เพราะสิ่งที่ถือว่าของเราไม่มีอยู่ผู้นั้นย่อมไม่เสื่อมในโลก.
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 491
........................[๘๖๑] ความถือว่าของเราในนามรูป ย่อมไม่มีแก่ผู้ใด โดยประการทั้งปวง และผู้ใดย่อมไม่เศร้าโศก เพราะสิ่งที่ถือว่าของเราไม่มีอยู่ ผู้นั้นย่อมไม่เสื่อมในโลก.ว่าด้วยนามและรูป[๘๖๒] คำว่า โดยประการทั้งปวง ในคำว่าความถือว่า ของเราในนามรูป ย่อมไม่มีแก่ผู้ใดโดยประการทั้งปวง ความว่า ทั้งปวงโดยกำหนดทั้งปวง ทั้งปวงโดยประการทั้งปวง ไม่เหลือ ไม่มีส่วนเหลือ คำว่าทั้งปวงนั้น เป็นเครื่องกล่าวรวมหมด. อรูปขันธ์ ๔ ชื่อว่านาม มหาภูตรูป ๔ และอุปาทายรูปแห่งมหาภูตรูป ๔ ชื่อว่ารูป.
คำว่า แก่ผู้ใด คือแก่พระอรหันตขีณาสพ ชื่อว่าความถือว่าของเรา ได้แก่ความถือว่าของเรา ๒ อย่าง คือความถือว่าของเราด้วยตัณหา ๑ ความถือว่าของเราด้วยทิฏฐิ ฯลฯ นี้ ชื่อว่าความถือว่าของเราด้วยตัณหา ฯ ลฯ นี้ชื่อว่าความถือว่าของเราด้วยทิฏฐิ. คำว่า ความถือว่าของเราในนามรูป ย่อมไม่มีแก่ผู้ใดโดยประการทั้งปวง ความว่า ความถือว่าของเราในนามรูป ย่อมไม่มี ไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้แก่ผู้ใดโดยประการทั้งปวง คือ อันผู้ใดละตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ความถือว่าของเราในนามรูป
ย่อมไม่มีแก่ผู้ใดโดยประการทั้งปวง.ว่าด้วยผู้ไม่เศร้าโศก[๘๖๓] คำว่า และผู้ใดย่อมไม่เศร้าโศกเพราะสิ่งที่ถือว่าของเราไม่มีอยู่ ความว่า ย่อมไม่เศร้าโศกถึงวัตถุที่แปรปรวน หรือเมื่อวัตถุแปรปรวนไปแล้วก็ย่อมไม่เศร้าโศกถึง คือ ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบากใจ ไม่รำพันไม่ทุบอกคร่ำครวญ ไม่ถึงความหลงใหลว่า จักษุ โสตะ มานะ ชิวหา กาย รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ สกุล คณะ อาวาส ลาภ ฯลฯ ญาติสาโลหิต ของเราแปรปรวนไปแล้ว แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า ย่อมไม่เศร้าโศกเพราะสิ่งที่ถือว่าของเราไม่มีอยู่.อีกอย่างหนึ่งผู้ใดเป็นผู้อันทุกขเวทนาซึ่งไม่สำราญกระทบ ครอบงำย่ำยี มาถึงเข้าแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบากใจ ไม้รำพัน ไม่ทุบอกคร่ำครวญ ไม่ถึงความหลงใหล แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่าย่อมไม่เศร้าโศกเพราะสิ่งที่ถือว่าของเราไม่มีอยู่. อีกอย่างหนึ่ง ผู้ใดเป็นผู้อันโรคตากระทบ ครอบงำ ฯลฯ เป็นผู้อันสัมผัสแห่งเหลือบ ยุงลม แดด และสัตว์เสือกคลานกระทบ ครอบงำ ย่ำยี มาถึงเข้าแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบากใจ ไม่รำพัน ไม่ทุบอกคร่ำครวญ ไม่ถึงความหลงใหลแม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า ย่อมไม่เศร้าโศกเพราะสิ่งที่ถือว่าของเราไม่มีอยู่ อีกอย่างหนึ่ง เมื่อนามรูปนั้นไม่มี ไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้ ผู้ใดย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบากใจ ไม่รำพัน ไม่ทุบอกคร่ำครวญ ไม่ถึงความหลงใหลว่า นามรูปของเราได้มีแล้วหนอ นามรูปย่อมไม่มีแก่เราหนอนามรูปของเราพึงมีหนอ เราย่อมไม่ได้นามรูปนั้นหนอ แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า และผู้ใดย่อมไม่เศร้าโศกเพราะสิ่งที่ถือว่าของเราไม่มีอยู่.ว่าด้วยความเสื่อมมีแก่ผู้ยึดถือ[๘๖๘] คำว่า ผู้นั้นย่อมไม่เสื่อมในโลก ความว่า ความถือความยึดถือ ความถือมั่น ความชอบใจ ความน้อมใจถึงรูป เวทนาสัญญา สังขาร วิญญาณอะไรๆ ว่า สิ่งนี้ของเรา หรือว่า สิ่งนี้ของตนเหล่าอื่น ย่อมมีแก่ผู้ใด ความเสื่อมย่อมมีแก่ผู้นั้น สมจริงตามภาษิตว่าท่านเสื่อมแล้วจากรถ ม้า แก้วมณี และกุณฑล เสื่อมแล้วจากบุตรและภรรยา ทั้งจากโภคสมบัติทั้งปวง ที่ไม่ได้เสพ เหตุไร ท่านจึงไม่เดือดร้อนในเวลาเศร้าโศกโภคสมบัติทั้งหลาย ย่อมละสัตว์ไปก่อนบ้าง สัตว์ย่อมละโภคสมบัติเหล่านั้นไปก่อนบ้าง ผู้ใคร่กามมีโภคสมบัติทั้งหลายเหล่าเป็นผู้ไม่มีอะไรเป็นของของตน เหตุนั้น เราจึงไม่เศร้าโศกในเวลาเศร้าโศก ดวงจันทร์ย่อมขึ้น ย่อมเต็มดวง ย่อมเสื่อมไป ดวงอาทิตย์อัสดงคตแล้วก็ลับไปโลกธรรมทั้ง ๘ เรารู้แล้ว เหตุนั้น เราจึงไม่เศร้าโศกในเวลาเศร้าโศก.ความถือ ความยึดถือ ความถือมั่น ความชอบใจ ความน้อมใจถึงรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณอะไรๆ ว่า สิ่งนี้ของเรา หรือว่าสิ่งนี้ของตนเหล่าอื่น ย่อมไม่มีแก่ผู้ใด ความเสื่อมก็ไม่มีแก่ผู้นั้น สมจริงตามภาษิตว่า ดูก่อนสมณะ ท่านย่อมยินดีหรือ. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เราได้อะไรเล่าจึงจะยินดี. ดูก่อนสมณะ ถ้าอย่างนั้น ท่านย่อมเศร้าโศกหรือ.ดูก่อนท่านผู้มีอายุ สิ่งอะไรๆ เล่าเสื่อมไปแล้ว เราจึงจะเศร้าโศก. ดูก่อนสมณะ ถ้าอย่างนั้น ท่านย่อมไม่ยินดี ย่อมไม่เศร้าโศกหรือ. เป็นอย่างนั้น ท่านผู้มีอายุและสมจริงตามภาษิตว่าเป็นเวลานานหนอ เราจึงได้เห็นภิกษุผู้เป็นพราหมณ์ตัดรอบแล้ว ไม่มียินดี ไม่มีทุกข์ ข้ามตัณหาเครื่องเกาะเกี่ยวในโลกเพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้นั้นย่อมไม่เสื่อมในโลก เพราะเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่าความถือว่าของเราในนามรูป ย่อมไม่มีแก่ผู้ใดโดยประการทั้งปวง และผู้ใดย่อมไม่เศร้าโศก เพราะสิ่งที่ถือว่าของเราไม่มีอยู่ ผู้นั้นย่อมไม่เสื่อมในโลก.