เปรียบเทียบฌาน 3 กับ อริยมรรคที่ 3
วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 170
ในปาฐะทั้งหลายเหล่านั้น ปาฐะว่า ปีติยา จ วิราคา (เพราะ ปีติคลายไปด้วย) นั้น มีวินิจฉัยว่า ความหน่ายปีติก็ดี ความก้าว ล่วงปีติก็ดี ชื่อว่าวิราคะ (ความคลายไป) ก็ จ ศัพท์ในระหว่าง บททั้ง ๒ เป็นสัมปิณฑนัตถนิบาต (คือ) จ ศัพท์นั้นผนวกเอาวูปสนะ หรือ วิตกฺกวิจารน วูปสมะ เข้ามาด้วย ในอรรถสองอย่างนั้น เมื่อ จ ศัพท์ผนวกเอา วูปสมศัพท์เดียวเข้ามา พึงทราบโยชนา (การ ประกอบความ) ดังนี้ว่า "เพราะปีติคลายไปด้วย เพราะสงบระงับ ยิ่งขึ้นอีกหน่อยด้วย" ก็แลวิราคศัพท์ในโยชนานี้มีอรรถว่า หน่าย เพราะเหตุนั้น พึงเห็นความ (ดัง) นี้ว่า "เพราะหน่ายปีติด้วย เพราะสงบระงับด้วย" แต่เมื่อ จ ศัพท์นั้นผนวกเอาวิตกฺกวิจารวูปสมศัพท์เข้ามา พึงทราบโยชนาดังนี้ว่า "เพราะปีติคลายไปด้วย เพราะ วิตกวิจารระงับไปยิ่งขึ้นอีกหน่อยด้วย" ก็วิราคศัพท์ในโยชนนี้มีอรรถ- ว่า ก้าวล่วง เพราะเหตุนั้นพึงเห็นความ (ดัง) นี้ว่า "เพราะ ก้าวล่วงปีติด้วย เพราะวิตกวิจารระงับไปด้วย" อันที่แท้ วิตกวิจารเหล่านั้นระงับไปแต่ในทุติยฌานแล้ว แต่ คำนั้น (นำมา) กล่าว (ในวาระแห่งตติยฌานอีก) เพื่อแสดงทางของ ฌานนี้ และเพื่อกล่าวสรรเสริญนี้ด้วย แท้จริง เมื่อกล่าวว่า " เพราะวิตกวิจารระงับไปด้วย "ดังนี้ ข้อที่ว่า " ความระงับแห่งวิตก วิจารเป็นทางแห่งฌานนี้แน่แท้ " นี้ย่อมปรากฏ อนึ่ง เมื่อกล่าว การละ (สังโยชน์) โดยนัยว่า เพราะละสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ มี สักกายทิฏฐิเป็นต้น ที่แท้มิใช่เพิ่งมาละในอริยมรรคที่ ๓ ดังนี้ ก็ย่อม เป็นอันกล่าวสรรเสริญ (ตติมรรคนั้น) ยังอุตสาหะให้เกิดแก่พระ โยคาวจรทั้งหลายผู้ขวนขวายเพื่อบรรลุตติยมรรคนั้น ฉันใด เมื่อกล่าว ความระงับไปแห่งวิตกวิจารทั้งหลาย ที่แม้มิใช่เพิ่งมาระงับในตติย- ฌานนี้ ก็เป็นอันกล่าวสรรเสริญ (ตติยฌานนั้น) ฉันนั้นเหมือนกัน เหตุนั้นข้าพเจ้าจึงกล่าวความ (ดัง) นี้ว่า "เพราะก้าวล่วงปีติด้วย เพราะวิตก วิจารระงับไปด้วย"