ฟังพระธรรมแล้วเป็นทุกข์ใจ

 
Sam
วันที่  1 ก.ค. 2554
หมายเลข  18655
อ่าน  1,557

การได้ฟังพระสัทธรรมที่ถูกต้อง ทำให้เป็นทุกข์ใจได้หรือไม่ครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 1 ก.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย คงต้องแยก เป็นสองประการ ก็จะทำให้เข้าใจได้ครับว่า การได้ฟังพระสัทธรรมที่ถูก

ต้อง ทำให้เป็นทุกข์ใจได้หรือไม่ การได้ฟังพระสัทธรรมที่ถูกต้อง ขณะนั้นเป็นผลของ

กรรม คือ ขณะที่ได้ยินเสียง ที่เป็นเสียงพระธรรมที่ถูกต้อง เป็นกุศลวิบากทางหู ดังนั้น

เมื่อมีเหตุปัจจัยที่จะได้ยินสียงพระธรรมที่ถูกต้องก็ทำให้ได้ยิน แต่ขณะที่ได้ยินเป็นผล

ของกรรม เป็นชาติวิบาก ขณะนั้นยังไม่ยินดีและยินร้าย ยังไม่สุขใจ ทุกข์ใจ เพราะเป็น

เพียงได้ยินเท่านั้นครับ เมื่อจิตได้ยินนั้นดับไป จิตอื่นๆ ก็เกิดต่อ นั่นคือ เป็นกุศลจิตก็

ได้ หรือ อกุศลจิตก็ได้ครับ แล้วแต่การสะสมมาของบุคคลนั้น บุคคลที่สะสมมาดี

สะสมความเข้าใจถูกมาก่อน เมื่อได้ยินพระธรรมที่ถูกต้อง ก็ย่อมเป็นปัจจัยให้เกิดกุศล

ต่อได้หลังจากได้ยินพระธรรมที่ถูกต้อง ขณะที่เป็นกุศล ขณะนั้นไม่ทุกข์ใจ และเมื่อ

ฟังแล้ว ปัญญาเกิดเข้าใจในสิ่งที่ฟัง ขณะนั้นก็ไม่ทุกข์ใจเพราะการได้ฟังพระธรรมที่

ถูกต้อง ส่วนผู้ที่สะสมความเห็นผิดมา เมือ่ได้ฟังพระธรรมที่ถูกต้อง ก็ย่อมไม่เชื่อ ไม่

ชอบในสิ่งที่ได้ฟัง ดังเช่นในสมัยพุทธกาล พวกอัญญเดียรถีย์ที่เห็นผิด เมื่อได้ฟังพระ

ธรรมของพระพุทธเจ้าก็ไม่ชอบใจ ทุกข์ใจก็มี เพราะเกิดจากการสะสมความเห็นผิดมา

นั่นเองครับ

ดังนั้นเมื่อเราแยกออก เป็น 2 ประเด็นคือ ขณะที่เป็นผลของกรรม คือ ขณะทีได้ยิน

เสียงพระธรรมที่ถูกต้อง กับ ขณะที่เป็นกุศลจิตและอกุศลจิตอันเกิดจากการสะสมมา

ของบุคคลในอดีต ก็จะทำให้เห็นภาพชัดว่า การได้ฟังพระสัทธรรมที่ถูกต้อง เมื่อได้

ฟังแล้วสามารถทำให้เกิด กุศลจิตและอกุศลจิตก็ได้ ทำให้เกิดปัญญาและทำให้ทุกข์

ใจหลังจากได้ยินก็ได้ แต่ไม่ใช่เกิดจากการฟังพระสัทธรรมที่ถูกต้อง แต่เกิดจาก

การสะสมมาของบุคคลนั้นเอง ว่าสะสมมาแบบใด

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 1 ก.ค. 2554

ดังนั้นการทุกข์ใจ ไม่ใช่เพราะวิบากที่เป็นผลของกรรม มีการได้ยินเสียง เป็นต้น แต่

เกิดจากกิเลสของผู้นั้นเองจึงทำให้ทุกข์ใจครับ พระอรหันต์ท่านก็มีวิบาก มีผลของ

กรรมทางตา หู จมูก ลิ้น กาย แต่ท่านก็ไม่ทุกข์ใจ เพราะท่านดับเหตุ คือต้นเหตุให้

ทุกข์ใจแล้วคือกิเลสนั่นเองครับ ดังนั้น วิบากที่เป็นการได้ยินพระธรรมก็ส่วนหนึ่ง การ

สะสมมาของกิเลส ที่ทำให้เกิดความทุกข์ใจก็ส่วนหนึ่งครับ โดยนัยตรงกันข้าม การได้

ยินเสียงที่ไม่ดี ก็ไม่ได้เป็นตัวกำหนดที่จะทำให้เมื่อได้ยินแล้วจะสุขใจ จะเป็นกุศล หรือ

จะต้องเป็นอกุศล ต้องทุกข์ใจครับ ก็แล้วแต่การสะสมความเห็นถูก การสะสมกิเลสมา

ของแต่ละบุคคลว่าเมื่อเห็น ได้ยินสิ่งเดียวกันแล้ว จิตจะเป็นอะไรครับ ก็แตกต่างกันไป

ดังนั้นการได้ฟังพระสัทธรรมที่ถูกต้อง ทำให้เป็นทุกข์ใจได้หรือไม่ครับ คำตอบคือ

ได้ แต่เป็นเพราะกิเลสที่สะสมมาเป็นสำคัญ อันทำให้เกิดการพิจารณาไม่แยบคาย

เกิดทุกข์ใจนั่นเอง เช่น ได้ฟังพระธรรมว่าเป็นสิ่งที่ยาก ลึกซึ้ง ก็เกิดความทุกข์ใจ ท้อ

ในการที่จะศึกษาพระธรรมเพราะยาก นี่ก็เป็นเพราะกิเลสที่สะสมมาทำให้คิดผิดและ

ทุกข์ใจ เป็นต้นครับ

ที่สำคัญการอบรมปัญญา ไม่ใช่การไม่ให้อกุศลเกิด เกิดแน่นอนครับ ไม่ว่าจะยังไม่

ศึกษาธรรมและเริ่มศึกษาธรรมกิเลสก็เกิดเป็นปกติ แต่หนทางคือเข้าใจสิ่งที่เกิดแล้ว

แม้อกุศลที่เป็นความทุกข์ใจที่เกิดขึ้น ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เราครับ ขออนุโมทนา

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
พุทธรักษา
วันที่ 2 ก.ค. 2554

เป็นไปได้ ที่ฟังพระสัทธรรม แล้วเกิดความทุกข์ใจ.
เช่น อาจจะเคยหลงเข้าใจผิด ใน "สิ่งที่ไม่จริง"แต่ เมื่อทราบ "ความจริง" ตามพระธรรมคำสอนที่ถูกต้อง ก็รู้สึกเดือดร้อนใจ-ทุกข์ใจหรือ เคยทำผิดพลาด และ เกิดความเดือดร้อนใจ เป็นต้น.
แต่บางครั้ง สำหรับบางคน วิกฤติ อาจจะเป็น โอกาส ได้เพราะ ความรู้สึก-ทุกข์ใจ ก็เป็น"ธรรม"แม้ บังคับบัญชาไม่ได้ แต่ "เข้าใจได้"
ขณะที่ "สติ" ระลึก ตรง ลักษณะของ "ความรู้สึก-ทุกข์ใจ"ขณะนั้น...ไม่ทุกข์ใจเพราะ สติ เกิด คั่น-กระแสของอกุศล ได้ ค่ะ.

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
khampan.a
วันที่ 2 ก.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตราบใดที่ยังไม่ได้รู้แจ้งอริยสัจธรรมถึงความเป็นพระอรหันต์ดับกิเลสทั้งปวงได้อย่างเด็ดขาด ยังเป็นผู้ไม่พ้นจากทุกข์ใจ อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากเหตุ คือ กิเลสเพราะยังมีกิเลส จึงยังไม่พ้นจากทุกข์โดยประการทั้งปวง เพราะยังมีกิเลสนี้เอง จึงฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงตลอด ๔๕ พรรษานั้น เป็นประโยชน์แก่ผู้ที่ได้ฟัง ได้ศึกษาอย่างแท้จริง เพราะสามารถนำออกไปจากทุกข์ทั้งปวงได้จริง นำมาซึ่งประโยชน์ในโลกนี้ ประโยชน์ในโลกหน้า และประโยชน์อย่างยิ่ง คือ การรู้แจ้งอริยสัจจธรรม ประจักษ์แจ้งพระนิพพานถึงความเป็นพระอริยบุคคลขั้นต่างๆ ในชีวิตประจำวัน สิ่งที่เป็นสาระที่สำคัญที่สุดในชีวิต คือ ความเข้าใจพระธรรม ผู้ที่ได้สะสมเหตุที่ดีมาแล้ว เห็นประโยชน์ของความเข้าใจพระธรรม จึงฟังพระธรรมด้วยความตั้งใจเพื่อความเข้าใจอย่างถูกต้องตรงตามพระธรรม บุคคลผู้ที่ได้ศึกษาพระธรรม ฟังพระธรรมเป็นปกติบ่อยๆ เนืองๆ ไม่ขาดการฟัง ย่อมเป็นเหตุให้ความเข้าใจเจริญขึ้น ขณะที่เกิดความเข้าใจ ไม่ทุกข์ใจ เพราะในขณะนั้นจิตเป็นกุศลประกอบด้วยปัญญา ขณะนั้นอกุศลเกิดไม่ได้ เมื่อมีความเข้าใจเจริญขึ้นไปตามลำดับ ย่อมจะทำให้รู้จักตัวเองตามความเป็นจริง รู้ว่าสิ่งใดควรกระทำ สิ่งใดควรเว้น อะไรเป็นประโยชน์ อะไรเป็นโทษ แล้วกระทำสิ่งที่ควรกระทำ เว้นสิ่งที่ควรเว้น ย่อมจะทำให้เป็นผู้อยู่เป็นสุขตามสมควร ดำเนินชีวิตเป็นไปในทางที่ถูกต้องยิ่งขึ้น เป็นชีวิตที่ประเสริฐกว่าชีวิตของผู้ที่ไม่ได้ศึกษาพระธรรมหรือศึกษาแต่ศึกษาผิด ปฏิบัติผิด แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ก็ยังไม่พ้นจากทุกข์เพราะยังไม่ได้ดับกิเลสอะไรๆ เลย อกุศลยังเกิดขึ้นได้ตามการสะสม จนกว่าจะมีปัญญาเจริญจนถึงขั้นที่สามารถดับกิเลสทั้งหลายทั้งปวงได้อย่างเด็ดขาด เมื่อนั้นจึงไม่มีทุกข์ใจอีกเลย ทั้งหมดทั้งปวงนี้ จะมีขึ้นได้ เป็นไปได้ ก็เพราะได้ฟังพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง นั่นเอง ครับ ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
bsomsuda
วันที่ 2 ก.ค. 2554

จากข้อความของ อ.คำปั่น

"..เมื่อมีความเข้าใจเจริญขึ้นไปตามลำดับ

ย่อมจะทำให้รู้จักตัวเองตามความเป็นจริง

รู้ว่าสิ่งใดควรกระทำ สิ่งใดควรเว้น อะไรเป็นประโยชน์ อะไรเป็นโทษ..

ย่อมจะทำให้เป็นผู้อยู่เป็นสุขตามสมควร ดำเนินชีวิตเป็นไปในทางที่ถูกต้องยิ่งขึ้น

แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ก็ยังไม่พ้นจากทุกข์..อกุศลยังเกิดขึ้นได้ตามการสะสม

จนกว่าจะมีปัญญาเจริญจนถึงขั้น

ที่สามารถดับกิเลสทั้งหลายทั้งปวงได้อย่างเด็ดขาด

เมื่อนั้นจึงไม่มีทุกข์ใจอีกเลย

....ทั้งหมดทั้งปวงนี้ จะมีขึ้นได้ เป็นไปได้

ก็เพราะได้ฟังพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง


ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
Sensory
วันที่ 2 ก.ค. 2554

ขออนุโมทนาท่านผู้ตั้งกระทู้และท่านผู้ตอบกระทู้

ดิฉันมีความคิดเห็นว่า

ขณะที่ทุกข์ใจ (เศร้า กังวล เครียด เสียใจ น้อยเนื้อต่ำใจ ฯลฯ)

เป็นคนละขณะกับขณะที่กำลังเข้าใจพระธรรม

ถึงแม้จะไม่เข้าใจจริงๆ ไม่ประจักษ์อะไรเลย (ด้วยปัญญาของคนยุคนี้)

ก็ยังดีที่ได้ศึกษา สะสมอุปนิสัย น้อมมาในทางที่ถูก ไม่คลุกคลีกับความเห็นผิด

เพราะปัญญาที่จะดับกิเลสได้ ไม่ใช่เกิดง่าย

หากเกิดโทมนัส ก็ให้รู้ว่าเป็นธรรมดาของผู้ที่ยังมีเชื้อกิเลสอยู่

ทุกข์โทมนัส แม้พระโสดาบันยังมีเหลือ แล้วปุถุชนจะมีสภาพจิตขนาดไหน

โทมนัสไม่ได้เกิดเพราะการศึกษาพระธรรม

เชื้อของกิเลสต่างหาก ที่เป็นปัจจัยให้เก็บเอามาคิดกังวลไปเอง

ด้วยโลภะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง

เมื่อเห็นว่ากิเลสยังเกิดแม้ในขณะที่ฟังพระธรรม ยิ่งต้องฟังพระธรรมต่อไป

เห็นคุณค่าของการฟังพระธรรมมากขึ้น

เวลาที่มีเรื่องทุกข์ใจ (โทมนัสเวทนา)

ต้องเตือนตนเองว่า เพราะความเข้าใจพระธรรมมีน้อยจึงยังหวั่นไหว

ยังมีความหวังและความกังวลต่างๆ

เมื่อโทมนัสเกิด ให้นึกถึงการฟังพระธรรมเป็นสิ่งแรก

เพราะเป็นทางเดียวที่จะดับความโทมนัสทั้งหลายจริงๆ ไม่ใช่แค่การข่มเอาไว้

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
wannee.s
วันที่ 2 ก.ค. 2554

ถ้าฟังธรรมแล้วเข้าใจ มีแต่กุศลเจริญ ยิ่งเข้าใจธรรม ก็ยิ่งเบิกบาน สีหน้าผ่องใส

มีความสุข เพราะความเข้าใจธรรมเป็นปัญญา ปัญญาจะไม่นำมาซึ่งความทุกข์ใดๆ

ถ้าฟังธรรมแล้วไม่เข้าใจ หรือ เข้าใจผิด ปัญญาไม่เกิด ก็ทุกข์ใจ เพราะกิเลสค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
Sam
วันที่ 3 ก.ค. 2554

เวลาผมขับรถหรือทำงานอื่นๆ ฟังเพลงแล้วมีความสุขเพลิดเพลิน แต่เข้าใจว่าเป็นไปด้วย

กิเลส หากเปิดซีดีท่านอาจารย์บรรยาย บางทีก็รู้สึกเครียดกับการจราจรหรือการงาน

แต่ก็ได้รับความสงบใจบ้างในขณะที่ฟังแล้วเข้าใจตาม

ขอขอบคุณและอนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 3 ก.ค. 2554

สัทธรรม มาจากคำว่า สนฺต (ผู้สงบ) + ธมฺม (ธรรม)

แปลว่า ธรรมของผู้สงบ หรือ ธรรมที่ทำให้เป็นผู้สงบ

ดังนั้น การฟังพระสัทธรรมที่ "ถูกต้อง" จะทำให้เกิดความทุกข์ใจไม่ได้เลย

ความทุกข์ใจต้องมาจากสาเหตุอื่น ซึ่่งความทุกข์ใจคือลักษณะของโทมนัสเวทนา

ถ้าเป็นโลภะ หรือโมหะจะไม่ทุกข์ใจ.....แต่ก็ไม่สงบค่ะ

ขณะที่ฟังธรรมมีความปรารถนาอย่างอื่น

เกินไปกว่าความเข้าใจในสิ่งที่กำลังฟังหรือเปล่าค่ะ?

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
Sam
วันที่ 3 ก.ค. 2554

เรียนคุณไตรสรณคมน์ครับ ผมเข้าใจว่าการฟังอย่างถูกต้อง (ฟังเพื่อเข้าใจสิ่งที่กำลังฟัง)

จะไม่ทำให้เกิดความทุกข์ใจเลยครับ แต่การฟังพระสัทธรรมซึ่งแม้จะเป็นคำสอนที่ถูกต้อง

ก็อาจทำให้ทุกข์ใจได้ด้วยการสะสมมาเป็นปกตินิสัยครับ

ส่วนความปรารถนาเป็นอย่างอื่นนั้น ต้องขอยอมรับว่ามีอยู่เต็มครับ ทั้งความสำเร็จทางโลก

และทางธรรม ด้วยสะสมมามาก ไปบังคับให้ไม่มีก็ไม่ได้ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
ผู้ร่วมเดินทาง
วันที่ 4 ก.ค. 2554

ขอบพระคุณอาจารย์ผเดิม อาจารย์คำปัน อาจารย์วรรณี และทุกท่าน ที่ได้สนทนาธรรมอย่างละเอียด ทำให้ได้ความเห็นตรงจริงๆ ครับ ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
พุทธรักษา
วันที่ 4 ก.ค. 2554
ขออนุโมทนาค่ะ
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ