มีกรณีใดบ้างที่ภิกษุต้องอาบัติแล้ว สามารถเที่ยบได้กับเสขิยวัตร .
มีกรณีใดบ้างที่ภิกษุต้องอาบัติแล้ว สามารถเที่ยบได้กับเสขิยวัตร ข้อที่ว่า ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อยืนถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะต้องอาบัติ
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
เสขิยวัตร คือ วัตรที่ภิกษุจะต้องศึกษาธรรมเนียมเกี่ยวกับมารยาทที่ภิกษุพึงสำเหนียก หรือพึงฝึกฝนปฏิบัติ เป็นพุทธบัญญัติที่ได้เตือนสติให้ภิกษุสงฆ์พึงสำรวมกาย วาจา ใจ เมื่อเข้าไป อยู่ในที่ชุมชนหรือในละแวกบ้านของผู้อื่น เพื่อยังให้เกิดความเลื่อมใสของบุคคลในชุมชนนั้นๆ จะได้มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนาครับ
ดังนั้นหากพระภิกษุประพฤติผิดในเสขิยวัตร บางประการก็เท่ากับอาบัติด้วยเช่นกัน
[เล่มที่ 10] พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 160
คำถามและคำตอบในเสขิยกัณฑ์
[๓๙๑] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ คะนองมือ หรือเท้าไปในละแวกบ้าน ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ.
[๓๙๗] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ เดินหัวเราะไปในละแวกบ้านต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ.
[๓๙๙] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ เดินพูดเสียงดังลั่นไปในละแวกบ้าน ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ.
[๔๐๑] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ เดินโคลงกายไปในละแวกบ้านต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ.
[๔๐๓] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ เดินไกวแขนไปในละแวกบ้านต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ.
อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
เสขิยวัตรทั้งหมด เป็นสิกขาบทที่เพศบรรพชิต จะได้ศึกษาและสำรวมระวังตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้ เพราะมารยาทที่ดีงามทั้งหมด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้โดยประการทั้งปวงในหมวดของเสขิยวัตร ประโยชน์อยู่ที่การศึกษาและมีความเข้าใจอย่างถูกต้อง และน้อมประพฤติปฏิบัติตามอย่างแท้จริง ถ้ามีการล่วงละเมิด ก็ไม่ดี เป็นอาบัติ มีโทษแก่ผู้นั้น ประการที่สำคัญที่ควรพิจารณา คือ มารยาทที่ดีงาม ไม่ได้จำกัดไว้เฉพาะบรรพชิตเท่านั้น แม้คฤหัสถ์ก็สามารถศึกษาและน้อมประพฤติปฏิบัติตามได้ เช่น เสขิยวัตรสิกขาบทที่เกี่ยวกับการบริโภคอาหาร ดังนี้ ภิกษุพึงศึกษา ว่า เราจักไม่ฉัน (กิน) ดังซูดๆ เราจักไม่ฉันดังจั๊บๆ เราจักไม่ฉันเลียมือ เราจักไม่ฉันเลียริมฝีปาก เราจักไม่เอามือที่เปื้อนจับภาชนะน้ำ ฯลฯ
ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
พระภิกษุที่รักษาพระวินัย มีกิริยางาม มีศีลงาม ดูน่าเลื่อมใส ทำให้คนที่พบเห็นเกิดกุศลจิต เคารพ และ มีศรั่ทธาในพระรัตนตรัยยิ่งขึ้น ในครั้งพุทธกาล บางคนเห็น พระภิกษุ เกิดความเลื่อมใสศรัทธา ออกบวชแล้วได้บรรลุ มรรค ผล นิพพานก็มีค่ะ