ทาน ศีล ภาวนา เอื่อประโยชน์ต่อสติปัฏฐานได้อย่างไร
ขอรบกวนถามหน่อยนะครับ เพราะมีบางคนว่า ทำทาน ๑๐๐ ครั้งก็ไม่เท่ารักษาศีลแค่ ๑ วัน
รักษาศีล ๑๐๐ วันก็ไม่เท่าภาวนาเพียงแค่ได้ความสงบรัดนิวมือเดียว หรือช้างกระดิกหููงู
แลบลิ้บ ก็จริงที่ว่าการภาวนามีประโยชน์ต่อการเจริญสติปัฏฐานอย่างมาก แต่ทานกับศีลก็
มีความสำคัญเช่นกันครับช่วยตอบให้หน่อยนะครับ ขอบคุณ
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
กุศลทุกอย่าง หากไม่ประกอบด้วยความเข้าใจในเรื่องของการเจริญสติปัฏฐานเป็น
พื้นฐานก็จะไม่เกื้อกูลการเจริญสติปัฏฐานเลยครับ ดังเช่น ผู้ที่อบรมเจริญกุศลมาก
มาย มีการให้ทาน รักษาศีลและอบรมสมถภาวนาจนได้ฌานขั้นสูงสุด ตั้งแต่ก่อนสมัย
พุทธกาล แต่ไม่ได้มีความเข้าใจในการอบรมปัญญา ในหนทางการดับกิเลส กุศลขั้น
ต่างๆ นั้นก็ไม่ได้เป็นปัจจัยให้สติปัฏฐานเกิดครับ เพราะไม่ได้มีปัญญาเป็นพื้นฐานใน
การเจริญสติปัฏฐาน แต่โดยนัยตรงกันข้าม ผู้ที่มีความเข้าใจในเรื่องของการเจริญสติ
ปัฏฐาน กุศลต่างๆ ที่เจริญก็ย่อมเกื้อกูลกับกาเรจริญสติปัฏฐานด้วย เพราะมีความเห็น
ถูกเป็นเบื้องต้น หรือมีปัญญาเป็นสำคัญอยู่แล้วครับ ดังนั้นกุศลที่เกิดขึ้นก็ย่อมทำให้
สติปัฏฐานเกิดได้ พร้อมๆ กับสติที่เกิดระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่เป็นกุศลด้วยใน
ขณะนั้นครับ ซึ่งในพระไตรปิฎกแสดงว่า เหตุ หรือ อาหารของสติปัฏฐานคือ สุจริต 3
ก็คือ ความสุจริตทางกาย วาจาและใจ ทีเป็นกุศล อันประกอบด้วยความเข้าใจพื้นฐาน
ในเรื่องสติปัฏฐาน อันเกิดจากการฟังพระธรรมก็ย่อมทำให้สติปัฏฐานเจริญขึ้นเพราะ
กุศลอื่นๆ ก็เป็นปัจจัยให้ใจ ย่อมน้อมไปในการเจริญสติปัฏฐานเพิ่มขึ้นเพราะกุศลจิต
ระดับต่างๆ เกิดบ่อยนั่นเองครับ ดังนั้นสำคัญที่ความเข้าใจพื้นฐานเป็นสำคัญคือ
ปัญญาที่เข้าในในเรื่องสติปัฏฐานครับ เมื่อมีความเข้าใจตรงนี้ก็ไม่เข้าใจผิดว่าจะต้อง
ให้ทาน รักษาศีลก่อน เพื่อให้สติปัฏฐานเกิด แต่สติปัฏฐาน การเจริญวิปัสสนาจะเกิด
ก็อาศัยการฟังพระธรรมเรื่องสติปัฏฐาน เรื่องสภาพธรรม เมื่อปัญญาเจริญขึ้น กุศลขั้น
อื่นๆ ก็เจริญขึ้นตามไปด้วยครับ กุศลต่างๆ ก็จะเกื้อกูลกัน อันมีปัญญาเป็นแกนหลัก
สำคัญ ขออนุโมทนาครับ
อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
เพราะขณะที่หลงลืมสติก็ต่างกับขณะที่มีสติแล้ว ถ้ากุศลขั้นทาน ศีล ภาวนา ยังไม่เกิด
สติปัฏฐานยิ่งเกิดยากกว่านั้นอีก เพียงสละวัตถุภายนอกยังไม่ได้ หรือวิรัติทุจริตยังไม่ได้
แล้วกิเลสที่เราสะสมมา เหนียวแน่นกว่า ยิ่งสละยาก เพราะฉะนั้นกุศลทุกอย่างที่ประกอบ
ด้วยปัญญาเป็นปัจจัยให้สติปัฏฐานเกิดค่ะ