อานาปานสติ กับ กายานุปัสนาสติปัฏฐาน

 
WS202398
วันที่  8 มิ.ย. 2554
หมายเลข  18503
อ่าน  2,409

สติปัฏฐาน คือ สติที่ระลึกรู้สภาพธรรมที่ปรากฏ มี รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ หรือ

รูปนาม ซึ่งเกิดดับอยู่ตลอดเวลา เมื่อกล่าวว่าน้อมไปเพื่อให้สติระลึกรู้สภาพธรรมข้างต้น

นั้นก็พอจะเข้าใจครับ

แต่สงสัยกรณีอานาปานสติ นี่ สติระลึกรู้แ่ต่ลมหายใจเท่านั้นหรือ นามรูปอื่นๆ หากปรากฏไม่

ระลึกรู้หรือครับ ต่างกับการเจริญสติในชีวิตประจำวันอย่างไรครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 8 มิ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

การเจริญสติปัฏฐาน คือ การระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ ทีเ่ป็น

ธรรม มีลักษณะให้รู้ ซึ่งก็ไม่พ้น ทั้ง กาย เวทนา จิตและธรรม ที่เป็น หมวด 4 ในการ

เจริญสติปัฏฐานเลยครับ ในหมวดของกายานุปัสสนา ก็เป็นการระลึกลักษณะของ

สภาพธรรมที่เนื่องด้วยกาย ดังนั้นสภาพธรรมที่มีจริงที่กาย คือเย็น ร้อน อ่่อน แข็ง ตึง

และไหว ดังนั้น ขณะที่มีลมหายใจ เข้าออก สภาพธรรมที่มีจริง ก็คือ เย็นและร้อน

เป็นต้น สติสามารถเกิดระลึกรู้ตัวลักษณะของสภาพธรรม ขณะที่หายใจที่เป็นเย็น ร้อน

ได้ในขณะนั้นครับ

ที่สำคัญที่สุดครับ ลืมไมไ่ด้เลยคือสภาพธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา ดังนั้นสติและ

ปัญญาก็เป็นอนัตตาด้วยครับ เพราะฉะนั้น ไม่ว่าขณะที่หายใจอยู่ หรือจะยืน เดิน นั่ง

นอนอยู่ก็มีสภาพธรรมหลากหลาย ก็แล้วแต่สติครับ ว่าจะเกิดระลึกรู้อะไร สภาพธรรม

อะไรปรากฎก็รู้ตรงนั้น อันไม่ใช่การเจาะจงเลือกที่จะรู้เฉพาะลมหายใจครับ เห็นก็มี

ขณะนั้น ได้ยินก็มี เสียงก็มี แข็งก็มีในขณะที่หายใจครับ เพราะฉะนั้นการเจริญสติ

ปัฏฐานจึงไม่ใช่การพยายามจะเลือกสติให้เกิดรู้ลักษณะของสภาพธรรมใด เป็นไปตาม

เหตุปัจจัย ของสติและปัญญาครับ สำคัญคืออบรมเหตุให้เกิดสติคือการฟังพระธรรมใน

เรื่องสภาพธรรม เมื่อปัญญาเจริญขึ้นจนถึงพร้อม สติก็เกิดระลึกรู้สภาพธรรมหนึ่ง

สภาพธรรมใดก็ได้ครับ อันแสดงให้เห็นความเป็นอนัตตาและที่สำคัญ ขณะที่สติเกิด

ระลึกรู้สภาพธรรมใด ขณะที่รู้ตรงนั้นก็ไมไ่ด้คิดเลยว่าอยู่หมวดไหน อย่างไร แต่ปัญญา

ก็รู้ตรงลักษณะของสภาพธรรมแล้วครับ ดังนั้น ขณะที่หายใจก็สามารถรู้ลักษณะของ

สภาพธรรมที่มีจริงอะไรก็ได้ แล้วแต่สติจะรู้อะไร เพราะเป็นเรื่องของธรรมไม่ใช่เราที่

จะรู้หรือเลือกครับ ขออนุโมทนา

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wannee.s
วันที่ 8 มิ.ย. 2554

อานาปานสติ เป็นอารมณ์ของมหาบุรุษ หรือ มหาสาวก สติปัฎฐานไม่ใช่เรื่องของ ตัวตนที่

จะทำให้เกิดได้ ต้องเป็นความเข้าใจ ปรุงแต่งให้ปัญญาเกิด และที่สำคัญ ความอยากเป็น

เครื่องกั้นการอบรมเจริญปัญญาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 8 มิ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาพุทธเจ้าพระองค์นั้น เรื่องเจริญสติปัฏฐาน เป็นเรื่องของปัญญาที่เข้าใจสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง สติเกิดขึ้นระลึกและปัญญารู้ตรงลักษณะของสภาพธรรมในขณะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงสติปัฏฐานไว้ ๔ ประการ ไม่ใช่เพียงประการเดียวเท่านั้นการเจริญสติปัฏฐานไม่ใช่เรื่องง่ายเลย แต่ว่าเป็นเรื่องที่จะต้องอาศัยการฟังในสิ่งที่มีจริงเนืองๆ บ่อยๆ พิจารณาเหตุผลแล้วก็เจริญเหตุให้สมควรแก่ผลด้วย ข้อสำคัญประการหนึ่ง ก็คือจะต้องไม่เข้าใจผิดว่าเป็นสติปัฏฐานเฉพาะบางสิ่งบางประการ แต่ต้องเข้าใจให้ถูกต้องตามความเป็นจริงว่าทุกอย่างที่เป็นจริง ไม่ว่าจะเป็นทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้นทางกาย ทางใจ นั้น เป็นสติปัฏฐานทั้งสิ้น ลมหายใจ ก็เป็นหนึ่งในนั้น ด้วย เพราะลมหายใจเป็นส่วนหนึ่งของกาย เป็นสภาพที่ปรุงแต่งกาย และเคยยึดถือว่าเป็นลมหายใจของเรา เป็นเราหายใจ แต่ขณะที่สติปัฏฐานเกิดขึ้น รู้ลักษณะ ของสิ่งที่กำลังปรากฏคือ ธาตุดิน ธาตุไฟ หรือธาตุลมเริ่มที่จะเข้าใจว่าเป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่งซึ่งมีลักษณะอย่างนั้นเอง คือ เป็นธาตุที่ไม่รู้อารมณ์ (คือเป็นรูปธรรม) เป็นการถ่ายถอนความเข้าใจผิดที่เคยยึดถือว่า เป็นเราที่หายใจ หรือเป็นลมหายใจของเรา ทั้งนี้ แล้วแต่ว่าสติจะระลึกรู้ลักษณะใด โดยไม่จำกัดและไม่เจาะจง เพราะเป็นอนัตตาไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น ครับ ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
WS202398
วันที่ 9 มิ.ย. 2554

ถ้าจะกล่าวดังต่อไปนี้จะถูกต้องหรือไม่ครับ

ในสูตรว่าด้วยสติปัฏฐานนั้น มีการแบ่งออกเป็นบรรพต่าง การแบ่งออกเป็นบรรพต่างๆ นั้น มิได้หมายมุ่งถึงการเจริญสติในรูปลักษณะเป็นบรรพๆ แยกขาดจากกัน แต่การแยกเป็นบรรพนั้นเพื่อความชัดเจนว่าหากอารมณ์ชนิดใดปรากฏแก่จิต และอารมณ์นั้นเข้ากับบรรพใด การเจริญสติก็จะอยู่ในหมวดหมู่ของบรรพนั้น ประ๋โยชน์คือป้องกันความเข้าใจผิดว่าไปเห็นรูปว่าเป็นนามไปเห็นนามว่าเป็นรูปเป็นต้น หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งในเมื่อสังขารธรรมเป็นอนัตตาเกิดขึ้นตามเหตุปัจจัย สติย่อมระลึกรู้สิ่งที่กำลังปรากฏ และก็ขึ้นอยู่กับว่าสิ่งที่กำลังปรากฏนั้นจัดหมวดหมู่เข้ากับสติปักฐานบรรพใด ถูกหรือไม่ครับ

อีกประการหนึ่ง อารมณ์อะไรชนิดใดจะปรากฏก็แล้วแต่เหตุปัจจัย แม้แต่มีลมหายใจเป็นอารมณ์ก็แล้วแต่เหตุปัจจัย

มีข้อสงสัยว่าหากบุคคลใดทำประการใดก็แล้วแต่จะบัญญัติศัพท์ มีผลเป็นการปรุงแ่ต่งจิตให้เกิดเจตนาเจสติกรับรู้อารมณ์นั้นๆ ถี่กว่าปกติในชีิวิตประจำวัน เช่นนี้เจตนาเจตสิกนี้ ถือว่าถูกหรือผิด สมควรหรือไม่สมควร ก็ในเมื่อเจตนาเจตสิกเกิดกับจิตทุกดวง และธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ไม่สามารถบังคับบัญชาได้

อีกประการหนึ่ง ที่มีการทัดทานกันตลอดเวลาว่าอย่าไปเจาะจงทำในใจว่าประสงค์จะน้อมระลึกรู้อารมณ์หนึ่งอารมณ์ใดโดยเฉพาะในเมื่อในชีวิตประจำวันอารมณ์หลายหลายทยอยกันปรากฏ เพราะด้วยเห็นว่าการเจาะจงประสงค์นั้นมีฐานอยู่บนความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง หรือมีฐานอยู่บนราคะและโมหะใช่หรือไม่ หากไม่ประสงค์คือแล้วแต่อารมณ์ใดจะปรากฏก็เสมือนว่าไม่มีราคะและโมหะเกิดร่วมด้วยใช่หรือไม่

มาถึงตรงนี้ผมมีความเห็นว่าหากบุคคลใด เข้าใจแนวทางการเจริญสติปัฏฐานแล้ว ก็จะไม่มีปัญหาเกี่ยวด้วยอารมณ์ของสติ เพราะกุศลหรืออกุศลก็เป็นอารมณ์ของสติได้ ส่วนบุคคลใดปรุงแต่งนามรูปไปทางใดด้วยเหตุปัจจัยใดๆ ก็ตาม ก็แล้วแต่เหตุปัจจัยนั้นๆ ส่วนสติก็ตามระลึกลูกเดียว ไม่ว่าจะเป็นกุศลหรืออกุศลก็ตาม

จะกล่าวอีกนัยหนึ่ง ผู้ที่ยังมิได้เป็นพระโสดาบัน ถึงอย่างไรได้ชื่อว่ายังละสังโยชน์เบื้องต่ำยังไม่ขาด จะคิดจะทำก็คงเป็นส่วนมากที่เป็นอกุศลในรูปแบบต่างๆ แต่สติถ้ามีปัจจัยพอก็ตามระลึกเรื่อยไป

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
paderm
วันที่ 9 มิ.ย. 2554

เรียนความเห็นที่ 4 ครับ

ในสูตรว่าด้วยสติปัฏฐานนั้น มีการแบ่งออกเป็นบรรพต่าง การแบ่งออกเป็นบรรพ

ต่างๆ นั้น มิได้หมายมุ่งถึงการเจริญสติในรูปลักษณะเป็นบรรพๆ แยกขาดจากกัน แต่การ

แยกเป็นบรรพนั้นเพื่อความชัดเจนว่าหากอารมณ์ชนิดใดปรากฏแก่จิต และอารมณ์นั้น

เข้ากับบรรพใด การเจริญสติก็จะอยู่ในหมวดหมู่ของบรรพนั้น ประ๋โยชน์คือป้องกันความ

เข้าใจผิดว่าไปเห็นรูปว่าเป็นนามไปเห็นนามว่าเป็น รูปเป็นต้น หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งใน

เมื่อสังขารธรรมเป็นอนัตตาเกิดขึ้นตามเหตุปัจจัย สติย่อมระลึกรู้สิ่งที่กำลังปรากฏ และ

ก็ขึ้นอยู่กับว่าสิ่งที่กำลังปรากฏนั้นจัดหมวดหมู่เข้ากับสติปักฐานบรรพ ใด ถูกหรือไม่ครับ

* * ที่แยกออกเป็นหมวดต่างๆ และบรรพต่างๆ ก็แสดงถึง สติสามารถระลึกลักษณะของ

สภาพธรรมที่มีจริงได้ ซึ่งก็ไม่พ้นจากหมวด 4 หรือ บรรพใดครับ และที่แสดงถึงหมวด 4

บรรพต่างๆ ก็แสงดถึงจริต อัธยาศัยของสัตว์ ที่จะต้องเป็นไปตามหมวด 4 นี้ครับ ซึ่งก็

แล้วแต่ว่าสติจะเกิดระลึกรู้สภาพธรรมอะไร ซึ่งไม่พ้นไปจากหมวด 4 นี้เลยครับ

------------------------------------------------------------------

อีกประการหนึ่ง อารมณ์อะไรชนิดใดจะปรากฏก็แล้วแต่เหตุปัจจัย แม้แต่มีลมหายใจ

เป็นอารมณ์ก็แล้วแต่เหตุปัจจัย

* * ถูกต้องครับ

------------------------------------------------------------------

มีข้อสงสัยว่าหากบุคคลใดทำประการใดก็แล้วแต่จะบัญญัติศัพท์ มีผลเป็นการปรุง

แ่ต่งจิตให้เกิดเจตนาเจสติกรับรู้อารมณ์นั้นๆ ถี่กว่าปกติในชีิวิตประจำวัน เช่นนี้เจตนา

เจตสิกนี้ ถือว่าถูกหรือผิด สมควรหรือไม่สมควร ก็ในเมื่อเจตนาเจตสิกเกิดกับจิต

ทุกดวง และธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ไม่สามารถบังคับบัญชาได้

* * เจตนาเจตสิกเกิดกับจิตทุกดวงก็จริง แต่ไมได้หมายความเจตนานั้นจะเป็นกรรม ที่

เป็นอกุศลกรรมครับ ต้องเป็นเจตนาทุจริตที่ทำออกมาทางกายและวาจาที่ไม่ดี เป็นต้น

ย่อมไม่ควร ส่วนเจตนาที่เกิดกับจิตชาติวิบากก็มี ไม่มีผลอะไรครับ

------------------------------------------------------------------

อีกประการหนึ่ง ที่มีการทัดทานกันตลอดเวลาว่าอย่าไปเจาะจงทำในใจว่าประสงค์จะ

น้อมระลึกรู้ อารมณ์หนึ่งอารมณ์ใดโดยเฉพาะในเมื่อในชีวิตประจำวันอารมณ์หลายหลาย

ทยอยกัน ปรากฏ เพราะด้วยเห็นว่าการเจาะจงประสงค์นั้นมีฐานอยู่บนความเข้าใจที่ไม่

ถูกต้อง หรือมีฐานอยู่บนราคะและโมหะใช่หรือไม่ หากไม่ประสงค์คือแล้วแต่อารมณ์ใด

จะปรากฏก็เสมือนว่าไม่มีราคะและโมหะเกิด ร่วมด้วยใช่หรือไม่

* * ถูกต้องครับ เพราะธรรมเป็นอนัตตา แม้สติและปัญญาก็เช่นกัน

------------------------------------------------------------------

มาถึงตรงนี้ผมมีความเห็นว่าหากบุคคลใด เข้าใจแนวทางการเจริญสติปัฏฐานแล้ว

ก็จะไม่มีปัญหาเกี่ยวด้วยอารมณ์ของสติ เพราะกุศลหรืออกุศลก็เป็นอารมณ์ของสติได้

ส่วนบุคคลใดปรุงแต่งนามรูปไปทางใดด้วยเหตุปัจจัยใดๆ ก็ตาม ก็แล้วแต่เหตุปัจจัย

นั้นๆ ส่วนสติก็ตามระลึกลูกเดียว ไม่ว่าจะเป็นกุศลหรืออกุศลก็ตาม

จะกล่าวอีกนัยหนึ่ง ผู้ที่ยังมิได้เป็นพระโสดาบัน ถึงอย่างไรได้ชื่อว่ายังละสังโยชน์เบื้อง

ต่ำยังไม่ขาด จะคิดจะทำก็คงเป็นส่วนมากที่เป็นอกุศลในรูปแบบต่างๆ แต่สติถ้ามีปัจจัย

พอก็ตามระลึกเรื่อยไป

* * ถูกต้องครับ ขออนุโมทนาในความเห็นถูกด้วยครับ

------------------------------------------------------------------

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 9 มิ.ย. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
เมตตา
วันที่ 9 มิ.ย. 2554

การอบรมเจริญสติปัฏฐาน คือการระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้

มี รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ หรือรูปนาม ซึ่งก็ไม่พ้นไปจาก กาย เวทนา จิต

และธรรม เพราะฉะนั้น ไม่ว่าจะสติจะระลึกรู้ที่ลมหายใจ ลมก็เป็นส่วนหนึ่งของกาย

หรือจะระลึกที่แข็ง หรือจะระลึกที่เย็น ทั้งหมดก็ไม่พ้นเป็นส่วนที่กายทั้งนั้น ไม่ว่าสติ

จะระลึกที่กายก็เป็นกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน หรือระลึกที่จิตที่เป็นความขุ่นเคืองหรือ

จิตที่มีความติดข้อง ก็เป็นจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน หรือระลึกที่เวทนา... ระลึกที่

ธรรมก็เป็นธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ทั้งหมดอยู่ที่การสะสมของแต่ละบุคคลแล้วแต่

เหตุปัจจัยจริงๆ ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญญาของใครได้ สติก็เป็นอนัตตา เพราะฉะนั้น ความสำคัญที่สุดของพุทธศาสนานั้นอยู่ที่การอบรมความเข้าใจถูกเห็นถูกในลักษณะสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตรงตามความเป็นจริง ปัญญาเท่านั้นที่จะละการยึด

ถือสภาพธรรมว่าเป็นเรา เป็นสัตว์ เป็นบุคคลได้

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่าน ด้วยค่ะ...

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
WS202398
วันที่ 9 มิ.ย. 2554

ขอบพระคุณสำหรับคำตอบครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ