เรื่องของคนไม่มี เรา

 
นาวาเอกทองย้อย
วันที่  14 มิ.ย. 2554
หมายเลข  18546
อ่าน  1,221

กระผมมีเรื่องของคนไม่มี "เรา" มาเล่าให้ฟัง 2 เรื่อง ดังนี้ครับ

เรื่องที่ 1 (อ่านจากคัมภีร์) ครอบครัวหนึ่ง มีพ่อ แม่ ลูกชาย ลูกสาว ลูกสะใภ้ และ

สาวใช้ วันหนึ่ง พ่อกับลูกชายไปไถนา ลูกชายถูกงูกัดตาย ทุกคนในบ้านไปช่วยกันเผา

ศพ มีคนผ่านมาถามว่า เผาอะไรกัน ก็ตอบว่า พวกเราเผาลูกชายของฉัน พี่ชายของฉัน

สามีของฉัน นายของฉัน แต่ไม่มีใครร้องไห้ ไม่มีใครหวั่นไหว เพราะทุกคนเจริญมรณ

สติในชีวิตจริง - จบเรื่องที่ 1

เรื่องที่ 2 (ฟังเขาเล่ามา) ผู้สอนธรรมะท่านหนึ่งไปบรรยายธรรม ท่านจะย้ำเสมอ

ว่า พูดว่า "เรา" ไม่ได้ เพราะ "เรา" ไม่มี ใครเผลอพูดว่า "เรา" ทีไร ท่านจะเบรกทันที -

เราอีกแล้ว มีแต่สภาพธรรมเกิดขึ้นชั่วขณะจิตหนึ่งแล้วก็ดับไปหมดแล้ว มีเราได้อย่างไร

- วันหนึ่งท่านบรรยายเสร็จก็ออกจากห้องจะไปขึ้นรถ ปรากฏว่ารองเท้าของท่านหาย

ท่านหน้านิ่ว ถามเสียงเครียดว่า ใครเอารองเท้าฉันไป - จบเรื่องที่ 2

ขอความกรุณาท่านผู้รู้ชี้แนะแนวคิดทางธรรมที่ได้จากเรื่องทั้งสองนี้ พอเป็นแนว

ทางแห่งการศึกษาและสัมมาปฏิบัติสืบไป - ขอบพระคุณครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 14 มิ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย เรื่องที่ 1 (อ่านจากคัมภีร์) ครอบครัวหนึ่ง มีพ่อ แม่ ลูกชาย ลูกสาว ลูกสะใภ้ และ

สาวใช้ วันหนึ่ง พ่อกับลูกชายไปไถนา ลูกชายถูกงูกัดตาย ทุกคนในบ้านไปช่วยกันเผา

ศพ มีคนผ่านมาถามว่า เผาอะไรกัน ก็ตอบว่า พวกเราเผาลูกชายของฉัน พี่ชายของฉัน

สามีของฉัน นายของฉัน แต่ไม่มีใครร้องไห้ ไม่มีใครหวั่นไหว เพราะทุกคนเจริญมรณ

สติในชีวิตจริง - จบเรื่องที่ 1

-------------------------------------------------------------

จากเรื่องที่ 1 แสดงให้เห็นว่า ขณะที่เศร้าโศกคือขณะที่เป็นอกุศล ขณะที่ไม่เศร้า

โศก ไม่เสียใจด้วยปัญญา ด้วความเห็นถูก มีการพิจารณาถึงความตายว่าเป็นธรรมดา

เป็นกุศล ดังนั้นในเรื่องที่หนึ่งแสดงให้เห็นว่าการใช้คำว่าเรา ไม่ได้หมายความขณะนั้น

จะต้องมีความเห็นผิด ยึดถือว่าเป็นสัตว์ บุคคล มีเราในขณะนั้นครับ ซึ่งขณะที่เกิด

ความเห็นผิดว่าเป็นสัตว์ บุคคล ที่เป็นทิฏฐิเจตสิก คือ ขณะที่มีความเห็นว่ามีสัตว์

บุคคลจริงๆ เช่น ถามบุคคลหนึ่งว่ามีสัตว์ บุคคลจริงๆ ไหม ผู้นั้นตอบหรือคิดในใจว่า มี

สัตว์ บุคคลจริงๆ ขณะนั้นมีความเห็นเกิดขึ้นแล้ว เ ห็นผิดจากความเป็นจริง แต่ขณะที่

พูดว่าเรา พูดว่าเขาไม่จำเป็นต้องมีความเห็นผิด เพราะขณะนั้นไมได้มีความเห็นขึ้นมา

ว่ามีสัตวื บุคคลจริงๆ ครับ

โดยนัยเดียวกัน แม้การที่บุคคลเห็นเป็นสัตว์ บุคคลในขณะนี้ ก็ไมได้หมายความว่า

เมือเห็นเป็นสัตว์ บุคคลแล้วจะต้องมีความเห็นผิดครับ เพราะขณะนั้นไมได้มีความเห็น

ขึ้นมาว่ามีสัตว์ บุคคลจริงๆ แม้พระโสดาบันก็เห็นเป็นสัตว์ บุคคล พระพุทธเจ้าก็เห็น

เป็นพระอานนท์แต่ไม่ได้มีความเห็นผิดว่าเป็นสัตว์ บุคคลครับ และโดยนัยในเรื่องนี้ใน

เรื่องที่หนึ่ง ขณะใดที่เป็นกุศล ขณะนั้นไม่มีความเห็นผิดที่เป็นทิฏฐิเจตสิกเกิดร่วมด้วย

เลย ดังนั้นขณะที่เป็นกุศลที่เป็นมรณสติไม่ได้มีความเห็นผิดว่ามเรา มีสัตว์ บุคคลจริงๆ

ครับ แม้จะกล่าวว่าเรา ว่าเขา ว่าฉัน แต่ถ้าขณะนั้นไม่ได้มีความเห็น ขึ้นมาว่ามีสัตว์

บุคคลจริงๆ ก็ไม่ใช่ความเห็นผิดว่ามีเราครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 14 มิ.ย. 2554

เรื่องที่ 2 (ฟังเขาเล่ามา) ผู้สอนธรรมะท่านหนึ่งไปบรรยายธรรม ท่านจะย้ำเสมอ

ว่า พูดว่า "เรา" ไม่ได้ เพราะ "เรา" ไม่มี ใครเผลอพูดว่า "เรา" ทีไร ท่านจะเบรกทันที -

เราอีกแล้ว มีแต่สภาพธรรมเกิดขึ้นชั่วขณะจิตหนึ่งแล้วก็ดับไปหมดแล้ว มีเราได้อย่างไร

- วันหนึ่งท่านบรรยายเสร็จก็ออกจากห้องจะไปขึ้นรถ ปรากฏว่ารองเท้าของท่านหาย

ท่านหน้านิ่ว ถามเสียงเครียดว่า ใครเอารองเท้าฉันไป - จบเรื่องที่ 2

---------------------------------------------------------------------------

จากเรื่องที่ 2 แสดงให้เห็นเรื่องของการใช้ภาษาทางโลก เช่น คำว่าเรา เขา เป็นต้น

พระธรรมของพระพุทะเจ้าแสดงตามควาเมป็นจริง ที่เป็นสัจจะคือ ไม่มีเรา ไม่มีสัตว์

บุคคล มีแต่ธรรม อันนี้เป็นความจริงที่ไม่เปลี่ยนแปลงได้เล ย แต่พระธรรมของพระ

พุทธเจ้าทรงแสดงสัจจะ 2 ประการคือ ปรมัตถสัจจะ คือ ความจริงว่ามีแต่ธรรม ไม่มีเรา

มีแต่ ขันธ์ นามธรรมและรูปธรรม และสมมติสัจจะ คือคำสมมติทางโลก เช่น คำว่าเรา

พระราชา เป็นต้น พระพุทธเจ้าและผู้ที่มีความเข้าใจพระธรรมย่อมเป็นผู้ไม่ละสัจจะที่ 2

คือ สมมติสัจจะ คือ สมมติโวหารที่ชาวโลกพูดกันที่จะทำให้สื่อให้เข้าใจกันในเรื่อง

ต่างๆ หากว่าพระองค์ ตรัสแต่สภาพธรรม ก็ย่อมทำให้หมู่มหาชนสงสัย ไม่เข้าใจ เช่น

กล่าวว่า ขันธ์ให้ทาน ขันธ์รักษาศีล ขันธ์กระทำกรรมชั่ว ผู้คนก็สงสัยและไม่เข้าใจใน

พระธรรมเทศนาที่พระองค์ทรงแสดง แต่พระองค์ทรงฉลาดในโวหารทางโลก ย่อมไม่

ทิ้งคำสมมติแต่อาศัยสมมติที่ชาวโลกใช้กันอยู่ แสดงพระธรรมเพื่อให้สัตว์โลกให้เข้าใจ

ปรมัตถสัจจะ คือความจริงในขณะนี้ ด้วยสมมติสัจจะก็ได้ครับ ดังนั้นพระองค์จะไม่ทิ้ง

สมมติทางโลก เช่น คำว่าเรา เขาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
paderm
วันที่ 14 มิ.ย. 2554

ดังนั้นการใช้คำว่าเรา เขา แต่ไม่ได้หมายความว่าจะต้องมีความเห็นผิดว่ามีเรา มี

สัตว์ บุคคลจริงๆ เพราะขณะนั้นไมได้มีความเห็น ว่ามีเรา มีสัตว์ บุคคลในขณะนั้นครับ

ดังข้อความที่อธิบายแล้วในเรื่องที่ 1 แม้แต่พระพุทธเจ้าเองท่านก็ตรัสว่า เราตถาคต

แต่พระองค์ไมได้มีความเห็นผิดเลยว่าเรา มีสัตว์ุบคคลครับ ดังนั้นพูดโดยสมมติทาง

โลก โดยมีความเข้าใจถูกว่าไม่มีเราก็ได้ครับ ซึ่งในตัวอย่างพระไตรปิฎกก็มีเรื่องของ

พระอรหันต์ท่านพูดว่า เรานั่ง เรายืน เราทำอย่างนั้น เราทำอย่างนี้ เทวดาได้ฟังพระ

อรหันต์ท่านพูดอย่างนั้นจึงสำคัญว่า ที่ท่านพูดว่าเรานั้น ยังมีความสำคัญผิดว่ามีเรา

จริงๆ หรือไม่ ซึ่งพระอรหันต์ท่านก็ตอบว่า ท่านไม่ได้ยึดถือว่ามีเรา แต่ท่านธิบายว่า แม้

จะพูดว่าเรา แต่ก็ไมได้มีความยึดถือเพราะท่านฉลาดในโวหารของชาวโลก จึงกล่าว

ตามที่ชาวโลกสมมติกันครับ ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ดีในการพูดคำว่าเราได้ครับในเรื่องนี้

ส่วนเรื่องที่ 2 ที่ผู้ตั้งกระทุ้ยกมาที่ว่า อาจารย์โกรธพูดว่า ถามเสียงเครียดว่า ใครเอา

รองเท้าฉันไป อาจารย์ในขณะนั้นก็ไมได้มีคามเห็นผิดว่าเป็นสัตว์ บุคคลเช่นกัน

เพราะขณะนั้นเป็นโทสมูลจิต ซึ่งทิฏฐิ ความเห็นผิดจะไม่เกิดร่วมกับโทสมูลจิตเลย

ครับ เชิญอ่านข้อความในพระไตรปิฎกครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
paderm
วันที่ 14 มิ.ย. 2554

เรื่อง เทวดาสำคัญผิดว่าเมื่อใช้คำว่าเรา ต้องมีความเห็นผิดพระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 135

๕. อรหันตสูตร

[๖๔] ท. (เทวดา) ภิกษุใดเป็นผู้ไกลจากกิเลส มี

กิจทำเสร็จแล้ว มีอาสวะสิ้นแล้ว เป็นผู้

ทรงไว้ซึ่งร่างกายอันมีในที่สุด ภิกษุนั้น

พึงกล่าวว่า เราพูดดังนี้บ้าง บุคคลทั้งหลาย

อื่นพูดกะเราดังนี้บ้าง.

[๖๕] ภ. (พระอรหันต์) ภิกษุใดเป็นผู้ไกลจากกิเลส มี

กิจทำเสร็จแล้ว มีอาสวะสิ้นแล้ว เป็นผู้

ทรงไว้ซึ่งร่างกายอันมีในที่สุด ภิกษุนั้น

พึงกล่าวว่า เราพูดดังนี้บาง บุคคลทั้งหลาย

อื่นพูดกะเราดังนี้บ้าง ภิกษุนั้นฉลาด

ทราบคำพูดในโลก พึงกล่าวตามสมมติ

ที่พูดกัน. อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
นาวาเอกทองย้อย
วันที่ 14 มิ.ย. 2554

ขอบพระคุณอย่างยิ่งครับ

จากความคิดเห็นที่กรุณาตอบให้ กระผมสรุปได้ว่า

เรื่องที่ 1 เป็นการใช้คำพูดว่า เรา. ของเรา ไปตามโลกโวหาร แต่ไม่มีความเห็น

ผิดว่า มีเรา มีตัวเรา ของเรา

เรื่องที่ 2 เป็นการใช้คำว่า เรา ในแง่ปรมัตถ์เพือเตือนสติผู้ฟังว่า อย่ายึดถือว่ามี

เรา เราเป็น เป็นของเรา โดยที่สุดแม้ในขณะที่กำลังใช้คำว่า เรา ไปตามโลกโวหารนั่น

เอง

อ่านความคิดเห็นแล้ว กระผมยังไม่กล้า Oh I see ! เพราะไม่แน่ใจว่าตัวเองเข้าใจ

ถูกต้องหรือเปล่า จึงต้องสรุปความเข้าใจให้ท่านผู้รู้ฟังก่อน ถ้าที่สรุปมานี้ถูกต้อง กระผม

ก็สว่างกระจ่างใจละครับ

ขอขอบพระคุณที่กรุณาให้หลักคิดที่ดีที่ถูกต้องเสมอมาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
paderm
วันที่ 14 มิ.ย. 2554

เรียนความเห็นที่ 5 ครับ

เข้าใจถูกต้องแล้วครับ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
khampan.a
วันที่ 14 มิ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น คน หรือ สัตว์ไม่มี เรา ไม่มี มีแต่ขันธ์ ๕ (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) ที่เกิดเป็นไปตามเหตุปัจจัย อย่างขณะนี้ทุกๆ ขณะของชีวิตเราในชาตินี้ ก็เป็นเพียงขันธ์ ๕ที่เกิดเพราะเหตุปัจจัยทั้งนั้น เห็นขณะหนึ่ง มีขันธ์ ๕ เกิดขึ้นครบ คือ สิ่งที่ปรากฏทางตา เป็นรูปขันธ์ ตาที่กำลังมีอยู่ในขณะนั้นซึ่งเป็นที่เกิดของจิตเห็น ก็เป็นรูปขันธ์ จิตเห็น (จักขุวิญญาณ) เป็นวิญญาณขันธ์ สัญญาเจตสิกที่เกิดร่วมกับจิตเห็น เป็นสัญญาขันธ์ เวทนาเจตสิกที่เกิดร่วมกับจิตเห็น เป็นเวทนาขันธ์ เจตสิกอื่นๆ ที่เกิดร่วมกับจิตเห็น คือ ผัสสะ เจตนา เอกัคคตา ชีวิตินทรียเจตสิก และ มนสิการ-เจตสิก เป็นสังขารขันธ์ หาความเป็นเรา เป็นสัตว์ เป็นบุคคล ไม่ได้ แต่เพราะมีการเกิดขึันเป็นไปของขันธ์ ๕ ซึ่งเป็นสภาพธรรมที่เกิดดับ (นามธรรมกับ รูปธรรม) จึงมีการสมมติว่าเป็นคนนั้น คนนี้ บุคคลนั้น บุคคลนี้ เป็นเรา เป็นเขา แท้ที่จริงแล้ว มีแต่ธรรมเท่านั้น ครับ ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
นาวาเอกทองย้อย
วันที่ 14 มิ.ย. 2554

สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ

(ขอเสนอให้บันทึก สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ ไว้ในข้อความสั้นด้วยครับ)

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
wannee.s
วันที่ 28 มิ.ย. 2554

สิ่งที่มีจริง มี 4 อย่าง คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน ไม่ใช่สัตว์ บุคคล

ตัวตน ที่เรียกคนนั้น คนนี้ เป็นสมมติบัญญัติ เป็นเรื่องราวที่ไม่มีจริง และ

ถ้าไม่มีธรรมะ ก็จะไม่มีการสมมติว่าเป็นคนนั้น คนนี้ ฯลฯ ค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ