อยู่อย่างพอเพียง คือ อยู่อย่างมีความสุข

 
kanchana.c
วันที่  14 มิ.ย. 2554
หมายเลข  18552
อ่าน  5,937

ปัจจุบันนี้ คำว่า “พอเพียง” เป็นคำที่คุ้นหูมาก พูดกันบ่อยๆ แต่จะเข้าใจกันมากน้อยแค่

ไหนนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง บางคนคิดว่า พอเพียง คือ ต้องมีน้อยๆ มีมากไม่ได้ อยู่สบายๆ

ไม่ได้ ต้องลำบากขัดสน ถึงจะเรียกว่า “พอเพียง” หรือถ้ามีมาก ก็ต้องมาแจกจ่ายให้คน

ไม่มี หรือคนไม่มีก็ต้องคอยรับจากผู้ที่มีมากกว่า ที่จริงนั้นไม่ได้เป็นอย่างนั้นเลย

“พอเพียง” ก็คือสันโดษ พอเพียงตามมีตามได้ พอเพียงตามกำลัง พอเพียงตามสมควร

แก่กรรมที่ทำไว้แล้ว เพราะว่าชีวิตใครจะเป็นอย่างไร ก็เพราะกรรมที่ทำให้เกิดมาเป็นคน

นี้ และได้รับผลของกรรมตามที่ทำไว้เอง บางคนก็ร่ำรวยมหาศาล ก็อยู่อย่างพอเพียงได้

คือ พอใจและเป็นสุขตามที่มี ไม่ต้องการให้ยิ่งไปกว่าที่มี บางคนที่ลำบากยากจน ก็พอ

ใจและเป็นสุขตามสภาพของตน ทำงานหาเลี้ยงชีพเต็มกำลังความสามารถที่มีอยู่ ก็เป็น

สุขได้

แต่ที่จะมีความสุขในทุกสถานการณ์ได้นั้น ก็ต้องเป็นผู้มีปัญญา เข้าใจสภาพธรรมตาม

ความเป็นจริงว่า ทุกอย่างเป็นธรรม เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยที่ได้กระทำไว้แล้ว ไม่ว่าจะร่ำ

รวยหรือยากจน ก็ล้วนแต่เป็นธรรม ที่ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน

และการที่จะเป็นผู้ปัญญานั้น ก็ไม่ใช่อยู่เฉยๆ ก็จะมีปัญญา ต้องศึกษาพระธรรมคำสอน

ของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงแสดงไว้โดยละเอียดจนเกิดความเข้าใจลักษณะ

ของสภาพธรรมที่ปรากฏตามความเป็นจริง ซึ่งปัญญานี้มีค่าที่ประมาณไม่ได้ เพราะไม่ได้

เกิดขึ้นได้โดยง่ายเลย จะไปหาซื้อด้วยทรัพย์สมบัติมากมายมหาศาลอย่างใด ก็ไม่ได้

เพราะต้องสะสมเองด้วยศรัทธา วิริยะ ขันติ และเคยสะสมบุญไว้ในปางก่อนด้วย

ทั้งหมดนี้ได้ฟังมาจากท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ค่ะ กราบขอบพระคุณทุกครั้ง

ที่ทำให้เกิดความเข้าใจเพิ่มขึ้น


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 14 มิ.ย. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนา อาจารย์กาญจนา ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 14 มิ.ย. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 14 มิ.ย. 2554

"...ซึ่งปัญญานี้มีค่าที่ประมาณไม่ได้ เพราะไม่ได้

เกิดขึ้นได้โดยง่ายเลย จะไปหาซื้อด้วยทรัพย์สมบัติมากมายมหาศาลอย่างใด ก็ไม่ได้

เพราะต้องสะสมเองด้วยศรัทธา วิริยะ ขันติ และเคยสะสมบุญไว้ในปางก่อนด้วย..."

.........

เมื่อเข้าใจ จึงรู้ว่า ทำไม? ความ "เข้าใจ" (ปัญญา) จึงมีค่านักหนาในชีวิตนี้ที่ได้เกิดมา

เมื่อ "ไม่เข้าใจ" แม้ใครๆ จะบอก อย่างไร ก็ไม่เข้าใจ

แล้วจะ (ให้ใคร?) ทำอย่างไร?

ตัวใคร? ก็ ตัวใคร?

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 15 มิ.ย. 2554

พอเพียงคือสันโดษ..พอเพียงในสิ่งที่ตนมีอยู่..ตามมีตามได้เพราะมีเหตุที่ได้กระทำแล้วในอดีต..เป็นกุศล (สุข) แม้ในขณะที่คิด แต่ความมั่นคง..ที่จะพอเพียงจริงๆ ..จะต้องเจริญปัญญาที่เริ่มต้นด้วยการฟัง ศึกษาธรรมะพระธรรมคำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงแสดงไว้โดยละเอียดจนเกิดความเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏตามความเป็นจริง..จึงเป็นหนทางดับความไม่พอเพียงได้ตามลำดับ ----------------- ขออนุโมทนาคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
เรือนแก้ว
วันที่ 15 มิ.ย. 2554

กราบอนุโมทนาค่ะ ฟังพระธรรมต่อไปเพื่อละความไม่รู้

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
khampan.a
วันที่ 15 มิ.ย. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลจิตของอาจารย์กาญจนา ด้วยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
SOAMUSA
วันที่ 16 มิ.ย. 2554

กราบขอบพระคุณค่ะ

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านค่ะ

สาธุ สาธุ สาธุ

ขอให้ดิฉันมีศรัทธา วิริยะ ขันติ ที่มั่นคงด้วย สาธุค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
bauloy
วันที่ 16 มิ.ย. 2554

ขอขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
bsomsuda
วันที่ 17 มิ.ย. 2554

"..แต่ที่จะมีความสุขในทุกสถานการณ์ได้นั้น

ก็ต้องเป็นผู้มีปัญญา เข้าใจสภาพธรรมตามความเป็นจริงว่า..

ทุกอย่างเป็นธรรม เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยที่ได้กระทำไว้แล้ว

ไม่ว่าจะร่ำรวยหรือยากจน ก็ล้วนแต่เป็นธรรม ที่ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน.."

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาในกุศลจิตของพี่แดงและทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
สมศรี
วันที่ 17 มิ.ย. 2554

ธรรมเป็นเรื่องละเอียด ลึกซึ้ง เมื่อได้อ่านบทความสั้นๆ นี้แล้ว ได้ข้อคิดที่เป็นจริงในชีวิตประจำวัน การใช้ชีวิตตามอัตภาพอย่างมีสาระ ด้วยการศึกษาพระธรรม สะสมความเข้าใจธรรมที่ถูกต้องอย่างไม่ท้อถอย เพื่อขัดเกลากิเลสเป็นลำดับๆ ไป ขอบพระคุณและอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
wirat.k
วันที่ 17 มิ.ย. 2554
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
มกร
วันที่ 18 มิ.ย. 2554
การศึกษาพระธรรมต้องเป็นผู้ละเอียด กราบอนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
pamali
วันที่ 20 มิ.ย. 2554
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ