การบูชาพระบรมสารีริกธาตุ ที่ท้าวมฆวานเทพกุญชร ตรัสกับ มาตลีเทพสารภี ???
ท้าวมฆวานเทพกุญชร ผู้เป็นอธิบดีในสวรรค์ ชั้นไตรทศได้ตรัสคำนี้กะมาตลีเทพสารภีว่าดูก่อนมาตลี ท่านจงดูผลแห่งกรรมอันวิจิตรน่าอัศจรรย์นี้ไทยธรรม (ของที่ให้) ที่เทพธิดานี้กระทำแล้วถึงจะน้อย บุญก็มีผลมากเมื่อจิตเลื่อมใสในพระตถาคตสัมพุทธเจ้าหรือในสาวกของพระองค์ก็ตาม ทักษิณาไม่ชื่อว่าน้อยเลยมาเถิด มาตลี แม้ชาวเราทั้งหลายก็ควรจะพากันบูชาพระบรมธาตุของพระตถาคตให้ยิ่งยวดขึ้นไป เพราะการสั่งสมบุญนำสุขมาให้ * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * ผมอ่านแล้ว ไม่กระจ่าง มีติดใจตรงการบูชาด้วยไทยธรรม กะ ปฏิบัติบูชา เพราะเคยอ่านกะได้ฟังมาว่า พระพุทธเจ้า ตรัสสอน ว่าถึงจะอยู่ใกล้พระองค์ จับชายจีวร
ก็เหมือนอยู่ไกล ดังนั้นมาณว่าใ้ห้ ทำตามคำสอน และ น้อมมาใส่ใจ นะครับหรือว่า ข้อความข้างบน บอกตรงๆ ไม่มีนัย คือ ถึงแม้จะบูชาด้วยไทยธรรม
ก้อยังมีผลมากและ ถ้ายิ่งบูชาด้วยปฏิบัติธรรมของพระองค์ ก้อย่อมมีผลมากมายกว่า
ใช่ไหมครับขอบพระคุณล่วงหน้าครับ
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย ข้อความที่ยกมานั้น อยู่ในวิมานวัตถุ เรื่อง ปีตวิมาน ซึ่งเรื่อราวของพระสูตรนี้พอเล่า
สังเขปดังนี้ครับ
เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว พระเจ้าอชาตศัตรูก็แบ่งพะบรมสารีริกธาตุไปในที่
ต่างๆ เพื่อให้มหาชน บูชาพระบรมสารีริกธาตุ มีหญิงผู้หนึ่งคิดจะบูชาพระสถูปของ
พระพุทธเจ้า จึงนำดอกบวบขม 4 ดอกที่ได้มา เกิดศรัทธา มุ่งบูชาพระพุทธเจ้าที่
พระสถูป โดยไม่ได้ระวังอันตรายใดๆ ขณะนั้นโคแม่ลูกอ่อนขวิดนาง นางก็สิ้นชีสิตไป
เกิดบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ขณะนั้นท้าวสักกะและเทพธิดทั้งหลายก็กำลังเล่นกันอยู่
นางนั้นจุติเป็นเทพธิดา ด้วยผลบุญนั้น รัศมีของนางก็ข่มเทพธิดาทั้งหมด ท้าวสักกะ
เกิดจิตอัศจรรย์ใจ จึงถามว่าเธอทำบุญอะไรมาจึงมีวรรณะงดดงาม มีบุญมากเช่นนี้
นางจึงทูลท้าวสักกะว่า เมื่อก่อนข้าพระองค์เกิดจิตคิดบูชาพระสถูปพระพุทธเจ้าด้วย
ดอกบวบขม แต่ยังไม่ทันบูชาก็ถูกแม่โคขวิดสิ้นชีวิตครับ
ท้าวสักกะ จึงบอกกับมาตาลีเทพบุตร ตามคาถาที่ผู้ตั้งกระทู้ได้กล่าวไว้ในตอนต้น
สรุปได้ว่า จงดูผลบุญที่ที่บูชา แม้ของจะน้อย แต่ผลของบุญไม่น้อยเลยเพราะ บูชา
วัตถุอันเลิศคือพระพุทธเจ้า เป็นต้น ดังนั้นเรามาบูชาพระพุทธเจ้ากันเถิด เพราะบุญ
นำสุขมาให้ บุคคลบูชาพระพุทธเจ้าที่ปรินิพพานแล้ว หรือมีพระชนม์อยู่ ผลบุญก็ย่อม
เท่ากัน หากจิตเสมอกัน เมื่อท้าวสักกะตรัสเรื่องนี้จบ ท่านก็ให้หมู่เทวดาเลิกการละเล่น
และให้บูชา พระจุฬามณีย์ อันเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ เป็นเวลา 7 วันครับ
นี่คือเรื่องราวพอสังเขป
กุศลเป็นสภาพธรรมที่มีจริง นำสุขมาให้ ซึ่งกูสลก็มีหลายระดับ ตามความประณีต
และระดับปัญญาครับ ดังนั้นผลของกุศลก็ย่อมต่างๆ กันไปตามระดับความประณีต
ของกุศลครับซึ่งจากพระสูตรนี้ แสดงให้เห็นถึงวิบาก ผลของกรรมที่เกิดจากการ
กระทำกุศลด้วยอามิสบูชา มีดอกไม้ เป็นต้น กับพระบรมสารีริกธาตุ แน่นอนครับว่า
กุศลมี ผลย่อมมี กุศลจะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับ สภาพจิตของผู้นั้น ถ้าเป็นกุศลบที่
ประกอบด้วยปัญญาและไม่มีโลภะ ที่มีความหวังในผลก็ย่อมมีผลมากกว่า กุศลที่ไม่
ประกอบด้วยปัญญา และหวังผล เป็นต้นครับ นี่ประการที่หนึ่ง คือ สภาพของจิต
สอง ไทยธรรม วัตถุทีได้มา ถ้าได้มาโดยสุจริตก็ทำให้บุญมีผลมากกว่า ได้มาโดย
ทุจริตและสามคือวัตถุ คือผู้รับ ถ้าผู้รับมีคุณธรรมมาก ผลบุญก็มากตามไปด้วยครับ
ดังนั้นพระคาถาที่คุณยกมา ที่แสดงว่า แม้ของจะน้อย แต่ผลบุญมากเพราะบูชา
พระพุทธเจ้า บูชาผู้มีพระคุณสูงสุด ผลบุญก็ย่อมมากตามไปด้วยครับ เพราะฉะนั้น
พระพุทธเจ้าไมได้ตรัสว่าเธอจงทำแต่ปฏิบัติบูชา อย่าทำอามิสบูชา แต่พระพุทธเจ้า
ทรงสรรเสริญการเจริญกุศลทุกๆ ประการ ดังนั้นแม้อามิสบูชา ที่บูชากับพระพุทธเจ้า
แม้ปรินิพพานแล้วก็มีผลมากเพราะบูชาพระพุทธเจ้าครับ ผลบุญจะน้อยไม่ได้เพราะ
สัจจะความมจริงเป็นอย่างนั้นครับ จึงไม่ได้หมายความว่า เมื่อปฏิบัติบูชาเลิศกว่าอามิส
บูชาแล้ว จะกลายเป็นว่าอามิสบูชาที่พระพุทธเจ้าจะมีผลไม่มากครับ มีผลมากด้วย แต่
ปฏิบัติบูชามีผลมากกว่า คือ สามารถให้ถึงการดับกิเลสได้นั่นเองครับ
ซึ่งในเวลามสูตร แสดงกุศลเป็นลำดับว่ามีผลมากน้อยต่างๆ กันไป คือ การถึงสรณ
คมณ์ (ถึงพระรัตนรัยเป็นที่พึ่ง) มีผลมากกว่ า การถวายวิหารให้สงฆ์และมีผลมากกว่า
ทานที่ถวายกับพระภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข การรักษาศีล มีผลมากกว่า
การถึงสรณคมณ์ การมีเมตตา มีผลมากกว่า การรักษาศีล การพิจาณาสภาพธรรมมี
ความไม่เที่ย งเป็นต้น มีผลมากกว่าการเจริญเมตตา จะเห็นนะครับว่า อามิสบูชามีผล
น้อยกว่าปฏิบัติบูชา และปฏิบัติบูชาก็มีหลายระดับ เป็นไปตามลำดับด้วยครับ
เหตุผลอีกประการหนึ่งเมื่อคราวที่พระพุทธเจ้าจะปรินิพพาน เทวดาทั้งหลายต่างบูชา
ด้วยดอกไม้ทิพย์ อามิสบูชามากมาย พระพุทธเจ้าทรงปรารภการบูชาด้วยอามิสนี้กับ
พระอานนท์ว่า
ดูก่อนอานนท์ พระตถาคตจะชื่อว่าอันบริษัทสักการะ เคารพ นับถือ บูชานอบน้อมด้วย
เครื่องสักการะประมาณเท่านี้หามิได้ ผู้ใดแลจะเป็นภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา
ก็ตาม เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ พระพฤติตามธรรมอยู่ผู้นั้นย่อม
ชื่อว่าสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ด้วยการบูชาอย่างยิ่ง เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์
พวกเธอพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักเป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ
ประพฤติตามธรรมอยู่.
ข้อความนี้ไม่ได้แสดงว่าเมื่อปฏิบัติบูชาเป็นเลิศกว่าอามิสบูชา แต่อามิสบูชาจะ
ไม่มีผลมากนะครับ อามิสบูชาก็มีผลมาก แต่ข้อความอรรถกถาอธิบายว่า ที่พระองค์
ทรงบำเพ็ญบารมีมาสี่อสงไขยแสนกัป ไม่ใช่เพื่อต้องการอามิสบูชา ไม่ใช่ต้องการ
ดอกไม้ ของหอม แต่พระองค์ที่ทรงตั้งความปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าก็เพื่อให้สัตว์
ทั้งหลายพ้นทุกข์จากกิเลส ก็ด้วยการปฏิบัติบูชานั่นเองครับ ดังนั้นจุดประสงค์ของ
พระองค์ คือ เพื่อให้พุทธบริษัทศึกษาธรรม ฟังพระธรรมและน้อมประพฤติปฏิบัติตาม
พระธรรมที่พระองค์ทรงแสดงเพื่อให้พ้นจากทุกข์เหมือนดังเช่นพระองค์ ซึ่งการทำเช่น
นี้ชื่อว่าเป็นการบูชาพระองค์อย่างแท้จริงเพราะทำตามโอวาทและตามจุดประสงค์ของ
พระองค์ครับ
ซึ่งในอรรถกถาก็ยังอธิบ่ายต่อไปว่า ทำไมพระพุทธเจ้าจึงปฏิเสธหรือทรงห้ามวิบาก
แม้การบูชาด้วยดอกไม้หรืออามิสบูชาและผลบุญก็นับประมาณไม่ได้ เหตุผลที่ทรง
ห้ามอามิสบูชาว่าไม่ใช่การบูชาเราอย่างแท้จริง และทรงแสดงว่าปฏิบัติบูชาเป็นเลิศ
เป็นการบูชาเรา เพราะว่าต่อไปชนรุ่นหลังก็จะเข้าใจผิด คิดมุ่งแต่บูชาด้วยอามิสบูชา
อย่างเดียวเท่านั้น ชักชวนแต่บูชาด้วยอามิสบูชาไม่มีการปฏิบัติบูชาเลย ก็จะทำให้พระ
ศาสนาไม่ยั่งยืน เพราะพระศาสนาไมได้อยุ่ที่การบูชาด้วยวัตถุ มีวัดวาอารามมากมาย
แต่พระศาสนาจะดำรงอยู่ยั่งยืน คือ อยู่ที่ความเข้าใจพระธรรมของแต่ละคน นั่นคือ
ปฏิบัติบูชา ดังนั้นพระองค์จึงทรงสรรเสริญปฏิบัติบูชาเพื่อความเจริญ มั่นคงยาวนาน
ของพระพุทธศาสนาครับ
สรุปคือ บุญที่บูชาพระพุทธเจ้าด้วยอามิสบูชาก็มีผลมาก แม้ปฏิบัติบูชาจะเลิศกว่า
แต่ปฏิเสธความมีผลมากของการบูชาด้วยอามิสต่อพระพุทธเจ้าไมได้ แต่ การปฏิบัติ
บูชาเท่านั้นที่พระองค์ทรงสรรเสริญ เพราะเป็นไปเพื่อสละ ขัดเกลากิเลสและสามารถ
ดับกิเลสได้ อันเป็นจุดประสงค์ที่พระพุทธองค์ทรงบำเพ็ญบารมีมาเพื่อให้เหล่าสัตว์
พ้นทุกข์ และการจะดำรงพระศาสนาได้ก็ไม่ใช่เพียงการบูชาด้วยอามิสบูชา แต่ด้วย
ปฏิบัติบูชาครับดังนั้นกุศลควรเจริญทุกๆ ประการเท่าที่ทำได้ รวมทั้งการศึกษาพระธรรม
น้อมประพฤติปฏิบัติตามอันเป็นปฏิบัติบูชาด้วยครับ ขออนุโมทนา
เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ
เหตุผลที่ไม่สรรเสริญอามิสบูชา สรรเสริญปฏิบัติบูชา [มหาปรินิพพานสูตร]
อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขณะที่บูชา ย่อมเป็นกุศลจิตที่เกิดขึ้นเป็นไป เป็นจิตใจที่อ่อนโยน อ่อนน้อมถ่อมตน ขจัดซึ่งความหยาบกระด้างแห่งจิต ขัดเกลาความสำคัญตน สำหรับผู้ที่ได้ศึกษาพระธรรม อบรมเจริญปัญญาเห็นคุณประโยชน์ของกุศลธรรมซึ่งเป็นสภาพธรรมที่ดีงาม นั้น ย่อมไม่ละเลยโอกาสของการเจริญกุศล เพราะเหตุว่าถ้ากุศลจิตไม่เกิด ก็จะเป็นโอกาสของอกุศลที่จะเกิดขึ้นทำกิจหน้าที่ จะบูชาด้วยอามิส หรือ บูชาด้วยการปฏิบัติธรรม (ธรรมบูชา) ย่อมเป็นสิ่งที่ดีทั้งนั้น แต่การบูชาอย่างสูงสุด ก็จะต้องเป็นการบูชาด้วยการปฏิบัติธรรม ซึ่งก็คือน้อมประพฤติตามพระธรรมคำสอนที่จะอบรมเจริญปัญญา ที่จะรู้แจ้งอริยสัจธรรมถึงความเป็นพระอริยบุคคลขั้นต่างๆ สูงสุดคือ ถึงความเป็นพระอรหันต์ ดับกิเลสทั้งปวงได้อย่างเด็ดขาด ดังนั้น ในฐานะที่เป็นพุทธศาสนิกชน การที่จะทำให้ปฏิบัติบูชาสมบูรณ์นั้น จึงไม่มีทางอื่น นอกจากการ ฟังพระธรรมศึกษาพระธรรม ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้วน้อมประพฤติปฏิบัติเพื่อขัดเกลากิเลสของตนเอง ครับ.
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณ"ผ้าเช็ดธุลี", คุณผเดิม และทุกๆ ท่านครับ...
อ่านคำตอบแล้วได้ความรู้ชัดขึ้น ขออนุโมทนาครับ
ยังมีข้อสงสัยอยู่อีกนิดหนึ่งครับ ตามเรื่องที่เล่า (ความคิดเห็นที่ 1) ปรากฏชัดว่า
หญิงผู้นั้นกำลังเดินไปที่สถูปเพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุ ขณะนั้นการบูชายังไม่ได้เกิด
ขึ้น ทำไมนางจึงได้รับผลเหมือนกับว่าได้กระทำการบูชาเสร็จสมบูรณ์แล้ว
สมมติว่า หญิงคนหนึ่งตั้งใจจะใส่บาตร (ภาษาที่ถูกต้อง ผู้รู้ท่านบอกว่าต้องใช้ว่า
"ตักบาตร" แต่คนทั่วไปก็มักพูดว่า "ใส่บาตร" ดูจะเข้าใจกันง่ายดีกว่า กระผมขอ
อนุญาตใช้ตามคนทั่วไป - ขออภัยที่ออกนอกเรื่องครับ !) เธอจัดเตรียมอาหารพร้อม
สรรพ เดินออกมาหน้าบ้านเพื่อจะไปใส่บาตร แล้วถูกรถชนตายเสียก่อน กรณีนี้เมื่อ
เทียบกับหญิงที่กำลังเดินไปเพื่อบูชาพระธาตุคนนั้น ก็ต้องถือว่า การใส่บาตรได้เกิดขึ้น
เสร็จสมบูรณ์แล้ว ใช่หรือไม่
ถ้าใช่ ก็จะต้องหมายความว่า การทำบุญต่างๆ นั้น เพียงแค่คิดจะทำ ก็สำเร็จเป็น
บุญเสมือนว่าได้ทำไปเรียบร้อยแล้ว หรือว่าจะต้องลงมือเตรียมการไปบ้างก่อนจึงจะถือ
ว่าสำเร็จเป็นบุญ
ขอความกรุณาอธิบายให้ชัดๆ ด้วยครับ - ขอบพระคุณครับ
เรียนความเห็นที่ 6 ครับ
จากเรื่องนี้คือปิติวิมาน นางผู้นี้ถือดอกบวบขม 4 ดอก คิดตั้งใจจะบูชาพระสถูป
พระพุทธเจ้า แต่ยังไม่ทันได้บูชา กำลังเดินไปถูกแม่โคขวิดสิ้นชีวิต แต่นางก็เกิดใน
เทวโลกปัญหาคือทำไมเหมือนกับนางทำบุญสำเร็จแล้วเพราะได้เกิดเป็นเทวดา
-----------------------------------------------------------------
เรียนอย่างนี้ครับ บุญคือสภาพธรรมที่ชำระล้างสันดาน บุญหรือกุศลจึงเป้นสภาพ
ธรรมฝ่ายดี ที่ไม่มีโลภะ โทสะ โมหะ สภาพธรรมที่เป็นกุศลย่อมไม่เปลี่ยนแปลง กุศล
เป็น กุศล ดังนั้นขณะทะี่่นางได้มีความตั้งใจที่จะบูชาพระสถูปด้วยดอกไม้ จิตขณะนั้น
เป็นบุญ เป็นกุศลแน่นอนครับ เปลี่ยนแปลงไมไ่ด้ บุญนั้นสำเร็จด้วยใจที่ความตั้งใจ
ที่จะถวาย เป็นกุศล ซึ่งขณะนั้น แม่โคขวิด สิ้นชีวิต ชวนสุดท้าย 5 ขณะก่อนตาย
ต้องเป็นกุศลจิตแน่นอนเพราะไปเกิดในสวรรค์ ด้วยกุศลนั้นเป็นปัจจัย แม้กรรมนั้นจะ
ไม่สำเร็จ แต่จิตขณะนั้นเป็นกุศลที่มุ่งบูชาพระพุทธเจ้า จึงทำให้ชวนสุดท้ายเป็นกุศล
และไปเกิดในสวรรค์ครับ อันมีกุศลที่มุ่งบูชาพระพุทธเจ้าเป็นเหตุ ปัจจัยนั่นเองครับ
ซึ่งในพระไตรปิฎกก็อธิบายเพิ่มเติมว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 387
บทว่า ถูป อปตฺตมานส ได้แก่ มีอัธยาศัยยังไม่ถึงพระสถูป คือพระเจดีย์.
จริงอยู่ ชื่อว่า มานัส เพราะมีในใจ ได้แก่อัธยาศัย คือมโนรถ. เทพธิดากล่าว
อย่างนี้ เพราะมโนรถที่เกิดขึ้นว่า เราจักเข้าไปยังพระสถูปแล้วบูชาด้วยดอกไม้
ทั้งหลาย ดังนี้ยังไม่สมบูรณ์. แต่จิตที่คิดบูชาพระสถูปเจดีย์ด้วยดอกไม้ทั้งหลาย
สำเร็จแล้วโดยแท้ จึงเป็นเหตุให้เทพธิดานั้นเกิดในเทวโลก.
--------------------------------------------------------------
จะเห็นได้ว่าแม้กรรมนั้นยังไม่สำเร็จ คือ ถวายดอกไม้บูชาพระพุทธเจ้า แต่จิตที่คิด
ถวายมีแล้วครับและก็เป็นกุศลในขณะนั้น และชวนสุดท้ายก่อนตาย มีกุศลที่จิตคิด
บูชาเป็นปัจจัยครับ จึงทำให้เกิดเทวโลก ซึ่งหญิงนั้นก็กล่าวกับท้าวสักกะว่าถ้าดิฉัน
ถวายดอกไม้สำเร็จ ผลบุญก็จะยิ่งใหญ่กว่านี้อีก แสดงว่ากุศลก็มีผลตามระดับ หาก
สำเร็จ ถวายดอกไม้สำเร็จบุญก็ย่อมให้ผลมากครับ
โดยนัยของที่ยกตัวอย่างการใส่บาตร หากมีจิตคิดใส่ ขณะนั้นเป็นกุศล เป็นปัจจัย
กับชวนจิตสุดท้ายก่อนสิ้นชีวิต ทำให้เป็นกุศลในขณะนั้นก็ทำให้เกิดในสุคติภูมิครับ
แต่ถ้าถวายสำเร็จและบุญนั้นเป็นปัจจัยกับชวนจิตสุดท้ายให้เป็นกุศล ก็ทำให้เกิดใน
สุคติภูมิและประณีตกว่าการถวายไม่สำเร็จครับ
แต่ถ้ายังไม่สิ้นชีวิต คิดจะใส่บาตรแต่ไม่ได้ใส่ กุศลจิตขั้นทานเกิดแล้ว จะเปลี่ยนแปลง
ไมไ่ด้ แต่กรรมนั้นยังไม่สำเร็จ ก็ยังไม่ครบกรรมที่จะให้ผลในบุญที่สำเร็จขั้นทาน นี่พูด
ถึงยังสิ้นชีวิตครับ แต่กุศลที่สำเร็จทางใจที่ครบองค์ เช่น ความเ้ห็นถูก เป็นต้น แม้เพียง
คิดก็สำเร็จ สามารถให้ผลได้ครับ นี่พูดถึงกรณียังไม่สิ้นชีวิตครับ แต่ถ้าจะสิ้นชีวิต ใน
กรณีเทพธิดานี้ คิดจะถวาย กุศลจิตเกิดแล้วเป็นปัจจัยกับชวนจิตสุดท้ายให้เป็นกุศล
เกิดในเทวโลกครับ ดังข้อความในอรรถกถาได้อธิบายที่ยกมาข้างต้นครับ ขออนุโมทนา
ขอบพระคุณมากครับที่กรุณาอธิบาย
จากคำอธิบาย กระผมสรุปว่า การทำบุญจะมี 2 ระยะ คือ (1) ระยะที่จิตคิดจะทำ
และ (2) ระยะที่กรรมสำเร็จ
ระยะที่จิตคิดจะทำ ก็สำเร็จเป็นบุญแล้ว แต่จะให้ผลในระดับหนึ่ง ถ้าทำไปถึงระยะ
ที่กรรมสำเร็จ คือได้ลงมือทำบุญประเภทนั้นๆ ไปจนสำเร็จ ก็จะให้ผลมากขึ้นไปอีก
ระดับหนึ่ง ไม่ใช่ว่า คนที่คิดจะบริจาคทรัพย์ แต่ยังไม่ได้บริจาค ก็ได้บุญเท่ากับคนที
บริจาคไปเรียบร้อยแล้ว ไม่ใช่เช่นนี้นะครับ
ถ้าสรุปผิด ขอประทานโทษด้วยครับ - ขออนุโมทนาครับที่กรุณาให้ความรู้ความ
เข้าใจที่ถูกต้อง
กุศลจะมีกำลังมาก ถ้าให้ครบทั้ง 3 กาล 1. เจตนาที่คิดจะให้ 2. ขณะที่กำลังให้ 3. ให้ไปแล้ว ไม่เสียดาย คิดถึงทานทีให้จิตผ่องใส
เรียนความเห็นที่ 8 ครับ
ชวนจิตกุศลเกิดขึ้นมากเท่าไหร่ และกรรมนั้นสำเร็จ มีเจตนาทีเป็นไปในกุศลก่อนให้ ขณะ
ให้สำเร็จ และเจตนาหลังให้ระลถึงกุศลนั้น กุศลก็มากตามเจตนาที่ทำกุศลนั้นด้วย ดัง
ความเห็นที่ 9 กล่าวไว้ครับ
ขอขอบพระคุณอย่างสูงครับ และ ขออนุโมทนาครับกะ คุณผเดิม คุณกำปั่น พี่วรรณี และ ผู้่ร่วมสนทนาธรรมด้วยนะครับผมเข้าใจมากขึ้นครับและ อย่างน้อย ก้อถือเป็นการสะสมบุญ ด้วยอนุโมทนาบุญ๑ ในบุญกิริยา ๑๐ จำได้เสมอว่าอาจารย์สอนว่าไม่ให้หวังผลจากการทำบุญ เพราะ มาณว่าเหมือนกับ เช็ดกระจกสะอาดแล้ว เอาผ้าเปื้อนๆ มาเช็ดอีกทีอนุโมทนาบุญอาจารย์ที่เคารพอย่างสูงด้วยครับรักและเคารพอาจารย์ และ ทุกท่านในมูลนิธิฯ ครับแหม๊พิมพ์คำนี้แล้ว ขนลุกเลยครับ คงเรียกปิติมั้งครับขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ