พึงหมั่นศึกษาในกาลทุกเมื่อ

 
pirmsombat
วันที่  5 ก.ค. 2554
หมายเลข  18680
อ่าน  1,239

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 363

........................

[๗๘๔] ก็ภิกษุนั้นเป็นผู้ครอบงำ ไม่ถูกครองงำได้เห็นแล้ว

ซึ่งสักขิธรรมโดยไม่ต้องเชื่อต่อผู้อื่น เพราะฉะนั้นแหละ

ภิกษุพึงเป็นผู้ไม่ประมาทในศาสนาของพระผู้มีพระภาค

เจ้านั้น นมัสการอยู่ พึงหมั่นศึกษาในกาลทุกเมื่อ

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดังนี้.

[๗๘๕] คำว่า ก็ภิกษุนั้นเป็นผู้ครอบงำ ไม่ถูกครอบงำ ความว่า

ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ครอบงำ เพราะครอบงำรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ

ธรรมารมณ์ เป็นผู้ไม่ถูกกิเลสอะไรครอบงำ อนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ครอบงำ

เหล่าอกุศลธรรมอันลามก อันทำให้เศร้าหมอง อันให้เกิดในภพใหม่ ให้มี

ความกระวนกระวาย มีวิบากเป็นทุกข์อันเป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชราและมรณะ

ต่อไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ก็ภิกษุนั้นเป็นผู้ครอบงำ ไม่ถูกครอบงำ.

[๗๘๖] คำว่า ซึ่งสักขิธรรม ในคำว่า ได้เห็นแล้วซึ่งสักขิธรรม

โดยไม่ต้องเชื่อต่อผู้อื่น ความว่า ได้เห็น เห็นทั่ว พบเห็น แทงตลอด

แล้วซึ่งธรรมที่ประจักษ์แก่ตน อันตนรู้ยิ่งเอง มิใช่โดยต้องเชื่อต่อผู้อื่นว่า

ธรรมนี้เป็นดังนี้ ธรรมนี้เป็นดังนี้ มิใช่โดยได้ฟังต่อๆ กันมา มิใช่โดย

ถือตามลำดับสืบๆ กันมา มิใช่โดยได้อ้างตำรา มิใช่โดยนึกเดาเอาเอง

มิใช่โดยคาดคะเนเอา มิใช่โดยได้ตรึกตามอาการ มิใช่โดยเห็นว่าควรแก่

ลัทธิของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ได้เห็นแล้วซึ่งสักขิธรรมโดยไม่ต้อง

เชื่อต่อผู้อื่น.

[๗๘๗] คำว่า เพราะฉะนั้น ในคำว่า เพราะฉะนั้นแหละ...

ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ความว่า เพราะฉะนั้น เพราะ

การณะนั้น เพราะเหตุนั้น เพราะปัจจัยนั้น เพราะนิทานนั้น. คำว่า

ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ความว่า ในศาสนาของพระผู้มี

พระภาคเจ้านั้น คือในศาสนาของพระโคดม ในพุทธศาสนา ในศาสนา

ของพระชินเจ้า ในศาสนาของพระตถาคต ในศาสนาของท่านผู้เป็นเทพ

ในศาสนาของพระอรหันต์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะฉะนั้นแหละ...

ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น.

[๗๘๘] คำว่า พึงเป็นผู้ไม่ประมาท ในคำว่า ภิกษุพึงเป็นผู้

ไม่ประมาท นมัสการอยู่ พึงหมั่นศึกษาในกาลทุกเมื่อ พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสดังนี้ ความว่า ภิกษุพึงเป็นผู้ทำโดยความเคารพ ฯลฯ ไม่

ประมาทในธรรมทั้งหลายฝ่ายกุศล. คำว่า ในกาลทุกเมื่อ คือในกาลทุกเมื่อ

ในกาลทั้งปวง ฯลฯ ในตอนวัยหลัง. คำว่า นมัสการอยู่ ความว่า นมัสการ

สักการะ เคารพ นับถือ บูชา ยำเกรง ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยจิต

ด้วยปฏิบัติเป็นไปตามประโยชน์หรือด้วยความปฏิบัติธรรม. คำว่า พึงหมั่น

ศึกษา ความว่า สิกขา ๓ คืออธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขาฯลฯ นี้ชื่อว่าอธิปัญญาสิกขา. ภิกษุนึกถึงสิกขาทั้ง ๓ นี้อยู่ ฯลฯ ทำให้

แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งอยู่ ก็พึงศึกษา พึงประพฤติเอื้อเฟื้อด้วยดี

สมาทานประพฤติ. คำว่า ภควา เป็นคำกล่าวด้วยความเคารพ ฯลฯ

เป็นสัจฉิกาบัญญัติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุพึงเป็นผู้ไม่ประมาท...

นมัสการอยู่ พึงหมั่นศึกษาในกาลทุกเมื่อ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดังนี้

เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

ภิกษุนั้นเป็นผู้ครอบงำ ไม่ถูกครอบงำ ได้เห็นแล้ว

ซึ่งสักขิธรรมโดยไม่ต้องเชื่อต่อผู้อื่น เพราะฉะนั้นแหละ

ภิกษุพึงเป็นผู้ไม่ประมาทในศาสนาของพระผู้มีพระภาค-

เจ้านั้น นมัสการอยู่ พึงหมั่นศึกษาในกาลทุกเมื่อ

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดังนี้แล.


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 5 ก.ค. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณหมอครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
pirmsombat
วันที่ 5 ก.ค. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณเผดิมครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
Maimii
วันที่ 5 ก.ค. 2554

ถึงแม้จะไม่ใช่ภิกษุ ก็ต้อง นมัสการอยู่ หมั่นศึกษาในกาลทุกที่ทุกเวลา ด้วยความไม่ประมาท

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
nong
วันที่ 6 ก.ค. 2554

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
pamali
วันที่ 6 ก.ค. 2554
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
Noparat
วันที่ 6 ก.ค. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
wannee.s
วันที่ 7 ก.ค. 2554

ไม่ประมาทในการเจริญกุศลทุกประการ โดยเฉพาะการอบรมเจริญปัญญาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
170755
วันที่ 8 ก.ค. 2554
ขออนุโมทนา
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ