หย่าแต่ยังอยู่ด้วยกันผิดศีลข้อ3ไหม

 
mepooh
วันที่  20 ก.ค. 2554
หมายเลข  18779
อ่าน  13,094

หย่าแต่ยังอยู่ด้วยกันผิดศีลข้อ 3 ไหม


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 20 ก.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย เมื่อหย่าขาดจากกันแล้ว และก็เป็นอันตกลงและรู้กันด้วยกันทั้งสองฝ่ายว่าเลิกกัน

แล้ว ก็เป็นอันเลิกกันแล้วครับ เมื่อเลิกกันแล้ว เมื่อผู้หญิงจะมีใหม่ก็ไม่ผิดศีลข้อกาเม

สุมิจฉาจาร เพราะ สามีไม่ได้เป็นเจ้าของตัวเราแล้วเพราะเลิกกันไปแล้ว แต่การอยู่

ด้วยกันเพื่อลูก ไม่ได้หมายความว่า สามีจะเป็นเจ้าของเรา หรือเป็นสามีเราอีกเพราะ

ตกลงเลิกกันไปแล้ว ส่วนตัวผู้ชายที่เป็นสามีเก่า ยังอยากอยู่ด้วย นั่นเป็นส่วนของ

ความคิดและการกระทำของฝ่ายผู้ชาย แต่ไม่มีผลกับการเป็นสามีและภรรยาอีก

เพราะตกลงเลิกกันไปแล้ว และไม่ได้ตกลงที่จะเป็นสามีและภรรยากันอีกครั้งครับ

ดังนั้นการมีใหม่ผู้หญิงจึงไม่ผิดศีลข้อ 3 แต่ถ้ายังตกลงปลงใจที่จะอยู่ด้วยกันอีกแม้จะ

หย่าไปแล้ว การมีใหม่และไปอยู่ร่วมกันกับคนใหม่ก็ถือว่าผิดศีลข้อ 3ได้ เพราะเท่ากับว่า

ตกลงปลงใจที่จะเป็นสามีและภรรยากันอีก แต่ถ้ากรณีที่ไม่ตกลงปลงใจกลับมาคบเป็น

สามีและภรรยาอีกแล้ว แม้จะอยู่ด้วยกันและไม่มีอะไรกัน การมีใหม่ไม่ผิดศีลข้อ 3 ครับ

ควรพิจาณาใคร่ครวญให้ดีในผลดีและผลเสียของการมีใหม่ แม้จะไม่ผิดศีลข้อ 3 เพราะ

ต้องนึกถึงลูกก่อนเป็นสำคัญ ว่ามีผลกระทบกับลูกหรือไม่ ดังนั้นต้องพิจารณาใคร่ครวญ

ก่อนอย่างรอบคอบในผลกระทบที่จะเกิดขึ้นครับ และข้อดี ข้อเสียอย่างรอบคอบ

ขออนุโมทนา

เชิญคลิกอ่านเพิ่มเติมที่นี่ครับ

ศีลข้อกาเม อะไรเป็นตัวตัดสิน กฎหมายหรือศีลธรรม

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 20 ก.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ศีลข้อ ๓ คือ การประพฤติผิดในกาม มีโอกาสล่วงได้ทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายหญิงหรือฝ่ายชายก็ตาม ที่มีการล่วงศีล ก็เพราะว่ายังมีกิเลสอยู่นั่นเอง เมื่อแต่งงาน แล้วหย่าร้างกันเด็ดขาด นั้น ฝ่ายหญิง ชื่อว่า เป็นผู้ไม่มีสามี การที่จะแต่งงานใหม่กับผู้ชายคนใหม่ ไม่ผิดศีลข้อ ๓ โดยฝ่ายชายจะต้องกระทำให้ถูกต้องโดยการสู่ขอกับผู้ปกครอง มี มารดา บิดา เป็นต้น เพราะถ้าไม่มีการสู่ขอกระทำให้ถูกต้องแล้วอยู่ด้วยกันฝ่ายชายจะผิดศีลข้อนี้ เพราะล่วงในหญิงที่มีผู้ปกครอง แต่เมื่อกระทำให้ถูกต้องแล้ว ฝ่ายชายก็จะไม่ผิดศีล เมื่อแต่งงาน (ใหม่) แล้ว ฝ่ายหญิงชื่อว่ามีสามีแล้ว ถ้าไปมีชายคนใหม่อีกทั้งๆ ที่ตนเองมีสามี ก็ผิดศีล ฝ่ายชายที่มาล่วง ก็ผิดด้วยเหมือนกันซึ่งจะต้องพิจารณาองค์ของการล่วงศีล ประกอบด้วย ถ้าจะให้ดีที่สุด คือ ไม่กระทำผิด ไม่ล่วงศีล ไม่กระทำอกุศลกรรมโดยประการทั้วปวง แต่ละคนที่เกิดมาล้วนมีความตายเป็นที่สุดด้วยกันทั้งนั้น มารดาบิดา ย่อมทอดทิ้งบุตร บุตรย่อมทอดทิ้งมารดาบิดา ภรรยาย่อมทอดทิ้งสามี สามีย่อมทอดทิ้งภรรยา ด้วยความตายที่เกิดขึ้น, การเกิดในภพหนึ่งชาติหนึ่ง เป็นที่พักชั่วคราวเท่านั้น ควรอย่างยิ่งที่จะได้สะสมในสิ่งที่ประเสริฐ คือ สะสมความดีประการต่างๆ รวมถึงการสะสมปัญญาจากการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง เพราะธรรมฝ่ายดีเหล่านี้เท่านั้น ที่จะเป็นที่พึ่งที่แท้จริงสำหรับชีวิต ไม่ใช่ทรัพย์สมบัติ ไม่ใช่บุคคลรอบข้าง ครับ ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
nong
วันที่ 21 ก.ค. 2554

ถ้าสามีภรรยาหย่ากันด้วยเหตุผลจำเป็นบางประการ ไม่มีลูกด้วยกัน แล้วไปแต่งงาน

ใหม่ทั้งคู่ แต่ก็ยังติดต่อกันและยังรักกันอยู่เหมือนเดิม แต่ไม่มีอะไรกัน เพราะถือศีลธรรม

เป็นหลัก มีเจตนาที่ดีให้ความช่วยเหลือครอบครัวของแต่ละฝ่ายอยู่เสมอ และเพราะยัง

อยากเจอกันบ้างด้วย คู่ของทั้งสองฝ่ายก็รู้จักกันดีค่ะ...

เรียนถามว่า แม้จะไม่เป็นการผิดศีลข้อ ๓ แต่ความรู้สึกและการกระทำเหล่านี้ ถือเป็น

โลภะและเป็นความผิดทางใจไหมคะ เขาควรเลิกติดต่อกันจะดีกว่าไหม เพราะถ้าเจอ

กันบ่อยๆ อกุศลจิตอาจมีมากขี้นจนถึงขั้นทำอกุศลกรรมได้...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
paderm
วันที่ 21 ก.ค. 2554

เรียนความเห็นที่ 3 ครับ

เมื่อแต่งานใหม่แล้ว ก็เท่ากับว่า มีคู่ครองคนใหม่ ไม่ใช่คนเก่าและไม่ใช่สามี ภรรยากัน

อีกแล้ว ดังนั้นการกระทำจึงต้องให้เหมาะสม แม้จะไมได้ล่วงศีลข้อ 3 แต่การกระทำที่ทำ

ให้เกิดความสนิทสนมด้วยโลภะเพิ่มขึ้นก็ป็นอกุศลขณะนั้นและก็ย่อมนำไปสู่ การนอกใจ

ทางกายได้ ดังนั้น ความช่วยเหลือ ส่วนช่วยเหลือ เป็นสิ่งที่ควรทำ แต่ไม่ควรนำความ

ช่วยเหลือนั้นเพื่อเป็นทางนำไปสู่การได้ใกล้ชิดกันเพราะยังมีความรักกันอยู่ครับ เพราะ

การเสพคุ้นบ่อยๆ ก็ทำให้อกุศลเจริญและเริ่มจากจิตที่ตั้งไว้ผิด ด้วยการชอบพอกันอยู่

และมีการกระทำทางกายและวาจาที่ทำให้สนิทสนมกันนั่นเป็นกรรมไม่ควรครับ เพราะ

ต่างก็มีคู่ครองคนใหม่้ด้วยกันแล้วทั้งคู่ครับ ดังนั้นคงไม่ต้องรอถึงกับล่วงศีล แต่เริ่ม

จกาการเห็นโทษของอกุศลเบื้องต้น เพื่อที่จะได้ไม่นำไปสู่การกระทำที่มีกำลังทีเป็น

อกุศลกรรมครับ ดังนั้นไม่ควรทำด้วยจิตที่มีความต้องการผูกพัน ที่อยากจะใกล้ชิดและ

คบกันครับ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
nong
วันที่ 21 ก.ค. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาคุณ paderm ค่ะ ดิฉันก็คิดเช่นเดียวกัน จะนำไปแนะนำ

เพื่อนคู่นี้ ให้เขามีความเห็นที่ถูกต้องค่ะ...

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
homenumber5
วันที่ 31 ก.ค. 2554
กรณี ที่หย่ากันทางกฏหมายแต่มาอยู่กินกันจะถือว่าเป็นมุสาต่อสังคมไหมคะ
 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
paderm
วันที่ 31 ก.ค. 2554

เรียนความเห็นที่ 6 ครับ

มุสาวาท หมายถึงมีเจตนาโกหกต่อผู้อื่น แต่บางคู่ หย่ากัน และก็อยู่กินกัน ไมไ่ด้มีเจตนา

โกหกต่อสังคมก็ได้ แต่ถ้ามีเจตนาที่จะให้สังคมเข้าใจผิด ว่าเลิกกันแล้ว แต่ยังอยู่เด้วยกัน

ถ้ามีเจตนาหลอกลวง โกหก็เป็นมุสาได้ครับ ขึ้นอยู่กับเจตนาเป็นสำคัญ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ