วัฒนธรรมเป็นธรรมะหรือไม่

 
นาวาเอกทองย้อย
วันที่  23 มิ.ย. 2554
หมายเลข  18603
อ่าน  2,142

คำว่า วัฒนธรรม พจนานุกรมให้ความหมายไว้ว่า สิ่งที่ทําความเจริญงอกงามให้

แก่หมู่คณะ เช่น วัฒนธรรมไทย วัฒนธรรมในการแต่งกาย, วิถีชีวิตของหมู่คณะ เช่น

วัฒนธรรมพื้นบ้าน วัฒนธรรมชาวเขา

คนไทยสมัยก่อน เมื่อจะออกไปทำกิจธุระนอกบ้าน จะแต่งกายสุภาพเรียบร้อย ยิ่ง

ถ้าไปวัดด้วยแล้วจะระมัดระวังเรื่องความสุภาพเป็นพิเศษ แต่สมัยนี้เราจะเห็นสุภาพสตรี

โดยเฉพาะสตรีวัยรุ่น แต่งกายด้วยชุดนุ่งสั้นๆ ปรากฏตัวตามถนนหนทาง ในห้างสรรพ

สินค้า และที่สาธารณะทั่วไป กระผมเคยเห็นสุภาพสตรีหลายคนแต่งกายด้วยชุดที่ล้อ

กันว่า "ยังสั้นได้อีก" คือเป็นชุดที่สตรีไทยสมัยก่อนเขาแต่งอยู่กับบ้าน หรือแต่งเมื่ออยุ่

ในห้องนอนเท่านั้น แต่เธอแต่งไปเวียนเทียนที่วัดในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาโดย

มิได้มีความรู้สึกสะทกสะท้านใดๆ ทั้งสิ้น ขณะนั้นถ้าใครจะเข้าไปทักท้วงว่าแต่งกายไม่

ถูกวัฒนธรรม เธอก็อาจจะย้อนเอาว่า ดิฉันแต่งชุดนี้สติของดิฉันก็กำหนดรู้สภาพธรรมที่

กำลังปรากฏได้มิใช่หรือ - แล้วจะว่าอย่างไร

ผู้รู้ท่านว่า ภาษาก็เป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่ง คนไทยสมัยก่อนพูดภาษาไทยได้

ไพเราะ เขียนภาษาไทยที่งามๆ ฟังแล้วอ่านแล้วเจริญใจ แต่เด็กไทยสมัยนี้พูดและ

เขียนภาษาไทยแบบไหนก็ไม่ทราบ เช่นพูดถึงสัตว์เลี้ยงว่า "สองสามวันมานี่เขาไม่ค่อย

รับประทานอาหาร" แต่พอพูดถึงคุณตาคุณยายเขาจะพูดว่า "สองสามวันมานี่แกไม่ค่อย

กินข้าว" ภาษาพูดหรือภาษาเขียนบางอย่างเหมาะสำหรับจะใช้สื่อสารกันในกลุ่มพวก

ของตัว ก็เอามาใช้กับสาธารณชนด้วย เช่นเขียนคำว่า พี่ โดยใช้ตัว P แล้วใส่ไม้เอกไว้

ข้างบน เขียนตามเสียงพูดโดยไม่คำนึงถึงหลักภาษา เช่น ทำไม เขียนเป็น ทำมัย เป็น

ต้น และก็เช่นกัน ถ้าใครทักท้วงว่าใช้ภาษาไม่ถูกวัฒนธรรม ก็อาจจะถูกย้อนเอาว่า

ข้าพเจ้าใช้ภาษาแบบนี้ก็กำหนดรู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏได้มิใช่หรือ - แล้วจะว่า

อย่างไร

ท่านอาจารย์สุจินต์ท่านบรรยายธรรมมุ่งเน้นให้ผู้ฟังมีสติ ไม่ยึดติดกับสมมติ

บัญญัติ ให้เพิกถอนความเข้าใจผิดว่าเป็นตัวเรา ของเรา แต่จะสังเกตได้ว่า เวลาท่าน

จะทักท้วงใคร ท่านจะเอ่ยคำว่า "ขอประทานโทษค่ะ" ก่อนทุกครั้ง น้ำเสียงของท่าน

สุภาพมาก คำหางเสียงเมื่อพูดกับผู้ฟังทั่วไปก็คือ "ค่ะ" แต่เวลาที่พูดกับพระสงฆ์ ท่าน

จะใช้คำว่า "เจ้าค่ะ" ทุกครั้ง อันมีนัยที่แสดงถึงความเคารพอย่างสูง ฟังแล้วเจริญใจ

อย่างยิ่ง การใช้ภาษาของท่านส่องให้เห็นว่า ท่านได้รับการอบรมมาเป็นอย่างดี

กระผมจึงสรุปว่า การแต่งกายก็ตาม การใช้ภาษาก็ตาม แม้จะเป็นเพียงสมมติ

บัญัติ แต่ก็เป็นวัฒนธรรม เป็นเครื่องส่องถึงความเจริญ และเป็นสิ่งที่เราสามารถจะ

สมมติบัญญัตให้งามและให้เจริญใจได้ คือ วัฒนธรรมก็เป็นธรรมะได้มิใช่หรือ?


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
SOAMUSA
วันที่ 24 มิ.ย. 2554

วันเวลาเปลี่ยนไปค่ะ ชีวิตในวัยเด็กของเด็กยุคนี้ ก็ไม่เหมือนยุคดิฉันเด็ก

ทุกอย่างเปลี่ยนไปค่ะ ไม่มีใครบังคับให้หยุดอยู่ที่ความเจริญงดงามดังแต่ก่อนได้

เราคงจะปรับเปลี่ยนตัวเองบ้าง ทำใจบ้าง และดูแลสภาพแวดล้อมใกล้ตัวใ้ห้ดีค่ะ

ดิฉันทำใจแบบนี้ค่ะ และดูแลลูกหลานให้เติบโตสวยงาม ไม่ก้าวทันยุคจนไม่ถูกไม่ควรค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 24 มิ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย ขออนุญาติร่วมแสดงความคิดเห็นตามพระธรรมนะครับ วัฒนธรรม คือ ธรรมที่ทำให้

ถึงความเจริญ งอกงาม อกุศลไม่ทำให้เจริญ งอกงาม แต่สภาพธรรมฝ่ายดี เป็นธรรม

ที่ทำให้เจริญ คือ เจริญในสิ่งที่ดี และได้รับความเจริญในโลกนี้ในขณะที่เป็นกุศล

ได้รับความสุข ความเจริญในโลกหน้า เป็นต้น

ในสมัยพุทธกาล เครื่องหมายของคฤหัสถ์ คือ นุ่งผ้าขาว เมื่ออุบาสก อุบาสิกาจะ

ไปฟังธรรม ย่อมเคารพในพระธรรม จึงแต่งกายให้เหมาะสม สมควรกับการไปฟังสิ่งที่

เป็นไปเพื่อละคลายกิเลสและเจริญขึ้นของปัญญา และเป็นการแสดงถึงความเคารพ

ต่อผู้แสดงธรรม มีพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นต้น นั่นแสดงถึงจิตขณะที่เคารพ

พระธรรมด้วยการแต่งกายให้เหมาะสม อันเป็นจิตที่เคารพในพระธรรมและผู้แสดง

จิตย่อมอ่อนน้อม เป็นวัฒนธรรมที่ดี เพราะเป็นธรรมให้ถึงความเจริญงอกงามในกุศลนั่น

เองครับ ดังนั้น วัฒนธรรมจะมีได้ก็เพราะมีสภาพธรรมที่มีจริง คือ จิต เจตสิกนั่นเอง อัน

วัฒนธรรมที่ดีก็ย่อมเกิดจากการบัญญัติจากสภาพจิตที่ดี มีการแต่งกายให้เหมาะสมใน

การฟังพระรรมด้วยความเคารพยำเกรงในพระธรรมและผู้แสดง เป็นต้น

แม้พระพุทธเจ้าเองได้สอนภิกษุทั้งหลาย ด้วยเสขิยวัตร เสขิยวัตร หมายถึง วัตร

ที่ภิกษุจะต้องศึกษาธรรมเนียมเกี่ยวกับมารยาทที่ภิกษุพึงสำเหนียก หรือ พึงฝึกฝน

ปฏิบัติ เป็นพุทธบัญญัติที่ได้เตือนสติให้ภิกษุสงฆ์พึงสำรวมกาย วาจา ใจ เมื่อเข้าไป

อยู่ในที่ชุมชนหรือในละแวกบ้านของผู้อื่น เพื่อยังให้เกิดความเลื่อมใสของบุคคลใน

ชุมชนนั้นๆ จะได้มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนา ซึ่งก็รวมถึงการแต่งกายของ

พระภิกษุด้วย ว่าเมื่อเที่ยวไปตามระแวกบ้าน การไปบิณฑบาตก็ควรแต่งให้เหมาะสม

ครับ ยกตัวอย่าง เสขิยวัตร บางข้อ เช่น พึงทำศึกษาว่าเราจักห่มเป็นปริมณฑล

(ห่มเรียบร้อย) พึงทำศึกษาว่า เราจักปกปิดกายดีไปในละแวกบ้าน จากตัวอย่างที่

ยกมาจะเห็นว่าพระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมด้วยความละเอียด แม้แต่การแต่งกาย

ดังนั้นไม่ใช่เพียงจะมุ่งแต่เจริญสติปัฏฐานเท่านั้น แต่ต้องเป็นผู้ละเอียดในชีวิต

ประจำวัน แต่ด้วยกุศลจิตครับ แม้แต่การแต่งกาย เพื่อเคารพในพระธรรม เป็นต้นครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
paderm
วันที่ 24 มิ.ย. 2554

สำหรับภาษาที่เป็นวัฒนธรรมที่แสดงไว้ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงว่า วัฒนธรรมอันดี

งามในการพูดนั้น คือ การพูดด้วยกุศลจิต ไม่ใช่พูดไพเราะเพื่อประจบ ไม่ใช่การพูดสละ

สลวย เพื่อเลียบเคียงหรือเพื่อต้องการเป็นที่รัก แม้คำพูดนั้นจะไพเราะ ถูกหลักอย่างไร

ก็ตาม แต่คำพูดนั้นเป็นอกุศลจิต เกิดจากอกุศลธรรม ไม่ใช่วัฒนธรรม อันเป็นธรรมให้

ถึงความเจริญ งอกงามในกุศลธรรม แต่คำพูดที่เป็นวัฒนธรรม ย่อมพูดด้วยกุศลจิต

ย่อมเรียกบุคคลอื่นให้เหมาะสม ตามสมควรกับฐานะตามที่เป็นด้วยความตรง ไม่ใช่

เพื่อประจบยกย่องอะไรเลย เช่น เรียกบุคคลคราวพ่อว่าพ่อ บุคคลคราวแม่ว่าแม่

บุคคลคราวพี่ว่าพี่ แสดงให้เห็นถึงความตรงของจิตในขณะนั้น ที่จะไม่บิดเบือนที่จะ

เรียกว่าคนที่คราวพ่อ แม่ว่าพี่เพื่อประจบหรือด้วยอกุศลจิตครับ อันเป็นวัฒนธรรมอันดี

งามนั่นเอง ดังพระไตรปิฎกที่แสดงไว้ครับ ดังนั้นการใช้ภาษาให้เหมาะสมด้วยกุศลจิต

ย่อมนำความเจริญ ความดีงามมาสู่ผู้พูดเองครับ และผู้ที่มีความละเอียดย่อมใช้คำที่

เหมาะสมกับบุคคลต่างๆ เมื่อพูดกับพระ ก็ใช้คำที่เหมาะสม ด้วยความเคารพในเพศ

บรรพชิต เป็นต้น เช่นเดียวกับ ผู้ที่เป็นผู้ใหญ่ก็ย่อมใช้คำให้เหมาะสมด้วยความเคารพ

ด้วยจิตนอบน้อมที่เป็นกุศล ไม่ใช่ด้วยจิตที่เป็นอกุศล จิตที่ดีในการพูดและใช้ภาษา

ด้วยกุศลย่อมเป็นวัฒนธรรม คือ ธรรมทีทำให้ถึงความเจริญ งอกงามในธรรมฝ่ายดีนั่น

เองครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
paderm
วันที่ 24 มิ.ย. 2554

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 528

วาจาใด เป็นของมีอยู่ในเมือง เพราะเป็นวาจาบริบูรณ์ด้วยคุณเพราะเหตุนั้น

วาจานั้น จึงชื่อว่า โปรี (วาจาของชาวเมือง) . วาจาที่กล่าวเรียกว่า ดูก่อนกุมารี

ผู้ดี ดุจนารีผู้มีวัฒนธรรมอันดีในบุรี เพราะเหตุนั้น แม้วาจานั้นก็ชื่อว่า โปรี. วาจานี้

ใด เป็นของมีอยู่แก่ชาวเมือง เพราะเหตุนั้นแม้วาจานั้น ก็ชื่อว่า โปรี อธิบายว่า

เป็นถ้อยคำของชาวพระนคร จริงอยู่ชาวพระนคร มีถ้อยคำสมควร ย่อมเรียกบุคคล

คราวพ่อว่าพ่อ ย่อมเรียกบุคคลควรเป็นพี่ชายน้องชายว่าพี่ชายน้องชายเป็นต้น.

------------------------------------------------------------------------

ดังนั้น วัฒนธรรม จึงไม่พ้นไปจากสภาพธรรมที่มีจริง คือ จิต เจตสิก ที่เป็นฝ่ายดี อัน

นำมาซึ่งความเจริญ งอกงามในสิ่งที่ดีกับผู้ประพฤติตาม เพราะเกิดจากกุศลจิต ทั้งการ

แต่งกายและการใช้ภาษาที่เหมาะสมด้วยกุศลจิตแล้วไม่มีโทษเลยครับ ขออนุโมทนา

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 24 มิ.ย. 2554

วัฒนธรรม พจนานุกรมให้ความหมายไว้ว่า สิ่งที่ทําความเจริญงอกงามให้

แก่หมู่คณะ ....วัฒธรรมของชาติหนึ่งอาจไม่ตรงกับอีกชาติหนึ่งเช่นการนุ่งสั้น..ชาติตะวันตกมองแล้วไม่ขัดตาขัดใจแต่ขัดกับความรู้สึกของคนไทยที่สูงวัยเป็นต้น........คำพูดหรือการกระทำหากทำให้กุศลจิตเจริญก็เป็นไปตามพระธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระธรรมเป็นสากลกับทุกๆ ชาติเพราะไม่มีชาติไทย ชาติจีน ชาติฝรั่งมีแต่จิต เจตสิก รูปผู้ใดประพฤติตามย่อมทำความเจริญให้กับตนเองและหมู่คณะ....เป็นวัฒนธรรมที่ยอดยิ่ง ขออนุโมทนาคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
wannee.s
วันที่ 24 มิ.ย. 2554

ไม่ว่าจะเป็นเรื่่องของการพูด การแต่งตัว หรือ กิริยามารยาท ทั้งหมดก็เป็นธรรมะ

เป็นการสะสมมาในอดีตของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ในพระไตรปิฏกก็มีแสดงไว้ เช่น

ท่านพระปิลินทวัจฉะ เป็นพระอรหันต์ ท่านเรียกคนอื่นว่า คนถ่อย ในอดีตท่าน

เคยเกิดเป็นพราหมณ์มา 500 ชาติ ท่านเรียกคนอื่นว่าคนถ่อยจนชินค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 24 มิ.ย. 2554

จิตที่ดีย่อมทำให้การเคลื่อนไหวของกาย วาจาเป็นไปในทางที่ดี

การแต่งกาย การกระทำ คำพูดต้องมาจากจิต

การแต่งกายที่ไม่เหมาะสม คำพูดที่ไม่เหมาะสมมาจากกุศลจิตหรืออกุศลจิต?

หากกิเลสอย่างหยาบ ยังไม่มีสติเห็นโทษ

สติอย่างละเอียด ขั้นสติปัฏฐานจะเกิดขึ้นคงเป็นไปได้ยากค่ะ

นุ่งสั้นก็เจริญสติปัฏฐานได้....แต่สติปัฏฐานจะเจริญหรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
khampan.a
วันที่ 24 มิ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ถ้าไม่มีธรรมแล้ว อะไรๆ ก็ไม่มีพราะมีธรรมเกิดขึ้นเป็นไป กล่าวคือ จิต เจตสิก

และรูป จึงมีความประพฤติเป็นไปทางกายบ้าง ทางวาจาบ้าง ตามการสะสม ซึ่งจะต้องมาจากจิตใจ ขึ้นอยู่กับว่าจะเป็นจิตประเภทใด เพียงกิริยาอาการภายนอก ไม่

สามารถบ่งบอกได้ชัดถึงความเป็นผู้เจริญไปด้วยกุศลธรรม ต้องเป็นสภาพจิตของผู้นั้นจริงๆ แต่สำหรับผู้ที่เห็นประโยชน์ของพระธรรม มีการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม

พร้อมทั้งน้อมประพฤติปฏิบัติตามเพื่อขัดเกลากิเลสของตนเอง ความประพฤติเป็นไปทางกาย วาจา และทางใจ ย่อมงดงาม เป็นไปด้วยอำนาจของกุศลจิต ผู้ที่มีปัญญาเข้าใจถูก เห็นถูก ย่อมคิด พูด และ กระทำในสิ่งที่ดีงาม การดำเนินไปตามทางที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ คือ การอบรมเจริญปัญญา ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีความเจริญงอกงามไปตามลำัดับ จนกระทั่งสามารถรู้แจ้งอริยสัจจธรรมดับกิเลสได้ตามลำัดับมรรค ครับ ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
chaiyut
วันที่ 24 มิ.ย. 2554

ขณะที่ฟังแล้วเข้าใจธรรม ปัญญานำพาความเจริญงอกงามให้แก่จิตในขณะนั้น ปัญญาที่เจริญขึ้น นำพากุศลธรรมทั้งหลายให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น ปัญญานำความวัฒนามาสู่ใจของผู้อบรมปัญญา ส่วนอวิชชานั้นนำแต่ความเสื่อมมาให้ อวิชชาเป็นมลทินอย่างยิ่งนำพาอกุศลธรรมทั้งหลายให้พอกพูนกำเริบ ความเสื่อมปัญญา ท่านกล่าวว่า ชั่วร้ายยิ่งกว่าความเสื่อมใดๆ ครับ ยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ลึกลงไปก็คือ การเกิดดับสืบต่อกันไปของสภาพธรรมต่างๆ ถ้ากล่าวเฉพาะกุศลธรรม หรือ อกุศลธรรม ก็แล้วแต่ว่ายุคนั้นจะมีปัจจัยให้สภาพธรรมฝ่ายไหนเจริญขึ้น หรือ เสื่อมถอยลง

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
nong
วันที่ 25 มิ.ย. 2554

เมื่อได้ศึกษาและเข้าใจในธรรมะละเอียดขึ้นเท่าใด จะเป็นปัจจัยให้ความประพฤติทาง

กาย วาจา ใจ พัฒนาในทางที่ดีที่เหมาะสมกับกาละเทศะ และจะมั่นคงเช่นนั้นเสมอ ไม่ว่า

วัฒนธรรมหรือยุคสมัยจะเปลี่ยนไปอย่างไร ควรมั่นคงในธรรมและการศึกษาธรรมอยู่เสมอ

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
พุทธรักษา
วันที่ 25 มิ.ย. 2554

การดำเนินชีวิตของแต่ละบุคคล เป็นสิ่งสะท้อนการสะสมของแต่ละบุคคลการสะสมของแต่ละบุคคล ต้องเป็นไปตามเหตุ ตามปัจจัยที่สำคัญ..."ขณะนี้" เรากำลังสะสมอะไร.!

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ