้แค่การปิดโทรทัศน์หรือปิดวิทยุก็ตาม,

ขอบคุณอ.เผดิมที่พากเพียรอธิบายจนผมกระจ่าง...

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
kinder
วันที่ 6 มิ.ย. 2554
แนะนำฟังพื้นฐานพระอภิธรรมให้เข้าใจครับ ขออนุโมทนา
 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
นาวาเอกทองย้อย
วันที่ 6 มิ.ย. 2554

คำสรุปของความคิดเห็นที่ 13 ชัดเจนดีมากครับ

กระผมคิดว่าเราได้คำตอบครบถ้วนแล้วสำหรับปัญหาที่ตั้งขึ้น ทั้งคำอธิบายที่ละเอียด คำอธิบายที่สั้น แต่กระชับ เด็ดขาด และคำสรุปที่ชัดเจน

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
akrapat
วันที่ 7 มิ.ย. 2554

การเจริญ วิปัสนากรรมฐานที่แท้จริง ไม่ได้หนีอารมณ์ หรือ หนีการกระทบของอารมณ์ฉะนั้นจึงไม่จำเป็นต้องหนีโลก แต่อยู่กับโลกอย่างรู้เท่าทัน ด้วยสติ และปัญญา ถ้ารู้ไม่เท่าทันก็กลายเป็นคนหลงโลก (หลงอารมณ์) เพราะตราบใดที่ยัง มีตา มีหู มี ลิ้น มีกาย มีจมูก ย่อมต้องมีการกระทบ การเลี่ยงการกระทบ จึงไม่ใช่วิปัสสนาอาจจะเป็นเพียงสมถะ เพื่อข่มอารมณ์ เอาตัวรอดไปคราวๆ ไป ฉะนั้นไม่ว่าเราจะอยู่ที่ไหน ตราบใดที่กาย มีจิต การกระทบย่อมมี แต่กระทบแล้วจะรู้หรือไม่ เท่านั้นเอง

อนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
wannee.s
วันที่ 7 มิ.ย. 2554

ทั้งหมดเป็นเรืองราว เพราะคิดว่ามีเรา มีโทรทัศน์ ความจริงโดยปรมัตถ์ เป็น

จิต เจตาสิก รูป เกิดเพราะเหตุปัจจัยแล้วดับ ไม่มีสัตว์ บุคคล สิ้่งของ ฯลฯ ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 18  
 
SOAMUSA
วันที่ 8 มิ.ย. 2554

อนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านค่ะ

ที่อ่านมาทั้งหมดนี้ เกี่ยวกับเรื่อง อายตนะ ใช่มั้ยค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 19  
 
paderm
วันที่ 8 มิ.ย. 2554

เรียนความเห็นที่ 18 ครับ

อายตนะ ก็เป็นธรรมเป็นสิ่งที่มีจริง ก็บังคับบัญชาไม่ได้ แต่ไม่ไ่ด้หมายถึง เพียง

อายตนะเท่านั้นครับ แม้ขันธ์ ธาตุ ก็เป็นธรรมและบังคับบัญชาไม่ได้ ซึ่งการ

แสดงในเรื่องอายตนะ ก็คือการแสดงเรื่องธาตุ แสดงเรื่อง ธรรมทั้งหมด โดยอรรถ

ก็คือสภาพธรรมเหมือนกัน แต่ที่พระองค์ทรงแสดงเรื่องอายตนะ เรื่อง ธาตุ เรื่อง

ปฏิจจสมุปบาท เพราะสัตว์โลกมีอัธยาศัยในการสะสมการฟังในเรื่องใดที่เข้าใจ

ต่างๆ กัน แต่โดยอรรถ แล้วก็คือธรรมเหมือนกันครับ ไม่ว่ากล่าวโดยนัยใด ดังนั้นเมื่อ

กล่าวถึงเรื่อง ตา หู ก็กล่าวถึงธรรม กล่าวถึงธาตุด้วย จักขุธาตุ เป็นต้นครับ ดังนั้น

ไม่ว่ากล่าวถึงเรื่อง ตา หู .....ใจก็เป็นอันกล่าวถึง ธาตุ กล่าวถึง อายตนะ กล่าวถึง

ปฏิจจะ และเข้าใจตรงกันว่าเป็นธรรมและเป็นอนัตตาทั้งหมดครับ โดยไมไ่ด้เฉพาะ

เจาะจงเพียงอายตนะเท่านั้นครับ ขออนุโมทนา

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ