กิริยาของพระภิกษุบางรูปที่ออกบิณฑบาต

 
ทรง
วันที่  3 ส.ค. 2554
หมายเลข  18855
อ่าน  4,463

ครอบครัวผมจะใส่บาตรทุกเช้าเป็นประจำ ซึ่งเป็นการปลูกฝังสืบทอดรุ่นต่อรุ่นกันมามิได้ขาด ถ้าหากวันไหนภายในครอบครัวคนใดคนหนึ่งไม่ได้ใส่บาตร ก็จะถูกคุณแม่ติเตือนโดยท่านจะยกเอาเรื่องบุญบาปมากล่าวเปรียบเทียบให้ฟัง แต่เวลาพระมาบิณฑบาตบางรูปก็ดูน่าเลื่อมใสดี แต่บางรูปชอบทำกิริยาแปลกๆ มีอาการใช้สายตาล่อกแล่ก พูดคุยกันเวลาเดิน บางครั้งก็ยกจีวรพาดขึ้นไหล่ บางรูปก็ยืนฉี่ข้างทางก็มี ผมดูแล้วเหมือนกับพระจิ๊กโก๋เลย แบบนี้ผิดบกพร่องหรือเปล่าครับ ถ้าผิดยังไงกรุณายกเป็นข้อๆ นะครับ

๑.ต่อตนเอง

๒. ต่อสังคมสงฆ์

๓. ต่อพุทธศาสนิกชน

๔. ต่อสิ่งแวดล้อม


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 3 ส.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย พระภิกษุต้องเป็นเพศที่ขัดเกลาอย่างยิ่ง สำหรับพระภิกษุที่บวชนั้น ไม่ใช่สงฆ์โดยปรมัตถ์ คือเป็นเพียงสมมติสงฆ์ ดังนั้น ผู้ที่ไม่ประพฤติตามพระวินัย ก็เป็นเรื่องของพระภิกษุแต่ละ

รูป แต่เมื่อบวชแล้ว ก็ต้องอยู่ประพฤติตามพระวินัยที่พระพุทธเจ้า ทรงบัญญัติไว้ ซึ่งพระ

พุทธเจ้าได้ทรงแสดงเหตุผลที่พระองค์ทรงบัญญัติพระวินัยไว้ 10 ข้อ ดังนี้ครับ

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนอุบาลี ตถาคตอาศัยอำนาจ

ประโยชน์ ๑๐ ประการแล จึงบัญญัติสิกขาบท แสดงปาติโมกข์แก่สาวก

ทั้งหลาย. ๑๐ ประการเป็นไฉน คือ

เพื่อความตั้งอยู่ด้วยดีแห่งสงฆ์ ๑

เพื่อความอยู่สำราญแห่งสงฆ์ ๑

เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑เพื่อการอยู่สำราญแห่งภิกษุทั้งหลายผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑

เพื่อป้องกันอาสวะทั้งหลายอันเป็นไปในปัจจุบัน ๑

เพื่อกำจัดอาสวะทั้งหลายอันเป็นไปในสัมปรายภพ ๑

เพื่อความเลื่อมใสแห่งบุคคลทั้งหลายผู้ยังไม่เลื่อมใส ๑

เพื่อความเจริญยิ่งแห่งความเลื่อมใสของบุคคลทั้งหลายผู้เลื่อมใสแล้ว ๑

เพื่อความตั้งมั่นแห่งสัทธรรม ๑

เพื่ออนุเคราะห์วินัย ๑

ดูก่อนอุบาลี ตถาคตอาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการนี้แล จึงบัญญัติสิกขาบท

แสดงปาติโมกข์แก่สาวกทั้งหลาย.

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 3 ส.ค. 2554

ดังนั้นการที่ภิกษุไม่สำรวม มีตาลอกแลก ไม่มีตาทอดลง ในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุก

กฎ ดังนั้นโทษต่อตนเอง คือ ต้องอาบัติ อันเป็นโทษของพระภิกษุที่จะต้องเห็นโทษและ

สละอาบัติคืนด้วยความถูกต้องเหมาะสม หากอาบัติไม่ตกไปเพราะการปลงอาบัติ อันเกิด

จากความไม่เห็นโทษและไม่ทำให้ถูกต้อง หากสิ้นชีวิตในเพศพระภิกษุก็ต้องมีอบายเป็นที่

หวังได้ครับ นี่คือ โทษต่อตนเองก่อน

โทษต่อสังคมสงฆ์

การที่ภิกษุไม่ประพฤติตามพระธรรมวินัย และละเมิดสิกขาบท ทั้งๆ ที่รู้ ก็เป็นโทษต่อ

สังคมสงฆ์ ย่อมนำมาซึ่งความไม่เรียบร้อยของสงฆ์ได้ เมื่อมีภิกษุผู้ทุศีลมาก และมี

จำนวนมาก อธรรมมีกำลัง ก็ย่อมทำให้แตกสามัคคี และภิกษุดีย่อมไม่ร่วมทำสังฆกรรม

กับภิกษุไม่ดีที่ประพฤติไม่ดีด้วยได้ครับ ก็เป็นการอยู่ลำบากของภิกษุดีในสมัยนี้ หากมี

พระภิกษุไม่ดีมีมากและมีกำลังครับ นี่เป็นโทษต่อสังคมสงฆ์ประการหนึ่ง

โทษต่อพุทธศาสนิกชน

เมื่อภิกษุมีภิกษุไม่ดี ไม่ประพฤติตามพระธรรมวินัย การเข้าใจธรรมของพระภิกษุก็เสื่อม

ไป รวมทั้งคุณธรรมของท่านก็น้อยด้วย บุญที่ทายกถวายก็น้อยตามไปด้วย รวมทั้ง ขาด

ผู้ที่จะเป็นประธานในการเผยแพร่พระธรรมที่ถูกต้องในเพศพระภิกษุ เพราะไม่มีการ

ประพฤติในพระวินัยที่ถูกต้อง ไม่ต้องกล่าวถึงการศึกษาธรรมที่ถูกต้องเลยครับ

ส่วนสิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมก็รวมโลกทั้งโลก หากขาดผู้ประพฤติปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ พระศาสนาก็เสื่อมไปเร็ว ก็ย่อมเป็นโทษต่อโลก เพราะพระศาสนาย่อมเสื่อมไปเร็วนั่นเองครับ

ที่สำคัญ คือจิตของเรา เมื่อเห็นเหตุการณ์ ควรเข้าใจตามความเป็นจริงว่า ไม่ใช่สงฆ์

โดยปรมัตถ์ ที่มีคุณธรรม แต่เป็นพียงสงฆ์สมมติจากการบวชเท่านั้น จึงเข้าใจความจริง

และสามารถวางใจเป็นกลางนั่นเองครับ และในอนาคตกาล จะมีพระภิกษุโคตรภู ที่

เหลือเพียงสัญลักษณ์ มีผ้าติดที่ติ่งหูเท่านั้นที่แสดงถึงความเป็นเพศพระภิกษุ แต่ก็ทำ

งาน มีครอบครัว แต่พระพุทธเจ้าทรงแสดงว่า หากผู้ใดทำจิตมุ่งตรงถวายกับพระรูปนั้น

เหมือนถวายแด่สงฆ์ เรากล่าวว่าเป็นสังฆทานมีผลมาก ดังนั้น สำคัญที่จิตของเรา การ

ถวายอาหารกับพระไม่ว่ารูปใด หากมีความเข้าใจ น้อมใจถวายแด่สงฆ์โดยไม่ได้คิดที่

จะถวายรูปนั้น จิตขณะนั้นเป็นสังฆทานซึ่งมีผลมากเพราะมุ่งตรงถวายแด่สงฆ์นั่นเองครับ

ดังนั้น สำคัญที่จิตปัญญาของผู้พบเห็นและทำบุญเป็นสำคัญนะครับ ทุกอย่างต้องเสื่อม

ไปเป็นธรรมดา ขออนุโมทนาครับ

อุททิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
khampan.a
วันที่ 3 ส.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น พระภิกษุ เป็นเพศบรรพชิต ซึ่งเป็นเพศที่แตกต่างไปจากคฤหัสถ์ ที่จะต้องศึกษาพระธรรมวินัย ขัดเกลากิเลสของตนเองเป็นอย่างยิ่ง ถ้าไม่ศึกษาพระธรรมวินัย ไม่น้อมประพฤติตามพระธรรมวินัยแล้ว ย่อมเป็นโทษแก่ตนเองเท่านั้น เป็นผู้ไม่ได้รับประโยชน์จากการได้อุปสมบทในพระพุทธศาสนา แต่กลับสะสมโทษให้กับตนเองมากยิ่งขึ้น เพราะจริงๆ แล้ว ชีวิตของพระภิกษุดำรงอยู่ด้วยศรัทธาของชาวบ้าน ก็ควรอย่างยิ่งที่จะกระทำตนให้เป็นผู้สมควรแก่การที่จะรับอาหารบิณฑบาตจากชาวบ้านที่เขาถวายด้วยศรัทธา และจะเห็นได้ว่า ในสมัยครั้งพุทธกาล เวลาที่พระภิกษุประพฤติตนไม่เหมาะสมกับการเป็นพระภิกษุ ประการต่างๆ พระองค์ก็จะตรัสเตือนว่า เธออาศัยก้อนข้าวชาวบ้านเลี้ยงชีพ แล้วกระทำสิ่งที่ไม่เหมาะสม ย่อมเป็นการไม่สมควรอย่างยิ่ง แม้แต่การบิณฑบาต ก็มีสิกขาบทหลายข้อ ให้พระภิกษุได้ศึกษาและสำรวมตาม เริ่มตั้งแต่ เดินไปตามลำดับบ้าน รับอาหารบิณฑบาตด้วยความเคารพ แลดูแต่ในบาตรในขณะรับอาหารบิณฑบาต ไม่รับอาหารเกินขอบบาตร เป็นต้น แต่ละคน ก็เป็นแต่ละหนึ่งจริงๆ ไม่ว่าจะเป็นเพศไหน (บรรพชิตหรือคฤหัสถ์) ก็ล้วนเป็นผู้ยังมีกิเลสด้วยกันทั้งนั้น ดีที่สุด คือ ฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมอบรมเจริญปัญญา เห็นประโยชน์ของการได้เกิดมาเป็นมนุษย์แล้วได้ฟังพระธรรม ได้เข้าใจความจริง และสะสมความดีประการต่างๆ เป็นที่พึ่งสำหรับตนเอง ต่อไป กิเลสที่มีมาก คนอื่นก็ขจัดออกไปให้ไม่ได้ ต้องเป็นความเข้าใจของตนเองที่ค่อยๆ เจริญขึ้นไปตามลำดับเท่านั้นจริงๆ จากการฟัง การศึกษาพระธรรมในชีวิตประจำวัน ครับ ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ทรง
วันที่ 3 ส.ค. 2554
ขออนุโมทนาสาธุครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
wannee.s
วันที่ 4 ส.ค. 2554

ผู้ืั้ที่เป็นพระภิืกษุ รักษาตามพระวินัย จะเป็นผู้มี กาย วาจา ใจ งดงาม เป็น

ที่น่าเลื่อมใสสำหรับผู้ืัที่ยังไม่เลืือมใส และ เป็นที่เลื่อมใสยิ่งขึ้นของผู้ที่เลือมใสแล้ว

ในพระไตรปิฏกก็มี่แสดงไว้ เวลาที่พระภิกษุบิณฑบาตร ภิกษุจะสำรวมระวัง มอง

ชั่วแวก ไม่มองไปช้างโน้น ข้างนี้ เดินไปตามลำดับบ้าน ถ้าเขานิมนต์ก็รับ

ถ้าไม่นิมนต์ ก็เิดินไปเรื่อย ๆ ไม่แสดงกิีิริยาอาการไม่สมควร ฯลฯ ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
พระบอม
วันที่ 8 ส.ค. 2554

อันที่พระเดินแล้วเอาผ้าจีวร ขึ้นมาบนไหล่ บางองทำเพราะ ไม่สำรวม แต่บางองทำเพราะจำเป็น เหมือนผม เดินออกบินฑบาตร ออกจากจากวัด ประมาณตี 5.30 กลับมาถึงวัด 7.00 เดินทางไปกลับ 6 กิโล เดินไปเหงื่อออกแล้วร้อนมากไม่รู้จะทำไงต้องเอาจีวรมาพาดไหล่ข้างนึง รู้ครับว่ามันผิด ดูไม่งามไม่หน้าเลื่อมสัยแต่ พอจะถึงบ้านโยมผมก็เอาลงครับเพื่อจะไม่อาบัติโลกะวัชชะ ผู้คนติเตียน

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
แสงจันทร์
วันที่ 8 ส.ค. 2554

ยถา น สกฺกา ปฐวี สมายํ

กาตุง มนุสฺเสน ตถา มนุสฺสา

แผ่นดินนี้ ไม่อาจทำให้เรียบเสมอกันทั้งหมดได้ฉันใด

มนุษย์ทั้งหลาย จะทำให้เหมือนกัน หมดทุกคนก็ย่อมไม่ได้ ฉันนั้น

การันทิยชาดก ๒๗/๑๖๖

การที่มีคนดีไม่ดีมีทุกสังคม เลือกไม่ได้หลอกครับ ผมเห็นด้วยที่ว่าควรรักษาจิตเราไม่เช่นนั้นถ้าเราเห็นพระประพฤติไม่ดีอาจเกิดความคิดว่าพระรูปนั้นไม่ดี รูปนี้ก็ไม่ดี พอกพูนจนเห็นว่าพระที่ดีๆ สมัยนี้คงไม่มีดี พระธรรมคงเสื่อมแล้ว จะเป็นการปิดกั้นการทำบุญของตัวเอง ถ้าเราทำบุญโดยปรารภบูชาพระพุทธเจ้า เช่นถ้าเราเห็นพระรูปที่ไม่เรีบยร้อยแต่เราคิดว่าเขานุ่งผ้ากาสาวพัตที่ให้เรานึกถึงคำสอนพระพุทธเจ้าว่าสอนให้เราทำทานเขาทำนึกถึงพระพุทธเจ้าเราจะทำบุญกับเขาเพื่อบูชาพระพุทธเจ้าอย่างนี้จะดีกว่าครับ สมัยพุทธกาลพระสารีบุตรกระโดดข้ามน้ำชาวบ้านคิดว่าท่านไม่สำรวมนำจีวรไปถวายเทวทัตเฉยเลย และทำให้เกิดทัศนคติไม่ดีต่อพระด้วยนะครับ ไม่แน่พระที่ท่านเห็นไม่เรียบร้อยวันนี้ภายหลังท่านตั้งใจปฏิบัติบรรลุคุณธรรมชั้นสูงใครจะไปรู้

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
pat_jesty
วันที่ 9 ส.ค. 2554
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
คนไทยพบธรรม
วันที่ 10 ส.ค. 2554

ขอเริ่มต้นที่ญาติโยม มีจิตศรัทธาที่จะเสียสละในการใส่บาตรเพื่อพรพะภิกษุ เพื่อสืบทอดศาสนาพุทธให้ยั่งยืนสืบต่อไปในอนาคต ฉะนั้นบางสิ่งบางอย่างที่เป็นสภาพธรรมที่เกิดขึ้นจริง ที่พบเห้นตลอดในเช้าวันนั้น ก็ต้องมีการสัมผัสทางตา ทางหู ฯ เราต้องกลับมาในจุดเริ่มต้นของเช้าวันนั้นที่เราต้องการจะทำอะไรมากกว่า เราต้องการใส่บาตรเราก็ใส่บาตร โดยไม่มีใจลังเลสงสัยในพระภิกษุรูปใดๆ ทั้งสิ้น เราก็ตั้งใจเป็นขันติเลย เราจะไม่ยินดียินร้ายต่อภาพที่เราเห็นหรือเสียงที่เราได้ยิน และเราจะไม่เลือกใส่ให้แก่พระท่านใดบ้าง เราจะไม่ถือบุคคล ใดๆ ทั้งสิ้น เราจะถือหลักการเป้นใหย่ที่เราต้องการใส่บาตร ในเช้าวันนี้ เพราะถ้าเราคิดเรื่องแบบนี้มากๆ เช้าวันนั้นเราจะได้อะไรจากการใส่บาตร ใครทำอะไรไม่ดีหรือไม่สมควรเค้าคนนั้นก็ต้องรับผิดชอบการกระทำเอง ไม่เกี่ยวพันกับผู้อื่นเลย ขอขอบคุณที่เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นครับ ขออนุโมทนาบุญด้วยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
ผ้าเช็ดธุลี
วันที่ 10 ส.ค. 2554

* * * อนุโมทนา กับ จิตดีดีที่สนทนา และ สอนสั่งมากครับ * * *

โลกนี้จะหมุนไป คนข้างๆ จะดี หรือ ไม่ดี นั่นคือ เพราะมีเหตุปัจจัย

* * * ใจเราเป็นอย่างไร รักษาใจ รักษาตัว รักษาเราด้วยการฟังพระธรรม * * *

แล้วสุดท้ายก้อไม่มีเรา

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
ทรง
วันที่ 16 พ.ย. 2554
อ้างอิงจาก : หัวข้อ 18855 ความคิดเห็นที่ 10 โดย คนไทยพบธรรม

ขอเริ่มต้นที่ญาติโยม มีจิตศรัทธาที่จะเสียสละในการใส่บาตรเพื่อพรพะภิกษุ เพื่อสืบทอดศาสนาพุทธให้ยั่งยืนสืบต่อไปในอนาคต ฉะนั้นบางสิ่งบางอย่างที่เป็นสภาพธรรมที่เกิดขึ้นจริง ที่พบเห้นตลอดในเช้าวันนั้น ก็ต้องมีการสัมผัสทางตา ทางหู ฯ เราต้องกลับมาในจุดเริ่มต้นของเช้าวันนั้นที่เราต้องการจะทำอะไรมากกว่า เราต้องการใส่บาตรเราก็ใส่บาตร โดยไม่มีใจลังเลสงสัยในพระภิกษุรูปใดๆ ทั้งสิ้น เราก็ตั้งใจเป็นขันติเลย เราจะไม่ยินดียินร้ายต่อภาพที่เราเห็นหรือเสียงที่เราได้ยิน และเราจะไม่เลือกใส่ให้แก่พระท่านใดบ้าง เราจะไม่ถือบุคคล ใดๆ ทั้งสิ้น เราจะถือหลักการเป้นใหย่ที่เราต้องการใส่บาตร ในเช้าวันนี้ เพราะถ้าเราคิดเรื่องแบบนี้มากๆ เช้าวันนั้นเราจะได้อะไรจากการใส่บาตร ใครทำอะไรไม่ดีหรือไม่สมควรเค้าคนนั้นก็ต้องรับผิดชอบการกระทำเอง ไม่เกี่ยวพันกับผู้อื่นเลย ขอขอบคุณที่เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นครับ ขออนุโมทนาบุญด้วยครับ

เป็นข้อคิดที่ดีมากครับ คุณเป็นคนที่เข้าใจ เข้าถึง เป็นกลางดี เป็นการแสดงความคิดที่กินใจมากๆ ๆ เลย ขอบคุณครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
เซจาน้อย
วันที่ 17 พ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ