ปัญหาในต้นเรื่องมิลินทปัญหา

 
นาวาเอกทองย้อย
วันที่  14 มิ.ย. 2554
หมายเลข  18553
อ่าน  2,277

ในต้นเรื่องคัมภีร์มิลินทปัญหา ท่านเล่าไว้ว่า พระยามิลินท์เสด็จไปเที่ยวถาม

ปัญหาธรรมกับเจ้าลัทธิต่างๆ เช่น ครูทั้งหก เป็นต้น แล้วจึงได้มาสนทนาธรรมกับพระ

นาคเสนเถระ จนเกิดความเลื่อมใสและยอมรับนับถือพระพุทธศาสนาในที่สุด

ก็ครูทั้งหก เช่น สัญชัยเวลัฏฐบุตร (ที่เป็นอาจารย์ของท่านอุปติสสะ [พระสารี

บุตร] กับท่านโกลิตะ [พระมหาโมคคัลลานะ] สมัยที่บวชเป็นปริพาชก) นิครนถ์นาฏบุตร

(ที่เป็นเจ้าสำนักชีเปลือย) เป็นต้นนั้น เป็นบุคคลร่วมสมัยกับพระพุทธเจ้าทั้งนั้น ส่วน

พระยามิลินท์นั้นมีตัวจริงในประวัติศาสตร์ เป็นกษัตริย์เชื้อชาติกรีก มีพระนามว่า เมนัน

เดอร์ (Menander) ครองแคว้นโยนกในชมพูทวีประหว่าง พ.ศ. 423 - 453 คือเกือบ

500 ปีหลังพุทธปรินิพพาน ซึ่งเป็นเวลาที่ครูทั้งหกล่วงลับดับขันธ์ไปช้านานแล้ว พระ

ยามิลินท์จะไปเที่ยวสนทนาธรรมกับครูทั้งหกได้อย่างไร?

ขอความกรุณาท่านผู้รู้ได้ชี้แนะหลักคิดในประเด็นข้างต้นนี้ ว่าพิจารณาอย่างไรจึง

จะไม่ลดทอนศรัทธาอันจะพึงมีต่อคัมภีร์มิลินทปัญหาลงไป เพราะแสดงเรื่องที่ผิดข้อ

เท็จจริงทางประวัติศาสตร์ เลยทำให้เห็นว่าเป็นคัมภีร์ที่ไม่น่าเชื่อถือ - ขอขอบพระคุณ

ครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 15 มิ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย จากข้อความในมิลินทปัญหา พระยามิลินท์ ได้สอบถามกับ บุคคลที่กล่าวว่าครู

ทั้ง 6 จริง แต่เป็นที่แน่นอนครับว่า ไม่ใช่ครูทั้ง 6 สมัยพุทธกาลเพราะบุคคลเหล่านั้น

ย่อมสิ้นชีวิตไปแล้ว เพราะสมัยพระยามิลินท์ หลังพุทธกาลประมาณ 500 ปี แต่ควร

เข้าใจครับว่า ความเห็นผิดไม่ไ่ด้หายไปไหนจากโลกใบนี้ ดังนั้น ครูทั้ง 6 ก็ย่อมมีศิษย์

ที่สืบต่อความเห็นผิดกันมาแต่ละสำนัก ในสำนักทั้ง 6 เพราะฉะนั้น ความเห็นผิดของ

ครูแต่ละคน ในสมัยพุทธกาลก็สืบต่อจนมาถึงสมัยพระยามิลินท์ เพราะฉะนั้นสำนัก

ของครูทั้ง 6 ก็ยังอยู่ ศิษย์ที่สืบต่อความเห็นผิดก็ยังอยู่ ผู้คนสมัยนั้น มีพวกอำมาตย์

ของพระยามิลินท์ เป็นต้น ก็ทราบว่ายังมีำสำนักของครูทั้ง 6 และมีศิษย์ที่สืบต่อความ

เห็นผิดทั้ง 6 สำนักมีอยู่ พวกอำมาตย์ ข้าราชการจึงให้พระยามิลินท์ ลองสอบถาม

ครูทั้ง 6 เหล่านั้น ซึ่งศิษย์เหล่านั้นก็ตั้งตัวเป็นอาจารย์ ตั้งตัวเป็นศาสดาแทนรุ่นก่อนๆ

ก็ได้ชื่อตามนามเดิมของครูทั้ง 6 ในสมัยพุทธกาลได้ครับ ดังชื่อ สญชัย บ้าง มักขลิโค

สาล บ้าง ตามอาจารย์ของเขานั่นเองครับ และชื่อก็ซ้ำกันได้เป็นธรรมดา แต่เหตุผล

คือ การสืบต่อความเห็นผิด ในสำนักแต่ละสำนักและย่อมมีศิษย์ที่สืบต่อความเห็นผิด

นั้น และก็มีชื่อตามอาจารย์ที่เป็นครูทั้ง 6 สมัยพุทธกาลได้ครับ

ชื่อที่เป็นคุณนามของพระพุทธเจ้า มีพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้อื่นมีชื่อนี้

ไม่ไ่ด้เพราะเป็นชื่อที่เป็นคุณธรรมของพระองค์เองที่ได้มา แต่ชื่อของครูทั้ง 6 ที่มี

ความเห็นผิดมีได้ เรียกชื่อศิษย์ตามชื่ออาจารย์ของเขาได้ครับ เพราะความเห็นผิดใน

สำนักของเขาสืบต่อกันมา เพราะฉะนั้น ไม่ใช่ครูทั้ง 6 ในสมัยพุทธกาลแน่นอนครับ

แต่เป็นศิษย์ของครูทั้ง 6 สืบต่อความเห็นผิด ตามเหตุผลที่อธิบายข้างต้นแล้วครับ

ขออนุโมทนา

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
นาวาเอกทองย้อย
วันที่ 15 มิ.ย. 2554

เมื่อตอนศึกษาคัมภีร์นี้กระผมก็นึกว่า ชอบกล คนตายไปตั้ง 500 ปีแล้ว พระยามิ

ลินท์ยังตามไปสนทนาด้วยได้ จะว่าท่านผู้รจนาคัมภีร์มิลินทปัญหาไม่รู้ประวัติศาสตร์ก็

เป็นไปไม่ได้ แต่ท่านก็พูดเป็นมั่นเหมาะว่า เสด็จเข้าไปหา "ครูทั้งหก" ไม่ได้บอกเลยว่า

เข้าไปหาเจ้าสำนักที่สืบต่อลัทธิของครูทั้งหกมา

อย่างไรก็ตาม การตีความว่า หมายถึงพระยามิลินท์ไปสนทนาธรรมกับสำนักที่

สอนลัทธิของครูทั้งหก ไม่ใช่กับตัวครูทั้งหกที่มีชีวิตอยู่ในสมัยพุทธกาล ก็เป็นการให้

เหตุผลที่น่าฟัง กระผมขอรับฟังไว้ด้วยความเคารพ

และอยากจะฟังความคิดเห็นของท่านผู้รู้อื่นๆ อีกครับ อย่างน้อยก็คิดว่าช่วยกัน

อุดช่องโหว่ครับ -ขอขอบพระคุณล่วงหน้าครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
paderm
วันที่ 15 มิ.ย. 2554

เรียนความเห็นที่ 2 เพิ่มเติมครับ

ท่านไปสนทนากับศิษย์ของสำนักครูทั้ง 6 ครับ

ซึ่งศิษย์นั้นก็ใช้ชื่อของอาจารย์ของเขาได้ครับ

ดังความเห็นที่ 1 ได้กล่าวไว้ครับ

ไม่ใช่หมายถึงสำนักครูทั้ง 6 เท่านั้นครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
pamali
วันที่ 17 มิ.ย. 2554
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
นาวาเอกทองย้อย
วันที่ 17 มิ.ย. 2554

เป็นไปตามความคิดเห็นที่ 3 จริงๆ ครับ

ขอบพระคุณมากครับ

สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ