กุศลจิต ที่ไม่มีสติเจตสิกเกิดร่วมด้วย

 
WS202398
วันที่  14 มิ.ย. 2554
หมายเลข  18547
อ่าน  3,154

กุศลจิต ที่ไม่มีสติเจตสิกเกิดร่วมด้วยมีหรือไม่ครับ ขอบคุณครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 14 มิ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

กุศลจิตที่ไม่มีสติเจตสิกเกิดร่วมด้วยไม่มีครับ เพราะสติเป็นสภาพธรรมฝ่ายดี เป็น

โสภณสาธารณะเจตสิก คือ เป็นเจตสิกฝ่ายดีที่เกิดกับจิตฝ่ายดีทุกประเภทครับ ดังนั้น

หากเป็นโสภณจิต มี กุศลจิต เป็นต้นก็ต้องมี สติเจตสิกเกิดร่วมด้วยเสมอ ไม่ว่าจะเป็น

กุศลขั้นทาน ศีล และภาวนา กุศลทุกขั้น ทุกระดับจะต้องมีสติเจตสิกเกิดร่วมด้วยครับ

จะไม่มีกุศลจิตประเภทไหนเลยที่เกิดขึ้นแล้วจะไม่มีสติเจตสิกเกิดร่วมด้วยครับ

เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ.... สติเจตสิก -- โสภณสาธารณเจตสิก

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
chaiyut
วันที่ 14 มิ.ย. 2554

ความจริงสติเกิดกับจิตฝ่ายดีทุกดวง แต่ที่เราไม่รู้เพราะลักษณะของสติไม่ได้ปรากฏกับปัญญาขั้นที่รู้ตรงลักษณะของสติเจตสิกที่เกิดกับกุศลจิตในขณะนั้น เพราะปัญญาขั้นฟังกับปัญญาขั้นคิดพิจารณาธรรม ยังไม่ใช่ปัญญาที่รู้ลักษณะของธรรมประเภทต่างๆ ตามความเป็นจริง และการจะรู้ลักษณะของธรรมทันทีด้วยปัญญาขั้นนั้น เป็นสิ่งที่ยากต้องอาศัยการฟังเรื่องของสภาพธรรมที่มีจริง ซึ่งกำลังปรากฏในขณะนี้บ่อยๆ เนืองๆ สั่งสมความเข้าใจไปจนกว่าจะปัญญาจะมีเหตุปัจจัยปรุงแต่งให้เข้าถึงลักษณะของธรรมที่มีเป็นปกติในชีวิตประจำวัน ประการที่สำคัญอีกอย่างคือ ความรู้ความเข้าใจธรรมต้องเป็นไปตามลำดับขั้น และต้องเป็นความเข้าใจถูกจริงๆ โดยมีความเห็นที่ตรงในความเป็นอนัตตาของสภาพธรรม ว่าไม่สามารถที่จะเลือกระลึกธรรมที่ต้องการรู้ได้ด้วยความเป็นตัวตน จนกว่าจะมั่นคงว่าทั้งหมดเป็นธรรม ไม่ใช่เรา เมื่อนั้นก็จะค่อยๆ เข้าใจถูกว่า หน้าที่รู้สภาพธรรมที่ได้ยินได้ฟังแล้วเข้าใจ แท้จริงนั้นเป็นหน้าที่ของปัญญา ส่วนธรรมฝ่ายดีที่เกิดร่วมกับปัญญานั้น ล้วนต่างก็อุปการะเกื้อกูลการรู้ถูกในสภาพธรรมของปัญญาเช่นกัน ถ้าสติไม่ระลึกที่ลักษณะของสภาพธรรม ปัญญาก็รู้ชัดในสภาพธรรมนั้นไม่ได้ ธรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะฝ่ายกุศล หรือ อกุศล ต่างก็ต้องอาศัยเหตุปัจจัยจึงจะเกิดได้ แต่การรู้ลักษณะของธรรม ต้องรู้ด้วยธรรมฝ่ายกุศลที่ประกอบด้วยปัญญา ที่มาจากการอบรมตั้งแต่เบื้องต้น คือ การฟังพระธรรมที่ถูกต้องเท่านั้นครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 14 มิ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ธรรม เป็นสิ่งที่มีจริง สิ่งที่มีจริงนั้น เป็นจริงอย่างไรก็เป็นจริงอย่างนั้น ไม่มีใครสามารถไปเปลี่ยนแปลงลักษณะของสภาพธรรมนั้นๆ ให้เป็นอย่างอื่นไปได้ สติ ก็เช่นเดียวกัน เป็นธรรมที่มีจริง เป็นสภาพธรรมที่ระลึกเป็นไปในกุศล ในทานบ้าง ศีล บ้าง ภาวนาบ้าง ถ้าไม่มีสติ กุศลจิตรวมถึงเจตสิกฝ่ายดีอื่นๆ ก็เกิดขึ้นไม่ได้ แต่ในทางตรงกันข้าม ขณะที่เป็นอกุศล ไม่มีสติ ชีวิตในวันหนึ่งๆ ที่เต็มไปด้วยอวิชชา ความหลง ความไม่รู้ โลภะ ความติดข้องยินดีพอใจในสิ่งหนึ่งสิ่งใด หรือ โทสะ ความโกรธ ความขุ่นเคืองใจ เป็นต้น ขณะนั้นหลงลืมสติ ไม่เป็นกุศล ไม่สามารถที่จะพิจารณาสภาพธรรมในชีวิตประจำวันได้ตามความเป็นจริง จนกว่าสติจะเกิดเมื่อใด มีการระลึกได้แม้ในเหตุในผล ในความถูกต้อง ในความเหมาะควรในชีวิตประจำวันขณะใด ขณะนั้นก็เป็นการเกิดขึ้นของสติ ซึ่งจะเห็นได้ว่า ไม่ว่าจะเป็นยุคใด สมัยใด การที่กุศลธรรมจะเกิดขึ้นได้นั้น ก็เพราะสติเกิดขึ้น ครับ ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
SOAMUSA
วันที่ 14 มิ.ย. 2554

อนุโมทนาค่ะ แล้วถ้าคนเมาใส่บาตรพระตอนเช้าละค่ะ

มีคนเมาใส่บาตรพระตอนเช้าจริงๆ ค่ะ อยากทราบ รบกวนด้วยค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
paderm
วันที่ 14 มิ.ย. 2554

เรียนความเห็นที่ 4 ครับ

สภาพธรรมที่เป็นจิต เจตสิกเกิดดับเร็วมากครับ อกุศลจิต เกิดดับ สลับกับ กุศล

จิตอย่างรวดเร็วไม่รู้เลย เช่น ขณะที่ฟังพระธรรม โดยทั่วไปเราก็เข้าใจว่าเป็นกุศล

แต่ขณะที่ี่ฟังพระธรรม ก็มีกุศลจิตเกิดขึ้น สลับ กับอกุศลจิตด้วยครับ ขณะที่เข้าใจ

ขณะนั้นก็เป็นกุศล แต่ขณะที่ไม่เข้าใจ ขณะที่คิดฟุ้งซ่านเรื่องอื่นในขณะที่ฟังธรรม

ขณะนั้นจะเป็นกุศลไม่ได้ ก็ต้องเป็นอกุศลจิตครับ นี่แสดงให้เห็น ฝ่ายกุศลคือการฟัง

พระธรรมก็ยังมีการเกิดดับ สลับกันของ อกุศลจิตด้วยครับ

แม้การดื่มสุรา ขณะที่ดื่ม ด้วยด้วยอกุศลจิตแน่นอนครับ แต่ขณะอื่นๆ ก็อาจเป็นกุศล

จิตได้ เพราะจิตเกิดดับสลับกันอย่างรวดเร็ว คิดที่จะให้ทานก็ได้ แม้ในช่วงเวลานั้น

ดังนั้น ขณะที่คิดจะให้ ขณะที่กำลังให้ เพื่อประโยชน์กับผู้อื่น จิตขณะนั้นก็เป็นกุศล

แล้วครับ แม้จะเล็กน้อยก็ตามแต่ก็เป็นกุศล หลังจากจิตนั้นดับไปก็เป็นอกุศลจิตเกิดต่อ

มากมายนับไม่ถ้วนก็ได้ครับ ดังนั้นการตัดสินสภาพจิตของบุคคลใด ไม่ใช่เพียงมอง

เป็นเรื่องราวยาวๆ แต่ต้องเป็นขณะจิตแต่ละขณะของบุคคลนั้นที่เกิดขึ้น เพราะฉะนั้น

กุศลจิตจึงเกิดแทรกกับอกุศลจิตที่เกิดมากมาย มีการให้ทาน เป็นต้นครับ ซึ่งขณะที่เป็น

กุศลจิตคิดจะให้และกำลังให้ ก็ต้องมีสติในขณะนั้น มีสติเจตสิกที่ระลึกเป็นไปในกุศลที่

จะให้นั่นเองครับ แต่ขณะที่กำลังเป็นอกุศล ไม่ว่าจะเมา หรือ ไม่เมาก็ตาม จะไม่มีสติ

เจตสิกเลยครับ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
SOAMUSA
วันที่ 15 มิ.ย. 2554

กราบขอบพระคุณในธรรมทานของ อาจารย์ทุกท่านค่ะ

ได้เข้าใจแล้ว ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
bsomsuda
วันที่ 15 มิ.ย. 2554

จาก ความคิดเห็นที่ 3 โดย อ.คำปั่น

"...จนกว่าสติจะเกิดเมื่อใด

มีการระลึกได้แม้ในเหตุในผล ในความถูกต้อง ในความเหมาะควรในชีวิตประจำวันขณะใด

ขณะนั้นก็เป็นการเกิดขึ้นของสติ.."

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
WS202398
วันที่ 15 มิ.ย. 2554

เคยได้ยินมาว่าบำเพ็ญกุศลเพิ่มขึ้นเรื่อยเป็นขั้นๆ เป็นการสะสม ซึ่งโดยทั่วไปก็กล่าวถึง

ทาน ศีล ภาวนา จริงอยู่ว่าทั้งสามประการไม่จำเป็นต้องเกิดตามลำดับ แต่โดยความเข้า

ใจอย่างกว้างโดยนัยความยากง่ายก็ว่าภาวนายากกว่าศีล ศีลยากกว่าทาน จึงกล่าวว่า

ทาน ศีล ภาวนา ข้อนี้ไม่ีรู้ว่าตรงหรือไม่

ที่กล่าวถึงประเด็นข้างต้นเพราะเกี่ยวด้วยที่ีสติเกิดกุศลจิตทุกดวงก็เลยเกิดความอยากรู้

สองประการคือ

1.สติเจตสิก มีความสัมพันธ์อย่างไรกับเจตสิกอื่นๆ ที่เกิดร่วมกัน เข้าใจว่าน่าจะมีความ

สัมพันธ์พิเศษเพราะสติเกิดกับกุศลจิตทุกดวง บทบาทของสติคืออะไร เช่นกุศลขั้น

ทาน สติทำบทบาทอะไร ขั้นศีล ทำบทบาทอะไร ขั้นภาวนาทำหน้าที่อะไร

2.ในเมื่อสติเกิดกับกุศลจิตทุกดวง ถ้าจะสันนิษฐานว่า การเจริญกุศลทุกประการก็เป็น

การทำให้เกิดสติบ่อยๆ ไปในตัวด้วย แม้ว่ามิใช่สติปัฏฐาน แต่ก็เป็นสติเจตสิกเช่นเดียว

กัน น่าจะเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สติปัฏฐานเกิดได้ต่อไป เป็นปัจจัยแก่กัน เช่นนี้เข้าหลัก

การหรือเปล่าครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
paderm
วันที่ 15 มิ.ย. 2554

เรียนความเห็นที่ 8 ครับ

1.สติเจตสิก มีความสัมพันธ์อย่างไรกับเจตสิกอื่นๆ ที่เกิดร่วมกัน เข้าใจว่าน่าจะมีความ

สัมพันธ์พิเศษเพราะสติเกิดกับกุศลจิตทุกดวง บทบาทของสติคืออะไร เช่นกุศลขั้น

ทาน สติทำบทบาทอะไร ขั้นศีล ทำบทบาทอะไร ขั้นภาวนาทำหน้าที่อะไร

---------------------------------------------------------------------

สภาพธรรมทั้งหลายย่อมมีกิจ มีหน้าที่ของสภาพธรรมแต่ละอย่าง สติก็มีกิจ มีหน้าที่

ของเขาเช่นกันครับ ดังนั้นบทบาท หรือหน้าที่ของสติ คือ ทำหน้าที่ระลึก ขณะที่เป็น

กุศลขั้นทาน มี สติเกิดร่วมด้วย ทำหน้าที่ระลึก ระลึกที่จะให้ เป็นต้น ขณะที่งดเว้นจาก

บาปทางกาย วาจา ที่เป็นศีล ขณะนั้นมีสติเกิดร่วมด้วย ระลึกที่จะงดเว้นที่จะไม่ทำบาป

ในขณะนั้น ขณะที่อบรมสมถภาวนา มีการเจริญพุทธานุสติ ชื่อก็บอกว่ามีสติ ดังนั้น

สติเกิดแล้วในขณะนั้น ทำหน้าที่ระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้าครับ ขณะที่อบรม

วิปัสสนา หรือ ขณะที่สติปัฏฐานเกิด ขณะนั้นมีสติเกิดร่วมด้วย พร้อมกับปัญญาและ

เจตสิกอื่นๆ สติทำหน้าที่ระลึกตัวลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฎ ปัญญาทำ

หน้าที่รู้ตามความเป็จริงของสภาพธรรม ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา

ดังนั้นสติเป็นสภาพธรรมที่สำคัญ เพราะสติเป็นธรรมที่เป็นครื่องกั้นกระแสกิเลส

คือ ขณะที่สติเกิดย่อมระลึกเป็นไปในกุศล ย่อมห้ามกิเลสที่จะเกิดขึ้นครับ ส่วนสภาพ

ธรรมอื่นๆ ที่เกิดร่วมกับสติก็ทำหน้าที่ของสภาพธรรมแต่ละอย่างกันไปครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
paderm
วันที่ 15 มิ.ย. 2554

2.ในเมื่อสติเกิดกับกุศลจิตทุกดวง ถ้าจะสันนิษฐานว่า การเจริญกุศลทุกประการก็เป็น

การทำให้เกิดสติบ่อยๆ ไปในตัวด้วย แม้ว่ามิใช่สติปัฏฐาน แต่ก็เป็นสติเจตสิกเช่นเดียว

กัน น่าจะเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สติปัฏฐานเกิดได้ต่อไป เป็นปัจจัยแก่กัน เช่นนี้เข้าหลัก

การหรือเปล่าครับ

-----------------------------------------------------------------------

สติเกิดกับกุศลทุกประเภทครับ แต่ไม่ได้หมายความผู้ที่ไมได้ฟังให้เข้าใจ ในเรื่อง

การเจริญวิปัสสนาหรือสติปัฏฐานเลย แต่เจริญกุศลแต่ขั้น ทาน ศีล สมถภาวนา ซึ่ง

ก็มีสติเกิดร่วมด้วย จะเป็นปัจจัยให้สติปัฏฐาน หรือ การเจริญวิปัสสนาเกิดขึ้นครับ

เพราะเป็นสติต่างระดับกัน จึงไม่เป็นปัจจัยให้สติปัฏฐานเกิดเพราะอบรมสติ กุศลขั้น

อื่นๆ เหตุไม่ตรงกับผลครับ ดังเช่น ก่อนพุทธกาล ก่อนพระพุทธเจ้าจะอุบัติขึ้น ก็มีผู้

เจริญกุศลมากมาย มีการให้ทาน และรักษาศีล รวมทั้งเจริญสมถภาวนาจนถึงได้ฌาน

8 อันฌานสูงสุด และก็เกิดกุศลจิตต่อเนื่องเพราะเข้าฌาน สติก็ย่อมเกิดบ่อยในขณะ

นั้น แต่สตินั้นไม่ใช่เป็นปัจจัยให้สติปัฏฐานหรือการเจริญวิปัสสนาเกิดเลยครับ ก็ไม่มี

การบรรลุธรรม ไม่มีการเจริญสติปัฏฐานเลยครับ แม้จะเจริญสมถภาวนาจนถึงได้ฌาน

8 สติเกิดบ่อยๆ ครับ ดังนั้นเหตุให้สติปัฏฐานเกิด คือการฟังให้เข้าใจในเรื่องของสภาพ

ธรรมที่มีจริงในขณะนี้ ว่าเป็นธรรม นี่เท่ากับอบรมเหตุที่ถูกต้อง เกิดสัญญา ความจำที่

พร้อมกับปัญญา ความเข้าใจในเรื่องของสภาพธรรม จนอบรมเหตุที่ตรงกันก็ย่อมทำให้

ถึงคือ สติปัฏฐานเกิดได้ในอนาคต เพราะอบรมจากเหตุที่ถูกต้องคือการฟังเรื่องสติ

ปัฏฐาน เรื่องสภาพธรรมครับ

ส่วนกุศลประการต่างๆ จะเกื้อหนุนให้สติปัฏฐานเกิดได้ง่ายขึ้นก็เพราะบุคคลนั้นมี

การอบรมการฟังเรื่องการเจริญสติปัฏฐาน มีความเข้าใจเรื่องสติปัฏฐานอยู่แล้วไม่ใช่

ไม่มีเลยครับ แต่เพราะอาศัยความเข้าใจเรื่องสติปัฏฐานที่อบรมอยู่พร้อมกับการเจริญ

กุศลประการต่างๆ ด้วยก็เกื้อกูลกันในการเจริญสติปัฏฐานครับ แต่ถ้าขาดการฟังเรื่อง

สภาพธรรม เรื่องสติปัฏฐานที่เป็นเหตุตรงที่จะทำให้เกิดสติปัฏฐาน แต่มุ่งที่จะเจริญ

กุศลอื่นๆ ก็จะทำให้สติปัฏฐานแทนที่จะเกิดก็เกิดกุศลประการอื่นๆ สติขั้นอื่นแทนครับ

ดังนั้นก็ต้องควบคู่กันไปและมีความเข้าใจถูกว่า เหตุให้เกิดสติฏฐานคือการฟังพระ

ธรรมเรื่องสภาพธรรมและเรื่องสติปัฏฐานครับ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
WS202398
วันที่ 15 มิ.ย. 2554

...สติระลึกที่จะให้...

...สติระลึกที่จะงดเว้น...

...สติระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้า...

...สติระลึกตัวลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฎ...

...ขณะที่สติเกิดย่อมระลึกเป็นไปในกุศล...

สติ คือสติเจตสิก ดังนั้นก็มีอารมณ์เดียวกับ จิตที่เกิดร่วมด้วย

ดังนั้นสติทำหน้าที่ระลึก ก็ต้องมีสิ่งที่ถูกระลึก สิ่งที่ถูกระลึกก็คืออารมณ์ ซึ่งเป็นอารมณ์

เดียวกับอารมณ์ของจิตที่เกิดร่วมด้วยสรุปเช่นนี้ถูกต้องหรือเปล่าครับ

เวลาจิตคิดจะให้ทาน บางขณะก็มีวัตถุที่จะให้เป็นอารมณ์ บ้างก็ผู้รับให้เป็นอารมณ์ บ้าง

ก็ตัวผู้ให้เป็นอารมณ์ การให้ทานนั้นจิตมีหลายอย่างเป็นอารมณ์ แล้วมีเจตสิกดวงใด

เป็นพิเศษที่เกี่ยวกับการให้หรือไม่ครับ คือผมกำลังพิจารณาว่าขณะจิตที่เกิดขึ้นมากมาย

ในขณะอาการที่บัญญัติว่ากำลังให้นั้น ขณะใดมีสติขั้นทานเกิดร่วมด้วยและสตินั้นมี

อะไรเป็นอารมณ์ และมีเจตสิกใดเป็นเครื่องหมายพิเศษในการให้ทาน อีกทั้งที่เคยได้ฟัง

มากุศลเกี่ยวด้วยทานนั้นมีทั้งตอนก่อนให้ ขณะให้ หลังให้ จึงสันนิษฐานว่า ที่เรียกว่า

ทานนั้น จิตมีอารมณ์หลายอย่าง เป็นผลให้สติที่เกิดร่วมด้วยมีอารมณ์หลายอย่างตาม

ไปด้วย ทั้งที่เรียกว่าเป็นทานจิตเหมือนกัน

สตินับเป็นธรรมตัดสินว่าจิตเป็นกุศลหรืออกุศล ผมถึงสนใจว่าในขณะที่ใ่ช้คำว่า"หลง

ลืมสติ" หลงก็คือพลาดไป ลืมคือมิได้นึกถึงตรึกถึง พอถึงตรงนี้ วิตกเจตสิก กับ สติ

เจตสิกดูเหมือนจะแยกกันยากมากครับแม้โดยปัญญาขั้นคิดนึก จริงอยู่วิตกเจสติกเกิด

กับจิตทุกดวงทำหน้าที่ตรึกถึงอารมณ์ แต่สติมีหน้าที่ระลึกรู้อารมณ์เหมือนกัน แต่ก็อีกนั่น

แหละอารมณ์ก็ไม่ได้เป็นสิ่งตัดสินว่าจิตเป็นกุศลและอกุศล อารมณ์เดียวกันในคนเดียว

กันต่างขณะกันบางขณะอาจเป็นกุศลหรืออกุศลก็ได้ ดังนั้นความต่างระหว่างกุศลจิตกับ

อกุศลจิตจึงมาสรุปรวมที่ ถ้าจิตมีสติเกิดร่วมด้วยก็หมายความว่าจิตไม่มี ราคะ โทสะ

โมหะ เกิดร่วมด้วย ถ้าจิตดวงใดไม่มีสติเกิดร่วมด้วย ก็มี ราคะ โทสะ โมหะ เกิดร่วมด้วย

กล่าวอีกนัยหนึ่งจิตขณะใดไม่มีราคะโทสะโมหะก็มีสติ ถ้ามีสติก็ไม่มีราคะโทสะ โมหะ

ไม่เกี่ยวด้วยเลยว่าอารมณ์ของจิตคืออะไร

ดังนั้น สติระลึกรู้อะไร จึงปรุงแต่งให้จิตไม่มีราคะ โทสะ โมหะ ในขณะนั้น สติเป็นปัจจัย

แก่อโลภะ อโทสะ อโมหะหรือไม่ครัีบ ถ้าว่าจิตระลึกรู้อารมณ์ ก็อารมณ์ไม่ใช่ตัวตัดสินว่า

จิตจะเป็นกุศลหรืออกุศล แต่จิตขณะใดมีสติเกิดร่วมด้วยอารมณ์ของจิต ก็เป็นอารมณ์

ของกุศลจิตได้ทุกอารมณ์

มาถึงตอนนี้ผมขอทราบจากท่านผู้รู้่ช่วยยกตัวอย่าง ขณะจิตหนึ่งขณะ ที่เป็นทานกุศล

จิตหนึ่งดวง ว่าประกอบด้วยเจตสิกใดบ้างครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
paderm
วันที่ 15 มิ.ย. 2554

เรียนความเห็นที่ 11 ครับ

ขณะที่กุศลขั้นทานเกิด ประกอบด้วย เจตสิกได้ดังนี้

สัพพจิตตสาธารณเจตสิก 7 ดวงเจตสิกที่ทั่วไปแก่จิตทั้งปวง หมายถึง เจตสิก ๗ ดวงที่เป็นสาธารณะคือต้องเกิดกับจิตทุกดวง จิตที่มีเจตสิกเกิดร่วมด้วยน้อยที่สุด ได้แก่ ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ ก็ต้องมีเจตสิก ๗ ดวงนี้ คือ ๑. ผัสสเจตสิก ๒. เวทนาเจตสิก ๓. สัญญาเจตสิก ๔. เจตนาเจตสิก ๕. เอกัคคตาเจตสิก

๖. ชีวิตินทริยเจตสิก ๗. มนสิการเจตสิก

ปกิณณกเจตสิก ๖ ดวง เกิดขึ้นในขณะให้ทาน แต่ถ้าไม่มีปิติ ก็เลย 5 ดวงครับ

วิตักเจตสิก วิจารเจตสิก อธิโมกขเจตสิก วิริยเจตสิก ปีติเจตสิก ฉันทเจตสิกโสภณสาธารณเจตสิก 19 ดวงเจตสิกที่ทั่วไปแก่โสภณจิต หมายถึง เจตสิก ๑๙ ดวงที่เกิดกับโสภณจิตทุกดวง ๑. ศรัทธา ๒. สติ ๓. หิริ ๔. โอตตัปปะ ๕. อโลภะ ๖. อโทสะ ๗. ตัตตรมัชฌัตตตา ๘. กายปัสสัทธิ ๙. จิตตปัสสัทธิ ๑๐. กายลหุตา ๑๑. จิตตลหุตา ๑๒. กายมุทุตา ๑๓. จิตตมุทุตา ๑๔. กายกัมมัญญตา ๑๕. จิตตกัมมัญญตา ๑๖. กายปาคุญญตา ๑๗. จิตตปาคุญญตา

๑๘. กายุชุกตา ๑๙. จิตตุชุกตาและปัญญาเจตสิก ก็เกิดได้ หากมีปัญญาเกิดในขณะที่ให้ทานครับ แต่ถ้าให้แต่ไม่มี

ปัญญาก็ได้ ก็ไม่มีปัญญาเจตสิกครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
WS202398
วันที่ 15 มิ.ย. 2554

ขอบพระคุณมากครับสำหรับคำตอบ ผมจะได้ิใช้พิจารณาศึกษาต่อไป หากติดขัดก็จะขอความกรุณาถามข้อสงสัยต่อไปครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
WS202398
วันที่ 15 มิ.ย. 2554

กุศลจิต กับโสภณจิต ความหมายเหมือนกันหรือเปล่าครับ

ถ้าโสภณสาธารณเจตสิก 19 ดวง หมายถึง เกิดกับกุศลจิตทุกดวงหรือเปล่าครับ หรือว่า โสภณจิต คือโลกียะกุศลจิต

อย่างไรก็ตาม เจตสิกที่เกิดกับโสภณจิตทุกดวงก็มีตั้ง 19 ชนิดใช่ไหมครับ

ถ้าโสภณจิต คือกุศลจิต ก็หมายความว่า นอกจาก สติเจตสิก ซึ่งเกิดกับกุศลจิตทุกดวงแล้ว ยังมีโสภณสาธารณเจตสิกอีกตั้ง 18 ดวง ที่เกิดกับกุศลจิตทุกดวงเช่นกัน

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
paderm
วันที่ 15 มิ.ย. 2554

เรียนความเห็นที่ 14 ครับ

กุศลจิต กับโสภณจิต ความหมายเหมือนกันหรือเปล่าครับ

กุศลจิต กับ โสภณจิต ไม่เหมือนกันทีเดียวครับ โสภณจิต คือ จิตที่ดีงาม อันประกอบ

ด้วยเจตสิกฝ่ายดี จึงเรียกว่าโสภณจิต เพราะฉะนั้น จิตใดที่ประกอบด้วยเจตสิกฝ่ายดี

มี ศรัทธา สติ หิริ เป็นต้น จิตนั้นเป็นโสภณจิต เพราะฉะนั้น จิตที่ประกอบด้วยเจตสิก

ฝ่ายดีเหล่านี้ ก็มีทั้งกุศลจิต กิริยาจิตบางประเภทที่เป็นของพระอรหันต์เพราะจิตของ

พระอรหันต์ท่านก็มีศรัทธาได้ด้วยครับ กิริยาจิตบางประเภทจึงเป็นโสภณจิตและ

วิบากจิต บางประเภทก็เป็นโสภณจิต เพราฉะนั้น โสภณจิตจึงกว้างกว่า กุศลจิตครับ

กุศลจิตเป็นส่วนหนึ่งของโสภณจิตครับ

--------------------------------------------------------------------

ถ้าโสภณสาธารณเจตสิก 19 ดวง หมายถึง เกิดกับกุศลจิตทุกดวงหรือเปล่าครับ หรือว่า

โสภณจิต คือโลกียะกุศลจิต

โสภณสาธารณเจตสิก 19 ดวง เกิดกับโสภณจิตทุกประเภท รวมทั้งเกิดกับกุศลจิต

ทุกประเภทครับ โสภณจิต มีทั้งที่ที่เป็นโลกียกุศลและโลกุตตรกุศลครับ

---------------------------------------------------------------------------

อย่างไรก็ตาม เจตสิกที่เกิดกับโสภณจิตทุกดวงก็มีตั้ง 19 ชนิดใช่ไหมครับ ถ้า โสภณ

จิต คือ กุศลจิต ก็หมายความว่า นอกจาก สติเจตสิก ซึ่งเกิดกับกุศลจิตทุกดวงแล้ว ยังมี

โสภณสาธารณเจตสิกอีกตั้ง 18 ดวง ที่เกิดกับกุศลจิตทุกดวงเช่นกัน

โสภณจิตไม่ใช่กุศลจิตตามที่กล่าวมา แต่โสภณสาธารณเจตสิก 19 ดวง เกิดกับ

โสภณจิตทุกประเภท ที่เป็นชาติวิบาก ชาติกิริยาและชาติกุศล และเกิดกับกุศลจิตทุก

ประเภทครับ รวมทั้งสติเจตสิกก็เกิดด้วยครับ ขออนุโมทนา

เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ...โสภณจิต

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
ลุงหมาน
วันที่ 18 มิ.ย. 2554

เจตสิก 52 ดวง

1. เอกุปปาทะ เกิดพร้อมกับจิต

2. เอกนิโรธะ ดับพร้อมกับจิต

3. เอกาลัมพนะ มีอารมณ์เดียวกันกับจิต

4. เอกวัตถุกะ มีที่อาศัยเกิดอย่างเดียวกับจิต

มีลักษณะครบทั้ง 4 ประการดังกล่าวนี้แล้วก็ได้ชื่อว่าเจตสิก

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
wannee.s
วันที่ 18 มิ.ย. 2554

ขณะที่สติเกิดระลึกเป็นไปในทาน ในศีล ในภาวนา กุศลเกิดมีสติเกิดร่วมด้วย

แต่ไม่ประกอบด้วยปัญญาก็ได้ แต่ขณะทีปัญญาเกิด ต้องมีสติเกิดร่วมด้วยค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 18  
 
WS202398
วันที่ 20 มิ.ย. 2554

ขอบพระคุณสำหรับ แผนภูมิครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ