ควรเห็นแก่เสียงส่วนใหญ่ หรือเสียงที่ถูกต้อง

 
Sam
วันที่  8 ก.ค. 2554
หมายเลข  18707
อ่าน  1,568

สังคมในยุคนี้นิยมใช้มติของเสียงส่วนใหญ่ในการตัดสินว่าจะดำเนินการเรื่องต่างๆ ไป

อย่างไร ซึ่งโดยหลักแล้วทุกคนควรทำตามไปเช่นนั้นแม้ว่าจะเห็นต่างออกไป ทั้งนี้เพื่อ

ความก้าวหน้าและความเรียบร้อยในสังคมเป็นส่วนรวม แต่ในบางกรณี ความเห็นที่

เป็นเสียงส่วนใหญ่ก็ไม่ใช่สิ่งที่ไม่ถูกต้อง หรือขัดต่อศีลธรรม โดยความเห็นที่ถูกต้อง

เป็นเสียงส่วนน้อย หรือไม่อาจโน้มน้าวให้คนส่วนใหญ่เห็นคล้อยตามได้

จึงขออนุญาตเรียนถามถึงหลักคิดในพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 8 ก.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย พระธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นสัจจะ ความจริงไม่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย

เป็นสัจจะ ความจริงอย่างไร กุศล เป็น กุศล อกุศล เป็น อกุศล สิ่งที่จริงแท้ ประกอบ

ด้วยประโยชน์ เป็นกุศล ไม่เปลี่ยนลักษณะ เช่นเดียวกับ สิ่งที่ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบ

ด้วยประโยชน์ เป็นอกุศล ไม่เปลี่ยนแปลงลักษณะ ดังนั้นจำนวนคน เสียงส่วนรวม

เสียงส่วนมาก ประเพณีของสังคม ที่เป็นสิ่งที่ชาวโลก สมมติขึ้นว่าดี ว่าถูกต้องและคน

ส่วนใหญ่เห็นว่าดี ว่าถูกต้องจะเป็นสิ่งที่ถูกต้อง เป็นสิ่งที่ดีเสมอไปไมได้ครับ เพราะ

ความจริงที่เป็นสัจจะ ไมได้ขึ้นอยู่กับความนิยมชมชอบ เสียงส่วนใหญ่ แต่อยู่ที่สภาพ

ธรรมนั้นนั่นเอง เป็นตัวตัดสิน กุศลก็ต้องเป็นกุศล อกุศลก็เป็นอกุศลครับ

ซึ่งพระพุทธเจ้าได้แสดงพระธรรมในเรื่องนี้ไว้ว่า สิ่งที่คนส่วนมากเห็นว่าดี จริงแท้

แต่เราก็กล่าวว่าสิ่งนั้นไม่ดี ไม่จริงแท้ก็มี สิ่งใดที่ชนเป็นอันมาก เห็นว่าไม่ดี ไม่จริงแท้

แต่เราก็กล่าวว่าจริง แท้ก็มี สิ่งใดที่ชนเป็นอันมาก เห็นว่าดี จริงแท้ แม้สิ่งนั้นเราก็กล่าว

ว่าดี จริงแท้ เช่นกัน และสิ่งใดที่ชนเป็นอันมาก กล่าวว่าไม่จริง ไม่ดี แ ม้สิ่งนั้นเราก็

กล่าวว่าไม่จริง ไม่ดีเช่นกัน จะเห็นนะครับว่า ไมได้ขึ้นอยู่กับชนเป็นอันมากเห็นว่าดี

แล้วสิ่งนั้นจะดี หรือ ชนเป็นอันมากกล่าวว่าไม่ดี สิ่งนั้นจะไม่ดีเสมอไป ก็แล้วแต่ความ

จริงของสภาพธรรมนั้นนั่นเอง สัจจะจึงไม่เปลี่ยนแปลงไปตามหมู่ชน ประเพณี ค่านิยม

และความเห็นของคนหมู่มากครับ

แม้แต่ในเรื่อง สัจจกนิครณถ์ที่มาโต้วาทะกับพระพุทธเจ้า สัจจกะ ได้ทูลถามพระ

พุทธเจ้าว่า พระองค์มีความเห็นว่าอย่างไร พระพุทธเจ้าตรัสว่า เรามีความเห็นว่า รูปไม่

เที่ยง เวทนา..วิญญาณไม่เที่ยง...รูปไม่ใช่เรา ส่วนสัจจกะ ก็กราบทูลว่า ข้าพระองค์มี

ความเห็นว่า รูปเป็นเรา เป็นตน ซึ่งเป็นความเห็นผิด แต่สัจจกะ ก็กล่าวต่อว่า แม้ประชุม

ชนส่วนใหญ่ก็เห็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าตรัสว่าประชุมชนส่วนใหญ่จะทำอะไรได้ ท่าน

จงแก้ จงตอบในสิ่งที่สนทนาดีกว่า ดังนั้นจะเห็นว่า ไม่ใช่ประชุมส่วนใหญ่จะคิดอย่างไร

แต่ความเห็นผิดก็ต้องเป็นความเห็นผิด เป็นอกุศล ไม่ถูกต้องครับ ความเห็นถูกก็ต้อง

เป็นความเห็นถูก แม้ชนส่วนน้อยจะเข้าใจอย่างนั้นก็ตามครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 8 ก.ค. 2554

ดังนั้นในสมัยพุทธกาล ในการตัดสิน ความผิด หรือสิ่งที่ถูกต้องของพระภิกษุ

พระพุทธองค์จะทรงถามถึงใจภิกษุรูปนั้นว่าคิดอย่างไร คือ ถ้าคิดเป็นอกุศลก็ต้อง

เป็นอกุศล แต่ไมได้คิดเป็นอกุศล ก็ไม่เป็นอกุศล ไมได้ตัดสินที่จำนวนคนว่าถ้าเสียง

ข้างมาก สิ่งนั้นถูก เสียงข้างน้อย สิ่งนี้จึงผิดครับและแม้พระธรรมวินัยของพระองค์เอง

ในการตัดสินว่าเมื่อได้ฟังจากใครแล้ว สิ่งนั้นถูกหรือผิด ก็ตรวจสอบว่าลงกับพระธรรม

วินัยได้ไหม เป็นเหตุผลหรือไม่ แต่ไม่ได้ใช้จำนวนคนในการตัดสินครับ

ดังนั้นคำว่าประชาธิปไตยที่คนส่วนมากตัดสิน หากเป็นประชาธิปไตยที่เป็นของ

คนที่ไม่มีคุณธรรมในการตัดสินปัญหา หรือ เรื่องใดเรื่องหนึ่ง ย่อมประกอบด้วยความ

ลำเอียง ความชอบไม่ชอบคนนี้ ด้วยกิเลส ด้วยผลประโยชน์ สิ่งที่ได้คือ ไม่ใช่ความถูก

ต้อง แต่เป็นเรื่องของกิเลส ไม่ใช่กุศลธรรมนั่นเอง ดังนั้น การตัดสินด้วยเสียงส่วนใหญ่

จึงไม่ใช่เกณฑ์วัดความถูกต้องที่แท้จริงครับ หากเสียงส่วนใหญ่นั้น ไม่ประกอบด้วย

คุณธรรมและเป็นผู้ตรงและมีปัญญาครับ แต่ถ้าเป็นผู้ประกอบด้วยคุณธรรมสูงดังสมัย

พุทธกาล ย่อมตัดสินปัญหาต่างๆ ด้วความตรง ด้วยปัญญา ก็ย่อมเป็นสิ่งที่ดี มีประโยชน์

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
paderm
วันที่ 8 ก.ค. 2554

พระธรรมย่อมขัดเกลาเกื้อกูลกับผู้ศึกษาเมื่อเข้าใจและน้อมประพฤติปฏิบัติตาม การ

เป็นคนดี ไม่ใช่เพียงศึกษาธรรมแต่เมื่อได้ศึกษา ใจก็น้อมไปในการดำเนินชีวิตประจำวัน

ที่ถูกต้อง แม้แต่ในเรื่องของการตัดสินปัญหาต่างๆ ในการทำงาน ในชีวิตประจำวัน ผู้ที่

เห็นถูกและมั่นคงที่จะสะสมความเป็นผู้ตรง จึงรักษากุศล คือเป็นผู้ตรงที่จะไม่เอนเอียง

ไปตามความไม่ถูกต้องที่เป็นอกุศล หรือ เอนเอียงไปตามความอคติ ในความไม่ชอบ

หรือชอบบุคคลอื่นจึงตัดสินปัญหานั้น แต่เมื่อมีเหตุการณ์ที่ต้องตัดสินปัญหาจึงตั้งจิต

ด้วยความเป็นผู้ตรง มั่นคงในกุศล ที่เลือก รักษา ที่เป็นกุศลและไม่เลือก ไม่ตัดสิน

ปัญหา ทำให้ผลที่ได้มาขัดต่อ กุศล เป็นอกุศลธรรรมครับ แม้จะเป็นเสียงข้างน้อย แต่

ขณะนั้น ชนะใจเราและขัดเกลากิเลสของตัวเองที่มีความเป็นผู้ตรง ที่สำคัญ อาจจะคิด

ว่ามีผลกระทบกับตัวเองที่จะเดือดร้อน หากคิดต่าง คิดในสิ่งที่ถูกแต่ความเดือดร้อนและ

ไม่เดือดร้อนนั้นเป็นเรื่องของกรรมทั้งสิ้นครับ หากไม่ได้ทำชั่วมาใครจะทำอะไรได้ แต่

ขณะที่ตัดสิน เลือกในสิ่งที่ดี เป็นกุศลธรรมจริง ขณะนั้น มีการรักษาแล้ว จิตของผู้นั้น

เองทีเป็นกุศล รักษาใจเราไม่ให้เป็นอกุศล และการกระทำสิ่งทีเป็นกุศล จะนำความ

เดือดร้อนมาไมได้เลย จึงไม่หวั่นไหวที่จะรักษาความถูกต้อง ดังนั้นการเป็นที่รัก ไม่เป็น

ที่รัก การเดือดร้อน ไม่เดือดร้อน ไม่ใช่ประเด็นสำคัญ สำคัญที่จะสะสมอะไร เพื่อเป็น

อุปนิสัยในการบรรลุ มรรคผลในอนาคต คือ ความเป็นผู้ตรง ตรงในกุศลธรรมครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
paderm
วันที่ 8 ก.ค. 2554

ในยุคปัจจุบัน เมื่อล่วงเลยมาเวลา 2500 ปีหลังพุทธกาล เมื่อครั้งสมัยพุทธกาล

พระเจ้าปเสนทิโกศล ได้พระสุบิน คือ ฝันขึ้น ได้กราบทูลถามถึงเหตุของความฝันว่า

จะมีอันตรายกับพระองค์หรือไม่ พระพุทธองค์ได้ตรัสว่า ไม่มีอันตรายกับพระองค์ แต่

ในอนาคตกาล ในคำทำนายพระสุบินบางข้อ พระองค์ตรัสว่า ในอนาคต คนไม่ดี จะมี

อำนาจ คนดีจะต้องหนีเข้าป่าไป ภิกษุชั่วจะมีอำนาจ และจะช่วยกันเพราะภิกษุชั่วมี

มากในที่ประชุม ภิกษุดีก็ได้แต่นิ่ง เพราะอธรรมมีกำลัง ภิกษุชั่วมีมากนั่นเอง ภิกษุดีมี

น้อยครับ ทุกอย่างจึงเป็นไปตามเหตุปัจจัย เมื่อหมู่สัตว์มีกิเลสมาก ก็ย่อมเป็นไปตาม

เหตุปัจจัย อธรรมย่อมมีกำลัง ธรรมย่อมถอยกำลัง เพราะอธรรมมีมากนั่นเอง แต่เมื่อเรา

ได้ศึกษาธรรมแล้ว เริ่มเห็นประโยชน์และคิดถึงว่า เราจะสะสมอะไร ความเป็นผู้ตรงหรือ

ความไม่เป็นผู้ตรง ในการเลือกสิ่งที่ดี ที่เป็นกุศล หรือ สิ่งที่ไม่ดี เป็นอกุศล ความเดือด

ร้อน และ การไม่เป็นที่รักเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่การรักษาจิตให้เป็นกุศล กระทำในสิ่งที

เป็นกุศล มีความเห็นที่จะเลือกในสิ่งที่ดี นั่นก็เท่ากับว่าสะสมความตรง สะสมสิ่งที่ดีแล้ว

ครับ แม้ในเหตุการณ์ในการทำงาน เสียงส่วนใหญ่จะเป็นอย่างไรจะเลือกสิ่งที่ผิด แต่เรา

เองก็แสดงควาเห็นในสิ่งที่ถูก แม้จะส่วนน้อย แต่เราชนะส่วนใหญ่ คือ หมู่กิเลสในใจเรา

เองที่มีส่วนใหญ่นั่นเองครับ ดังนั้นเมื่อเราเสนอ มีความเห็นเลือกสิ่งที่ดีแล้วก็ทำหน้าที่

ต่อไป ตามเหตุปัจจัยในการทำงานครับ ขออนุโมทนา

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ผู้ร่วมเดินทาง
วันที่ 8 ก.ค. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
พร้อมเสมอ
วันที่ 8 ก.ค. 2554
ขอบคุณ และกราบอนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
พุทธรักษา
วันที่ 8 ก.ค. 2554


ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทรัพย์ ๗ ประการนี้แล ฯ ทรัพย์ คือ ศรัทธา ศีล หิริ โอตตัปปะ สุตะ จาคะ และ ปัญญา-เป็นที่ ๗ ทรัพย์เหล่านี้ มีแก่ผู้ใด เป็นหญิงหรือชายก็ตาม บัณฑิต เรียกผู้นั้นว่า เป็นผู้ไม่ยากจน ชีวิตของผู้นั้นไม่เปล่าประโยชน์ เพราะฉะนั้น ท่านผู้มีปัญญา เมื่อระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พึงประกอบศรัทธา ศีล ความเลื่อมใส และ การเห็นธรรม ฯ
.
ทรัพย์ ๗ ประการ [ธนสูตร]
โดย เมตตา

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
พุทธรักษา
วันที่ 8 ก.ค. 2554

เธอพึงทราบเถิดว่า ในสังสาระ นี้ สุคติ คือ ที่เกิดของมนุษย์และ ทุคติ คือ ที่เกิดของสัตว์ดิรัจฉาน นี้ใด แม้ทั้งสองนั้น เป็นที่พักชั่วคราวแล้ว จงไปประพฤติธรรม อย่าประมาทเสียนะ การมาจากที่ต่างๆ แล้วพบกันในที่แห่งเดียวกัน ของสัตว์เหล่านั้นเป็นการนิดหน่อย สัตว์เหล่านี้ อยู่ร่วมกันชั่วกาล มีประมาณเล็กน้อยเท่านั้น เพราะฉะนั้น เธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท.
.
ที่พักชั่วคราว [อรรถกถา อุทยชาดก]
โดย khampan.a

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
พุทธรักษา
วันที่ 8 ก.ค. 2554

ปาณิมฺหิ เจ วโณ นาสฺส หเรยฺย ปาณินา วิ นาพฺพณ วิสมเนฺวติ นตฺถิ ปาป อกุพฺพโต.

"......ถ้าแผล ไม่พึงมีในฝ่ามือ ไซร้, บุคคล พึงนำยาพิษไปด้วยฝ่ามือ ได้, เพราะยาพิษ ย่อมไม่ซึมเข้าสู่ฝ่ามือที่ไม่มีแผล ฉันใด, บาป ย่อมไม่มี แก่ผู้ไม่ทำอยู่ ฉันนั้น."
.

ยาพิษไม่ซึมเข้าผู้ไม่มีแผล [นายพรานกุกกุฏมิตร] โดย paderm

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
พุทธรักษา
วันที่ 8 ก.ค. 2554

"ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๕ ประการนี้ อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก ไม่พึงได้ ๕ ประการ เป็นไฉน คือ ฐานะว่า ขอสิ่งที่มีความแก่ เป็นธรรมดา [ของเรา] อย่าแก่ ๑ ขอสิ่งที่มีความเจ็บไข้ เป็นธรรมดา [ของเรา] อย่าเจ็บไข้ ๑ ขอสิ่งที่มีความตาย เป็นธรรมดา [ของเรา] อย่าตาย ๑ ขอสิ่งที่มีความสิ้นไป เป็นธรรมดา [ของเรา] อย่าสิ้นไป ๑ ขอสิ่งที่มีความฉิบหาย เป็นธรรมดา [ของเรา] อย่าฉิบหาย ๑

อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก ไม่พึงได้.
ฯลฯ

บัณฑิต พึงได้ประโยชน์ในที่ใดๆ ด้วยประการใดๆ

เพราะการสรรเสริญ เพราะความรู้
เพราะกล่าวคำสุภาษิตเพราะการบำเพ็ญทาน หรือ เพราะประเพณีของตนก็พึงบากบั่นในที่นั้นๆ ด้วยประการนั้นๆ ถ้าพึงทราบว่า ความต้องการอย่างนี้ อันเราหรือผู้อื่น ไม่พึงได้ไซร้ ก็ไม่ควรเศร้าโศก ควรตั้งใจทำงาน โดยเด็ดขาด ว่า บัดนี้ เราทำอะไรอยู่ ดังนี้."

.
ว่าด้วยฐานะ ๕ ประการ ที่ใครๆ ไม่พึงได้ [ฐานสูตร] โดย วันชัย๒๕๐๔
.............ขออนุโมทนา.............

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
Sensory
วันที่ 9 ก.ค. 2554

ขออนุโมทนาค่ะ

อ่านแล้วนึกถึง โลภะในชีวิตประจำวัน

มนุษย์เรา็ยินดีน้อมไปนิยมชมชอบ เห็นด้วยเป็นส่วนมาก

ในขณะที่ปัญญาเจตสิก เกิดน้อยมาก แต่หลา่ยคนก็ไม่เห็นด้วย ไม่นิยม

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
nong
วันที่ 9 ก.ค. 2554

... แต่เราชนะส่วนใหญ่ คือ หมู่กิเลสในใจเราเองที่มีส่วนใหญ่นั่นเอง...

ชัดเจนมากค่ะ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
wannee.s
วันที่ 9 ก.ค. 2554

ในพระไตรปิฏกก็มีแสดงไว้ ในสมัยพระพุทธเจ้านามว่าพระกัสสปะ มีภิกษุทีไม่ดี

ประจบพระวินัยธร และ พระธรรมถึก 2 รูป ภิกษุดีรูปหนึ่ง มีปัุญหากับภิกษุไม่ดี

เพราะภิกษุไม่ดี ทำไม่ดี ภิกษุดีก็ไปบอกพระวินัยธรให้วินิจฉัยเรื่องนี้ แต่พระวินัยธร

ไม่วินิจฉัย เพราะเห็นแก่ความชอบส่วนตัีว และ ลาภ สักการะ ภิกษุดีเสียใจ และ

ร้องตะโกนว่า ศาสนาสิ้นแล้ว ฯลฯ เป็นธรรมดา เรื่องแบบนี้มีทุกยุคทุกสมัยค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
khampan.a
วันที่ 9 ก.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น บุคคลที่เกิดมาเป็นมนุษย์ (เกิดเป็นคนแล้ว) ไม่ว่าจะเกิดในตระกูลใด มีฐานะความเป็นอยู่อย่างไรก็ตาม แต่ละบุคคลสามารถที่จะเป็นได้ทั้งหมด ทั้งคนดี คนชั่ว (หรือมีปัญญาถึงขั้นที่จะประจักษ์แจ้งความจริง ถึงความเป็นพระอริยบุคคลได้) ขึ้นอยู่กับว่าจะเป็นไปในทางใด ตามการสะสมของแต่ละบุคคลจริงๆ สำหรับบุคคลผู้ที่ประกอบด้วยปัญญา ย่อมรู้ว่าอะไรเป็นกุศล อะไรเป็นกุศลอะไรควรละ อะไรควรที่จะอบรมเจริญให้มีขึ้น พร้อมทั้งเป็นผู้มีจิตใจน้อมไปในการขัดเกลากิเลสของตนเองและสะสมกุศลในชีวิตประจำวันเพิ่มขึ้น เกิดมาแล้วในชาตินี้ ในที่สุดก็จะต้องตาย แล้วประโยชน์สูงสุดของการเกิดมาเป็นมนุษย์ คือ อะไร? บางครั้งก็ลืมคิดถึงตรงนี้ มัวแต่ไปคิดวุ่นวายเรื่องต่างๆ เป็นไปกับด้วยอกุศลเสียเป็นส่วนใหญ่[อกุศลวิตก] ซึ่งไม่เป็นประโยชน์เลย เราไม่สามารถไปจัดการหรือเปลี่ยนแปลงอะไรได้ สิ่งที่สมควรที่สุด คือ เป็นคนดี และฟังพระธรรมให้เข้าใจ ดังนั้น เมื่อได้ความเป็นมนุษย์แล้ว เกิดเป็นคนแล้ว การมีโอกาสแสวงหาประโยชน์จากการเป็นมนุษย์ที่ได้มาด้วยความยากอย่างยิ่งนี้ ด้วยการสะสมกุศล สะสมคุณงามความดี สะสมปัญญา ความเข้าใจถูกเห็นถูกไปตามลำดับ ย่อมเป็นสิ่งที่ดี อันจะทำให้ชีวิตนี้ เป็นชีวิตที่มีค่า (มีค่า ด้วยความดี) และ ที่สำคัญ ความดีที่ได้สะสมไว้แล้วเท่านั้น ที่จะเป็นที่พึ่งสำหรับตนเองอย่างแท้จริง ครับ. ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
วินิจ
วันที่ 10 ก.ค. 2554

อ.เผดิมครับ,ตกลงหยุดโลกไว้ไม่ให้”วินาศ”ไม่ได้แล้วไช่ไหมครับ?,ถ้า”ส่วนมาก”เขาต่อ

ต้านเรา,เราจะถูกทำร้ายเหมือน”คานธี”หรือ”พระเยซู”ไหมครับ?...

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
paderm
วันที่ 10 ก.ค. 2554

เรียนความเห็นที่ 15 ครับ

สภาพธรรมทั้งหลายที่เป็นสังขารธรรมคือ สิ่งที่มีเหตุปัจจัยปรุงแต่งเมื่อเกิดขึ้นและ

ก็ต้องดับไป เสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา มีขึ้นจนถึงสูงสุด ก็ต้องลงมาจนถึงต่ำสุดเป็น

ธรรมดาเช่นกันครับ พระพุทธศาสนาก็เจริญและท้ายสุดก็ถึงความอันตรธานไปเป็น

ธรรมดา ทุกยุคทุกสมัย คุณธรรมของมนุษย์มีมาก จนท้ายสุดก็ค่อยๆ น้อยลงจนมากไป

ด้วยกิเลสและเสื่อมจากคุณธรรม อันเป็นไปตามกาลเวลาเช่นกัน ดังนั้นไม่มีใครหยุด

ยั้งความเป็นไปของโลกของสภาพธรรมที่จะไปเป็นไปอย่างนั้น วนเวียนไปเป็นวงกลม

อย่างนี้ไม่สิ้นสุดครับ ควรเข้าใจความเป็นธรรมดาดังนั้นจึงหยุดความพินาศ ความเสื่อม

ของคุณธรรมแต่ละคน รวมเป็นสังคมไมได้ครับ ต้องเป็นไปอย่างนั้น แต่ที่สำคัญตัวเรา

จะเสื่อมไปหรือเมื่อได้มีโอกาสศึกษาธรรมแล้ว เป็นคนดีเพียงศึกษาธรรมไม่พอ แต่น้อม

ประพฤติปฏฺบัติตามในชีวิตประจำวัน กล้าในสิ่งที่ควรกล้า ไม่กล้าในสิ่งที่ไม่ควรกล้า

ทำความดี เป็นผู้ตรง นั่นคือความเป็นผู้กล้า การทำไม่ดี นั่นไม่ชื่อว่าเป็นผุ้กล้า ดังนั้น

เมื่อรู้ว่าสิ่งใดดี มีประโยชน์ต่อสังคม ควรทำหรือไม่ ส่วนการถูกทำร้าย ใครทำครับ

คนอื่น หรือ ว่ากรรมที่ทำมา เพราะฉะนั้น ไม่ต้องห่วงเรื่องเดือดร้อนหรือใครจะทำร้าย

หากมั่นคงในเรื่องของกรรม ถ้าไมได้ทำกรรมไม่ดีมา ไม่มีใครทำอะไรได้ แต่ถ้าทำกรรม

ไม่ดีมา ไม่ว่าจะเป็นส่วนน้อยที่ดี ส่วนมากที่ไม่ดี ก็ไม่พ้นจากการทำร้าย ไม่ว่าใครครับ

ดังนั้นเหตุจะต้องตรงกับผล การถูกทำร้ายเป็นผลมาจากการทำอกุศลกรรม แต่ในเมื่อ

ทำดีในปัจจุบันแม้จะเป็นส่วนน้อย แต่การทำดีนั้นจะนำมาซึ่งการทำร้ายไมได้เลยครับ

เหตุไม่ตรงกับผล การทำร้าย จึงเป็นกรรมชั่วในอดีตที่ทำมาต่างหากครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
paderm
วันที่ 10 ก.ค. 2554

เมื่อเข้าใจแบบนี้ว่าเป็นเรื่องของกรรม จึงทำความดี กล้าในสิ่งที่ควรกล้า กล้าทำ

ความดี กล้าพูด กล้าทำ ไม่กลัวตัวเองเดือดร้อนเพราะเป็นกุศลเจตนา เป็นการหวังดี

เพื่อประโยชน์กับองค์กรหรือส่วนรวมนั่นเองครับ ซึ่งก็มีตัวอย่างของพระโพธิสัตว์มาก

มาย ที่ท่านกล้าพูด กล้าทำ แม้จะเป็นเพียงท่านคนเดียว แต่คนไม่ดีพร้อมจะเล่นงาน

ท่านมากมาย ถูกสั่งประหารชีวิตจากคนที่พระโพธิสัตว์ไปขัดผลประโยชน์บ้างก็มี แลก

ด้วยชีวิตก็มี แต่ท่านสละความสุข ส่วนตัวของท่าน เพื่อประโยชน์ส่วนรวม สละ รักษา

ความดี รักษาสัจจะนั่นเองครับ เพราะฉะนั้นความกล้าในปัจจุบันจึงหาได้น้อยเพราะ

เป็นเรื่องของความดี และตรง ที่สำคัญย่อมคิดถึงตัวเองว่าจะเดือดร้อน ไม่เป็นที่รักจึง

ไม่ทำหน้าที่ให้สมควร หรือหน้าที่ของคนดีให้ดีที่สุดเท่าที่ทำได้ก่อนคือทำให้เต็มความ

สามารถ ส่วนผลจะเป็นอย่างไร นั่นก็เป็นอนัตตา แต่เราก็ได้ทำความดี ทำหน้าที่ให้ดี

ที่สุดแล้วไม่ใช่การเฉยๆ เพราะการจะถูกทำร้าย หรือ กลัวเดือดร้อน ไม่เป็นที่รักครับ

ผู้มีปัญญาย่อมพิจารณาอย่างนี้อันมีตัวอย่างในชาดก ที่เป็นเรื่องของพระโพธิสัตว์มาก

มายครับ ทำร้ายได้ก็เป็นเรื่องของกรรมของเราเอง ไม่ใช่เพราะทำดี แต่แม้ทำร้ายกาย

ได้ แต่ไม่มีใครทำร้ายใจได้เพราะขณะนั้นทำดี กล้าเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ใจเป็นกุศล

นั่นก็เท่ากับไม่ทำร้ายใจเลย และใครก็ไม่ทำร้ายใจเราได้ด้วยครับ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 18  
 
ธนฤทธิ์
วันที่ 11 ก.ค. 2554
ขอขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 19  
 
akrapat
วันที่ 12 ก.ค. 2554

เราเปลี่ยนแปลง คนอื่นไม่ได้ แต่เราเปลี่ยนตัวเองได้ ยุคนี้เป็น กลียุค ยุคของ

ความสับสน คนแยกแยะ ไม่ออกระหว่างดีชั่ว มีการบิดเบือน เห็นผิดเป็นชอบ คนดี

โดนครอบงำโดยคนไม่ดี คนไม่ดีแวดล้อมคนดี สรรพสิ่งกลับ ตาลปัตร ธรรมชาติ ผิด

เพี้ยน ภัยพิบัติรุนแรง ทุนนิยมคือ สังคมแห่งวัตถุนิยม กิเลสครองใจ คนดีโดนกลั่น

แกล้ง กีดกัน เพราะสังคมให้ค่า ความรวยมากกว่าความดี .......

สงสัยคงต้องรอเวลา.....เอ เวลาอะไรหนอ อืม เวลาที่ คนหันกลับมาให้ค่าของความ

ดี มากกว่าความรวย แต่เมื่อไหร่ ล่ะอืม คงต้องรอให้เมื่อไหร่ที่เขาเห็นว่า สิ่งต่างๆ ที่เขา

ดิ้นรนไขว่คว้า มานั้นมันไม่ยั่งยืน นั่นคือ สิ่งนั้นมันพังทลาย.....พร้อมๆ กับภัยพิบัติกระมัง

แต่เอ แล้วคนดีล่ะก็ต้องเดือดร้อนด้วยสิ มันช่างไม่ยุติธรรมเลย.... ไม่หรอกทุกอย่าง

ยุติธรรมเสมอ แต่มันยังไม่ถึงเวลาที่เหตุของความดีจะให้ผลเท่านั้น เอง

มารไม่มี บารมีไม่เกิด ความดีและความชั่วเป็นของคู่กัน เมื่อไหร่ที่ คนส่วนใหญ่เสื่อม

จากความดีความชั่วก็ครอบงำ เมื่อคนส่วนใหญ่เห็นค่าของความดี ความดีก็ชนะ

คงไม่ต้องรอให้ ถึงยุคพระศรีอารย์ท่านมาโปรด แต่คุณต้องโปรดตัวเองก่อน นั่นคือ

เปลี่ยนทัศนคติของตัวเองว่าคุณจะยอมให้ค่านิยมคนส่วนใหญ่ที่กำลังเป็นขณะนี้ คือ

เห็นความรวยมากกว่าความดี ครองใจคุณอยู่หรือไม่ ถ้าคุณเปลี่ยนตัวคุณจนกระทั่ง

เป็นแบบอย่างของคนรอบข้างของคุณ ครอบครัวคุณ สังคมของคุณ ประเทศของคุณ

นั่นแหละ คือคุณได้เปลี่ยนแปลงประเทศแล้ว โดยเปลี่ยนที่ตัวคุณก่อน

 
  ความคิดเห็นที่ 20  
 
paderm
วันที่ 12 ก.ค. 2554

ขออนุโมทนาคุณ akrapat นะครับ พูดได้ตามเหตุผลและตรงตามสิ่งเป็นในปัจจุบันครับ

เมื่อเป็นยุคที่เสื่อม คนนับถือกันเพราะชื่อเสียง ลาภ สักการะ ไม่ได้เลื่อมใสที่คุณธรรม

เป็นหลัก ซึ่งพระพุทธองค์ก็ได้แสดงไว้ว่า บุคคลจะเลืื่่อมใสบุคคลอื่นเพราะด้วยเหตุที่

เป็นคุณธรรม แสนคนจะมี 1 คนเท่านั้น แสดงให้เห็นว่าเป็นธรรมดาที่บุคคลจะเลื่อมใส

ใคร ไม่ใช่ด้วยเพราะคุณธรรม ความดีเป็นหลัก แต่โดยมากเพราะมีชื่อเสียง ร่ำรวย

เป็นต้น เมื่อมีการนับถือ ถือประมาณในสิ่งที่ผิด ไม่ใช่ด้วยคุณธรรม การกระทำที่

แสดงออกมาทางกายและวาจา ก็ย่อมน้อมไปในความไม่ตรง ความลำเอียงที่เกิดขึ้นใน

ขีวิตประจำวันในเหตุการณ์ต่างๆ จึงทำให้มีปัญหาสังคม และความเสื่อมมากมายใน

ปัจจุบันครับอันเกิดจากความไม่ตรงและการเสื่อมคุณธรรมนั่นเองครับ ซึ่งสิ่งเหล่านี้คือ

ชื่อเสียง ความร่ำรวย เป็นปัจจัยภายนอก ตายแล้วก็จบ แต่ความดีต่างหากที่ติดตัว

บุคคลต่างๆ ไป อันเป็นเครื่องหมายของคนดีครับ ดังนั้นจึงต้องเริ่มจากตัวเอง เป็นคนดี

ด้วยคุณธรรม เป็นคนตรงอย่างแท้จริง เลื่อมใสใครก็เพราะคุณธรรม สังคมจะเป็นอย่าง

ไรก็ต้องเป็นไปตามยุคเสื่อมครับ เริ่มจากตัวเองตามที่คุณ akrapat กล่าว ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 21  
 
Sam
วันที่ 12 ก.ค. 2554
ขออนุโมทนาครับ
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ