วัตถุประสงค์หลักของ พระธรรม

 
ผ้าเช็ดธุลี
วันที่  2 ส.ค. 2554
หมายเลข  18850
อ่าน  3,077

ขอกราบเรียนถามครับ

๑ พระธรรม มุ่งเน้นเพื่อการละกิเลส ใช่หรือไม่ครับ (เมื่อเห็นตามความเป็นจริง)

๒ เนื้อหาในพระไตรปิฎก มุ่งเน้นเพื่อการละกิเลส โดยเฉพาะใช่หรือไม่ครับ ซึ่งพระวินัย ดูเหมือนเป็นข้อปฏิบัติเพื่อความเรียบร้อย (ยังมองไม่ออกว่าถ้าเพื่อความเรียบร้อยของสงฆ์ จะมีผลเนื่องให้ละกิเลสอย่างไรครับ)

๓ พระสุตตันฯ เป็นเรื่องราว มีทั้งกล่าวถึงผู้คนต่างๆ ที่ให้ทาน รักษาศีล ฯลฯ ในบุญ จนถึงเรื่องราวการละกิเลส ซึ่งสอดคล้องกันทั้งสามปิฎก แล้วไมต้องมี ๓ ส่วนครับ ใช่มุ่งให้เห็นกรณีต่างๆ และ มุมมอง เพื่อการอนุเคราะห์ให้เข้าใจง่ายหรือไม่ครับ

กราบขอบพระคุณอย่างสูงครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 2 ส.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

๑. พระธรรม มุ่งเน้นเพื่อการละกิเลส ใช่หรือไม่ครับ (เมื่อเห็นตามความเป็นจริง)

พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไม่ว่าในส่วนไหน เรื่องใด ปิฎกใด ล้วนแล้วแต่เป็น ไปเพื่อการละคลายกิเลสทั้งสิ้น เพราะเป็นไปเพื่อเพิ่มคุณธรรม ธรรมฝ่ายดี คือ ศรัทธา สติ ปัญญา เป็นต้น เมื่อ กุศลธรมเกิด อกุศลธรรมก็ไม่เกิดในขณะนั้น จึงเป็นไป เพื่อละคลาย เบื่อหน่าย คลายกำหนัดจากอกุศลธรรม จากกิเลสประการต่างๆ ซึ่งก็แล้ว แต่เรื่องของพระธรรมว่าละกิเลสประเภทไหน ละกิเลสระดับใดนั่นเองครับ ดังนั้นเมื่อปัญญาเกิด เห็นตามความเป็นจริง เข้าใจในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงในพระธรรม ขณะนั้นละกิเลสแล้ว ละความไม่รู้ในขณะนั้นนั่นเองครับ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 49

อนึ่ง ความละวีติกมกิเลส (กิเลสอย่างหยาบที่ล่วงออกมาทาย วาจา) ท่านกล่าวไว้ ในวินัยปิฎก เพราะศีลเป็นข้าศึกต่อความละเมิดแห่งกิเลสทั้งหลาย, ความละปริยุฏฐานกิเลส (กิเลสอย่างกลางที่เกิดขึ้นในใจ) ท่านกล่าวไว้ใน พระสุตตปิฎก เพราะสมาธิเป็นข้าศึกต่อปริยุฏฐานกิเลส, ความละอนุสัยกิเลส (กิเลสอย่างละเอียด) ท่านกล่าวไว้ในอภิธรรมปิฎก เพราะปัญญาเป็นข้าศึกต่ออนุสัยกิเลส การละสังกิเลสคือทุจริต ท่านกล่าวไว้ในปิฎกที่หนึ่ง, การละกิเลสคือตัณหาและทิฏฐิ ท่านกล่าวไว้ใน ๒ ปิฎกนอกนี้ (พระสูตรและพระอภิธรรม)

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑- หน้าที่ 405

ดูก่อนโคตมี เธอพึงรู้ธรรมเหล่านั้นอันใดว่าธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อปราศจากราคะ ไม่เป็นไปเพื่อราคะ เป็นไปเพื่อปราศจากความประกอบทุกข์ ไม่เป็นไปเพื่อความประกอบทุกข์ เป็นไปเพื่อปราศจากอุปาทาน ไม่เป็นไปเพื่อมีอุปาทาน เป็นไปเพื่อความมักน้อย ไม่เป็นไปเพื่อความมักมาก


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ หน้าที่ ๒๐๗

ปฐมนกุหนาสูตร

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ที่แท้พรหมจรรย์นี้ ภิกษุย่อมอยู่ประพฤติ เพื่อการสำรวม และเพื่อการละพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ได้ทรงแสดงพรหมจรรย์เครื่อง กำจัดจัญไร อันเป็นเหตุให้ถึงฝั่ง คือ นิพพาน เพื่อการสำรวม เพื่อการละ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 2 ส.ค. 2554

๒ เนื้อหาในพระไตรปิฎก มุ่งเน้นเพื่อการละกิเลส โดยเฉพาะใช่หรือไม่ครับ ซึ่งพระวินัย ดูเหมือนเป็นข้อปฏิบัติเพื่อความเรียบร้อย (ยังมองไม่ออกว่าถ้าเพื่อความเรียบร้อยของสงฆ์ จะมีผลเนื่องให้ละกิเลสอย่างไรครับ)

วินัย โดยความหมาย คือ เครืองกำจัดอย่างวิเศษ นั่นคือ เครื่องกำจัดกิเลสนั่นเองครับ พระวินัย คือ พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงกับพระภิกษุในการบัญญัติสิกขาบท ข้อ ที่ควรประพฤติ และข้อที่ควรเว้น พระวินัยจึงเป็นธรรมเครื่องกำจัดกิเลสที่ไม่ดีของพระ ภิกษุทางกายและวาจา อันเป็นไปเพื่อความสำรวม ระวังและเพื่อความเจริญแห่ง คุณธรรมคือศีล คือ ปาฏิโมกสังวรศีล เมื่อเป็นผู้มีศีลสมบูรณ์บริสุทธิ์ดี กิเลสที่ควรเกิดก็ ไม่เกิดอันเป็นไปในทางกาย วาจา กิเลสที่เกิดขึ้นแล้ว ก็เป็นอันละได้แล้วทางกายและ วาจา เพราะมีการสำรวมระวังอยู่ในศีลที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ และที่สำคัญ เมื่อ เป็นผู้มีศีลดี ศีลบริสุทธิ์ในการรักษาศีลที่เป็นสิกขาบทที่เป็นปาฏิโมกขสังวรศีล ศีลนั้น เองเป็นพื้นฐาน เป็นที่ตั้งในการรองรับกุลธรรมประการต่างๆ ด้วยครับ และพระวินัยยัง เป็นปิฎกที่กำจัดกิเลสอย่างหยาบ ทางกายและวาจาของพระภิกษุทั้งหลายที่ประพฤติ ตามด้วยครับ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 49

อนึ่ง ความละวีติกมกิเลส (กิเลสอย่างหยาบที่ล่วงออกมาทาย วาจา) ท่านกล่าวไว้ใน วินัยปิฎก เพราะศีลเป็นข้าศึกต่อความละเมิดแห่งกิเลสทั้งหลาย


แม้แต่คฤหัสถ์อาศัยการศึกษาพระวินัย ย่อมได้ข้อควรที่จะประพฤติอันงามที่เหมาะสม ก็สามารถปฏิบัติตามสมควรกับพระวินัยบางข้อที่สามารถปฏิบัติได้ ก็สามารถละโทษ ทางกายและวาจาที่ไม่ดี อันเป็นกุศลขั้นศีลได้ด้วยเช่นกันครับ อันเป็นการละกิเลสขั้น หยาบได้เพราะอาศัยการศึกษาพระวินัยปิฎกที่ดีแล้วครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
paderm
วันที่ 2 ส.ค. 2554

๓ พระสุตตันฯ เป็นเรื่องราว มีทั้งกล่าวถึงผู้คนต่างๆ ที่ให้ทาน รักษาศีล ฯลฯ ในบุญ จนถึงเรื่องราวการละกิเลส ซึ่งสอดคล้องกันทั้งสามปิฎก แล้วไมต้องมี ๓ ส่วนครับ ใช่มุ่งให้เห็นกรณีต่างๆ และ มุมมอง เพื่อการอนุเคราะห์ให้เข้าใจง่ายหรือไม่ครับ

พระธรรมของพระพุทธเจ้า สมบูรณ์ด้วยอรรถ พยัญชนะ เนื้อความ ดังนั้นพระธรรม จึงมีทั้ง 3 ปิฎก อันเป็นไปเพื่อละกิเลสระดับต่างๆ กิเลสอย่างหยาบ ละได้ด้วยพระวินัย ปิฎก กิเลสอย่างกลาง ที่เป็นกิเลสที่เกิดขึ้นในใจละได้ด้วยการศึกษาพระสูตร พระ สุตตันตปิฎก และกิเลสอย่างละเอียด ทีเป็นอนุสัยกิเลส ก็ด้วยการศึกษาพระอภิธรรม ปิฎก ที่สำคัญการมีทั้ง 3 ปิฎกก็เพื่อให้พุทธบริษัทไดเข้าใจถูกต้องอย่างละเอียดถี่ถ้วน ไม่เข้าใจผิดครับ เช่น หากศึกษาพระสูตร ที่แสดงถึงสัตว์ บุคคล ตัวตน หากผู้ศึกษาไม่ เข้าใจพระอภิธรรม ที่แสดงถึงความไม่มีเรา มีแต่สภาพธรรม เมื่อมีแต่พระสูตร สัตว์โลก ก็ย่อมสำคัญผิดว่า มีสัตว์ บุคคล ตัวตนจริงๆ แต่เมื่อมีพระอภิธรรม ก็ย่อมทำให้เข้าใจถูก ว่า นัยพระสูตรแสดงโดยสมมติ แต่ในความเป็นจริงแล้ว มีแต่สภาพธรรมที่เป็น ขันธ์ ธาตุ อายตนะ มีแต่ธรรมทั้งสิ้นที่แสดงไว้ในพระอภิธรรมปิฎกนั่นเองครับ

จะเห็นนะครับว่าการศึกษาธรรมจึงต้องศึกษาด้วยความสอดคล้อง เข้าใจกันทั้ง 3 ปิฎก ก็จะไม่เข้าใจผิด การมีทั้ง 3 ปิฎกจึงเกื้อกูลกับสัตว์โลกที่มีอัธยาศัยต่างๆ กัน เพราะบาง พวกฟังพระสูตร บรรลุก็มี บางพวกฟังพระอภิธรรม บรรลุก็มี บางพวกได้ฟังพระวินัยและ กำจัดกิเลสได้ก็มีครับ ดังนั้นที่มี 3 ปิฎอีกเหตุผลหนึ่งคือ เพราะความหลากหลายของ อัธยาศัยของสัตว์โลกในการที่จะได้ฟังเรื่องอะไรแล้วเข้าใจนั่นเองครับ ทั้ง 3 ปิฎกจึง เกื้อกูลกัน เกี่ยวเนื่องสัมพันธิกันหมดเพราะเป็นสัจจะความจริงที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง ทั้งสิ้น ผู้ศึกษาธรรมจึงเป็นผู้ไม่ประมาทศึกษาด้วยความละเอียดรอบคอบ จะไม่มีการขัด แย้งระหว่างปิฎกใดเลย แต่จะสอดคล้องกันหมดด้วยความเข้าใจถูกในพระธรรมครับ

ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนาครับ

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
khampan.a
วันที่ 2 ส.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงแสดงพระธรรมประกาศพระศาสนา ตลอด ๔๕ พรรษา พระธรรมที่พระองค์ทรงแสดงนั้น เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความเข้าใจถูก เห็นถูก ของผู้ที่ได้ฟังได้ศึกษามีความเข้าใจและน้อมประพฤติ ปฏิบัติตาม ซึ่งมีผู้ได้รับประโยชน์จากพระธรรมที่พระองค์ทรงแสดงมีจำนวน นับไม่ ถ้วน ทั้งเทวดา พรหม และ มนุษย์ แล้วพระธรรมก็มีการทรงจำสืบต่อมาจนถึงสมัย ปัจจุบันเป็นพระไตรปิฎก ข้อความในพระไตรปิฎก แสดงให้เข้าใจสภาพธรรมที่มีจริงทั้งหมด

พระไตรปิฎกหมายถึงคำสอน ๓ หมวดหมู่ คือ พระวินัยปิฎก (ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่อง ของความประพฤติทางกาย ทางวาจา สำหรับเพศบรรพชิต ซึ่งความประพฤติที่ดีงามทั้งหลายนั้น คฤหัสถ์ก็สามารถน้อมประพฤติปฏิบัติตามได้ด้วย) พระสุตตันตปิฎก (เป็นพระธรรมเทศนาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง ณ สถานที่ต่างๆ ทรงปรารภบุคคลต่างๆ มีข้อความธรรมมากมาย ซึ่งทรงแสดงตามอัธยาศัยของผู้ฟังเป็นหลัก) และ พระอภิธรรมปิฎก (ไม่มีชื่อของสัตว์ บุคคล แต่เป็นเรื่องของสภาพธรรมที่มีจริงทั้งหมด) ซึ่งทั้งสามปิฎกนั้นมีคุณค่ามากมายมหาศาลหาอะไรเปรียบไม่ได้เลย จะเห็นได้ว่า เพราะมีธรรม เพราะมีสิ่งที่มีจริง จึงได้มี ๓ ปิฎก ถ้าไม่มีสภาพธรรมที่มีจริงซึ่งเป็นปรมัตถธรรมหรืออภิธรรมซึ่งเป็นปิฎกสุดท้าย แล้ว พระวินัยปิฎกและพระสุตตันตปิฎก ก็มีไม่ได้ เพราะไม่ว่าจะแสดงโดยนัยที่เป็นพระวินัย หรือ พระสูตร ก็ไม่พ้นไปจากให้เข้าใจสภาพธรรมที่มีจริง ที่เป็นสัจจธรรม ทั้งสิ้น พระอภิธรรมเป็นปิฎกที่เป็นการแสดงถึงการตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ทรงตรัสรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง ทีไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน แล้วทรงเกื้อกูลสัตว์โลกให้ได้เข้าใจธรรมตามความเป็นจริง ด้วย ไม่ว่าจะเป็นปิฎกใด ใน ๓ ปิฎกนี้ ถ้าได้ศึกษาด้วยความละเอียด รอบคอบจริงๆ ศึกษาเพื่อความเข้าใจจริงๆ ตรงตามพระธรรม ก็จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง เพราะทั้งหมดนั้น เป็นไปเพื่อความเข้าใจถูกเห็นถูก เป็นไปเพื่อความเจริญขึ้นของกุศลธรรมประการต่างๆ เพื่อขัดเกลากิเลสของตนเองเป็นสำคัญ ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
nong
วันที่ 3 ส.ค. 2554

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ผ้าเช็ดธุลี
วันที่ 3 ส.ค. 2554

กราบขอบพระคุณอย่างสูงครับ

และ

อนุโมทนาจิตที่เมตตาที่มากด้วยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
ผู้ร่วมเดินทาง
วันที่ 3 ส.ค. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
วิริยะ
วันที่ 3 ส.ค. 2554

เรียนถามท่านผู้รู้

ขอความกรุณายกตัวอย่างลักษณะของกิเลสอย่างหยาบ และกิเลสอย่างกลาง ในชีวิต ประจำวัน เพื่อให้เห็นภาพ

ขอบพระคุณอย่างสูง

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
paderm
วันที่ 3 ส.ค. 2554

เรียนความเห็นที่ 8 ครับ

กิเลส มี 3 ระดับ คือ

กิเลสอย่างละเอียด (อนุสัยกิเลส) กิเลสอย่างกลาง (ปริยุฏฐาน กิเลส) และกิเลสที่หยาบ (วีตกกมกิเลส) กิลสที่เป็นอนุสัยกิเลส เป็นกิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในจิต ไม่สามารถปรากฎให้รู้ได้ แต่ เป็นเหตุ เป็นเชื้อให้กิเลสเกิดขึ้น เมื่อใดที่กิเลสเกิดขึ้น เมื่อนั้นแสดงว่า เพราะอนุสัย กิเลสเป็นปัจจัย กิเลสจึงเกิดขึ้นครับ

กิลสอย่างกลาง (ปริยุฏฐานกิเลส) กิเลสที่มีอันกลุ้มรุมอยู่ในใจเท่านั้น ไม่มีการแสดง ออกมาทางกายหรือทางวาจาให้ผู้อื่นรู้ได้ ตัวเขาเท่านั้นที่รู้ว่ากำลังรัก เวลานี้เรากำลัง โกรธ เป็นต้น ผู้อื่นหารู้ไม่... เช่น ขณะที่เป็นนิวรณ์ ขณะที่ชอบสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ขณะที่ ชอบอยู่ในใจ แต่ยังไม่มีการแสดงออกทางกายและวาจา หรือ ขณะที่โกรธ ขุ่นเคืองอยู่ ในใจ แต่ยังไม่มีการพูด การแสดงออกทางกายและวาจาออกมา ก็โกรธแต่ไม่พูด ก็เป็น กิเลสอย่างกลางที่กลุ้มรุมอยู่ในจิตใจครับ แต่เพราะอาศัยอนุสัยกิเลส กิเลสอย่าง ละเอียด จึงเกิดกิเลสอย่างกลางได้ครับ กิเลสอย่างละเอียดมาปรากฎให้รู้ได้ แต่กิเลส อย่างกลางปรากฎให้รู้ได้ เพราะเกิดขึ้นใจของบุคคลนั้นครับ

กิเลสที่หยาบ (วีตกกมกิเลส) กิเลสที่เป็นเหตุก้าวล่วง กล่าวคือละเมิดทางกายและ วาจา ความว่า เกิดขึ้นครอบงำจิตใจของผู้ใดแล้ว ก็เป็นเหตุให้ผู้นั้นเคลื่อนไหวกาย และวาจาไปตามกำลังของกิเลสนั้นๆ ทำให้ผู้นั้นได้ชื่อว่าเป็นผู้ไม่สำรวมกายและวาจา อย่างยิ่ง หากมีกำลังมาก ก็อาจทำให้ศีลถึงความวิบัติได้..จัดเป็นกิเลสหยาบ คือรู้ได้ ง่ายทั้งตนเองและผู้อื่น เช่น ขณะที่โกรธในใจ (กิเลสอย่างกลาง) แล้วก็พูดเพราะโกรธ การพูดเพราะโกรธเป้นกิเลสอย่างหยาบครับ หรือ มีการตีคนอื่น ก็เป็นกิเลสอย่างหยาบ เพราะมีการก้าวล่วงออกมาทางกายและวาจา เพราะมีกิเลสอย่างกลางเป็นปัจจัยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
pat_jesty
วันที่ 3 ส.ค. 2554
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 3 ส.ค. 2554

จากข้อความ....

"สพฺพปาปสฺส อกรณํ กุสลสฺสูปสมฺปทา สจิตฺตปริโยทปนํ เอตํ พุทฺธานสาสนํ"

"การไม่ทำความชั่วทั้งปวง การทำความดีให้เพียบพร้อม การชำระจิตของตนให้บริสุทธิ์ผ่องใส นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย"


[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 281

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอุบาลี เธอพึงรู้ธรรมเหล่าใดแลว่า ธรรมเหล่านี้ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัดเพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพานโดยส่วนเดียว เธอพึงทรงธรรมเหล่านั้นไว้โดยส่วนหนึ่งว่า นี้ไม่ใช่ธรรมนี้ไม่ใช่วินัย นี้ไม่เป็นคำสั่งสอนของศาสดา อนึ่ง เธอพึงรู้ธรรมเหล่าใดแลว่า ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน โดยส่วนเดียว เธอพึงทรงคำธรรมเหล่านี้ไว้โดยส่วนหนึ่งว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสั่งสอนของศาสดา.

ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
wannee.s
วันที่ 3 ส.ค. 2554

หลักคำสอนของพระพุทธเจ้า ละชั่ว ทำดี อบรมจิตให้ผ่องใส ตอนนี้พระธรรม คำสอนของพระพุทธเจ้ายังมีอยู่ แต่ถ้าไม่ฟัง ก็ไม่เข้าใจ จึงต้องฟังธรรม ซึ่งเป็น ของที่หายาก และขณะที่สติปัฏฐานเ้กิดมีค่ายิ่งกว่าทรัพย์สมบัติใดๆ ในโลกค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
วิริยะ
วันที่ 3 ส.ค. 2554
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
kusalwong
วันที่ 3 ส.ค. 2554

กราบขอบพระคุณสำหรับความรู้ความเข้าใจที่ค่อยๆ เพิ่มขึ้น

ขออนุโมทนา
 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
ประสาน
วันที่ 4 ส.ค. 2554
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
chatchai.k
วันที่ 23 มิ.ย. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ