สัจจวิมุต

 
SOAMUSA
วันที่  28 ก.ค. 2554
หมายเลข  18820
อ่าน  5,489

ดิฉันกำลังเรียนอยู่ในชั้นจูฬเอกค่ะ

สงสัยว่าการคิดมัคคจิตตุปบาท และผลจิตตุปบาทนั้น

มัคคจิต ๔ นับ=๑

เจตสิกที่ในโลกุตตระ=๓๖

รวมกันเป็น ๓๗ เรียกมัคคจิตตุปบาท

ในปฐมฌาน เว้นเจตสิกที่เป็นองค์มรรคออก ๘

มัคคจิตตุปบาทที่เหลือ ๒๙ เป็นสัจจวิมุต

ดิฉันไม่เข้าใจว่า

1. ทำไมมัคคจิต ๔ จึงนับเป็นเจตสิกเท่ากับ ๑

2. ทำไมต้องไปรวมกับเจตสิก ๓๖ เป็นมัคคจิตตุปบาท ๓๗

3. ทำไมต้องเอามรรค ๘ มาหักออก พระอาจารย์ที่สอนบอกว่า

ใช้ไป ๘ ต้องหักออกในปฐมฌาน ส่วนทุติยฌานขึ้นไปหักออก

๗ อันนี้เข้าใจค่ะ ว่า วิตกอยู่ในปฐมฌานต้องหัก ๘

ส่วนฌานที่สูงขึ้นไปไม่มีวิตกแล้ว หักแค่ ๗

ขอความกรุณาอธิบายให้เข้าใจด้วยค่ะ



  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 28 ก.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ขออนุญาตแสดงความคิดเห็น ดังนี้ ครับ เข้าใจว่า กำลังกล่าวถึง สัจจวิมุตติ คือ สภาพธรรมที่ไม่เป็นอริยสัจจ์ ๔ (คือ พ้นจากอริยสัจจ์ ๔)

ตามความเป็นจริงล้ว สภาพธรรมที่เป็นทุกขอริยสัจจ์ คือ สภาพธรรมที่เป็นไปในฝ่ายเกิด เป็นธรรมที่เกิดดับ เป็นไปในฝักฝ่ายของสังสารวัฏฏ์ ได้แก่ โลกิยจิต ๘๑, เจตสิก ๕๑ (เว้นโลภะ) และ รูป ๒๘ ทุกขสมุทัยอริยสัจจ์ (เหตุแห่งทุกข์) คือ โลภะ ทุกขนิโรธอริยสัจจ์ (ความดับทุกข์) คือ พระนิพพาน

ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจจ์ (หนทางที่เป็นไปเพื่อความดับทุกข์) คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ [เป็นเจตสิก ๘ ประเภท] สัมมาทิฏฐิ (ปัญญาเจตสิก) ๑ สัมมาสังกัปปะ (วิตักกเจตสิก) ๑ สัมมาวาจา (สัมมาวาจาเจตสิก) ๑ สัมมากัมมันตะ (สัมมากัมมันต-เจตสิก) ๑ สัมมาอาชีวะ (สัมมาอาชีวเจตสิก) ๑ สัมมาวายามะ (วิริยเจตสิก) ๑ สัมมาสติ (สติเจตสิก) ๑ และ สัมมาสมาธิ (เอกัคคตาเจตสิก) ๑ ทั้งหมดนี้คือ สภาพธรรมที่เป็นอริยสัจจ์ ๔ เวลาที่กล่าวถึง จิตตุปปาทะ คือ ความเกิดขึ้นของจิต นั้น ย่อมหมายรวมถึงเจตสิกด้วย เพราะฉะนั้น เมื่อกล่าวถึง มัคคจิต และ ผลจิต แล้ว จิต นับเป็น ๑ ส่วนเจตสิก ก็นับตามที่เกิดร่วมด้วย มัคคจิต และ ผลจิต [พร้อมด้วยเจตสิกที่เกิดร่วมด้วย] ไม่ได้เป็นทุกขอริยสัจจ์ (ถึงแม้ว่าจะเป็นสภาพธรรมที่เกิดดับก็ตาม) เพราะไม่ได้เป็นไปในฝักฝ่ายของกิเลส ไม่ได้เป็นไปในฝักฝ่ายของการเวียนว่ายตายเกิด (สังสารวัฏฏ์) แต่เป็นฝักฝ่ายของการดับทุกข์ ดับกิเลส พร้อมทั้งเป็นผลของการดับกิเลสด้วย และในขณะนั้นเจตสิกที่เป็นองค์มรรค ๘ องค์ก็เกิดร่วมด้วย แต่ก็ไม่เป็นทุกขอริยสัจจ์ เพราะอริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจจ์ มัคคจิต ผลจิต (รวมเจตสิกที่เกิดร่วมด้วย) เป็นสัจจวิมุตติ คือ ไม่ได้เป็นทุกขอริยสัจจ์ ตามที่ได้อธิบายแล้ว นั่นเอง ส่วนอริยมรรคมีองค์ ๘ ซึ่งเป็นเจตสิกที่เกิดร่วมกับมัคคจิตและผลจิต นั้น เป็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจจ์ ดังนั้น จากคำถามที่ว่า

1. ทำไมมัคคจิต ๔ จึงนับเป็นเจตสิกเท่ากับ ๑ (น่าจะเป็น ทำไม มัคคจิต ๔ นับเป็น ๑) เพราะจิต เกิดขึ้นทีละขณะๆ จะเกิดพร้อมกันไม่ได้ แต่เมื่อกล่าวโดยรวมแล้ว จะเป็นจิตขณะใดก็ตาม นับเป็น ๑

2. ทำไมต้องไปรวมกับเจตสิก ๓๖ เป็นมัคคจิตตุปบาท ๓๗ (เพราะเมื่อมรรคจิต เกิดขึ้น ตัวจิต นับเป็น ๑ เกิดร่วมกับเจตสิกที่เกิดร่วมด้วย ๓๖ จึงรวมเป็น ๓๗ เนื่องจากว่า จิตตุปปาทะ หมายถึง ความเกิดขึ้นแห่งจิตและเจตสิกที่เกิดร่วมด้วย)

3. ทำไมต้องเอามรรค ๘ มาหักออก พระอาจารย์ที่สอนบอกว่า
ใช้ไป ๘ ต้องหักออก (ควรจะได้พิจารณาตามความเป็นจริงว่า เพราะมรรค ๘ ในขณะที่เกิดร่วมกับมรรคจิตผลจิต ไม่ได้เป็นทุกขอริยสัจจ์ แต่เป็น มัคคสัจจ์ หรือ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจจ์ อริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นหนึ่งในอริยสัจจ์ ๔, ๓๗ ลบ ๘ จึงเท่ากับ ๒๙) ขอให้ท่านผู้รู้พิจารณาอีกทีนะครับ เนื่องจากเป็นเรื่องละเอียด และ ไกลตัวมากเลย คือ มรรคจิต ผลจิต ควรอย่างยิ่งที่จะค่อยๆ ฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม ฟังในสิ่งที่มีจริงบ่อยๆ เนืองๆ เพื่อเข้าใจสิ่งที่มีจริง ที่กำลังมีกำลังปรากฏในขณะนี้ ที่พอจะรู้จะเข้าใจได้ ครับ ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
SOAMUSA
วันที่ 29 ก.ค. 2554

กราบอนุโมทนา ขอบพระคุณอาจารย์อย่างสูงค่ะ

เนื่องจากกำลังเรียน และไม่ค่อยเข้าใจเรื่องนี้เอามากๆ ค่ะ

ได้เข้าใจเพิ่มเติมขึ้นบ้าง เป็นเรื่องที่ยากแต่ต้องอ่านและทำความเข้าใจไปเรื่อยๆ

มิฉะนั้นจะลืมเอาง่ายๆ ค่ะ

ดิฉันจะทำตามที่อาจารย์แนะนำ เพื่อความเข้าใจสิ่งที่มีจริง

ที่กำลังมีกำลังปรากฏในขณะนี้ ทีีพอจะรู้จะเข้าใจได้ สาธุค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
paderm
วันที่ 29 ก.ค. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาในธรรมและกุศลจิตของทุกท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ลุงหมาน
วันที่ 3 ส.ค. 2554

840_1_ ~ 1.JPG

* สัจจวิมุต = คือพ้นจากสัจจะ ๔ * มรรคจิตตุปบาท+ผลจิตตุปบาท = จิตและเจตสิกรวมกัน (จิต๑+เจตสิก๓๖=๓๗) ๑. มรรคจิต ๔ นับ ๑ คือ เพราะมรรคจิต ๔ ดวงนั้น เมื่อว่าโดยลักษณะก็มีการรู้อารมณ์เป็นลักษณะอย่างเดียวเหมือนกันทั้งหมด ฉะนั้นจึงนับเป็น ๑ เมื่อรวบกับเจตสิกที่เหลือ ๒๘ จึงเป็น ๒๙ นี่แหละเรียกว่า มรรคจิตุปบาท
อีกประการหนึ่ง การเกิดขึ้นของจิตนั้น ในขณะหนึ่งๆ เกิดขึ้นได้ดวงเดียว ไม่เหมือนเจตสิกซึ่งเกิดได้หลายดวง ดังนั้นมรรคจิตเกิดขึ้น ๑ ดวงมีเจตสิก ๓๖ รวมเป็น ๓๗ ดวงเป็นมรรคจิตุปบาท ในจำนวน ๓๗ นั้นต้องเว้นองค์มรรค ๘ ออกเพราะเป็นมรรคสัจจะเมื่อเว้นออกเสียแล้ว คงเหลือ ๒๙ นี่แหละเป็นมรรคจิตุปบาท ๒๙ และ ในผลจิตตุปบาทก็เป็นไปในทำนองเดียวกัน

๒.ที่ต้องรวมจิตกับเจตสิกเพราะให้รู้ว่าจิตดวงหนึ่งมีเจตสิก ๓๖ รวมกับจิตอีก ๑ เป็น ๓๗ ดวงให้รู้เป็นมรรคจิตตุปบาท

๓. ที่ต้องหักออกเสีย ๘ เพราะเขาเป็นสัจจะ ๔ ที่เหลืออีก ๒๙ เป็นสัจจะวิมุต (คือพ้นจากสัจจะ ๔ นั่นเอง)

๔. ในทุติยฌานจะเหลือองค์มรรค ๗ เพราะวิตกเป็นองค์มรรคซึ่งถูกหักไปแล้วตั้งแต่ปฐมฌานในทุติยฌานจึงไม่มีวิตก
ขอให้ท่านเจริญในธรรมและเรียนให้ได้จบมหาอภิธรรมบัณฑิตนะครับ สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
SOAMUSA
วันที่ 8 ส.ค. 2554

กราบอนุโมทนาค่ะลุงหมาน ขอบพระคุณค่ะ

ดิฉันขอเรียนถาม ติกมาติกา ที่ 6 ถามเรื่อง สวิตกฺกติก

ในทุติยบท

อวิตกฺกวิจารมตฺตา ธมฺมา นั้น

องค์ธรรมคือ ทุติยฌานจิต 11 เจตสิก 36 (เว้นวิจาร) อันนี้เข้าใจนะคะ

ที่ไม่เข้าใจคือ วิตกเจตสิก 55 ที่ในสวิตักกสวิจารจิต 55

ในเมื่อบาลีในทุติยบทปฏิเสธวิตก แต่ทำไมองค์ธรรมจึงมีวิตกเจตสิก55

ที่ในสวิตักกสวิจารจิต 55 ค่ะ

และใน ตติยบท อวิตกฺกอวิจารา ธมฺมา

บาลีปฏิเสธทั้งวิตก วิจาร ก็เช่นกันค่ะ ก็ มีองค์ธรรม

ที่ไม่เข้าใจ คือ วิจารเจตสิก 11 ที่ในทุติยฌานจิต 11

ขอเรียนถามเหตุผลว่าทำไมต้องมี

องค์ธรรมที่ขีดเส้นใต้ ในทุติยบท และตติยบท ด้วยค่ะ

ขอความกรุณาอธิบายให้เข้าใจด้วยค่ะ กราบขอบพระคุณค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
prachern.s
วันที่ 9 ส.ค. 2554

ตามคำถามที่ว่า ทำไมองค์ธรรมจึงมีวิตกเจตสิก55ที่ในสวิตักกสวิจารจิต 55 ค่ะ

เข้าใจว่า สวิตักก ๕๕ หมายถึง จำนวนจิตที่มีวิตกเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๕๕ ดวง

ส่วนอีกข้อหนึ่ง ไม่เข้าใจคำถามครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
SOAMUSA
วันที่ 10 ส.ค. 2554

ใน ตติยบท อวิตกฺกอวิจารา ธมฺมา

บาลีปฏิเสธทั้งวิตก วิจาร มีองค์ธรรม

คือ อวิตักกอวิจารจิต 55 เจตสิก 36 และ

วิจารเจตสิก 11 ที่ในทุติยฌานจิต 11

...........................................................................................

ที่ไม่เข้าใจคือ ตัวองค์ธรรมที่ขีดเส้นใต้นี้ค่ะ

ทำไมต้องมี ในเมื่อ ตติยบทปฏิเสธทั้งวิตกและวิจาร

เจตสิกที่ขีดเส้นใต้เป็นเจตสิกที่อยู่ในจิต

ดิฉันไม่เข้าใจทั้งทุติยบทและตติยบทว่า ทำไม

เจตสิกที่เขียนเส้นใต้ในทั้งสองบท จึงต้องเป็นองค์ธรรมด้วยค่ะ


 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
prachern.s
วันที่ 10 ส.ค. 2554

ตามที่เข้าใจ อวิตกฺกอวิจารา ธมฺมา คือ ธัมมที่ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร ก็คือ จิต

ที่ไม่มีวิตก ไม่มีวิจารเกิดร่วมด้วย ได้แก่ จิต ๖๖ ดวง ไม่มีวิตกเกิดร่วมด้วย

จิต ๕๕ ดวง ไม่มีวิจารเกิดร่วมด้วย คือ ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ ฌานจิต ตั้งแต่

ตติยฌาณเป็นต้นไป ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
SOAMUSA
วันที่ 10 ส.ค. 2554

ตามที่เข้าใจ อวิตกฺกอวิจารา ธมฺมา คือ ธัมมที่ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร ก็คือ จิต

ที่ไม่มีวิตก ไม่มีวิจารเกิดร่วมด้วย ได้แก่ จิต ๖๖ ดวง ไม่มีวิตกเกิดร่วมด้วย

จิต ๕๕ ดวง ไม่มีวิจารเกิดร่วมด้วย คือ ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ ฌานจิต ตั้งแต่

ตติยฌาณเป็นต้นไป ครับ

กราบอนุโมทนา อาจารย์ทุกท่านค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ดิฉันไม่เข้าใจว่า ปฏิเสธวิตก ปฏิเสธวิจาร

องค์ธรรมของตติยบท คือ อวิตักกอวิจารจิต 55 (ทวิ 10 , ตติ.11, จตุ.11,

ปัญจ.11) , เจตสิก 36 รูป 28 , นิพพาน

และ วิจารเจตสิก 11 ที่ในทุติยฌานจิต 11

นี้แหละค่ะ ทำไมปฏิเสธทั้งวิตกวิจาร

แต่ในองค์ธรรมทำไมถึงมีวิจารเจตสิกตัวที่ขีดเส้นใต้ได้ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
ลุงหมาน
วันที่ 11 ส.ค. 2554

สนทนาความคิดเห็นที่ 5

สวิตกฺกา จ เต สวิจารา จาติ = สวิตกฺกสวิจารา ธรรมเหล่าใดย่อมเป็นไปพร้อมด้วย

วิตกและวิจาร ฉะนั้น ธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า สวิตกฺกสวิจาร ได้แก่กามจิต 44 (เว้นทวิปัญ

ญจวิญญาณจิต 10) ปฐมฌานจิต 11 เจตสิกที่ประกอบ 50 (เว้นวิตก วิจาร) หมาย

ความว่า ธรรมที่ชื่อ สวิตกฺกสวิจาร นั้นย่อมนับแต่ธรรมที่ประกอบกับวิตกและวิจาร ไม่นับ

ตัววิตกและวิจารด้วย ฉะนั้น ในจำนวนเจตสิกที่ประกอบกับสวิตักกสวิจารจิต 55 ย่อม

เว้นวิตกวิจารเสีย

อวิตกฺกา จ เต อวิจารา จาติ = อวิตกฺกอวิจารา ธรรมเหล่าใดปราศจากวิตกและวิจาร

ฉะนั้นธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า อวิตกฺกอวิจาร ได้แก่ ทวิปัญจวิญญาณจิต 10 ตติยฌานจิต

11 จตุตถฌานจิต 11 ปัญจมฌานจิต 3 เจตสิกประกอบ 36 และวิจารเจตสิก 11 ที่ใน

ทุติยฌานจิต 11 รูป 28 นิพพาน หมายความว่า ธรรมที่ชื่อว่า อวิตกฺกอวิจาร นั้น ย่อม

นับธรรมที่ไม่ประกอบวิตกวิจารทั้ง 2 เมื่อเป็นเช่นนี้ วิตกเจตสิก 55 ซึ่งแม้ไม่มีวิตก

เจตสิกประกอบก็จริง แต่มีวิจารเจตสิกประกอบ ซึ่งเรียกว่า อวิตกฺกสวิจาร ฉะนั้น จึงนับ

ไม่ได้ วิจารเจตสิก 55 ที่ประกอบกับสวิตักกจิต 55 แม้ว่าไม่มีวิจารเจตสิกประกอบ แต่มี

วิตกเจตสิกประกอบอยู่ ซึ่งเรียกว่า อวิจารสวิตกฺก จึงนับไม่ได้เช่นเดียวกัน ส่วนวิจาร

เจตสิก 11 ที่ประกอบกับทุติยฌานจิจ 11 ไม่ประกอบด้วยวิตก และไม่ประกอบวิจาร

ฉะนั้น จึงเป็นอวิตักกอวิจารธรรมได้

จงทำความเข้าใจอย่างช้าๆ พิจารณาไปทีละขั้นตอน ตามแต่ละวรรคแต่ละตอน อ่าน

ตอนหนึ่งให้กลับไปคิดก่อน แล้วค่อยอ่านตอนต่อไปคิดตอนต่อไปจึงจะเข้าใจได้ ลอง

เอาหลักสูตรมากางอ่านดูอยู่หน้าที่ 39-40 ครับ

ขออนุโมทนาในความเพียรอันเกิดจากวิริยะที่เป็นกุศล

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ