อาการของสติ

 
Nareopak
วันที่  19 ก.ค. 2554
หมายเลข  18773
อ่าน  1,826
ขอความกรุณาช่วยอธิบายเกี่ยวกับอาการของสติด้วยค่ะ ขอบพระคุณและอนุโมทนาค่ะ

  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 19 ก.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย สติเป็นสภาพธรรมที่มีจริง เป็นเจตสิก เป็นสภาพธรรมฝ่ายดี เป็นโสภณเจตสิกครับ

เมื่อจิตฝ่ายดีเกิดขึ้น จะต้องมีสติเจตสิกเกิดร่วมด้วยเสมอครับ ขณะใดที่กุศลเกิดขึ้น จะ

ต้องมีสติเกิดร่วมด้วยครับ ขณะให้ทาน รักาษศีล เจริญภาวนา คือ สมถภาวนาและ

วิปัสสนาภาวนาก็ต้องมีสติเกิดร่วมด้วยเสมอครับ

อาการ หรือ ลักษณะของสติ คือ สติมีการระลึกได้เป็นลักษณะ สติทำหน้าที่ระลึก แต่

ระลึกเป็นไปในฝ่ายกุศล ในฝ่ายดี เป็นต้นครับ เช่น ขณะที่ให้ทาน ก็มีสติเกิดขึ้น มี

ลักษณะ อาการคือ ระลึกที่จะให้ในขณะนั้นครับ นี่คือลักษณะ อาการของสติที่เป็นไปใน

ทาน ขณะที่งดเว้นที่จะไม่ฆ่าสัตว์ สติเกิดขึ้นในขณะนั้น ทำหน้าที่ระลึกที่จะงดเว้นที่จะ

ไม่ฆ่าสัตว์ ขณะที่เจริญสมถภาวนา เช่น การระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า ขณะนั้นมีสติเกิด

ขึ้นด้วย มีลักษณะ อาการในขณะนั้นคือ ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าครับ ขณะที่เจริญ

วิปัสสนาภาวนา หรือ สติปัฏฐาน ขณะนั้นรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริงว่าเป็นธรรม

ไม่ใช่เรา สติเกิดด้วยในขณะนั้น มีลักษณะที่ระลึกในตัวสภาพธรรมที่กำลังปรากฎ เช่น

แข็งปรากฎ ปรากฎกับสติ คือ สติระลึกที่สภาพธรรมที่แข็ง สติจึงมีลักษณะ อาการที่

ระลึกเป็นไปในสภาพธรรมในขณะนั้น แต่การรู้ความจริงของสภาพธรรมที่เป็นธรรมไม่

ใช่เรา เป็นหน้าที่ของปัญญา ไม่ใช่สติครับ เพราะสติทำหน้าที่ระลึกในสภาพธรรมนั้น

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 19 ก.ค. 2554

ลักษณะ อาการของสติไม่ใช่หมายถึงการนึกขึ้นได้ รู้ตัวว่าทำอะไรอยู่ เช่น รู้ว่ากำลัง

เดิน กำลังยืน กำลังก้าว การรู้ตัวเช่นนั้นไม่ใช่สติ เพราะ สติเกิดขึ้นกับจิตฝ่ายดี เพราะ

ฉะนั้นจะไม่เกิดกับอกุศลเลยครับ ดังนั้นสติย่อมเกิดในกุศลจิตที่เป็นไปในทาน ศีลและ

ภาวนา ซึ่งขณะที่รู้ตัวว่ากำลังทำอะไรอยู่ จิตขณะนั้นเป็นกุศลไหม เป็นไปในทาน ศีล

และภาวนาหรือเปล่า ไม่เป็นครับ ดังนั้นจะกล่าวว่าการรู้ตัวอย่างนั้น เป็นอาการ เป็น

ลักษณะของสติไม่ได้ครับ

อีกนัยหนึ่ง การนึกขึ้นได้ ไม่จำเป็นจะต้องเป็นสติ เช่น นึกขึ้นได้ว่าลืมกุญแจไว้ที่

ไหน การนึกขึ้นได้เช่นนั้น ไม่ใช่สติ เพราะจิตขณะนั้นไมได้เป็นกุศล เป็นไปในทาน ศีล

และภาวนา เมื่อไม่ใช่กุศล จะกล่าวว่ามีสติไม่ได้ครับ การนึกขึ้นได้ จึงไม่จำเป็นที่จะต้อง

มีสติครับ แต่การนึกขึ้นได้ ในฝ่ายกุศล เช่น ระลึกนึกขึ้นได้ว่าตั้งใจจะให้ทานในวันพรุ่ง

นี้ ขณะนั้น จิตเป็นกุศลระลึกที่จะให้ ขณะนั้นมีสติเกิดร่วมด้วย ระลึกขึ้นได้ว่าจะให้นั่น

เอง ดังนั้นก็ต้องมีความเข้าใจที่สำคัญว่า สติเกิดกับกุศลจิตทุกประเภทไม่เกิดกับอกุศล

เลยครับ ดังนั้นขณะใดที่เป็นอกุศลจะไม่มีสติและสติ มีลักษณะ อาการคือ ระลึกนั่นเอง

ลักษณะ อาการของสติ ไม่ได้หมายถึงการจำได้ การจำได้ เป็นลักษณะของสัญญา

เจตสิก แต่การระลึกได้ทีเ่ป็นไปในฝ่ายกุศลเป็นสติเจตสิกครับ

สติอีกนัยหนึ่ง ลักษณะอาการของสติ คือ กั้นกระแส อกุศล คือ สติทำหน้าที่ไม่ให้

อกุศลเกิดเพราะขณะที่สติเกิดขณะนั้นเป็นจิตที่ดี ไม่ใช่อกุศลจิตเลยครับ เมื่อมีสติ ย่อม

กั้นกระแสไม่ให้จิตเป็นอกุศลในขณะนั้นครับ

การเจริญสติปัฏฐาน หรือ การรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ว่าเป็นธรรม

ไม่ใช่เรา จึงขาดสติไม่ได้ เพราะตัวสติ ทำกิจหน้าที่ ระลึกถึงลักษณะของสภาพธรรมที่

กำลังปรากฎ ถ้าไม่มีสภาพธรรมที่ระลึกได้ ปัญญาก็ไม่สามารถที่จะรู้ความจริงของสภาพ

ธรรมนั้นได้ครับ

นี่คือลักษณะอาการของสติ ตามนัยต่างๆ ครับ

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 19 ก.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น สติ เป็นสภาพธรรมที่มีจริง เป็นสภาพธรรมที่ดีงาม เกิดร่วมกับจิตที่ดีงามทุกประเภท สติ เป็นสภาพธรรมที่ระลึกได้ เป็นไปในกุศลทั้งหลาย ทั้งในขั้นของทาน ศีล การอบรมความสงบของจิต และการอบรมเจริญปัญญา ชีวิตในวันหนึ่งๆ ที่เต็มไปด้วยอวิชชา ความหลง ความไม่รู้ เต็มไปด้วยอกุศลประการต่างๆ ขณะนั้นหลงลืมสติ ไม่มีสติเกิดร่วมด้วย ไม่เป็นกุศล ไม่สามารถที่จะพิจารณาสภาพธรรมในชีวิตประจำวันได้ตามความเป็นจริง จนกว่าสติจะเกิดเมื่อใด มีการระลึกได้แม้ในเหตุในผล ในความถูกต้อง ในความเหมาะควรในชีวิตประจำวันขณะใด ขณะนั้นก็เป็นการเกิดขึ้นของสติ

ซึ่งจะเห็นได้ว่าไม่ว่าจะเป็นยุคไหน สมัยไหน การที่กุศลธรรมจะเกิดขึ้นได้นั้น ก็เพราะสติมีการระลึกได้ มิฉะนั้นแล้ววันหนึ่งๆ ก็เต็มไปด้วยโลภะบ้าง โทสะบ้าง โมหะ บ้าง แต่เมื่อใดก็ตามที่มีการระลึกได้เป็นไปในกุศลประการต่างๆ ในชีวิตประจำวัน กุศลจิตก็เกิดขึ้นพร้อมกับสติและโสภณธรรมอื่นๆ มีศรัทธา หิริโอตตัปปะ อโลภะ อโทสะ เป็นต้น ซึ่งเป็นความเกิดขึ้นเป็นไปของสภาพธรรฝ่ายดีไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน และในขณะที่สติเกิดขึ้นทำกิจหน้าที่นั้น ชื่อว่า มีธรรมเป็นเครื่องรักษา เพราะรักษาให้เป็นไปในกุศลธรรม ปิดกั้นความเกิดขึ้นของกุศลธรรม ไม่ว่าอยู่ในที่ไหน เวลาใดก็ตาม ครับ. ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
nong
วันที่ 20 ก.ค. 2554

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
Nareopak
วันที่ 20 ก.ค. 2554

แต่ก่อน ไม่ค่อยมีสติ เพราะไม่รู้จักสติ เมื่อได้ฟังธรรมและได้ความรู้เพิ่มเติมจากเวปนี้

เริ่มมีสติเกิดขึ้นบ้าง (คิดในทางกุศล เช่น เวลาที่เห็นใครได้ลาภ จิตคิดว่าเป็นเหตุปัจจัย

ที่เขาเคยทำไว้ในอดีต อย่ามองแค่ปัจจุบัน เป็นต้น) ใจก็จะสงบไม่เดือดร้อน ขออนุโมทนา

ในคำตอบของคุณPaderm และอาจารย์khampan ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
akrapat
วันที่ 21 ก.ค. 2554

อาการของสติเป็นอย่างไร? อืม ...นี่ใช่สติไหม แล้วนี่ล่ะ...ใช่หรือยังเอ...สติปัฎฐาน เราเกิดยังเนี่ย... มัวแต่จดจ้อง ทั้งๆ ที่รู้ว่ามันเป็นอนัตตา

ถ้าใช่แล้ว ก็จะไม่ถาม ถ้าถามแสดงว่า ยังไม่ใช่ เพราะธรรมะเป็นสิ่งที่ผู้รู้ ก็รู้ได้เฉพาะตัว

นอกเสียจากว่า อยากรู้ชื่อหรือเรื่องราว อาการของสติ แต่ ก็ถามได้ถ้าไม่เข้าใจ เพื่อที่จะ

เข้าใจได้มากขึ้น และเมื่อไหร่ที่ รู้ชัด ก็จะไม่ถาม ถ้าถามก็แสดงว่ายังรู้ แต่ไม่ชัด หรือ ไม่รู้

เลย.... นั่นคือสติปัฎฐานยังไม่เกิดเลย

ขออนุโมทนา
 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
miran
วันที่ 9 ก.ย. 2554

ใน อัฏฐสาลินี.๑/๑/๓๓๑ แสดงลักษณะพิเศษของสติไว้ ดังนี้.

มีการระลึก หรีอมีความไม่เลื่อนลอย เป็นลักษณะ, มีการไม่หลงลืม เป็นรส (หน้าที่)

มีการอารักขาคุ้มครอง (ใจและอารมณ์) ไว้ได้ หรือการมุ่งต่ออารมณ์ เป็นปัจจุปัฏฐาน (ผล)

มีความจำ (สัญญา) อันมั่นคง เป็นปทัฏฐาน (เหตุใกล้ให้เกิด) .

ขออนุโมทนา
 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
pat_jesty
วันที่ 9 ก.ย. 2554
เมื่อสติปัฏฐานเกิดนั้น สติทำหน้าที่ระลึกรู้สภาพธรรมที่ปรากฏ แต่ปัญญารู้สภาพธรรมที่สติระลึกนั้นว่าไม่ใช่เรา ขอสอบถามเพิ่มเติมนิดหนึ่งค่ะ ว่าขณะที่ปัญญารู้ว่าสภาพธรรมนั้นไม่ใช่เรา แล้วรู้ลักษณะของสติ และเจตสิกที่เกิดร่วมด้วยขณะเดียวกันแยกกันชัดเจนรึเปล่าค่ะ หรือรู้เฉพาะสภาพธรรมอย่างหนึ่งอย่างใดที่เป็นอารมณ์ของจิตในขณะนั้น
รบกวนสอบถามเพื่อความเข้าใจถูกละเอียดยิ่งขึ้นค่ะ ขอบพระคุณค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
paderm
วันที่ 10 ก.ย. 2554

เรียนความเห็นที่ 8 ครับ

ขณะที่สติปัฏฐานเกิดต้องมีอารมณ์ที่สติและปัญญา (สติปัฏฐาน) รู้ในขณะนั้นครับ ซึ่ง

การรู้ความจริงขณะที่สติปัฏฐานเกิดต้องรู้ทีละลักษณะเท่านั้น คือ อารมณ์ที่สติปัฏฐาน

รู้อย่างเดียวเท่านั้นครับ ซึ่ง การจะรู้ลักษณะของสติ ก็ต้องเป็นสติปัฏฐานอีกขณะหนึ่งที่

รู้สติที่เป็นอารมณ์ในขณะนั้น รวมทั้งเจตสิกอื่นๆ ด้วยครับ ก็ต้องรู้ีละลักษณะในขณะที่สติ

ปัฏฐานขณะหนึ่งเกิดครับ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
pat_jesty
วันที่ 10 ก.ย. 2554

ขอบพระคุณค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ