ผมรู้ตัวขณะที่ทำชั่ว แต่ก็ยังทำชั่วต่อไป

 
dets25226
วันที่  12 ก.ค. 2554
หมายเลข  18734
อ่าน  2,220

คิดว่า ผมเลวมากหรือเปล่าครับ กรุณาแนะนำผมด้วยครับ ส่วนตัวแล้ว คิดว่า เพราะความ

เคยชินกับความชั่วที่ได้ทำเป็นประจำ เช่น เคยกินเหล้า ก็ชินกับการกินเหล้า เคยโกหก ก็

ชินกับการโกหก เป็นต้น โดยที่จะทำ ทั้งๆ ที่รู้ตัวอยู่ได้อย่างไม่ละอาย ด้วยความเคารพ

อย่างสูงครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 12 ก.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ธรรมเป็นเรื่องตรง กุศลก็ย่อมเป็นกุศล อกุศลก็ย่อมเป็นอกุศล ดังนั้น อกุศลธรรมที่

เป็นบาปก็มีหลายระดับ ตามกำลังของอกุศล ขณะที่ทำบาป ทำอกุศลกรรม มีการดื่ม

สุรา หรือผิดศีล 5 นั่นแสดงให้เห็นถึงกำลังของกิเลสที่มีกำลังมากถึงกับล่วงศีลได้

ขณะนั้นก็ต้องเป็นอกุศลกรรมครับ เป็นบาป แต่ทุกอย่างจะต้องมีเหตุครับ การทำบาปได้

ก็เพราะมีกิเลสที่สะสมมาเนิ่นนานในสังสารวัฏฏ์นับชาติไม่ถ้วน เป็นปุถุชน คือ ผู้หนา

ด้วยกิเลส ดังนั้นเมื่อเหตุปัจจัยพร้อม อกุศลกรรม คือ การทำบาปก็เกิดขึ้นได้อย่างง่าย

ดายเพราะสะสมมามาก ทำจนเคยชินในอดีตชาติและกำลังของกิเลสที่มีมากที่สะสมมา

นั่นเองครับ ซึ่งผู้ที่จะไม่ล่วงศีล 5 ไม่ทำบาปที่เป็นอกุศลกรรม ล่วงศีล 5 เลย คือพระ

โสดาบันนั่นเองครับ ดังนั้นปุถุชนยังมีเหตุปัจจัยที่จะล่วงศีลได้เป็นธรรมดา เมื่อเหตุ

ปัจจัยพร้อมครับ

ส่วนการรู้ตัวแล้วก็ยังทำบาปอยู่ นั่นก็แสดงให้เห็นถึงกำลังกิเลสที่จะประมาทไม่ได้

เลยครับ แม้รู้อยู่ก็ทำได้ แต่คำว่ารู้อยู่นี้ก็มีหลายระดับ รู้ด้วยปัญญาเพียงเห็นโทษเพียง

เล็กน้อย แต่ปัญญานั้นน้อยมาก ไม่สามารถต้านทานกิเลสได้ ก็ทำกรรมชั่ว ทำบาปได้

ในขณะต่อมาครับ เหมือนกับการฟังพระธรรม ฟังแล้วเข้าใจ หรือเป็นกุศลเพียงชั่วขณะ

เล็กน้อย แต่ขณะต่อไปก็เป็นอกุศลแล้ว ไหลไปตามกำลังอกุศลที่สะสมมามากนั่นเอง

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 12 ก.ค. 2554

การรู้ตัวจึงเป็นเพียงการรู้ว่าทำชั่วอยู่ แต่ไม่ใช่ปัญญาที่มีกำลังอะไร จึงไม่สามารถ

ต้านทานกำลังกิเลสได้ครับ แต่ที่สำคัญ การรู้ว่าทำชั่ว ย่อมดีกว่าไม่รู้ กำลังของกิเลส

ย่อมน้อยกว่า คนที่ไม่รู้เลยว่าทำชั่วครับ การรู้ตัว อาจมีความละอาย มีกุศลเพียงเล็ก

น้อยก่อนทำบาปเกิดขึ้น แต่ขณะต่อไปก็ทำบาปไป ก็มีกุศลสลับบ้าง อกุศลกรรมที่ทำ

นั้นก็ไม่มีกำลังเท่าคนที่ไม่รู้ตัวเลย เพราะเป็นอกุศลเกิดขึ้นตลอดที่ไม่มีกุศลเลย

เหมือนกับการจับถ่านไฟ คนที่พอรู้ตัวว่าเป็นถ่านไฟ การจับ ก็จับไม่เต็ม ฉันใด คน

ที่ทำบาป พอรู้ตัวว่าทำชั่ว ก็ยังไม่เป็นอกุศลตลอด มีความรู้ตัว เห็นโทษบ้างที่เป็นกุศล

สลับ โทษจึงน้อย กำลังของอกุศลกรรมจึงน้อยกว่า คนที่ทำบาปโดยไม่รู้สึกตัวเลยว่า

ผิด ก็เป็นอกุศลตลอดนั่นเองครับ เหมือนกับการจับถ่านไฟ คนที่ไม่รู้เลยว่าเป็นถ่านไฟ

ร้อน ก็จับไปเต็มๆ มือก็ไหม้มากกว่า คนที่รู้ว่าเป็นถ่านไฟร้อน แต่ก็จับครับ

จะเห็นถึงประโยชน์ของการศึกษาธรรมไหมครับว่า หากไม่ศึกษาธรรม ฟังธรรมเลย

ก็จะไม่รู้ว่าสิ่งใดเป็นกุศล สิ่งใดเป็นอกุศล สิ่งใดเป็นการทำกรรมดี กรรมชั่ว แต่เมื่อได้

ศึกษาพระธรรม ก็ยังมีจิตรู้ว่ากำลังทำชั่วอยู่ ก็ยังดีกว่าการไม่รู้เลย เพราะไม่ได้ศึกษาก็

จะไม่เห็นโทษบ้างเลย ในบางขณะแม้การทำชั่วครับ แต่ผู้ที่ได้ศึกษาธรรม ก็มีการเห็น

โทษ รู้ตัวบ้างในบางขณะ ว่าทำชั่วครับ นั่นก็เป็นประโยชนฺแล้ว เพราะเริ่มรู้ เริ่มเห็น

โทษ แม้ตอนนี้จะยังละไม่ได้ก็ตาม เพราะยังเป็นผู้หนาด้วยกิเลสนั่นเองครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
paderm
วันที่ 12 ก.ค. 2554

ที่สำคัญ คุณไม่ได้ชั่วหรอกครับ เพราะไม่มีสัตว์ บุคคล ไม่มีเรา ไม่มีคุณ มีแต่ธรรมดังนั้นจึงมีแต่สภาพธรรมที่เป็นอกุศลกรรมทีเกิดขึ้น ทำกิจหน้าที่เกิดขึ้น จึงไม่ใชเราที่

ชั่ว แต่อกุศลกรรมเท่านั้นที่เกิดขึ้นไม่ใช่เราชั่วครับ ซึ่งหนทางในการอบรมปัญญาที่ถูก

ต้อง ไม่ใช่การไม่ให้ความชั่วเกิดขึ้น ไม่ให้ไม่ทำบาป เพราะมีเหตุก็ต้องมีการทำบาป แต่

หนทางการอบรมปัญญา ที่ถูกต้อง คือเข้าใจความจริงของสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วว่า สิ่งที

เกิดขึ้นเป็นเรา หรือ เป็นธรม ที่ถูกคือต้องเข้าใจว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา เพราะมีแต่ธรรม

ที่เกิดขึ้นและดับไป การเข้าใจว่าเป็นธรรมในสิ่งที่เกิดขึ้น ย่อมละคลาย ความยึดถือว่า

เป็นสัตว์ บุคคล ตัวตนและก็จะทำให้ละคลายกิเลสเป็นลำดับนั่นเองครับ จนถึงความ

เป็นพระโสดาบันเมื่อไหร่ก็ไม่ล่วงศีล 5 และเมื่อถึงความเป็นพระอรหันต์ก็จะไม่มีความ

ชั่ว ที่เป็นอกุศลอีกเลยครับ ดังนั้น ก็ฟังพระธรรมต่อไป ค่อยๆ เห็นโทษของกิเลสทีละ

เล็กละน้อย ตามกำลังของปัญญาและไม่ลืมว่า เป็นธรรมครับ ขออนุโมทนา

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
khampan.a
วันที่ 13 ก.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ธรรม เป็นสิ่งที่มีจริง สิ่งที่มีจริงนั้น มีจริงในชีวิตประจำวัน กุศล ก็เป็นธรรม อกุศลก็เป็นธรรม รวมไปถึงสภาพธรรมอื่นๆ ด้วย ล้วนเป็นธรรมเป็นแต่เพียงสภาพธรรมแต่ละอย่างๆ ที่เกิดขึ้นตามเหตุตามปัจจัย แล้วก็ดับไป เมื่อกล่าวถึงอกุศลธรรม ในชีวิตประจำวันแล้ว มีมากจริงๆ เพราะสะสมมาอย่างเนิ่นนานในสังสารวัฏฏ์ เมื่อได้เหตุได้ปัจจัยก็เกิดขึ้นทำกิจหน้าที่ทันที ถ้าได้ศึกษาพระธรรมมีความเข้าใจไปตามลำดับแล้ว ก็จะทราบว่าขณะที่กุศลจิตเกิดขึ้นนั้น ประกอบด้วยความไม่รู้ (อวิชชา) ประกอบด้วยความฟุ้งซ่าน ประกอบด้วยความไม่ละอาย ความไม่เกรงกลัว ทุกครั้ง รวมถึงกุศลเจตสิกอื่นๆ ตามสมควรแก่ประเภทของกุศลจิตนั้นๆ ด้วย ควรหรือไม่ที่จะเป็นผู้ที่ไม่รู้ต่อไปด้วยการสะสมอกุศลมากขึ้นในชีวิตประจำวัน? เพราะเหตุว่าเมื่อสะสมกุศลมากขึ้นๆ จนกระทั่งมีกำลังมาก ย่อมสามารถล่วงออกมาเป็นทุจริตกรรมประการต่างๆ เบียดเบียนผู้อื่นให้เดือดร้อนได้ทั้งนั้น เป็นคนชั่ว เป็นคนไม่ดี ได้ทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นใคร ก็ตาม

ธรรม เป็นเรื่องจริง ตรง ไม่มีการเปลี่ยนแปลง อกุศล เป็นอกุศล ไม่ว่าจะเกิดกับใครก็ตาม กุศลก็เป็นกุศล ไม่ว่าจะเกิดกับใคร และ เมื่อถึงคราวที่กุศลให้ผล ก็ทำให้ได้รับแต่สิ่งที่ดี ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เท่านั้น ไม่มีทางเลยที่กุศล จะให้ผลในทางที่ไม่ดี ส่วนในทางตรงกันข้าม เมื่อกุศลกรรมที่ได้กระทำแล้ว ถึงคราวให้ผลก็ทำให้ได้รับแต่สิ่งที่ไม่น่าปรารถนาประการต่างๆ (ไม่เว้นใครเลย ตามกรรม) ซึ่งไม่มีใครทำให้เลย ถ้าหากว่าไม่ได้กระทำเหตุที่ไม่ดีไว้ ผลที่ไม่ดี ก็ย่อมไม่สามารถจะเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน

เพราะฉะนั้นแล้ว ควรอย่างยิ่งที่จะเป็นผู้ไม่ประมาทในชีวิต และไม่ประมาทกำลังของกิเลส, พึงเป็นผู้ศึกษาพระธรรม ฟังพระธรรม อบรมเจริญปัญญา เพื่อความเข้าใจถูกเห็นถูกในสภาพธรรมตามความเป็นจริง ซึ่งจะเป็นที่พึ่งในชีวิตได้อย่างแท้จริง ครับ ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
dets25226
วันที่ 13 ก.ค. 2554

กระผมมีความคิดเห็นว่า กุศลและอกุศลทั้งหลายนั้น พิจารณาเพียงเป็นสภาวธรรม

อย่างเดียวเท่านั้นยังไม่เพียงพอนัก สำหรับผู้เริ่มเรียนรู้ จำต้องพิจารณาถึงอานิสงส์

และอาทีนพ ของธรรมทั้งหลายเหล่านั้นประกอบด้วย ดังที่อาจารย์ได้แนะนำมา จึงจะ

สัมฤทธิ์ผลตามควร ฯ ผมพิจารณาเห็นว่า เรื่องนี้ เป็นเรื่องสำคัญยิ่ง ต่อการปฏิบัติธรรม

เพราะว่าด้วยเรื่องของศีล ซึ่งท่านกล่าวว่า เป็นพื้นฐานของคุณความดีทั้งปวง เมื่อมีศีล

แล้ว ก็เป็นปทัฏฐานต่อธรรมขั้นสูงๆ ขึ้นไป ดังนั้น นักปฏิบัติจำต้องให้มีขึ้น เป็นขึ้น ตาม

ลำดับ ฯ ผมมีความสงสัยว่า การปฏิบัติธรรมนั้น ต้องปฏิบัติพร้อมทั้งกายกรรม วจีกรรม

มโนกรรม หรือการปฏิบัติธรรมนั้น เพื่อการพิจารณาธรรมอันเป็นทางให้เกิดปัญญาเท่า

นั้นครับ ด้วยความเคารพอย่างสูงครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
paderm
วันที่ 13 ก.ค. 2554

เรียนความเห็นที่ 5 ครับ

เรียนอย่างนี้ครับ พระธรรมของพระพุทธเจ้าละเอียดลึกซึ้ง การพิจารณาโทษของอกุศล

จะเกิดขึ้นได้ ก็เพราะอาศัยการฟังพระธรรม แต่การเห็นโทษของอกุศลนั้นก็ไม่เพียง

พอในการจะรู้แจ้งอริยสัจจธรรม ศีลจึงจะบริสุทธิ์ได้ จะต้องมีปัญญา ดังนั้นศีลที่เป็น

ไปในการรองรับกุศลธรรมขั้นสูงเพื่อให้ถึงการดับกิเลส ต้องเป็นศีลที่มีความเข้าใจ

พระธรรม มีปัญญาเข้าใจหนทางดับกิเลสครับ ดังนั้น การฟังพระธรรม แม้แต่ในเรื่อง

สภาพธรรม การเข้าใจความจริงว่า อกุศลเป็นธรรมไม่ใช่เรา คือ เข้าใจความจริงของ

สภาพธรรม เมื่อเข้าใจความจริงก็รู้ตามความเป็นจริงของตัวธรรมที่เป็นอกุศล ด้วย

ความเห็นโทษตามความเป็นจริง เมื่อปัญญาเจริญขึ้น กาย วาจาและใจ ก็ย่อมน้อมไป

ในทางกุศล งดเว้นอกุศลมากขึ้น ตามกำลังของปัญญาที่ค่อยๆ เจริญขึ้นครับ โดยไม่

ต้องมีตัวเราที่จะไปจัดการ จะทำกาย วาจา ใจให้ดี เพราะกาย วาจา ใจค่อยๆ ดีขึ้นก็

เพราะอาศัยปัญญาที่เจริญขึ้น อันเกิดจากการฟังพระธรรมนั่นเองครับ ดังนั้นศีลจะดี

ขึ้น จะบริสุทธิ์ได้ ก็ด้วยปัญญาครับ ดังนั้นศีล จึงมีหลายระดับ ศีลธรรมดา ที่ไม่ใช่ทาง

ไปสู่การดับกิเลสก็มี และศีลที่นำไปสู่การดับกิเลส ที่เรียกว่า ศีลวิสุทธิก็มีครับ ซึ่งศีล

ที่บุคคลรักษา ไม่ว่าจะเป็น ศีล 5และศีล 8 แต่ไม่มีความเข้าใจหนทางดับกิเลส ไม่เข้า

ใจหนทางในการอบรมปัญญา ศีลนั้นก็ไม่ใช่ศีลวิสุทธิ คือ ศีลที่จะนำไปสู่ความบริสุทธิ์

คือดับกิเลสได้ครับ แต่ศีลใดที่รักษาด้วยความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องสภาพธรรม

เข้าใจหนทางว่าปัญญาต้องรู้ความจริงในขณะนี้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา ศีลนั้นเป็นทาง

บริสุทธิ์นำไปสู่การดับกิเลสได้ครับ เรียกว่า ศีลวิสุทธินั่นเอง อันขาดปัญญาไมได้เลย

ครับ ดังนั้นการศึกษาธรรมจะทำให้เข้าใจถูกต้อง แม้ในเรื่องของศีล ว่ามีความละเอียด

ต่างๆ กันไปครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
paderm
วันที่ 13 ก.ค. 2554

ดังนั้น คำถามที่ว่า การปฏิบัติธรรมนั้น ต้องปฏิบัติพร้อมทั้งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม

หรือการปฏิบัติธรรมนั้น เพื่อการพิจารณาธรรมอันเป็นทางให้เกิดปัญญาเท่านั้นครับ

--------------------------------------------------------------------------

ก็ต้องเข้าใจว่าการปฏิบัติธรรมคืออะไร การปฏิบัติธรรมคือไม่ใช่เรา ปฏิบัติ แต่เป็น

สภาพธรรมที่เป็นสติและปัญญา เกิดรู้ความจริงของสภาพธรรมที่มีในขณะนี้ ขณะนั้น

ปฏิบัติ ซึ่งก่อนถึงการปฏิบัติ เหตุให้เกิดการปฏิบัติ ก็ด้วยเหตุ คือการฟังพระธรรมให้

เข้าใจ เมื่อปัญญาเจริญขึ้น ถามว่า กาย วาจก็ดีขึ้นด้วยใช่ไหมครับ ตามกำลังปัญญา

โดยไม่ต้องไปพยายามทำกาย วาจา ใจให้ดีถ้าปัญญาเจริญขึ้น กาย วาจา และใจก็ดี

ขึ้นด้วย และเมื่อปัญญาเจริญขึ้นจนถึงการระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่มีในขณะนี้

ขณะนั้นเป็นการปฏิบัติ เป็นสติปัฏฐาน ขณะนั้นมีศีลไหมครับ มีศีลด้วย เป็นอินทรีย

สังวรศีล คือ ศีลที่สำรวมทาง ตา หู.....ใจนั่นเองและก็มีสมาธิและปัญญาเกิดพร้อมกัน

ในขณะนั้น ไม่ได้หมายความว่าจะต้องทำศีลก่อน แล้วก็ค่อยมาสมาธิและค่อยมาถึง

ปัญญาครับ เพราะขณะที่สติปัฏฐานเกิด ขณะนั้น ศีล สมาธิและปัญญาเกิดพร้อมกัน

นั่นเองครับ ที่สำคัญก็ต้องแยกว่า ไม่ใช่จะต้องทำให้ศีล 5 บริสุทธิ์ให้ได้เสียก่อนจึงจะ

อบรมปัญญาได้ ไม่ใช่เช่นนั้นครับ มีตัวอย่างมากมายที่ในสมัยพุทธกาล ที่ก่อนที่ท่าน

จะบรรลุเป็นพระโสดาบันในชาตินั้น ท่านก็ผิดศีล ข้อ 3 บ้าง ผิดศีลข้อ 2 บ้าง ผิดศีล

ข้อ 1 บ้าง ผิดศีล ข้อ 5 บ้าง แต่เมื่อได้ฟังพระธรรม ท่านก็ได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน

เช่น นายเขมกะ ล่วงศีลข้อกาเม เป็นประจำแต่ก็ได้บรรลุธรรมเมื่อได้ฟังพระธรรม

นายพรานผู้หนึ่งมีอาชีพ ขายเนื้อ ต้องฆ่าสัตว์เป็นประจำ แต่เมื่อได้ฟังพระธรรมก็บรรลุ

ธรรม นางขุชชุตตรา ยักยอกเงิน พระนางสามาวดี แต่เมื่อฟังพระธรรมก็บรรลุธรรม

แสดงว่าต้องมีศีลในขณะนั้น คือ ศีลที่เป็นอินทรียสังวรศีล อันเป็นการรองรับคุณธรรม

ขั้นสูงได้ครับ นั่นคือการเจริญสติปัฏฐาน เมื่อท่านเหล่านั้นฟังธรรมปัญญาเกิด รู้ความ

จริงในขณะนั้น ศีลก็เกิดด้วย เป็นอินทรียสังวรศีล มีสมาธิด้วยและมีปัญญาด้วยครับ

ดังนั้นศีลที่ไม่มีความเข้าใจถูก มีปัญญา ไม่ใช่ศีลวิสุทธิ ไม่สามารถนำไปสู่การปฏิบัติ

ธรรมและการดับกิเลสได้เลยครับ อาศัยการฟังพระธรรม ปัญญาเจริญขึ้น กาย วาจาก็

ดีขึ้น แต่ยังไม่ถึงความบริสุทธิ์ ตราบใดที่ยังเป็นปุถุชนก็ยังล่วงศีลได้อีก ต่อเมื่อบรรลุ

เป็นพระโสดาบัน จึงไม่ล่วงศีล 5 อีกเลยครับ การปฏิบัติ ก็ต้องอาศัยการฟังพระธรรม

นั่นเองครับ ทุกอย่างก็ปรุงแต่งไม่ว่ากาย วาจาก็ดีขึ้นตามกำลังของปัญญาครับ

เชิญคลิกอ่านเพิ่มเติมที่นี่ครับ

ศีลกับการเจริญวิปัสสนา

ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
dets25226
วันที่ 13 ก.ค. 2554

สาธุครับ.....

ตอนนี้ ผมสนใจศึกษาเรื่อง ปัญญา มากครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
paderm
วันที่ 13 ก.ค. 2554

ขออนุโมทนาด้วยครับ คุณ dets25226 ลองคลิกฟังธรรมที่เมนู ฟังธรรม หรือ ซีดีธัมมะ

ก็ได้ครับ มีให้ฟังธรรมอันทำให้ปัญญาเจริญขึ้น หรือถ้้ามีความสงสัยก็สนทนากันได้ครับ

เพื่อความเจริญขึ้นของปัญญา ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
พรรณี
วันที่ 14 ก.ค. 2554

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
best46
วันที่ 15 ก.ค. 2554
สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ
 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
orawan.c
วันที่ 15 ก.ค. 2554
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
คนไทยพบธรรม
วันที่ 5 ส.ค. 2554

เมื่อได้ทำผิดแล้วสำนึกตนว่าทำผิด ก็ดีมากแล้วครับ ผิดก็คงเบาบางลงไปได้ อนุโมทนาบุญด้วยครับ สาธุ...

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
wannee.s
วันที่ 5 ส.ค. 2554
การคบบัณฑิต การฟังธรรมของบัณฑิต การสอบถามธรรมะ การพิจารณาธรรม การไตร่ตรองธรรมะที่ได้ยินได้ฟัง นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ปัญญาเจริญขึ้น เมื่อปัญญาเจริญ ขึ้น อกุศลที่ไม่ดีทางกาย ทางวาจา ทางใจ ก็จะลดลงตามความเข้าใจของปัญญาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
one_someone
วันที่ 15 เม.ย. 2560

อนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ