วิราคธรรม ประเสริฐกว่าธรรมทั้งหลาย

 
dets25226
วันที่  27 ก.ค. 2554
หมายเลข  18813
อ่าน  9,338

ขออาจารย์ช่วยอธิบายคำว่า วิราคธรรม ประเสริฐกว่าธรรมทั้งหลาย ขอบคุณครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 27 ก.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 99

"บรรดาทางทั้งหลายทางมีองค์ ๘ ประเสริฐ, บรรดาสัจจะทั้งหลาย บท ๔ ประเสริฐ, บรรดาธรรม ทั้งหลาย วิราคะประเสริฐ, บรรดาสัตว์ ๒ เท้า และ อรูปธรรมทั้งหลาย พระตถาคตผู้มีจักษุประเสริฐ


วิราคธรรม คือ สภาพธรรมที่ปราศจาก ราคะ (โลภะ) สำรอก คลายจากราคะ แต่ไม่ใช่ เพียงราคะเท่านั้น วิราคธรรมคือสภาพธรรมที่สำรอก ละ สละ คลาย ปราศจากกิเลสทั้งปวง สภาพธรรมที่เป็นวิราคธรรมคือพระนิพพานนั่นเอง ครับ

ธรรมทั้งหลาย แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ สภาพธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่ง และ สภาพ ธรรมที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง สภาพธรรมที่มีเหตุปัจจัยปรุงแต่ง คือ เพราะอาศัยสภาพธรรมต่างปรุงแต่งแล้วให้มี การเกิดขึ้นและก็ต้องดับไป เช่น จิต เจตสิก รูป เป็นสภาพธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่งเกิด ขึ้นและดับไป (สังขตธรรม)

สภาพธรรมที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง คือ สภาพธรรมที่ไม่อาศัยสภาพธรรมอื่นมาทำให้ เกิด มาทำให้มีขึ้น จึงไม่มีการเกิดขึ้นและการดับไปเลย นั่นคือ พระนิพพาน (วิราคธรรม) เพราะฉะนั้นจากคำถามที่ว่า วิราคธรรมประเสริฐกว่าธรรมทั้งหลาย หรือ พระพุทธพจน์ ที่ว่าในบรรดาสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่ง หรือ ไม่มีปัจจัยปรุงแต่งก็ดี พระนิพพาน (วิราคธรรม) เป็นเลิศ ประเสริฐที่สุด คือในบรรดาสภาพธรรมที่เป็น จิต เจตสิก รูป พระนิพพาน พระ นิพพาน ที่เป็นวิราคธรรมเท่านั้นประเสริฐที่สุดครับ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ -หน้าที่ 100

บาทพระคาถาว่า วิราโค เสฏฺโ ธมฺมาน ความว่า บรรดาธรรมทั้งปวง วิราคะ กล่าวคือพระนิพพาน ชื่อว่าประเสริฐ เพราะพระพุทธพจน์ว่า ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ทั้งหลายที่ปัจจัยปรุงแต่งก็ดี ที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่งก็ดี มีประมาณเพียงไร, บรรดาธรรม เหล่านั้นวิราคะเรากล่าวว่า เป็นยอด."

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 27 ก.ค. 2554

ซึ่งเหตุผลที่พระนิพพานเลิศกว่าธรรมทั้งหลาย มีหลายประการดังนี้ครับ

พระนิพพาน (วิราคธรรม) เป็นสภาพธรรมที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่งแล้ว (อสังขตธรรม) ส่วน ธรรมทั้งหลายอื่น เป็นสภาพธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่ง (สังขตธรรม) เพราะฉะนั้นเมื่อมีเหตุ ปัจจัยปรุงแต่ง คือ อาศัยสภาพธรรมต่างๆ เป็นปัจจัย จึงมีการเกิดขึ้น เมื่อมีการเกิดขึ้น และดับไป จึงไม่ใช่สภาพธรรมที่ละเอียดประณีต เท่ากับ สภาพธรรมที่ไม่มีปัจจัย ปรุง แต่งนั่นเองครับ ดังนั้น เหตุผลประการที่หนึ่งคือ ตัวสภาพธรรมที่เป็นวิราคธรรม (พระ นิพพาน) ละเอียด ประณีตกว่าสภาพธรรมอื่นๆ เพราะพระนิพพานเป็นสภาพธรรมที่ ไม่มีการเกิดขึ้นและดับไป ไม่ถูกสภาพธรรมอื่นๆ ทำให้เกิดได้นั่นเองครับ สมดังที่พระ พุทธตรัสไว้ว่า อรูปธรรม (นาม คือ จิตเ จตสิก) ละเอียดกว่ารูป แต่พระนิพพานละเอียด กว่า อรูปธรรม (นามธรรม คือ จิต เจตสิก) นั้นครับ

เหตุผลประการที่สอง สภาพธรรมที่เป็น จิต เจตสิกทีเป็นนามธรรม เป็นสภาพธรรมที่ ยัง ไม่พ้นจากการยึดถือด้วยกิเลสประการต่างๆ มีราคะ (โลภะ) เป็นต้น แต่พระนิพพาน (วิราคธรรม) เป็นสภาพธรรมที่ไม่เป็นที่ตั้งของกิเลสประการต่างๆ ให้กิเลสเข้าไปยึดถือ ได้ครับ

เหตุผลประการที่สาม คือ พระนิพพาน (วิราคธรรม) เป็นสภาพธรรมที่สำรอกจาก กิเลส คลายจากกิเลสทั้งหมด แ ละสร่างจากความเมาด้วยกิเลส คือ กิเลสทั้งหมด มี ความเมา ในวัย เป็นต้น ถูกทำลายเมื่อถึงพระนิพพาน ดังนั้นพระนิพพานจึงเป็นเลิศ เพราะไม่มีสภาพะรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่งด้วยกิเลสเกิดขึ้นเลยครับ ดังนั้นพระนิพพานจึงเป็นสภาพธรรมที่ประณีตกว่าสภาพธรรมอื่นๆ ด้วยความที่ไม่มี ปัจจัยปรุงแต่ง ไม่มีการเกิดขึ้นและดับไ ป และเป็นสภาพธรรมที่ปราศจากกิเลสโดย ประการทั้งปวง และไม่เป็นที่ตั้งของความยึดถือด้วยกิเลสโดยประการทั้งปวง จึงเป็น สภาพธรรมที่เลิศว่าสภาพธรรมทั้งหลายครับ

สมดังที่อรรถกถาได้อธิบายไว้ในวิราคธรรมคือพระนิพพานว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 565

บทว่า วิราโค เตส อคฺคมกฺขายติ ความว่าบรรดาสังขตธรรมและอสังขตธรรม ทั้งหลาย เหล่านั้น อสังขตธรรม กล่าวคือ วิราคะบัณฑิตเรียกว่า เลิศ คือ ประเสริฐ ได้แก่สูงสุด หมายความว่า ล้ำเลิศเพราะเป็นสิ่งละเอียด และสุขุมตาม สภาพนั่นเอง เพราะเป็นสิ่งสงบและประณีตกว่าเพราะเป็นสิ่งลึกซึ้ง เป็นต้น และ เพราะเป็นความสร่างเมา เป็นต้น.

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
paderm
วันที่ 27 ก.ค. 2554

ขอเสริมเรื่องคำว่า วิราคะ อีกสักนิดเพื่อเป็นประโยชน์นะครับ โดยทั่วไปแล้ว เมื่อพูด ถึงคำว่าวิราคะ ก็คือ การปราศจากกิเลส สำรอกกิเลส ปราศจาก ราคะคือโลภะ ก็มุ่ง หมายถึงพระนิพพาน แต่บางนัย วิราคะ หมายถึง ขณะที่มรรคจิตเกิดขึ้น เช่น โสดา ปัตติมรรค สกทาคามีมรรค อนาคามีมรรคและอรหัตตมรรค มรรค เป็นวิราคะ ในขณะนั้น เพราะสำรอก ละ คลายกิเลสประกาต่างๆ ในขณะที่เกิดขึ้น เช่น เมื่อโสดาปัตติมรรคเกิด ขณะนั้น สำรอก ละคลายกิเลส ปราศจากกิเลส คือ สักกายทิฏฐิ คือ ความยึดถือ ความ เห็นผิดว่าเป็นสัตว์ บุคคลตัวตน ซึ่งขณะมรรคจิตเกิดละคลายกิเลสคือ คามเห็นผิดใน ขณะนั้นนั่นเองครับ

รายละเอียดที่มรรคจิตเป็นวิราคะ อ่านได้ตามลิ้งนี้นะครับ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 551

ดังนั้น วิราคะ บางนัยหมายถึง มรรคจิตก็ได้ครับ แต่โดยทั่วไปแล้ว วิราคะ ทีเป็นวิรา คธรรม มุ่งหมายถึงพระนิพพานครับ ซึ่งสภาพธรรมทีเป็นพระนิพพานนั่นมีเพียงสภาพธรรมเดียว แต่ชื่อที่ใช้เรียกพระ นิพพานก็มีหลายชื่อตามลักษณะของพระนิพพานนั่นเองครับ เช่น วิราคะ จาโค นิโรธะ เป็นต้น

เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ ...

ธรรมที่เป็นไวพจน์พระนิพพาน [วิภังค์]

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
khampan.a
วันที่ 27 ก.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสรู้และทรงแสดงนั้น ไม่พ้นไปจากสิ่งที่มีจริง ๔ ประการ คือ จิต (สภาพธรรมที่เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์) เจตสิก

สภาพธรรมที่เกิดร่วมกับจิต ดับพร้อมกับจิต รู้อารมณ์เดียวกันกับจิต และ สำหรับในภูมิที่มีขันธ์ ๕ ก็อาศัยที่เกิดที่เดียวกันกับจิต) รูป (สภาพธรรมที่ไม่รู้อารมณ์ ซึ่งเกิดขึ้นตามสมุฏฐานของตนๆ ) และ พระนิพพาน (สภาพธรรมที่เป็นนามธรรม แต่เป็นนามธรรมที่ไม่รู้อารมณ์ เป็นสภาพธรรมที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่งให้เกิดขึ้น) ล้วนเป็นสภาพธรรมที่มีจริง มีความแตกต่างกันตามลักษณะของสภาพธรรมแต่ละอย่างๆ ซึ่งไม่ปะปนกันเลย [เป็นแต่ละหนึ่งๆ]

สำหรับ วิราคธรรม ก็เป็นสภาพธรรมที่มีจริง เป็นสภาพธรรมที่สำรอกราคะ สำรอกกิเลส คายเสียซึ่งกิเลส ซึ่งหมายถึง พระนิพพาน เมื่อมาถึงพระนิพพาน กิเลสประการต่างๆ ก็จะถูกดับ ถูกสละ ถูกคาย ถูกสลัดออก และ ประการที่สำคัญ สภาพธรรมที่จะประจักษ์แจ้งพระนิพพาน คือ มรรคจิต [ซึ่งมีพระนิพพานเป็นอารมณ์เมื่อมรรคจิต พร้อมทั้งเจตสิกที่เกิดร่วมด้วย เกิดขึ้น ย่อมรู้อารมณ์เดียวกัน คือ พระนิพพาน] เมื่อมรรคจิตเกิดแล้วดับไป ก็เป็นปัจจัยให้ ผลจิตเกิดสืบต่อทันทีโดยไม่มีระหว่างคั่น มรรคจิตเกิดขึ้น ดับกิเลสตามลำดับมรรค ตั้งแต่โสดาปัตติมรรค จนกระทั่งถึงอรหัตตมรรค กิเลสที่สะสมมาอย่างเนิ่นนานในสังสารวัฏฏ์ จะถูกดับได้อย่างเด็ดขาดไม่เกิดอีกเลย เมื่อมรรคจิตเกิดขึ้น และ กิเลสทั้งปวง [ที่ยังดับไม่ได้ด้วยมรรคเบื้องต่ำ ๓] จะถูกดับได้อย่างหมดสิ้น ไม่มีเหลือ ก็ต่อเมื่ออรหัตตมรรคจิตเกิดขึ้นนั่นเอง มรรคจิต จึงเป็นวิราคธรรม ด้วย เพราะสามารถดับกิเลส ได้

จะเห็นได้ว่าในบรรดาธรรมทั้งหลายนั้น วิราคธรรม คือ พระนิพพาน เป็นเลิศ ที่สุด เพราะเป็นสภาพธรรมที่ไม่เกิดไม่ดับ ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง เป็นสภาพธรรมที่ตรงกันข้ามกับสังขารธรรม เป็นสภาพธรรมที่ดับทุกข์ดับกิเลส ตัดวัฏฏะ ไม่เป็นไปในฝ่ายเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป ตามข้อความตอนหนึ่งในจุนทิสูตร ที่ว่า พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ หน้า ๗๐

"วิราคะ คือ ธรรมอันย่ำยีความเมา กำจัดความกระหาย ถอนเสียซึ่งอาลัยเข้าไปตัดวัฏฏะ เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่คลายกำหนัด เป็นที่ดับ (กิเลส) "

กว่าจะถึงการประจักษ์แจ้งสภาพธรรมที่ไม่เกิดไม่ดับ คือ พระนิพพานนั้น ก็จะต้องเริ่มที่การฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม สะสมความเข้าใจถูก เห็นถูกในลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังมีกำลังปรากฏ ซึ่งเป็นสังขารธรรม ไปตามลำดับ เพราะถ้ายังไม่มีความเข้าใจในสภาพธรรมที่เกิดดับซึ่งมีจริงในขณะนี้ ก็ไม่สามารถรู้แจ้งพระนิพพานได้ ครับ

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ ...

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
wannee.s
วันที่ 27 ก.ค. 2554

กว่าจะถึงนิพพาน ก็ต้องสะสม ทาน ศีล ปัญญา นับชาติไม่ถ้วนค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
dets25226
วันที่ 29 ก.ค. 2554

อนุโมนาครับ ท่านอาจารย์ ...

ผมมีความคิดเห็นว่า วิราคะ กับ พระนิพพาน นั้น เป็นคนละตัวกัน ถูกหรือเปล่าครับ แต่ว่า เป็นทางที่ต้องใช้สมาธิ และปัญญาที่มีกำลังเท่านั้น ถึงจะเกิดมีได้ ... อีกคำถามหนึ่งครับ

คำว่า "ธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง" หมายความว่า อย่างไร และมีกี่อย่างครับ พระนิพพานถือเป็นธรรมชนิดใด ...

ด้วยความเคารพอย่างสูง

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
paderm
วันที่ 29 ก.ค. 2554

เรียนความเห็นที่ 6 ครับ

วิราคธรรม โดยมากหมายถึงพระนิพพานครับ ไม่ใช่คนละตัวกัน คือ วิราคธรรม หมาย ถึงสภาพธรรมที่สำรอกกิเลส ปราศจากกิเลส นั่นก็คือพระนิพพานนั่นเองครับ ซึ่งทางที่จะถึงพระนิพพาน หรือ วิราคธรรมก็ด้วยปัญญาที่เป็นการเจริญสติปัฏฐาน หรือวิปัสสนาครับ ไม่ใช่การเจริญสมาธิ

ส่วนคำว่าธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง หมายถึง สภาพธรรรมที่ไม่มีสภาพธรรมอื่นๆ ปรุงแต่งให้เกดิขึ้น เช่น จิต เป็นสภาพธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่ง เพราะอาศัยเจตสิก ที่ปรุง แต่งให้เกิดจิตขึ้น เมื่อมีสภาพธรรมอื่นๆ ทำให้เกิดขึ้น จึงยังถูกปรุงแต่ง แต่พระนิพพาน เป็นธรรมที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง คือ ไม่มีสภาพธรรมใดทำให้พระนิพพานเกิดขึ้นได้ ไม่มี สภาพธรรมอะไรเกิดร่วมด้วยเลย แต่ก็มีจริงตามสภาพธรรมนั้น แต่ไม่มีการเกิดขึ้นและ ดับไป ไม่มีการปรุงแต่งของสภาพธรรมใดๆ ครับ พระนิพพานจึงเป็นสภาพธรรมที่ไม่มี ปัจจัยปรุงแต่งครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
dets25226
วันที่ 29 ก.ค. 2554

คล้ายๆ ท่านอาจารย์จะบอกว่า ทั้งๆ ที่มีอยู่ แต่ก็มองไม่เห็น ใช่ป่าวครับ ฯ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
paderm
วันที่ 29 ก.ค. 2554

พระนิพพานเป็นสภาพธรรมที่มีจริง ที่ไม่สามารถเห็นได้้ด้วยตา จะรู้พระนิพพานได้ ด้วยระดับจิตที่สูง คือ ระดับจิตที่เป็นโลกุตตรจิตครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
dets25226
วันที่ 29 ก.ค. 2554

อนุโมทนาครับ ท่านอาจารย์

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
dets25226
วันที่ 29 ก.ค. 2554

เรียนอาจารย์และเพื่อนร่วมสนทนาครับ คำถามที่ถามนั้น เป็นคำถามจากความสงสัย จริงๆ ครับ ไม่ได้ตั้งใจ ถามซ้ำประเด็นของใคร ขออภัยด้วยนะครับ บางทีอ่านๆ ไป รู้สึก มันจะซ้ำๆ อยู่บ้าง

ด้วยความเคารพอย่างสูง

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
chatchai.k
วันที่ 5 ธ.ค. 2566

ยินดีในกุศลจิตครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ