การมองกับการเห็นต่างกันอย่างไร

 
Maimii
วันที่  5 ก.ค. 2554
หมายเลข  18681
อ่าน  15,802

เมื่อคุณกำลังขับรถไปตามถนน สายตาต้องมองออกไปนอกรถ สิ่งที่ปรากฏทางตา

ของคุณจะเป็นด้านหลังของรถคันหน้า คนอยู่ในรถ การเคลื่อนไหวของรถ คนเดินถนน

แสงของไฟเลี้ยว เบรค ท้องฟ้า เด็กขายพวงมาลัย ต้นไม้ตามถนนหนทาง เส้นแบ่งผิว

การจราจร ฟุตบาท เศษขยะ รถเสีย มีอะไรที่คุณกำลังพลาด และคุณกำลังมองหรือ

กำลังเห็น อาจารย์เผดิมและอาจารย์คำปันอย่าเพิ่งตอบนะครับ รอให้สมาชิกสนทนา

กันไปพลางๆ ก่อน ซักสองสามวัน ขอบคุณครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 5 ก.ค. 2554

เชิญท่านสมาชิก ร่วมสนทนาธรรมในประเด็นนี้ครับขออนุโมทนาคุณ Maimii ที่ตั้งประเด็นเพื่อสนทนาธรรมอันนำมาซึ่งความเจริญขึ้นของปัญญา ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
นาวาเอกทองย้อย
วันที่ 5 ก.ค. 2554

ถ้าภาพเหล่านั้นเป็นเพียงรูปารมณ์ที่กระทบจักขุปสาทะ คุณก็กำลังเห็น

ถ้าคุณตั้งใจจะดูภาพเหล่านั้น คุณก็กำลังมอง

ถ้าคุณไม่กำหนดให้รู้ทันรูปารมณ์หรือภาพเหล่านั้น คุณก็กำลังพลาด

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 6 ก.ค. 2554

ถ้าความหมายของคำ คือมองคือ สิ่งที่เราจดจ้องเจตนาที่จะจ้องมอง สิ่งๆ หนึ่งใน เวลานั้น แต่ เห็น คือ สิ่งที่ไม่เจตนาที่จะ จ้อง หันผ่านๆ หรือ อยู่ๆ ก็ เห็นเอง ขอคิดเองและตอบเองว่า......อะไรมอง-จักขุวิญญาณจิตมอง---อะไรเห็น-จักขุวิญญาณจิตเห็น--ทั้งมองและเห็นอะไร-เห็นสิ่งที่ปรากฏทางตา (สี) ...เห็น-เห็นอย่างเดียว (ทางจักษุทวาร) ...มองคือเห็นแล้วคิด (ทางจักษุทวารและมโนทวาร) * * ขณะขับรถมอง..คือเห็นแล้วคิดว่าเป็นป้ายจราจร...ไฟเขียวไฟแดงเป็นต้น

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
SOAMUSA
วันที่ 6 ก.ค. 2554

เกี่ยวกับสัมปชัญญะ

เมื่อครั้งที่อาจารย์สอนดิฉันมองโต๊ะ มีสติแล้ว

ต้องมีสัมปชัญญะอีกด้วย ดิฉันก็มองด้วยความงงงวยค่ะ

เพราะยังไม่ค่อยจะรู้เรื่องเท่าไร เกิดมาก็ได้แต่มองๆ ๆ

มองยังงัยมีทั้งสติ ทั้งสัมปชัญญะด้วย

ขอร่วมสนทนาด้วยค่ะ ถ้าไม่เข้าท่าก็ขออภัยด้วยค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
daris
วันที่ 6 ก.ค. 2554

ขออนุญาตร่วมสนทนาตามความเข้าใจของผมนะครับ ไม่แน่ใจว่าจะถูกต้องหรือไม่

คิดว่าขณะที่ 'เห็น' คือรูปารมณ์กระทบกับจักขุปสาทที่ยังไม่ดับ แต่อาจจะเป็นอารมณ์ที่

ไม่ชัดเจนจึงทำให้วิถีจิตที่เกิดขึ้น ไม่ถึงกับเป็น ชวนวาระหรือตทาลัมพนวาระ หยุดอยู่

เพียงแค่ โวฏฐัพพนวาระ วิถีจิตทางมโนทวารที่เกิดต่อจึงไม่ได้คิดคนึงไปในอารมณ์นั้น

มาก เช่น เห็นตึกรามบ้านช่องข้างทางก็แค่รู้ว่าเป็นอะไรแต่ไม่ได้ใส่ใจ

แต่ขณะที่ 'มอง' เนื่องจากรูปารมณ์กระทบกับจักขุปสาทที่ยังไม่ดับ และเป็นอารมณ์ที่

ชัดเจนทำให้วิถีจิตที่เกิดเป็น ชวนวาระหรือตทาลัมพนวาระ ทำให้วิถีจิตทางมโนทวาร

คิดคำนึงถึงอารมณ์นั้นมากหลายวาระสืบต่อ เช่น ขับรถไปเห็นไฟแดง รู้ความหมายว่า

ต้องหยุด ทำให้เกิดกายวิญญัติรูปโดยเคลื่อนเท้ามากดที่ห้ามล้อ หรือเห็นป้ายโฆษณา

สวยๆ ข้างทางทำให้เกิดกายวิญญัติรูปลูกตาเคลื่อนไปมองสิ่งที่จำเป็นฆนสัญญาว่าเป็น

'ป้ายโฆษณา' เกิดวิถีจิตทางจักขุทวารและมโนทวารซ้ำกันต่ออีกหลายขณะจิต

หากผิดพลาดโปรดอภัยด้วยครับ

และจะขอติดตามกระทู้นี้เพื่อความเข้าใจที่กระจ่างขึ้นครับ

ขออนุโมทนา
 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
wannee.s
วันที่ 6 ก.ค. 2554

เห็นก็คือเห็น เห็นแล้วก็คิด ที่ว่าเห็นเป็นต้นไม้ เป็นเรื่องของความคิด ขณะที่คิด

ไม่ใช่ขณะที่เห็น ต้องเข้าใจสิ่งที่มีจริงในขณะนี้ จิตเป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้

ขณะใดที่จำขณะนั้นไม่ใช่จิต เป็นเจตสิก เช่น เห็นขณะนี้ก็จำแล้ว ว่าเป็นคน

เป็นสัตว์ เป็นวัตถุสิ่งของต่าง ๆ ขณะนั้นก็เป็นสัญญาวิปลาสด้วย ถ้าสติไม่เกิดค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
Khun
วันที่ 7 ก.ค. 2554

เป็นเรามอง เพราะถ้าเป็นเห็นก็คงจะดูการเห็นของตัวเองคงไม่ค่อยรู้ว่าเห็นอะไร

(อิอิ อยากรู้คำตอบเร็วๆ จัง)

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
Maimii
วันที่ 7 ก.ค. 2554

ตามจุดมุ่งหมายของผมในการตั้งกระทู้นี้ ผมแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มมีอสมัคร

เล่น (เช่นผม) และมืออาชีพ (ใช้คำเพื่อให้เข้าใจง่าย ไม่ได้มีเจตนาจะล่วงเกินครับ)

ผมขอแสดงตามกำลังสติปัญญาเท่าที่มี สิ่งที่กำลังพลาดคือการละเลยการรู้และการ

รับรู้ ในสิ่ีงที่กำลังปรากฏในตำแหน่งคนขับ ลองพิจารณาดูนะครับ เมื่อคุณอยู่ใน

ตำแหน่งคนขับ สื่งที่อยู่เบื้องหน้าของคุณคือ พวงมาลัย แผงหน้าปัทม์ มาตรวัดต่างๆ

กระจกหน้ารถ กระจกมองข้าง กระจกมองหลัง ฝากระโปรงหน้า เกียร์รถ ฯลฯ เพราะใน

กระทู้ผมจะแสดงถึงภายนอกทั้งหมด และเมื่อคุณเป็นคนขับรถสิ่งเหล่านี้จะต้องปรากฏ

แก่คุณเท่านั้นไม่ว่าจะเป้นการมองหรือการเห็น นอกจากนี้การรับรู้ของคุณยังจะต้องรวม

ถึงสิ่งที่ไม่ปรากฏเบื้องหน้าคูณแต่ว่ามันมี นั่นคือ เครื่องยนต์ ด้านหลังของคุณถ้าคุณมี

สิ่งของหรือผู้โดยสารที่นั่งด้านหลังรวมถึงตัวรถ ความเร็วของรถ และรวมไปถึงความยาว

ความกว้างของรถ สิ่งนี้คุณอาจจะไม่เห็นด้วยแต่ผมจะย้อนถามคุณว่าถ้าคุณไม่รู้ คุณก็จะ

ต้องชนท้ายรถคันหน้าของคุณใช่่ไหม และถ้าคุณไม่รู้ความกว้างของรถคุณจะเข้าจอด

หรือสัญจรในซอยได้อย่างไร แม้กระทั่งความสูงของรถคุณก็รู้ได้ ถ้าโดยหยาบๆ ละก็ คุณ

ก็ลงไปยืนข้างรถ แต่ช่วงขณะรถวิ่งคุณก็จะรู้ความสูงต่ำจากรถด้านข้างหรือด้านหน้า

รวมถึงด้านหลัง ยามที่คุณโดนไฟสูงตบใส่ฐานขับช้า นอกจากนี้ คุณยังต้องรับว่ามี

หลังคารถ ใต้ท้องรถ ยางรถยนต์ รวมไปถึงป้ายทำเบียนรถ ป้ายวงกลม ป้ายประกับ

ภัย (อย่าลืมเบอร์โทรต้องเขียนให้ตัวใหญ่ ยามฉุกเฉินเกิดอุบัติเหตุ เคยมาแล้ว) นอก

จากนี้สิ่งที่สำคัญอีกอย่าง ใบขับขี่ และสิ่งที่สำคัญทีึ่สุดคือต้องรู้จักวิธีการขับรถ เห็น

ไหม (ทำไมไม่ว่ามองไหม) คุณพลาดอะไรไปบ้าง ส่วนเรื่องของการเห็นและการมอง

ขอสนทนาในวันต่อไป ต้องไปสวดมนต์แล้วครับ

กราบอนุโมทนาในกุศลจิตของผู้ร่วมสนทนาทุกท่านครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
Khun
วันที่ 7 ก.ค. 2554

มาติดตามคำตอบของคุณ Paderm ยังไม่มี ค่อยแวะมาใหม่ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
Maimii
วันที่ 8 ก.ค. 2554

การมองไม่มี มีแต่การเห็น อ.เผดิมและอ.คำปันได้ตอบคำถามนี้แล้วในกระทู้

"ทำไมคนเราถึงไม่เห็นใบหน้าของเรา" และแนะนำให้ทำความเข้าใจเพิ่มเติม

ในถอดเทปสนทนาธรรม "ทุกคนนี้ข้ามปัญญา"และ"แน่ใจนะ---ว่ารู้จักสติแล้ว

เราใช้ปัญญาในการเห็นครับ และขอรบกวนอาจารย์ทั้งสองกรุณาแสดงด้วยครับ

กราบอนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
paderm
วันที่ 11 ก.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย สภาพธรรมคือสิ่งที่มีจริง แม้ไม่มีชื่อสภาพธรรมก็มีจริง มีลักษณะ แต่ถ้าเราตีความ

หมายของชื่อ แต่ลืมตัวลักษณะของสภาพธรรม ก็จะสับสนในชื่อที่ใช้ได้ครับ แม้แต่คำ

ว่ามองและเห็นเหมือนหรือต่างกันอย่างไร ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าใครจะตีความคำว่ามอง

อย่างไร อาจจะตีความคำว่ามอง คือ การรู้ว่าสิ่งใด สิ่งหนึ่งแล้ว เป็นรถข้างหน้า เป็น

ไฟแดง เป็นรถด้านหลัง ดังนั้นเราจะต้องเข้าใจคำว่ามองให้ตรงกันเสียก่อนครับ แต่ที่

สำคัญ ไม่ว่าขณะที่มอง หรือ ขณะที่เห็น จะต้องมีสิ่งที่ให้เห็นก่อนเสมอ นั่นคือสิ่งที่

ปรากฏทางตา หรือ สี ขณะที่มีสิ่งที่ปรากฎางตาในขณะนั้น ยังไม่เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดเลย

ไม่เป็นรถ ไม่เป็นไฟแดง ไม่เป็นเบาะ หรือ ความหมายให้รู้ว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด เพราะ

กำลังเห็น คือ มีเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตาเท่านั้น ยังไมได้คิดนึกถึงรูปร่างสัณฐานของ

สิ่งที่ปรากฏทางตา จึงยังไม่รู้ว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดครับ ดังนั้นไม่ว่ามอง หรือ เห็นก็จะ

ต้องมีสิ่งที่ปรากฏทางตาให้รู้ได้ในขณะนั้น โดยที่ยังไม่ได้เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด สิ่งต่างๆ

เลยเพราะเป็นเพียงสีเท่านั้นครับ

แต่ขณะใดที่รู้ว่าเป็นสิ่งใด สิ่งหนึ่งแล้ว คือ รู้ความหมาย เห็นเป็นรูปร่างสัณฐาน เป็น

สิ่งต่าง มีไฟแดง รถคันต่างๆ นั่นแสดงว่าขณะนั้น คิดนึกในสิ่งที่เห็นแล้ว อย่างรวดเร็ว

ดังนั้นไม่ว่าจะใช้คำว่ามอง จะใช้คำว่าเห็น ก็ตาม แต่ให้รู้ความจริงว่า ขณะใดที่รู้ว่าเป็น

สิ่งหนึงสิ่งใดแล้ว ไม่ใช่ขณะที่เพียงรู้สิ่งที่ปรากฏทางตาเท่านั้น หรือ เพียงเห็นเท่านั้น

ครับ ส่วนคำว่ามอง ก็เป็นลักษณะอาการของการเห็นนั่นเอง เพราะถ้าจะมองอะไรก็คือ

ต้องมีการเห็นในขณะนั้น มองโดยไม่เห็นไม่ได้ครับ ดังนั้นไม่ว่ามองหรือเห็นต่างก็มีสิ่ง

ที่ปรากฏทางตาเหมือนกันครับ และการมองก็ไม่พ้นไปจากการเห็นเช่นเดียวกัน อันเป็น

ลักษณะที่เป็นอาการของการเห็นนั่นเองครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
paderm
วันที่ 11 ก.ค. 2554

การเข้าใจความจริงของสภาพธรรมไม่ว่าจะเป็นทางตา หู จมูก ลิ้น กายและใจใน

ชีวิตประจำวัน สำคัญคือเข้าใจให้ถูกต้อง คือ ปัญญาต้องรู้ตรงลักษณะของสภาพธรรม

แต่ไม่ใช่ปัญญาที่พิจารณาเป็นเรื่องราวของสภาพธรรม โดยการคิดนึกในเรื่องสภาพ

ธรรม ว่าขณะนี้กำลังเห็น ขณะนี้กำลังมอง และขณะนี้กำลังคิด เป็นต้น เพราะขณะนั้น

ไม่ได้รู้ลักษณะของสภาพธรรมจริงๆ เพราะขณะที่คิดอย่างนั้น สภาพธรรมที่จะให้รู้ก็ดับ

ไปนานแล้วครับ จึงค่อยๆ เข้าใจว่าการคิดในเรื่องสภาพธรรมไม่ใช่การรู้ตรงลักษณะของ

สภาพธรรมที่เป็นสติปัฏฐานครับ

อาศัยการฟังพระธรรมเรื่องสภพาธรรมไปเรื่อยๆ ปัญญาก็จะค่อยๆ เจริญขึ้นทีละเล็ก

ละน้อย จนถึงปัญญาที่รู้ความจริงในขณะนี้ที่ไม่ใช่การคิดนึกแต่รู้ตรงลักษณะ แต่เป็น

เรื่องที่ยากและต้องอาศัยระยะเวลายาวนานมากครับ กว่าจะถึงตรงนั้นจึงจะต้องอดทน

ที่จะไปหาวิธีอื่นที่จะรู้ความจริงในขณะนี้ นอกจากการฟังพระธรรมและศึกษาพระธรรม

ครับ โลภะเกิดได้ ในขณะที่เห็นแล้ว ง่ายมากและเป็นปกติที่อกุศลจะเกดขณะที่เห็น

แล้ว เพราะสะสมอกุศลมามากฉันใด กุศล คือสติและปัญญาก็สามารถเกิดแทรกขั้นได้

เมื่อเห็นแล้วได้ แต่ต้องเป็นผู้อบรมปัญมามากแล้วจนชำนาญ ดังเช่นการสะสมกิเลสมา

นานนั่นเองครับ โดยอาศัยการฟังพระธรรมและศึกษาพระธรรม ขออนุโมทนาครับ

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
Khun
วันที่ 11 ก.ค. 2554

สาธุ... ชัดเจนมากค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ