เห็น หรือได้ยินในแต่ละขณะมีปัจจัยกี่อย่าง..อะไรบ้าง..

 
natre
วันที่  25 ก.ค. 2554
หมายเลข  18806
อ่าน  2,042

จากที่ฟังธรรมจากท่านอาจารย์สุจินต์ในหมวดปัฏฐาน ท่านอาจารย์ได้กล่าวถึงปัจจัยที่

เกิดในขณะที่มีโลภะเป็นมูล ประกอบด้วยความเห็นผิด ไม่มีการชักจูงไว้ละเอียดทำให้เกิด

ความซาบซึ้งใน"รสพระธรรม"เป็นอย่างมาก แต่ก็ยังข้องใจในปัจจัยทีในขณะได้เห็น ได้ยิน

ได้กลิ่น และลิ้มรส มีกี่อย่าง อะไรบ้าง ขอขอบพระคุณท่านผู้รู้ครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 25 ก.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

สภาพธรรมทั้งหลายเมื่อจะเกิดขึ้นจะต้องอาศัยเหตุปัจจัยหลายประการจึงจะเกิดขึ้น

ได้ครับ แม้แต่สภาพธรรมที่เป็น การเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การลิ้มรส เป็นต้น ก็

ต้องอาศัยเหตุปัจจัยหลายประการเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น การเห็น ภาษาธรรมเรียกว่า

จักขุวิญญาณจิต ดังนั้นการเห็น เป็นสภาพธรรมที่มีจริง เป็นสภาพธรรมทีเป็นจิต เป็น

ผลของกรรม การเห็นจะเกิดขึ้นได้ขณะนี้ก็ต้องมีเหตุปัจจัยจึงเกิดขึ้น หากไม่มีพระพุทธ

เจ้าทรงตรสรู้ความจริงก็จะไม่มีทางรู้เลยว่า การเห็นทีเป็นปกติในชีวิตประจำวันก็ต้องมี

เหตุปัจจัยเกิดขึ้นครับ พระพุทธเจ้าทรงแสดงว่า การเห็น จักขุวิญญาณ อาศัยเหตุ 4

ประการ การเห็นจึงเกิดขึ้นได้ครับ

1.อสมฺภินฺนตฺตา จกฺขุสฺส เพราะจักขุประสาทยังไม่แตกดับ

2.อาปาถคตฺตา รูปานํ เพราะรูปมาสู่คลอง

3.อาโลกสนฺนิสฺสิตํ อาศัยแสงสว่าง

4.มนสิการเหตุกํ อาศัยมนสิการเป็นเหตุ.

คือ อาศัยจักขุปสาทรูป (ตา) ที่ยังไม่ดับไป ยังเกิดขึ้นอยู่ โดยไม่ใช่ตาของคนตาบอด

เป็นต้น ดังนั้นเพราะอาศัย จักขุปสาทรูป ที่ยังไม่ดับไป ซึ่งจักขุปสาทรูป ทำหน้าที่รับ

กระทบ สี หรือสิ่งที่ปรากฎทางตา และอาศัย รูป รูปารมณ์ หรือสี ที่เป็นสิ่งที่ปรากฎทาง

ตา กระทบกับจักขุปสาทรูป ถ้าแม้มีตา จักขุปสาทรูป แต่ไม่มีรูปมากระทบที่จักขุปสาท

รูป ก็ไม่เกิดการเห็นครับ และอาศัยแสงสว่าง ถ้าไม่มีแสงสว่างเลย มืดสนิทก็ไม่มีการ

เกิดขึ้นของจักขุวิญญาณ หรือ การเห็นได้ครับ แต่เมื่อมีแสงสว่าง แม้จะน้อยนิด แต่ก็มี

แสงสว่าง เช่น หลับตาก็ยังมีแสงสว่าง ก็เมื่อหลับตาก็จะเห็นเหมือนสี ไม่ใช่ไม่เห็นเลย

ดังนั้นเพราะอาศัยแสงสว่าง จึงเป็นปัจจัยให้เกิดการเห็นประการหนึ่ง และประการสุด

ท้าย อาศัยมนสิการ คือ จิตที่เป็นปัญจทวาราวัชชนจิต ถ้าเกิดทางตาที่ทำให้เห็นก็เรียก

ว่าจักขุทวาราวัชชนจิต คือ เมื่อมีรูปมากระทบขจักขุปสาทรูปแล้ว ก็มีจิตที่เกิดขึ้น รู้ว่ามี

อารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งที่กระทบทวาร คือ ตา นั่นเอง ดังนั้นต้องอาศัยจักขุทวาราวัชชน

จิต เกิดขึ้น ที่ทำหน้าที่ เพียงรู้ว่าอารมณ์หนึ่งอารมณ์ใดกระทบทวารหนึ่ง คือ รู้ว่ามีรูป

คือ สี (สิ่งทีปรากฎทางตา) มากระทบกับจักขุปสาท ซึ่งการเห็น จักขุวิญญาณจะเกิดขึ้น

ได้ ก็ต้องมีจิตที่เกิดก่อนคือ จักขุทวาราวัชชนจิตนั่นเองครับ ดังนั้นจึงต้องอาศัย จักขุ

ทวาราวัชชนจิต จึงจะมีการเห็น จักขุวิญญาณเกิดขึ้นได้ครับ

เชิญลิกอ่านที่นี่ครับ

จักขุวิญญาณอาศัยปัจจัย ๔ เกิดขึ้น

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 25 ก.ค. 2554

สรุปคือ การเห็นจะเกิดขึ้นได้เพราะอาศัย จักขุปสาทรูป อาศัย รูป ทีเป็นสี หรือสิ่งที่

ปรากฎทางตาที่ยังไม่ได้ดับไป กระทบกับจักขุปสาทรูป และอาศัยแสงสว่าง และ

ประการสุดท้าย อาศัย จักขุทวาราวัชชนจิต เกิดขึ้นทำอาวัชชนกิจ รู้ว่ามีรูป คือ สิ่งที่

ปรากฎทางตามากระทบจักขุปสาทรูปนั่นเอง และเมื่อ จักขุทวาราวัชชนจิต ดับไปก็เป็น

ปัจจัยให้ จักขุวิญญาณจิตเกิดขึ้น (การเห็น) ครับ

โดยนัยเดียวกัน สำหรับการได้ยินก็อาศัยเหตุปัจจัย 4 ประการจึงทำให้เกิดการได้ยิน

หรือ โสตวิญญาณเกิดขึ้นครับ

คือ อาศัย

1. อสมฺภินฺนตฺตา โสตสฺส เพราะโสตประสาทยังไม่แตกดับ

2 อาปาถคตตฺตา สทฺทานํ เพราะเสียงทั้งหลายมาสู่คลอง

3. อาสาสสนฺนิสฺสิตํ อาศัยอากาศ

4. มนสิการเหตุกํ มีมนสิการเป็นเหตุ.

การได้ยินเพราะอาศัย โสตปสาทรูป และอาศัย เสียงที่กระทบโสตปสาทรูป (หู) และ

รูปคือเสียงนั้นที่ยังไม่ได้ดับไป อาศัย อากาศ และท้ายสุด คือ อาศัยมนสิการ คือ อาศัย

การเกิดขึ้นของจิตที่เป็นปัญจทวาราวัชชนจิต ถ้าเกิดทางหูเรียกว่าโสตทวาราวัชชนจิต

ครับ ขออธิบายเรื่องอากาศว่าอาศัยอากาศอย่างไร ทำให้เกิดการได้ยินได้ครับ

เพราะเมื่อปิดช่องหูให้สนิทจริงไม่มีอากาศ ที่เป็นตัวนำเสียงไปกระทบโสตปสาทรูป

ก็ไม่เป็นปัจจัยให้เกิดการได้ยินครับ แต่การที่เราปิดช่องหูอยู่และยังได้ยิน นั่นแสดงว่า

ยังปิดไม่สนิทจริงและยังมีอากาศอยู่นั่นเองครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
paderm
วันที่ 25 ก.ค. 2554

การได้กลิ่น ก็อาศัยเหตุปัจจัย 4 ประการเช่นกัน

คือ อาศัย ฆานปสาทรูป และรูปคือกลิ่น และอาศัย วาโย คือ ธาตุลม และสุดท้าย

อาศัยปัญจทวาราวัชชนจิตเกิดขึ้นครับ ที่อาศัยธาตุลม คือ วาโย เพราะลมย่อมพากลิ่น

ไปกระทบกับจมูก หรือ ฆานปสาทรูปครับ ถ้าไม่มีลมแล้ว กลิ่นก็ไม่สามารถไปกระทบ

จมูกได้ครับ

การลิ้มรส ก็อาศัยเหตุปัจจัย 4 ประการในการเกิดขึ้นเช่นกันครับ

คือ อาศัยชิวหาปสาทรูป และ อาศัย รส ที่มากระทบชิวหาปสาทรูป และที่สำคัญ

อาศัยอาโป คือ ธาตุน้ำ เพราะถ้าลิ้นแห้ง ไม่มีน้ำเลย แม้วางอาหารลงไปที่ลิ้น รสก็ไม่

ไปกระทบชิวหาปสาทรูปครับ ต่อเมื่อมีน้ำ จึงทำให้รสไปกระทบกับปสาทรูปครับ และ

ประการสุดท้าย อาศัย ปัญจทวาราวัชชนจิตครับ

การรู้กระทบสัมผัส ก็อาศัย เหตุปัจจัย 4 ประการเกิดขึ้นเช่นกันครับ

คือ อาศัย กายปสาทรูป และอาศัยรูปทีกระทบสัมผัส ที่กาย เช่น เย็น ร้อน อ่อน แข็ง

เป็นต้นและอาศัยธาตุดินและอาศัยจิตคือ ปัญจทวาราวัชชนจิตเกิดขึ้นจึงเป็นเหตุปัจจัย

ให้มีการรู้กระทบสัมผัส หรือ กายวิญญาณจิตเกิดขึ้นครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
paderm
วันที่ 25 ก.ค. 2554

จะเห็นนะครับว่า สภาพธรรมทั้งหลายต้องอาศัยเหตุปัจจัยจึงเกิดขึ้น ที่สำคัญการ

เข้าใจความจริงของสภาพธรรมที่ต้องอาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้น แสดงให้เห็นถึงความ

ไม่ใช่สัตว์ บุคคล แต่เป็นธรรมเท่านั้นที่ทำหน้าที่จึงเกิดขึ้น จึงไม่มีเราจะทำ จะจัดการ

จะพยายามให้สภาพธรรมเกิดขึ้นได้เลยครับ

ที่สำคัญ แม้การเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การลิ่มรส การกระทบสัมผัสก็เป็นผลของ

กรรม เป็นวิบากจิต จึงบังคับไม่ได้เลยที่จะให้เกิดหรือไม่เกิดเพราะเป็นผลของกรรมครับ

ดังนั้น เหตุปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่ง ที่เป็นกรรมปัจจัย คือ กรรมในอดีตที่ได้ทำไว้

แล้วนั่นเอง เป็นปัจจัยให้เกิดการเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การลิ้มรส การรู้กระทบ

สัมผัสครับและก็ยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกมากมายที่ทำให้เกิดการเห็น การได้ยิน การลิ้มรส การ

รู้กระทบสัมผัสรับ ซึ่งก็ไม่พ้นปัจจัย 24 ประการครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
paderm
วันที่ 25 ก.ค. 2554

การเข้าใจถึงการเกิดขึ้นของสภาพธรรม เช่น การเห็นต้องอาศัยเหตุปัจจัย ก็เป็น

ประโยชน์ให้เข้าใจว่า ไม่มีเรา มีแต่ธรรมทีเกิดจากเหตุปัจจัย ก็ค่อยๆ ละคลายความยึด

ถือว่าเป็นสัตว์ บุคคล เป็นเราได้มากขึ้น การศึกษาเรื่องปัจจัย เรื่องพระอภิธรรมก็คือการ

เข้าใจคามจริงว่ามีแต่ธรรมไม่ใช่เรา เพื่อเข้าถึงความเป็นอนัตตา อันเป็นไปเพื่อละ

ความเห็นผิดว่าเป็นสัตว์ บุคคลตัวตนครับ

การศึกษาพระธรรม ฟังพระธรรมด้วยความแยบคาย ถูกต้องไม่ว่าเรื่องอะไร แม้แต่เรื่อง

พระอภิธรรม ก็เพื่อเข้าใจความจริงของสภาพรรมที่มีในขณะนี้ ซึ่เงป็นพระอภิธรรมใน

ชีวิตประจำวัน ดังนั้นการศึกษาพระอภิธรรมที่ถูกต้องเพื่อให้เห็นถึงความไม่มีสัตว์ บุคคล

ตัวตนครับ มีแต่สภาพธรรมและเกิดจากเหตุปัจจัยนั่นเอง ขออนุโมทนาครับ

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
khampan.a
วันที่ 25 ก.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเ้จ้าพระองค์นั้น ธรรม เป็นสิ่งที่มีจริงทุกอย่างทุกประการ ก่อนอื่นไม่ว่าจะกล่าวถึงอะไร ก็ขอให้ได้เข้าใจว่าเป็นธรรมที่มีจริง แม้แต่ การเห็น การได้ยิน เป็นต้น เป็นธรรมทั้งหมด เมื่อเป็นธรรม ก็ไม่ใช่เราที่เห็น ไม่ใช่เราที่ได้ยิน เป็นต้น เห็น ก็เกิดแล้วเพราะเหตุปัจจัย ได้ยินก็เกิดแล้ว เพราะเหตุปัจจัย แต่เป็นคนละขณะกัน เห็นกับได้ยิน จะเกิดพร้อมกันไม่ได้ นี้คือ ความจริงที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง เป็นธรรมที่ละเอียดยิ่ง เพราะแสดงถึงความเป็นอนัตตาของสภาพธรรม ที่จะต้องเกิดขึ้นเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย ไม่อยู่ใน อำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น ไม่มีใครทำหรือบังคับให้สภาพธรรมเกิดขึ้นได้เลย เห็น (จักขุวิญญาณ) เป็นจิตประเภทหนึ่งที่เกิดขึ้นทำกิจเห็น และแน่นอนว่า ในขณะที่จิตเห็นเกิดขึ้น ก็จะต้องมีที่เกิดของจิตเห็น (จักขุวัตถุ ซึ่งก็คือ จักขุปสาทะ ที่ยังมีอยู่) มีเจตสิกที่เกิดร่วมด้วย มีอารมณ์ คือ สีที่ยังไม่ดับ และ ปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้การเห็น ซึ่งเป็นวิบากจิต เกิดขึ้น นั้น คือ กรรม เพราะกรรมที่ได้กระทำแล้ว เป็นปัจจัย ถึงคราวให้ผล จึงให้การเห็นเกิดขึ้น ถ้าเห็นสิ่งที่ดี น่าปรารถนา น่าใคร่น่าพอใจก็เป็นผลของกุศลกรรม ในทางตรงกันข้าม ถ้าเห็นสิ่งที่ไม่ดี ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ ก็เป็นผลของอกุศลกรรม เมื่อเข้าใจ เห็น แล้ว ก็จะสามารถพิจารณา เพื่อความเข้าใจในสภาพธรรมต่อไปคือ ได้ยิน (โสตวิญญาณ) ได้กลิ่น (ฆานวิญญาณ) ลิ้มรส (ชิวหาวิญญาณ) ได้ ซึ่งเป็นสภาพธรรมที่ต่างกัน เกิดทางทวารที่ต่างกัน มีอารมณ์ต่างกัน มีที่เกิดต่างกันซึ่งเป็นความหลากหลายแตกต่างของสภาพธรรมซึ่งเป็นสิ่งที่มีจริง ที่ควรรู้ควรศึกษาให้เข้าใจ ได้ิยิน (โสตวิญญาณ) เป็นจิตประเภทหนึ่งที่เกิดขึ้นทำกิจได้ิยิน และแน่นอนว่า ในขณะที่จิตได้ยินเกิดขึ้นก็จะต้องมีที่เกิดของจิตได้ยิน (โสตวัตถุ ซึ่งก็คือโสตปสาทะที่ยังมีอยู่) มีเจตสิกที่เกิดร่วมด้วย มีอารมณ์ คือ เสียงที่ยังไม่ดับ และ ปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้การได้ยิน ซึ่งเป็นวิบากจิต เกิดขึ้น นั้น คือ กรรม เพราะกรรมที่ได้กระทำแล้ว เป็นปัจจัย ถึงคราวให้ผล จึงให้การได้ยินเกิดขึ้น ถ้าได้ยินเสียงที่ดี น่าปรารถนา น่าใคร่น่าพอใจ ก็เป็นผลของกุศลกรรม ในทางตรงกันข้าม ถ้าได้ยินเสียงที่ไม่ดี ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ ก็เป็นผลของอกุศลกรรม ได้กลิ่น (ฆานวิญญาณ) เป็นจิตประเภทหนึ่งที่เกิดขึ้นทำกิจได้กลิ่น และแน่นอนว่า ในขณะที่จิตได้กลิ่นเกิดขึ้น ก็จะต้องมีที่เกิดของจิตได้กลิ่น (ฆานวัตถุ ซึ่งก็คือ ฆานปสาทะ ที่ยังมีอยู่) มีเจตสิกที่เกิดร่วมด้วย มีอารมณ์ คือ กลิ่นที่ยังไม่ดับ และ ปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้การได้กลิ่น ซึ่งเป็นวิบากจิต เกิดขึ้น นั้น คือ กรรม เพราะกรรมที่ได้กระทำแล้ว เป็นปัจจัย ถึงคราวให้ผล จึงให้การได้กลิ่นเกิดขึ้น ถ้าเห็นได้กลิ่นที่ดี น่าปรารถนา น่าใคร่น่าพอใจ ก็เป็นผลของกุศลกรรม ในทางตรงกันข้าม ถ้าได้กลิ้นที่ไม่ดี ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ ก็เป็นผลของอกุศลกรรม ลิ้มรส (ชิวหาวิญญาณ) เป็นจิตประเภทหนึ่งที่เกิดขึ้นทำกิจลิ้มรส และแน่นอนว่าในขณะที่จิตลิ้มรสเกิดขึ้นก็จะต้องมีที่เกิดของจิตลิ้มรส (ชิวหาวัตถุ ซึ่งก็คือ ชิวหาปสาทะที่ยังมีอยู่) มีเจตสิกที่เกิดร่วมด้วย มีอารมณ์ คือ รสที่ยังไม่ดับ และ ปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้การลิ้มรส ซึ่งเป็นวิบากจิต เกิดขึ้น นั้น คือ กรรม เพราะกรรมที่ได้กระทำแล้ว

เป็นปัจจัย ถึงคราวให้ผล จึงให้การลิ้มรสเกิดขึ้น ถ้าได้ลิ้มรสที่ดี น่าปรารถนา น่าใคร่น่าพอใจก็เป็นผลของกุศลกรรม ในทางตรงกันข้าม ถ้าได้ลิ้มรสที่ไม่ดี ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ ก็เป็นผลของอกุศลกรรม ไม่สามารถเลือกไ้ด้เลยขึ้นอยู่กับว่ากรรมใดจะให้ผล เพราะฉะนั้นแล้ว จิต แต่ละขณะ ที่เกิดขึ้นนั้น มีหลายปัจจัย ทั้งหมดทั้งปวงนั้น เพื่อแสดงให้เห็นถึงความเป็นจริงของสภาพธรรม ที่เิกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ไม่ได้เกิดขึ้นมาลอยๆ โดยปราศจากเหตุปัจจัย ครับ ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
natre
วันที่ 26 ก.ค. 2554
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
BudCoP
วันที่ 27 ก.ค. 2554

นมตฺถุ พุทฺธานํ

ขอความนอบน้อม จงมีแด่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย

สวัสดี ครับ, คุณ natre คุณประเดิม และคุณ คำปัน, ขอสนทนาด้วยคน ครับ.

ขณะเห็น ตำราสายมูลนิธิแนบ บางท่านกล่าวไว้ว่า มี 73 ปัจจัย ที่ทำให้เกิดการเห็น ครับ.

แต่อาจารย์ผู้ชำนาญปัฏฐานระดับประเทศท่านหนึ่ง ค้านว่า ไม่ถูกต้อง. อาจเพราะนับกันคนละนัย.

แต่เอาแบบง่ายสุด และพิสูจน์ง่ายๆ ว่า มีปัจจัยเท่าไหร่ให้เกิด จักขุวิญญาณให้พิจารณาที่ชาติก่อน ครับ.

มี ตา สี เป็นปุเรชาตชาติปัจจัย

มี สี เป็นอารัมมณชาติปัจจัย

มี นาม 7 เว้นตัวเอง เป็นสหชาตชาติปัจจัย

(และ มีนาม 8 เป็นปัจฉาชาตชาติปัจจัยของจักขุวัตถุ แต่ไม่นับตรงนี้ เพราะเอาปัจจัยของจักขุวิญญาณ)

มี นามที่เพิ่งดับ เป็นอนันตรชาติปัจจัย

(และ มี รูปาหาร เป็นรูปาหารชาติปัจจัย, มี รูปชีวิตินทรีย์ เป็นรูปชีวิตินทริยปัจจัย แต่ 2 ปัจจัยนี้ ไม่นับเพราะเป็นปัจจัยแก่รูป)

มี กรรมในอดีตชาติ เป็นนานักขณิกกัมมชาติปัจจัย

ครบ ๙ ชาติ แต่เป็นจริงๆ 6 ชาติ ครับ, ที่เหลือ ให้เอาปัจจัย 47, 52, 57 มาแจก เอาตามที่มีปรากฎจริงๆ .

หลักสำคัญในการพิจารณาปัจจัย (กรณีที่เรียนปัฏฐานมาดีแล้ว) คือ ให้พิจารณาดูให้ดีว่า "ตอนที่เห็นเป็นต้นนั้น ปัจจัยและปัจจยุปบันอะไรบ้างที่สัมพันธ์กันอยู่จริงๆ ", ไม่ใช่คิดเดาเอาแต่ว่า "ที่เรียนมาตัวหนังสือว่ายังไง" อย่างนี้จะเอามาปฏิบัติไม่ได้, ตำรามีไว้ให้ท่องเพื่อเริ่มใช้และตรวจสอบ ไม่ได้มีไว้ให้ท่องเฉยๆ ครับ.


ตอนที่เห็น อย่าลืมเห็นเป็นปัจจัยอย่างนี้, จะไม่พบเป็นสัตว์บุคคลเลย ครับ.

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ