กาลามสูตรไม่มีในพระไตรปิฎก

 
นาวาเอกทองย้อย
วันที่  7 มิ.ย. 2554
หมายเลข  18493
อ่าน  3,948

กระผมได้ฟังท่านผู้รู้บรรยายเป็นใจความว่า ในพระไตรปิฎกมีแต่พระสูตรที่ชื่อเกส ปุตตสูตร แต่คนทั่วไปรวมทั้งชาวต่างประเทศมักจะเรียกว่า กาลามสูตร ขอให้เข้าใจว่ากาลามสูตรไม่มีในพระไตรปิฎก

กระผมมีนิทานจะขออนุญาตเล่าให้ฟังอยู่เรื่องหนึ่ง เรื่องเป็นดังนี้ครับ

คุณกลอยใจ เป็นชาวบ้านตำบลอำเภอจังหวัด อยู่บ้าน ญาติพี่น้องเพื่อนฝูงคนทั่วไปก็เรียกกันว่า กลอยใจ ต่อมาคุณกลอยใจไปทำงานที่บริษัทสามตะกร้าจำกัดในกรุงเทพฯ คุณกลอยใจเห็นว่าชื่อเดิมยังไม่เพราะเท่าที่ควรจึงเปลี่ยนชื่อเป็น แรมจันทร์ คุณแรมจันทร์ก็ได้บอกให้คนในบริษัทรับรู้ด้วยว่าเดิมนั้นตนชื่อกลอยใจ เพื่อนฝูงที่มาทำงานด้วยกันก็ยังเรียกชื่อเดิมว่ากลอยใจ แต่ในเอกสารของทางราชการเป็นชื่อแรมจันทร์

วันหนึ่ง มีญาติของคุณแรมจันทร์มาจากตำบลอำเภอจังหวัด มาหาคุณแรมจันทร์ ที่บริษัทที่คุณแรมจันทร์ทำงานอยู่ ตามระเบียบของบริษัทผู้มาติดต่อขอพบคนงานจะ ต้องแจ้งแก่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ญาติคนนั้นก็ไปบอกฝ่ายประชาสัมพันธ์ของบริษัทว่า จะมาขอพบคุณกลอยใจ เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์เอารายชื่อของคนงานขึ้นมาดูแล้ว

ตอบสั้นๆ ว่า "ที่บริษัทสามตะกร้านี้ไม่มีคนชื่อกลอยใจ" แล้วก็จบนิทานเพียงแค่นี้ ขอเรียนถามว่า ญาติของคุณแรมจันทร์ ๑ ตัวคุณแรมจันทร์ ๑ และเจ้าหน้าที่ ประชาสัมพันธ์ของบริษัท อีก ๑ ในบรรดาคน ๓ คนนี้ คนไหนที่น่าสงสารที่สุด กาลามสูตรไม่มีในพระไตรปิฎกจริงๆ หรือครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 7 มิ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ปัจจุบันก็คงรู้จักพระสูตรนี้กันดี สำหรับผู้ศึกษาธรรม คือ กาลามสูตร อันแสดงถึง เรื่อง การอย่าถือเอา เชื่อทันที 10 ประการ เช่น ท่านอย่าถือเอาโดยฟังตามกันมา​ เป็นต้น ซึ่งคำว่ากาลาม เป็นชื่อของหมู่ชนที่เป็นโคตร คือ หมู่ชนชาวกาลามโคตร ส่วนเกสปุตต เป็นชื่อของเมือง ของนิคมที่ชนกาลามโคตรอยู่กัน ซึ่งในพระบาลีไม่ได้ แสดงชื่อสูตรว่าอะไรเลยครับ ซึ่งได้เช็คพระบาลีแล้ว ดังนั้นเมื่อกล่าวถึงกาลามสูตรก็ เป็นอันเข้าใจว่าหมายถึงสูตรที่แสดงเรื่องอะไร และเมื่อกล่าวถึงสูตรที่แสดงเรื่องเกส ปุตตสูตรก็เข้าใจว่าหมายถึงสูตรอะไร เป็นอันเข้าใจตรงกันครับ ประโยชน์คือความ เข้าใจถูกต้อง ดังนั้นคนที่น่าสงสารคือคนที่ไม่ได้เข้าใจพระธรรม ไมไ่ด้มีโอกาสเข้า ใจพระธรรมครับ ซึ่งก็คงจะต้องเริ่มจากการอบรมปัญญาของตนเอง เริ่มจาตัวเองเป็น สำคัญ

ขออนุโมทนาครับ

[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 381

ภิกษุทั้งหลายในพระวินัยนี้ เล่าเรียนสูตรอันถือกันมาผิดด้วยบท พยัญชนะที่ใช้ผิด เนื้อความแห่งบทพยัญชนะที่ใช้ผิด ย่อมมีนัยอันผิดไปด้วย นี้ธรรมประการที่ ๑ เป็นเหตุให้พระสัทธรรมเลอะเลือนอันตรธานไป

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 7 มิ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสูตร เป็นพระธรรมเทศนาที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดง ณ สถานที่ต่างๆ ปรารภบุคคลต่างๆ แสดงเป็นหัวข้อธรรมต่างๆ มากมาย ถึงแม้ว่าชื่อพระสูตรจะต่างกันไปบ้าง หรือ ไม่มีชื่อสูตร เลย (เพราะโดยส่วนใหญ่ถ้าตรวจดูจากพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีแล้ว ส่วนใหญ่จะไม่ปรากฏชื่อของพระสูตร แต่ก็มีปรากฏบ้างอยู่เหมือนกัน แต่น้อยมาก) แต่สาระของพระสูตร สาระของพระธรรม ยังคงอยู่ ไม่มีวันเปลี่ยนแปลง และจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่มีโอกาสได้ฟัง ได้ศึกษา อย่างแท้จริง [พระสูตรที่พระองค์ทรงแสดงแก่ชนชาวกาลามะ ก็เป็นเช่นนี้ด้วย]

ขอเชิญคลิกโหลดอ่านรายละเอียดของพระสูตรนี้ ได้ที่นี่ ครับ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ หน้า ๓๓๗ ...

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระธรรม เพื่อให้ผู้ฟัง ผู้ศึกษาได้พิจารณาเห็นตามความเป็นจริง เกิดปัญญาเป็นของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นกุศล หรือ อกุศล (รวมทั้งสภาพธรรมอื่นๆ ) เพื่อประโยชน์คือ ปัญญาของผู้ฟัง จะได้เข้าใจตามความเป็นจริง ว่า กุศล ให้คุณประโยชน์อย่างเดียว ส่วน อกุศล ให้โทษอย่างเดียว มีความต่างกันอย่างสิ้นเชิง โดยพระองค์ทรงเป็นผู้แสดงให้ได้พิจารณาไตร่ตรองเท่านั้น ส่วนจะมีความเห็นถูกต้องมากน้อยแค่ไหนนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับการสะสมมาของแต่ละบุคคลจริงๆ บุคคลผู้ที่ได้ฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม อดทนที่จะศึกษา อดทนที่จะฟังพระธรรมเท่านั้น จึงจะเห็นประโยชน์ของปัญญา ได้รับประโยชน์จากพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง ครับ

... ขอออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
นาวาเอกทองย้อย
วันที่ 8 มิ.ย. 2554

ขอบพระคุณท่านทั้งสองที่เมตตาให้ข้อมูลและหลักคิดที่ดีมากๆ ครับ กระผมก็เลยเกิดความคิดต่อยอดไปอีกว่า การบรรยายธรรมหรือแสดงธรรมไม่ว่า จะในรูปแบบใดๆ นั้น เจตนาของผู้แสดงน่าจะมีเป็น ๒ แบบ คือ ต้องการจะแสดงว่าฉันรู้อะไร แบบหนึ่ง และ ต้องการให้ผู้ฟังรูอะไร อีกแบบหนึ่ง ผู้ที่กล่าวว่ากาลามสูตรไม่มีในพระไตรปิฎกนั้น น่าจะไปได้ความรู้มาว่าพระสูตร คนทั่วไปเรียกกันว่า กาลามสูตร นี้ ในพระไตรปิฎกที่แปลเป็นภาษาไทยท่านตั้งชื่อว่า เกสปุตตสูตร ไม่ได้เรียกว่า กาลามสูตร พอได้ความรู้มาเช่นนี้ก็เกิดความกระหยิ่มใจ เหมือนได้รู้ความลับอะไรมาอย่างหนึ่งประมาณนั้น แล้วก็เลยมองคนทั้งหลายที่ยังคง เรียกพระสูตรนี้ว่า กาลามสูตร ด้วยความรู้สึกสมเพชนิดนิดๆ ดูแคลนหน่อยๆ ว่าช่างไม่รู้ ความจริงเอาเสียเลย ต่อจากนั้นเพื่อจะสำแดงว่า "ฉันรู้อะไร" ก็จึงพูดแบบ "วางมาด" ว่า กาลามสูตรไม่มีในพระไตรปิฎก (ที่คุณเรียกกันว่า กาลามสูตรนั่นนะเรียกแบบคนไม่รู้ ความจริงกันทั้งน้าน ฉันนี่สิรู้) การพูดทิ้งไว้แค่นี้ผู้ฟังจึงไม่ได้ประโยชน์อะไรนอกจาก ความสับสนและขัดแย้งว่า แล้วที่เรียกกันว่ากาลามสูตรนั่นนะมันคืออะไรกันละ แต่ถ้าบรรยายด้วยเจตนาที่จะให้ผู้ฟังรู้อะไร คำบรรยายก็คงเป็นอีกแบบหนึ่ง เช่นบอกว่า พระสูตรที่เราเรียกกันทั่วไปว่า กาลามสูตร นี้ในพระไตรปิฎกแปลท่านตั้งชื่อ ว่าเกสปุตตสูตร ไม่ได้เรียกว่ากาลามสูตรอย่างที่เรามักเรียกกัน จึงขอให้ท่านผู้ฟังเข้าใจ ให้ตรงกันว่า ไม่ว่าจะเรียกว่า เกปุตตสูตร หรือเรียกว่า กาลามสูตร ก็หมายถึงพระสูตร เดียวกันนั่นเอง

- ถ้าบรรยายแบบนี้ ความขัดแย้งสับสนใดๆ ก็จะไม่เกิด และผู้ฟังก็ได้ ความรู้เพิ่มขึ้นว่า กาลามสูตรนี้มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เกสปุตตสูตร จะอย่างไรก็ตาม เป็นอันว่าได้แง่คิดทางธรรมที่เป็นประโยชน์ทั้งนั้น

ขอขอบพระ คุณเป็นอย่างยิ่งครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ