รู้จักประมาณในอาหาร
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 43
...................
เพราะฉะนั้น ความเป็นผู้รู้จักประมาณ กล่าวคือความเป็นผู้ไม่ติดในโภชนะเป็นความดี
อธิบายว่า การรู้ประมาณเป็นความดี. อีกอย่างหนึ่งแม้ความเป็นผู้รู้ประมาณก็เป็นความดี
ซึ่งท่านพรรณนาไว้อย่างนี้ว่า ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้วกลืนกินอาหาร มิใช่
เพื่อเล่น มิใช่เพื่อมัวเมา ฯลฯ ด้วยการอยู่อย่างผาสุก และว่า :-
ภิกษุบริโภคของสดหรือของแห้งไม่ควรให้อิ่มเกินไป
เป็นผู้มีท้องพร่อง รู้จักประมาณในอาหาร
มีสติพึงงดเว้นเสีย ยังอยู่๔-๕ คำ ก็จะอิ่ม อย่าบริโภค พึงดื่มน้ำแทน
เป็นการเพียงพอเพื่อจะอยู่อย่างผาสุก
สำหรับภิกษุผู้มีจิตตั้งมั่น.
เวทนาของภิกษุนั้นผู้เป็นมนุษย์มีสติอยู่ทุกเวลา
ผู้ได้โภชนะแล้วรู้จักประมาณมีสติอยู่ทุกเวลา
ย่อมเป็นเวทนาที่เบา อาหารที่บริโภคย่อมค่อยๆ ย่อยไปเลี้ยงอายุมีความเป็นผู้ไม่ติดก็เป็นความดี ซึ่งท่านพรรณนาไว้อย่างนี้ว่าบุคคลไม่ติดรส ย่อมกลืนกินอาหาร
เพื่อต้องการยังอัตภาพให้เป็นไป
เหมือนบริโภคเนื้อบุตรในหนทางกันดาร
เหมือนใช้น้ำมันหยอดเพลารถฉะนั้น.
เป็นพระสูตรที่เตือนใจให้เจริญสติอยู่เสมอ การประมาณในอาหารซึ่งเป็นปัจจัยที่ร่าง
กายต้องบริโภคเป็นประจำ เป็นแนวทางช่วยการประมาณเรื่องอื่นๆ ในชีวิตประจำวันด้วย
เช่นกัน ถ้าประกอบด้วยปัญญา...
ขออนุโมทนาค่ะ....
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณคำปั่นและทุกท่านครับ
พระพุทธเจ้าทรงบัญญติ ปาราชิก 4 คือ
1. เสพเมถุน
2. ลักทรัพย์
3 ฆ่ามนุษย์
4. อวดอุตตริมนุสสธรรม
พระพุทธเจ้าตรัสว่า ถ้าจะบัญญติ ปาราชิกที 5 คือ การติดในรส แต่ก็บัญญติ
ไม่ได้ เพราะสัตว์ทั้งหลายดำรงอยู่ได้ด้วยอาหาร จึงทรงแสดงให้รู้จักประมาณใน
อาหาร ไม่ใช่ฉันเพื่อเล่น เพื่อประดับตกแ่ต่ง เพื่อมัวเมา แต่ให้มีสติ ฉันเพื่อให้
มีชีวิตอยู่ ประพฤติธรรม (พิจารณาการบริโภคอาหารเปรียบด้วยเนื้อบุตร) ค่ะ