เมตตา กับ กรุณา

 
guy
วันที่  1 ส.ค. 2554
หมายเลข  18843
อ่าน  26,968

เมตตา กับ กรุณา มีความหมายเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 1 ส.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัยลักษณะของเมตตา คือ การคิดนำประโยชน์ หรือปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุข

ลักษณะของกรุณา คือ การคิดนำประโยชน์ ปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์

จะเห็นความแตกต่างระหว่างเมตตา กับ กรุณานะครับว่า เมตตา คือ ความหวังดีที่จะ

นำประโยชน์ ช่วยเหลือ แม้คนนั้น สัตว์นั้นจะยังไมได้ประสบทุกข์อะไรเลย แม้สัตว์นั้น

จะมีความสุขอยู่แล้ว แต่ก็มีความหวังดี ให้เข้ามีความสุขเพิ่มขึ้น หรือ มีเมตตาที่จะช่วย

เหลือนำสิ่งดีๆ มาให้มากขึ้น แม้ผู้นั้น สัตว์นั้นจะยังไม่ทุกข์อะไรเลยครับ แต่กรุณา คือ

การคิดนำประโยชน์เพื่อสัตว์อื่นนั้นพ้นทุกข์ ดังนั้นขณะใดที่สัตว์นั้นเป็นทุกข์เดือดร้อน

กรุณาเจตสิกเกิดขึ้น ด้วยจิตที่เป็นกุศล ต้องการให้เขาพ้นจากทุกข์นั้น เมตตาจึงมี

ลักษณะที่ไม่ได้มีทุกข์เลย ก็ปรารถนาให้มีความสุข แต่กรุณา เมื่อสัตว์นั้นพบกับทุกข์ จึง

เกิดกรุณา สงสารให้พ้นจากทุกข์ ดังนั้นการช่วยเหลือ อาจเกิดจากเมตตาก็ได้ หรือ

กรุณาก็ได้ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 1 ส.ค. 2554

การพิจารณาธรรมจึงต้องพิจารณาทีละขณะจิต ไม่ใช่พิจารณาเป็นเรื่องราวยาวๆ ขณะ

ที่คิดสงสาร ที่ไม่ใช่ความขุ่นใจ เสียใจ สงสารด้วยจิตคิดที่จะช่วยเหลือเมื่อผู้อื่นกำลังมี

ทุกข์ ขณะนั้นเป็นกรุณา เพราะ สัตว์นั้นกำลังมีทุกข์ คิดสงสารและช่วยเหลือ ขณะนั้น

ไม่ใช่เมตตา หวั่นไหวไปด้วยความสงสารด้วยกรุณา คิดช่วยเหลือ เป็นกรุณา ไม่ใช่

เมตตาในขณะนั้น แต่ขณะที่เศร้าใจ เสียใจที่สัตว์นั้นทุกข์ ไม่ใช่สงสารที่เป็นกรุณา ที่

เป็นกุศลจิต แต่เป็นอกุศลจิตที่เป็นโทสะ ซึ่งเกิดหลังจากกรุณาเจตสิกดับไปแล้วได้

แต่ขณะที่มีเมตตา ไม่มีกรุณา คือ คิดช่วยเหลือ แม้สัตว์นั้นไม่มีทุกข์ใดๆ เลย ก็คิด

หวังดี ปรารถนาดี และช่วยเหลือ ขณะที่หวังดี ปรารถนาให้สัตว์มีความสุข โดยที่สัตว์

นั้นก็ไม่ได้ทุกข์อะไร ขณะนั้นเป็นเมตตา แต่ไม่มีกรุณาในขณะจิตนั้นครับ

สรุปคือ เมตตา คือ ความหวังดี ปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุข แม้สัตว์อื่นจะไม่มีทุกข์

ก็ตาม แต่ กรุณา ความคิดที่จะช่วยเหลือเกื้อกูล ในขณะที่สัตว์อื่นมีความทุกข์อยู่ครับ

เมตตาเกิดขึ้น ในขณะนั้นไม่มีกรุณา คิดหวังดี ให้เขามีความสุขในขณะนั้น ซึ่งสัตว์

นั้นก็ไม่ได้ประสบทุกข์อะไร มีเมตตา แต่ไม่มีกรุณา เช่น เพื่อนทานข้าวอยู่ ก็หวังดี หยิบ

ทิชชู่ให้ เพื่อนก็ไม่ได้ประสพกับทุกข์ เดือดร้อนอะไรอยู่แต่ก็หวังดี หยิบทิชชู่ให้ ขณะนั้น

มีเมตตา แต่ไม่มีกรุณา เป็นต้น

มีกรุณาแต่ไม่มีเมตตาในขณะจิตนั้นคือ คิดสงสาร ช่วยเหลือในขณะที่สัตว์อื่นกำลัง

ประสพทุกข์ ขณะนั้นมีกรุณา แต่ไม่ได้มีเมตตาในขณะจิตนั้น เช่น เพื่อนปวดท้องมาก

คิดสงสารที่เพื่อนทุกข์ในขณะนั้นคิดช่วยเหลือให้เพื่อนพ้นทุกข์ เป็นกรุณา แต่ไม่มี

เมตตาในขณะนั้น แต่จิตขณะั้นั้นก็เป็นกุศลครับ

แต่จิตขณะต่อๆ ไป ก็มีเมตตา เกิดสลับได้ครับ เมื่อเขาพ้นทุกข์แล้ว ก็ปรารถนาให้

เขามีความสุขเพิ่มขึ้นก็เป็นเมตตาในขณะนั้นนั่นเองครับ จิตเกิดดับสลับกันอย่างเร็ว

มาก ต้องพิจารณาทีละขณะครับ ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 1 ส.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ความเมตตา กับ กรุณา เป็นธรรมคนละประเภท กล่าวคือ เมตตา เป็นลักษณะของความมีไมตรี มีความเป็นเพื่อน ความหวังดี ความปรารถนาดีต่อผู้อื่น ไม่หวังร้ายต่อผู้อื่น ส่วน กรุณา เป็นธรรมฝ่ายดีอีกประเภทหนึ่ง หมายถึง ความสงสาร ประสงค์จะช่วยบุคคลอื่นให้พ้นจากทุกข์ เมื่อเห็นผู้อื่นเป็นทุกข์ ได้รับความลำบากแล้วมีการช่วยเหลือ ขณะนั้นเป็นกุศลจิต ที่ประกอบด้วยกรุณา ดังข้อความที่ว่า พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ หน้าที่ ๕๒๙

ที่ชื่อว่า เมตตา เพราะอรรถว่า ธรรมนี้ มีในมิตร หรือว่า ย่อมเป็นไปเพื่อมิตร.

ธรรมที่ชื่อว่า กรุณา เพราะอรรถว่า ย่อมกระทำหทัยของสาธุชนทั้งหลายให้หวั่นไหว ในเพราะคนอื่นมีทุกข์. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า กรุณา เพราะอรรถว่า ย่อมบำบัด หรือย่อมเบียดเบียน (ซึ่งทุกข์ของผู้อื่น) คือ ย่อมยังทุกข์ของผู้อื่นให้พินาศไป. --------------------------------------------------

ถ้าจะพิจารณาตามความเป็นจริงแล้ว เพราะมีเมตตา เป็นเบื้องต้น จึงมีการช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากทุกข์ เพราะเหตุว่า ถ้าไม่มีเมตตา ไม่มีความเป็นมิตรเป็นเพื่อนแล้วการที่จะช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากทุกข์ ย่อมจะเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ และประการสำคัญที่ควรพิจารณา คือ ในชีวิตประจำวัน ไม่ค่อยจะได้พบเห็นสัตว์ที่ประสบทุกข์บ่อยนัก จึงเป็นโอกาสของการอบรมเจริญเมตตา คือ ความเป็นมิตร เป็นเพื่อน มีไมตรีจิตที่ดีต่อกัน มีความปรารถนาดีต่อกัน ไม่หวังร้ายต่อกัน ซึ่งเป็นกุศลธรรมที่ควรอบรมเจริญให้มีขึ้นเป็นอย่างยิ่ง "คำสั้นๆ เกี่ยวกับเมตตา" -ไม่ว่าจะเป็น ณ สถานที่ใด ไม่ว่าบุคคลนั้นจะเป็นใครก็ตาม ไม่มีเครื่องกั้นเลยกับการที่จะมีเมตตา -เมื่อยังมีชีวิตอยู่ ก็ควรที่จะมีเมตตาต่อกัน ไม่ควรที่จะโกรธกัน ไม่ควรที่จะเบียดเบียนกัน ไม่ว่าจะด้วยวิธีใดๆ ก็ตาม

-เกิดความขุ่นเคือง พร้อมทั้งซ้ำเติม ซึ่งเป็นการทำให้บุคคลนั้นเดือดร้อน นั่นไม่ใช่ลักษณะของเมตตา -ไม่มีประโยชน์อะไรที่จะต้องโกรธกัน ไม่มีประโยชน์อะไรที่จะเบียดเบียนทำร้ายกันแต่ควรอย่างยิ่งที่จะให้อภัยและทำสิ่งที่ดีให้แก่กัน -เมตตากับพยาบาทจะเกิดร่วมกันไม่ได้ ขณะใดที่โกรธ รู้ได้เลยว่าเพราะขาดเมตตาจึงโกรธ ขณะใดที่เมตตา ก็รู้ได้เช่นกันว่าขณะนั้นเป็นสภาพจิตที่ห่างไกลจากความโกรธ -เวลาที่โกรธแล้วไม่ลืม สังขารขันธ์ก็จะปรุงแต่งต่อไปอีก ถึงกับเป็นความพยาบาทเป็นความขุ่นเคืองที่คิดจะประทุษร้าย ปองร้ายเบียดเบียนผู้อื่น -ถ้าไม่มีเมตตา ไม่อบรมเมตตาก็ไม่สามารถจะระงับความพยาบาทได้เลย ขณะใดที่ขุ่นเคืองใจ แม้เพียงเล็กน้อย ขณะนั้นก็ไม่มีเมตตาต่อผู้อื่นแล้ว

-ในชีวิตประจำวัน มีตา เห็น มีหู ได้ยินเสียงของบุคคลต่างๆ อยู่ตลอดเวลา

จึงควรอย่างยิ่งที่จะเป็นผู้ไม่อิ่มในการอบรมเจริญเมตตาให้มีมากขึ้น -เมตตา ต้องอบรมเจริญให้แผ่ไป จะไปจำกัดทำไมของดีๆ (เมตตา เป็นธรรมฝ่ายดี ที่ควรอบรมเจริญในชีวิตประจำวัน)

-เมตตา มีคุณมากมากมาย พร้อมทั้งอุปการะเกื้อกูลให้กุศลธรรมอื่นๆ เจริญขึ้นด้วยจึงควรอย่างยิ่งที่จะอบรมเจริญให้มีขึ้นในชีวิตประจำวัน ซึ่งจะนำมาซึ่งประโยชน์สุขทั้งแก่ตนและบุคคลอื่นอย่างแท้จริง -ทำไม ถึงไม่ค่อยได้คิดกันว่า ในที่สุดแล้วเราก็จะต้องตาย? (อะไร ควรจะอบรมเจริญให้มีขึ้น ก่อนที่วันนั้นจะมาถึงซึ่งไม่รู้ว่าจะเป็นเมื่อใด) ครับ. ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
pat_jesty
วันที่ 1 ส.ค. 2554
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
nong
วันที่ 2 ส.ค. 2554

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
โชติธัมโม
วันที่ 2 ส.ค. 2554
ขอน้อมจิตอนุโมทนาบุญด้วยเศียรเกล้าครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
ผู้ร่วมเดินทาง
วันที่ 2 ส.ค. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาอาจารย์ผเดิมและอาจารย์คำปันครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
guy
วันที่ 2 ส.ค. 2554

ขออนุโมทนากับทุกท่านครับ และกราบขอบพระคุณอาจารย์เผดิมและอาจารย์คำปั่่นครํบ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
aurasa
วันที่ 3 ส.ค. 2554
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ