เริ่มศึกษา

 
suchadeedee
วันที่  28 ก.ค. 2554
หมายเลข  18823
อ่าน  1,671

อยากเรียนถามว่า

๑. คำว่า"เกาะชายผ้าเหลืองขึ้นสวรรค์" มีที่มาอย่างไร มีในพระไตรปิฎกไหมครับ และ

ที่เล่ากันว่า โยมตกนรกแต่นึกถึงชายผ้าเหลืองลูกเลยไม่ตกนรก มีในพระไตรปิฏกไหม

ครับ

๒. การที่เราบวชตามประเพณีปัจจุบัน (สัก ๑ เดือน) เราควรจะปฏิบัติตัวอย่างไร

๓. ถ้าเริ่มศึกษาพุทธศาสนา ควรจะเริ่มศึกษาอย่างไรครับ คือ เวลาเห็นมีการแก้กรรม

อะไรแปลกๆ แล้ว รู้สึกไม่น่าใช่พุทธศาสนา แต่จะรู้ได้อย่างไรว่าใช่หรือไม่ใช่ จะเริ่ม

ศึกษาจากไหน อย่างไร

ขอบพระคุณครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 28 ก.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย๑. คำว่า"เกาะชายผ้าเหลืองขึ้นสวรรค์" มีที่มาอย่างไร มีในพระไตรปิฎกไหมครับ และที่

เล่ากันว่า โยมตกนรกแต่นึกถึงชายผ้าเหลืองลูกเลยไม่ตกนรก มีในพระไตรปิฏกไหม

ครับ

-----------------------------------------------------------------------------------

คำว่า"เกาะชายผ้าเหลืองขึ้นสวรรค์"

ไม่มีในพระไตรปิฎกและคำสอนของพระพุทธเจ้าครับ

ส่วนเรื่องที่ท่านผู้ถามกล่าวว่า

มีในพระไตรปิฎกไหมครับ และที่เล่ากันว่า โยมตกนรกแต่นึกถึงชายผ้าเหลืองลูกเลย

ไม่ตกนรก มีในพระไตรปิฏกไหมครับ

ข้อความในพระไตรปิฎมีดังนี้ครับ

[เล่มที่ 23] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 205

อีกคนหนึ่ง ถวายผ้าสาฏกเนื้อหยาบแก่ภิกษุหนุ่มเป็นบุตรวางไว้ใกล้เท้า. ในเวลา

ใกล้ตาย เขาถือนิมิตในเสียงว่า ปฏะ ปฏะ แม้เขาเกิดใกล้อุสสุทนรก ก็ระลึกถึงผ้านั้น

เพราะเสียงเปลวไฟจึงไปเกิดบนสวรรค์.

-------------------------------------------------------------------------------------------

จากเรื่องในพระไตรปิฎกคือ ผู้เป็นบิดาหรือมารดา ของพระรูปหนึ่ง ได้ถวายผ้ากับ

พระ ผู้เป็นบุตร เมื่อบิดาหรือมารดาคนนั้นได้ตายไป ไปเกิดในนรกแล้ว แต่เพราะระลึก

ถึงกุศลได้ทำในขณะนั้นคือ การถวายผ้ากับพระภิกษุผู้เป็นบุตร จึงได้ไปเกิดในสวรรค์

จากที่ผมเล่ามา จะเห็นนะครับว่า ไม่ใช่ว่าเมื่อลูกบวชแล้วก็จะทำใหผู้เป็นบิดา หรือ

มารดาได้บุญเพราะลูกบวช แต่ต้องไม่ลืมว่า บุญ คือสภาพจิตที่ดีงาม บุญของใครก็

ของคนนั้น จิตของใครก็ของคนนั้น หากลูกบวช แต่ไม่ได้ทำกุศลประการใดเลย จะ

บอกว่าเป็นบุญไมได้ครับ และหากผู้ที่บวชประพฤติไม่ดี ผู้เป็นบิดา มารดา ก็ต้องบาป

ด้วยใช่ไหม คำตอบก็คือไม่ใช่เพราะ บาปของใครก็ของคนนั้นครับ ซึ่งจากตัวอย่างใน

พระไตรปิฎก แสดงไว้ชัดเจน ว่าผู้ที่เป็นมารดา หรือ บิดาของพระรูปนั้นได้กระทำกุศล

คือ การถวายผ้ากับพระผู้เป้นบุตร จะเห็นนะครับว่า ต้องมีการทำกุศล ไม่ใช่ว่าเมื่อลูก

บวชก็จะเท่ากับว่า บิดา มารดาจะได้บุญกาะชายผ้าเหลืองไปเพราะลูกบวชครับ เมื่อ

บิดาหรือมารดา ได้ถวายผ้า บุญสำเร็จแล้ว เมื่อตกนรก แต่ก็ระลึกถึงบุญกุศลที่ได้ถวาย

ผ้า นั่นคือระลึกถึงกุศลที่ได้ทำ ไมได้นึกถึงการที่ลูกบวชครับ เมื่อระลึกถึงกุศลทีได้ทำ

จิตขณะนั้นเป็นกุศลของผู้นั้นเอง ไม่ใช่จากผู้อื่น เมื่อเป็นกุศลของผู้นั้นเอง ก็เลยทำให้

จุติและไปเกิดในสวรรค์เพราะกุศลของผู้นั้นเองครับ โดยนัยตรงกันข้าม ก็ไม่ได้หมาย

ความว่าเมื่อลูกบวช บิดา มารดานึกถึงตอนที่ลูกบวชด้วยความยินดี ที่เป็นโลภะก็ได้

เมื่อใกล้ตาย เมื่อตายไป ก็ไปอบายเพราะจิตเศร้าหมอง จะกล่าวว่าเกาะชายผ้าเหลือง

ไปนรกได้ไหมครับ ดังนั้นจึงไม่ได้อยู่ที่ผู้อื่น ที่ลูกหรือที่ใครที่จะทำให้ไปนรกหรือสวรรค์

แต่การจะเกิดในที่ใด ขึ้นอยู่กับใจของบุคคลนั้นเองว่าก่อนตายจิตของผู้นั้นเอง เป็น

กุศล หรือ อกุศลครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 28 ก.ค. 2554

๒. การที่เราบวชตามประเพณีปัจจุบัน (สัก ๑ เดือน) เราควรจะปฏิบัติตัวอย่างไร

พระธรรมเป็นเรื่องละเอียดลึกซึ้ง การบวชที่ถูกต้อง ด้วยความเห็นโทษของการครอง

เรือน และไม่ยินดีในกามคุณ จึงสละเพศคฤหัสถ์ สู่เพศบรรพชิตด้วยความเห็นถูกและ

เป็นอัธยาศัยของผู้นั้นจริงๆ ด้วยปัญญาทีเห็นโทษในการครองเรือนครับ ดังนั้นการบวช

จะต้องเริ่มจากควาเมห็นถูกเป็นสำคัญ แต่เมื่อบวชแล้ว สำคัญที่สุด คือ ศึกษาพระธรรม

และประพฤติปฏิบัติตาม ศีล ข้อบัญญัติของพระภิกษุอย่างเคร่งครัด เพราะการบวชไม่

ใช่ตามประเพณี แต่การบวชเข้าไปแล้ว เพื่อเป็นไปเพื่อละคลายกิเลทุกๆ ประการ ดังนั้น

ก็ต้องศึกษาพระรรมอย่างละเอียด เพื่อที่จะไม่ได้ประพฤติล่วงพระวินัย ข้อบัญญัติ แต่

หากล่วงสิกขาบท ที่พระองค์บัญญัติก็ต้องเห็นโทษและมีการปลงอาบัติที่ถูกต้องครับ

เงินและทองไม่ควรรับโดยประการใดๆ ทั้งสิ้น ปฏิเสธได้เมื่อมีผู้ที่จะถวาย ประการที่

สำคัญที่สุดศึกษาพระธรรมของพระพุทธเจ้าครับ

หากได้ศึกษาพระธรรมโดยละเอียดแล้ว การที่บวชแล้ว ยินดีในการบวชเป็นสิ่งที่ยาก

และสิ่งที่ยากกว่านั้นคือการประพฤติปฏิบัติธรรมอย่างถูกต้อง เพราะหากไม่ละเอียดแล้ว

บวชไปก็ล่วงสิกขาบท เป็นอาบัติมากมายและก็ไม่ได้ปลงอาบัติอย่างถูกต้อง หากสิ้น

ชีวิตในเพศพระภิกษุก็ไปอบายภูมิ มีนรก แน่นอนครับ ดังนั้นมีข้อความในพระไตรปิฎกที่

ว่า มีสมณเพศภิกษุ อยู่ในอบายภูมิมากมายครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
paderm
วันที่ 28 ก.ค. 2554

๓. ถ้าเริ่มศึกษาพุทธศาสนา ควรจะเริ่มศึกษาอย่างไรครับ คือ เวลาเห็นมีการแก้กรรม

อะไรแปลกๆ แล้ว รู้สึกไม่น่าใช่พุทธศาสนา แต่จะรู้ได้อย่างไรว่าใช่หรือไม่ใช่ จะเริ่ม

ศึกษาจากไหน อย่างไร

---------------------------------------------------------------------------

ถ้าจะเริมศึกษาธรรม ก็ต้องเริ่มจาก แม้แต่คำว่า ธรรมที่ใช้อยู่ ว่า ธรรมคืออะไร เมื่อมี

ความเข้าใจถูกเบื้องต้นในเรื่องธรรม ก็จะทำให้ค่อยๆ เข้าใจถูกเป็นลำดับในพระพุทธ

ศาสนานั่นเองครับ ส่วนประเด็นเรื่องการแก้กรรม จะรู้ได้อย่างไรว่าใช่ หรือ ไม่ใช่

พระพุทธเจ้าได้แสดงธรรมกับพระนางมหาปชาบดีโคตมีว่า ธรรมใดที่เป็นธรรมของ

พระพุทธเจ้า ธรรมใดที่ไม่ใช่ธรรมของพรพุทธเจ้า มีลักษณะตัดสินอย่างไร พระองค์

แสดงว่า สิ่งใดที่สอนให้ไม่เบื่อหน่าย ไม่คลายกำหนัด ไม่ละ ไม่ให้หลุดพ้น สรุปคำ

ง่ายๆ คือ คำสอนใดที่สอนให้ได้ ให้ติดข้อง ให้ไม่ละ ไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า

ส่วนคำสอนใด สอนให้เบื่อหน่าย คลายกำหนัด สอนให้ละ ไม่ติดข้อง เป็นคำสอนของ

พระพุทธเจ้า แต่จะเบื่อหน่าย คลายกำหนัด ละได้ ก็ต้องเป็นปัญญา ดังนั้นคำสอนใดที่

ทำให้มีปัญญาเข้าใจความจริงเพื่อละกิเลส ไม่ใช่ละอย่างอื่นก็เป็นคำสอนของพระ

พุทธเจ้าครับ

ซึ่งในกรณีเรื่องการแก้กรรม ถามว่าทำไมถึงอยากแก้กรรมและมีการแก้กรรมกัน ก็

เพราะเพื่อที่จะไม่ต้องได้รับสิ่งที่ไม่ดีและได้รับสิ่งที่ดี ดังนั้นจึงเป็นคำสอนเพือ่ได้ ไม่ใช่

เพื่อละ เพื่อความต้องการ เป็นไปกับกิเลส ที่มีความต้องการจะไมได้รับสิ่งที่ไม่ดี จึงหา

วิธีที่ไม่ใช่หนทางนั่นเอง เมื่อเป็นไปเพื่อได้ เพื่อไม่ละ เพื่อติดข้อง ดังนั้นการแก้กรรมจึง

ไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้าแน่นอนครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
paderm
วันที่ 28 ก.ค. 2554

อธิบายเรื่องประเด็นการแก้กรรม

เพื่อความเข้าใจถูกของคนทั่วไปครับ

กรรมคือ เจตนาทีเป็นไปในกุศลหรืออกุศล ดังนั้นเมื่อกรรมที่ทำสำเร็จไปแล้ว ไม่ว่าจะ

เป็นกุศลกรรม หรือ อกุศลกรรม ก็แล้วแต่ว่าจะมีเหตุปัจจัยให้ผลหรือไม่ ซึ่งกรรมที่สำเร็จ

ไปแล้ว สามารถให้ผลได้ ดังนั้นใครที่จะไม่ต้องรับผลของกรรมอีก การรับผลของกรรม ก็

คือ เป็นวิบาก เป็น จิต เจตสิก เช่น ขณะที่เกิด เป็นปฏิสนธิจิต เป็นผลของกรรม ขณะ

ที่เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้กระทบสัมผัส เป็นผลของกรรม ซึ่งกำลังมีในขณะนี้ใน

ชีวิตประจำวัน ดังนั้นผู้ที่จะไม่ได้รับผลของกรรมอีกเลย คือ ผู้ที่ไม่เกิดอีกแล้ว คือ พระ

อรหันต์ที่ท่านปรินิพพานแล้วนั่นเองครับ ดังนั้นใครสามารถแก้กรรมที่จะไม่ให้ได้รับผล

ของกรรม คือ การเกิด ทุกคนต้องเกิดเพราะมีเหตุให้เกิด ขณะนี้เห็น ใครแก้กรรมไม่ให้

เห็นได้ไหม เลือกได้ไหมที่จะเห็นสิ่งที่ดีหรือไม่ดี่ ไม่ได้เลย แม้พระอรหันต์และแม้พระ

พุทธเจ้า แก้กรรมไม่ให้ท่านไม่ป่วยได้ไหม ก็ไม่ได้ครับ พระมหาโมคคัลลานะ แก้กรรม

ไม่ให้โจรทุบท่านได้ไหม ก็ไม่ได้ครับ เพราะเป็นเรื่องของกรรม ไม่ใช่เรา เมื่อกรรมให้ผล

สุกงอมแล้ว ก็ต้องให้ผล จะมากหรือจะน้อยก็ต้องให้ผลครับ ห้ามไมได้เลย ที่สำคัญใคร

สามารถพยากรณ์ในอดีตชาติว่าเราทำกรรมอะไรไว้จึงเจอแบบนี้ นอกจากพระพุทธองค์

ที่มีญาณหยั่งรู้เรื่องกรรมที่เป็นอจินไตยได้เท่านั้นครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
paderm
วันที่ 28 ก.ค. 2554

ดังนั้นการแก้กรรมในพระธรรมวินัยนี้ที่ถูกต้อง คือ ไม่ใช่การไปห้าม หรือ ทำวิธีที่จะ

ไม่ให้เกิดการได้รับผลที่ไม่ดี ด้วยวิธีการไม่ถูกต้อง แต่ต้องรู้เหตุว่า กรรมมีเพราะอะไร

ผลของกรรมมีเพราะอะไร ที่มีผลขอกงรรม คือ มีการเกิด และมีการเห็นดี ไม่ดี เป็นต้น

เพราะมีการกระทำที่เป็นกุศลกรรมและอกุศลกรรมมา ดังนั้นการจะไม่ให้มีการรับผล

ของกรรมอีก ไม่มีการเกิดอีก ก็ต้องไม่มีการกระทำที่เป็นกุศลกรรมและอกุศลกรรมอีก

แต่ที่มีการกระทำที่เป็นกุศลกรรมและอกุศลกรรมเพราะอะไร เพราะมีกิเลส มีอวิชชา

เป็นต้น จึงมีการกระทำที่เป็นกุศลกรรมและอกุศลกรรมครับ ดังที่ว่า เพราะกิเลสวัฏฏ์

ทำให้เกิด กรรมวัฏฏ์ (การกระทำกรรม) เมื่อมีกรรมวัฏฏ์ก็ทำให้เกิด วิปากวัฏฏ์ (การได้รับ

ผลของกรรม มีการเกิด เป็นต้น) และเพราะวิปากวัฏฏ์ คือ การได้รับผลของกรรม คือ

การเกิด หรือ การเห็น ได้ยิน ก็เกิด กิเลสวัฏฏ์ เกิดกิเลสในขณะทีเห็น ได้ยินอีกวนเวียน

ไปไม่สิ้นสุด ดังนั้น การจะไม่เกิด ไม่มีการได้รับผลของกรรม ไม่มีการทำกรรมที่ทำให้

เกิดผลของกรรม จึงไม่ใช่การกระทำบางอย่าง เพื่อไปแก้กรรม เพราะการกระทำบาง

อย่างด้วยกรรมที่ทำด้วยความไม่รู้ ด้วยความเห็นผิด ก็เท่ากับไม่ใช่การแก้กรรมจริงๆ แต่

ไปเพิ่มกรรมใหม่ กรรมไม่ดีใหม่อีก ก็ทำให้วนเวียนในสังสารวัฏฏ์ไม่สิ้นสุดครับ

แต่การแก้กรรมที่ถูกต้อง คือ แก้ที่ต้นเหตุ นั่นคือดับกิเลส มีอวิชชา เป็นต้น เพราะ

กิเลส เป็นปัจจัยให้มีการทำกรรมที่เป็นกุศลหรือกุศล เมื่อมีการกระทำกรรมทีเป็นกุศล

หรือ อกุศล ก็ต้องมีการได้รับผลของกรรม ดังนั้นเมื่อดับกิเลสหมดไม่เหลือ ก็ไม่มีการ

กระทำกรรมอีก และก็ไม่ต้องได้รับผลของกรรม คือ ไม่ต้องเกิดอีกนั่นเองครับ เมื่อไม่เกิด

แล้ว ก็ไม่มีการรับผลของกรรมอีเลย นี่คือ การแก้กรรมที่ถูกต้องในพระธรรมวินัยนี้ คือ

การดับกิเลส ไม่ใช่ไปเพิ่มกิเลสที่เป็นการแก้กรรมในปัจจุบันครับ

ซึ่งการแก้กรรมที่เป็นการดับกิเลส ละกิเลส จะดับกิเลส ละกิเลสได้ ก็คือ การศึกษา

ธรรม ฟังพระธรรม อบรมปัญญา เพื่อเจริญปัญญาเพิ่มขึ้น ปัญญานั้นเองจะทำหน้าที่ละ

กิเลสครับ ดังนั้นถ้าถามว่าจะแก้กรรมอย่างไร ก็ต้องอธิบายและบอกว่า ศึกษาพระธรรม

และอบรมปัญญาครับ คือ การแก้กรรมที่ถูกต้องในพระธรรมวินัยนี้ครับ

ซึ่งสำหรับผู้เริ่มต้นก็ต้องเริ่มจากการฟังพระธรรมเบื้องต้นว่าธรรมคืออะไร และก็ค่อยๆ

ฟังไปในเรื่องต่างๆ ก็จะค่อยๆ เข้าใจทีละน้อยครับ แต่ต้องอาศัยเวลายาวนาน

ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนาครับ

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
khampan.a
วันที่ 29 ก.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ข้อคิดเรื่องการบวช บุคคลผู้ที่จะบวชในพระพุทธศาสนา จะต้องเป็นผู้ที่มีความเข้าใจในพระธรรมวินัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง มีอัธยาศัยน้อมไปในความเป็นบรรพชิต เห็นประโยชน์ของการขัดเกลากิเลสที่มีเป็นอย่างมาก ในเพศของบรรพชิตซึ่งเป็นเพศที่สูงกว่าคฤหัสถ์ โดยเห็นว่าอยู่ครองเรือนของคฤหัสถ์เป็นที่หลั่งไหลมาของอกุศลธรรมทั้งหลาย แล้วจึงสละทุกสิ่งทุกอย่างมุ่งสู่ความเป็นบรรพชิต ซึ่งเป็นอัธยาศัยของบุคคลนั้นจริงๆ ถ้าเป็นอย่างนี้ได้ เป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างแน่นอน เป็นที่ชื่นชมอนุโมทนาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ถ้ามารดาบิดา เกิดกุศลจิต อนุโมทนา ก็เป็นกุศลของมารดาบิดา เมื่อกุศลให้ผล ก็ทำให้เกิดในภพภูมิที่ดี คือ เกิดเป็นมนุษย์ หรือ เกิดเป็นเทวดา ได้ เพราะความเป็นบรรพชิตไม่ได้อยู่ที่เพศ หรือ เครื่องแต่งกาย แต่อยู่ที่ความเป็นผู้จริงใจในการขัดเกลากิเลส ไม่ใช่ว่า ลูกบวชแล้ว บิดามารดาจะได้ไปเกิดในสวรรค์ เพราะต้องเป็นกุศลกรรมของบิดามารดาเท่านั้น จึงจะเป็นเหตุให้เกิดในสวรรค์ได้ สิ่งที่ควรพิจารณาเป็นอย่างยิ่ง คือ สำคัญ ความเป็นบรรพชิต รักษายาก ถ้าหากว่ารักษาไม่ดี มีการประพฤติปฏบัติตนไม่สมควรแก่ความเป็นบรรพชิตแล้ว มีแต่จะเป็นโทษแก่ตนเองเพียงอย่างเดียว ในยุคนี้สมัยนี้ จึงเป็นเรื่องที่ยากจริงๆ สำหรับความเป็นบรรพชิตที่บริสุทธิ์บริบูรณ์ ควรจะได้พิจารณาเป็นอย่างยิ่ง ข้อคิดเรื่องแก้กรรม กรรม คือ การกระทำ, กรรม มีทั้งกรรมดีและกรรมชั่ว ผลจึงต่างกัน กล่าวคือ กรรมดีให้ผลที่ดี ทำให้มีความสุข ส่วนกรรมชั่วให้ผลที่ไม่ดี ทำให้มีความทุกข์

เมื่อทำกรรมสำเร็จแล้ว ไม่ว่าจะเป็นกรรมในชาตินี้หรือกรรมในชาติก่อนๆ ที่ผ่านมา เมื่อถึงคราวให้ผล ย่อมให้ผลตามฐานะของกรรม นั้นๆ ไม่มีใครสามารถตัด หรือแก้กรรมที่ทำสำเร็จไปแล้วได้ กรรมชั่วที่กระทำแล้ว เสร็จสิ้นแล้ว ไม่สามารถจะไปแก้หรือไปตัดได้ นอกจากจะเป็นผู้เห็นโทษของอกุศลแล้ว ปรับปรุงแก้ไขตนเอง ด้วยการสำรวมระวังไม่กระทำกรรมชั่วอย่างนั้นอีก พร้อมกับเป็นผู้ไม่ประมาทในการเจริญกุศลประการต่างๆ ส่วน ความดีทั้งหลาย นั้น ไม่ต้องไปแก้ ไม่ต้องไปตัด มีแต่ควรจะสะสมเพิ่มพูนให้มีมากขึ้น เพื่อขัดเกลากิเลสของตนเอง ตามความเป็นจริงแล้ว มีหนทางที่เป็นไปเพื่อการสิ้นกรรมทั้งหมดได้ คือ การอบรมเจริญปัญญาจนบรรลุเป็นพระอรหันต์ ดับขันธ์ปรินิพพาน (ตาย) ไม่ต้องเกิดอีก เมื่อไม่เกิด จึงไม่มีการกระทำกรรม และไม่ต้องได้รับผลของกรรมใดๆ อีกเลย และเป็นเรื่องที่น่าคิดว่า ถ้าตัดกรรมชั่วได้ แก้กรรมชั่วได้ คงไม่มีใครไปเกิดในอบายภูมิเพราะทุจริตกรรม คงไม่มีใครเกิดมาเป็นคนยากจนเข็ญใจ คงไม่มีใครเกิดมารูปไม่งาม และทุกคนจะมีแต่ความสุขความเจริญอย่างเดียว แต่ตามความเป็นจริงแล้ว สัตว์โลกมีความแตกต่างกันเพราะกรรม เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วควรอย่างยิ่งที่จะสะสมแต่กรรมที่ดี สิ่งที่ผ่านไปแล้วก็ผ่านไปไม่สามารถย้อนกลับคืนได้ แต่สามารถเริ่มต้นใหม่ได้ ด้วยกุศล (ความดี) จึงยังไม่สายจนเกินไปสำหรับการทำความดี ครับ. ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
wannee.s
วันที่ 29 ก.ค. 2554

กุศลใครทำ ก็เป็นของคนนั้น ถ้ากุศลให้ผลก็ทำให้เกิดในสุำคติภูิมิได้ ส่วนเรื่องของ

การแก้กรรม แก้ไม่ได้ นอกจากทำกรรมใหม่ คือการทำกรรมดีมากๆ ต่อๆ ไป และ

ละเว้นกรรมชั่วทุกอย่างค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ