ศึกษาอย่างไร? จึงจะมั่นคงในเรื่องของกรรม

 
ผู้ร่วมเดินทาง
วันที่  4 ส.ค. 2554
หมายเลข  18860
อ่าน  1,269

จากคำบรรยายธรรมะบางตอน ชุด พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ ๓๓๕

ที่มูลนิธีฯ วันอาทิตย์ที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐

อาจารย์กุลวิไล มีคำถามจากผู้ถามเรียนถามท่านอาจารย์สุจินต์ว่า การศึกษาธรรมะให้ เข้าใจ ให้เข้าถึงความมั่นคงในกรรม ต้องเข้าใจอย่างไร เพราะดิฉันมักจะถูกผู้อื่นเบียด เบียนอยู่บ่อยๆ ซึ่งจะเกิดโทสะอยู่ตลอดเวลา

ท่านอาจารย์สุจินต์ ตรงตลอดกาล ก็คือ ศึกษาเพื่อให้เข้าใจว่าธรรมะคืออนัตตา แต่

ต้องรู้ในความหมายของอนัตตา คือไม่ใช่ตัวตน ต้องการที่จะรู้เฉพาะอย่าง เป็นตัวตน หรือเปล่า? และก็ต้องการที่จะเข้าใจเรื่องที่จะทำให้ใจสบาย เป็นตัวตนหรือเปล่า? เพราะฉะนั้น ก็ตรงข้ามกับความหมายของคำว่าอนัตตา การศึกษาธรรมะไม่ใช่เพื่อที่จะเอาประโยชน์ไปแก้ไขสถานการณ์ ด้วยความเป็นตัวตน แล้วก็คิดว่าได้ประโยชน์แล้วจากการฟังธรรมะ ชีวิตดีขึ้น ครอบครัวดีขึ้น ตัวตนทุกสิ่งทุกอย่างสบายขึ้น นั้นไม่ใช่การ

ศึกษาธรรมะนะค่ะ การศึกษาธรรมะคือเข้าใจว่าทุกอย่างเป็นธรรมะ นี่้คือการศึกษาธรรมะ

อาจารย์กุลวิไล การที่จะมีความมั่นคงในเรื่องของกรรมนี้นะค่ะ ก็ต้องมีความเข้าใจถูก เห็นถูกในสภาพธรรมะที่มีจริง เพราะถ้าไม่ใช่ความเห็นถูกที่เป็นปัญญาแล้วนะค่ะ แน่ นอนว่าความมั่นคงในเรื่องของกรรมและผลของกรรมไม่มีแน่นอน อาจจะเป็นเพียงขั้น เริ่มต้นที่ฟังแล้วก็คล้อยตามกัน แต่ก็ไม่ใช่การประจักษ์หรือเห็นถูกในสิ่งที่กำลังปรากฎ

ท่านอาจารย์สุจินต์ ค่ะ ถ้าเป็นเราอยู่ แล้วมั่นคงไหมคะ เราทำดีเนี่ยมาตลอดชีวิตเลย กรรมเนี่ยอยู่ที่ไหน ใช่ไหมค่ะ ไม่เห็นให้ผลเลย ทำความดีีแล้วได้รับสิ่งที่ไม่ดี ก็มีความ ไม่เข้าใจอีกว่า จริงๆ แล้วเนี่ยเป็นอนัตตา ไม่สามารถที่จะเลือกได้ แล้วก็เป็นธรรมะที่ไม่ ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ด้วย

ถ้ามีความเข้าใจอย่างนี้จริงๆ นะค่ะ ก็เลิกคิด แต่ว่าเริ่มที่จะรู้เหตุ และผล และก็รู้สภาพธรรมตามความเป็นจริงว่า ไม่มีใครสามารถที่จะเลือก หรือบันดาล ให้อะไรเกิดขึ้นในชีวิตได้เลย

ถึงแม้ว่ามีความเห็นถูก..ไม่ให้คนอื่นกล่าวร้าย ได้ไหมค่ะ? ก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้น ทุกอย่างต้องถึงความเป็นอนัตตา ว่า บังคับบัญชาไม่ได้ แต่ว่า สิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ตามที่เกิด มีปัจจัยแล้วจึงเกิด นี่ก็เป็นของธรรมดา ที่จะเห็นความเป็น อนัตตาและไม่ใช่ตัวตน มิฉะนั้นแล้วก็มีโลภะ มีความอยาก มีความต้องการ ไม่อยากให้ ใครกล่าวร้าย ไม่อยากให้ใครเบียดเบียน

แต่ว่า บังคับได้ไหม? แค่คำเดียวที่ถาม แล้วก็ ไตร่ตรอง ก็จะทำให้เห็นได้ว่า ทุกอย่างเป็นธรรมะ

กราบเท้าอนุโมทนาในกุศลเมตตาของท่านอาจารย์สุจินต์เป็นอย่างยิ่ง

และขออนุโมทนาในผู้ร่วมศึกษาธรรมะทุกๆ ท่านครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 4 ส.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ขออนุโมทนาคุณ ผู้ร่วมเดินทาง ครับ ที่ได้นำข้อความที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับเรื่อง กรรมและผลของกรรม อันแสดงถึงความมั่นคงในเรื่องของกรรมเป็นอย่างไร

ขอร่วม สนทนาด้วยในประเด็นนี้ครับ

การศึกษาพระธรรมจะต้องเริ่มจากความเห็นถูกเบื้องต้นในขั้นการฟัง ว่า สภาพธรรมทั้ง หลายเป็นอนัตตา และเป็นแต่เพียงธรรม ไม่ใช่เรา การเข้าใจเบื้องต้นเช่นนี้ ก็จะนำไปสู่ ความเห็นถูกในทุกๆ เรื่อง ทุกๆ ประเด็น หากยึดหลักไม่มีเรา มีแต่ธรรมและเป็นอนัตตา บังคับบัญชาไมไ่ด้ครับ

เรื่องกรรม ก็เช่นกัน หากเราไม่มีความเข้าใจพื้นฐานในเรื่องความเป็นอนัตตา ไม่มีเรามี แต่ธรรม ก็จะทำให้เข้าใจผิดว่าเราทำกรรม เราทำดี ทำไมเราไม่ได้ดี เราทำดี ทำไมเราได้ รับสิ่งที่ไม่ดี ... ซึ่งก็มีแต่เรา มีแต่สัตว์ บุคคลที่ทำกรรมและรับผลของกรรม แต่ในความ เป็นจริง มีแต่กรรมที่เป็นเจตนาเจตสิก ที่เ่กิดกับจิตที่เป็นกุศล ที่เรียกว่ากุศลกรรมและ เจตนาเจตสิกทีเ่กิดกับจิตที่เป็นอกุศล เป็นอกุศลกรรม ดังนั้น จึงไม่มีใครทำดี ทำชั่ว มี แต่สภาพธรรม จึงต้องเป็นผู้ตรงตลอด คือ มีแต่ธรรมที่เ่กิดขึ้นและดับไป ไม่มีเราทำ กรรมและรับผลของกรรมครับ และการรับผลของกรรม ก็เป็นธรรมที่เป็นจิตและเจตสิกที่ เ่กิดขึ้น เช่น จิตเห็น จิตได้ยิน ฯลฯ เป็นผลของกรรม ดังนั้นจึงไม่มีเราที่ได้รับผลของกรรม เช่นกัน มีแต่ธรรมที่เ่กิดขึ้นทำกิจหน้าที่วิบากจิต ที่เป็นผลของกรรมเท่านั้นครับ และไม่ ลืมความเป็นอนัตตาด้วยว่า การที่สภาพธรรมจะเกิดขึ้น ก็ต้องมีเหตุปัจจัยพร้อม จึงเกิด ขึ้น แม้แต่ผลของกรรม วิบากจิตที่จะเกิดขึ้น ก็ต้องมีกาลเวลา และมีเหตุปััจจัยถึงพร้อมจิตที่เ่ป็นผลของกรรมจึงเกิดขึ้น จึงแสดงถึงความเป็นอนัตตาทั้งการกระทำกรรม และการให้ผลของกรรมครับ

ดังนั้น เมื่อมีเราเมื่อไหร่ ก็มีความต้องการ อยากได้ผล อยากจะจัดการกับสภาพธรรม ลืมความเป็นธรรม ลืมความเป็นอนัตตานั่นเอง ความมั่่นคงในเรื่องของกรรม คือ การเข้าใจความจริง ว่า มีแต่ธรรม ไม่ใช่เรา มีแต่จิต เจตสิกที่เ่กิดขึ้น และบังคับบัญชาไม่ไ่ด้นั่นเองครับ เพราะเป็นธรรม ไม่ใช่เราที่กระทำกรรม และ รับผลของกรรมครับ

กราบขอบพระคุณท่านอาจารย์สุจินต์ คุณผู้ร่วมเดินทาง และ ในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 4 ส.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขออนุโมทนาในกุศลวิริยะของท่านผู้ใช้นามว่า "ผู้ร่วมเดินทาง" ด้วยครับ ที่ได้นำข้อความธรรมมาให้ผู้ศึกษาพระธรรมร่วมกันได้ศึกษา เป็นข้อความธรรมที่ควรค่าแก่การศึกษาพิจารณาร่วมกัน เป็นอย่างยิ่ง เพื่อความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องกรรมและผลของกรรม และเพื่อความเป็นผู้มีความมั่นคงในเรื่องดังกล่าวนี้ ด้วย ครับ

กรรมและผลของกรรม ก็ไม่พ้นไปจากสภาพธรรมที่มีจริงเลย กรรมมีจริง เป็นเจตนาเจตสิกที่จงใจขวนขวายที่จะกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด อย่างกว้างๆ คือ ดีบ้าง ไม่ดี บ้าง ซึ่งไม่ได้มีเฉพาะกรรมในชาตินี้เท่านั้น กรรมที่ได้กระทำแล้วในอดีตชาติก็มีมากมาย ด้วย ส่วนผลของกรรม ก็ไม่พ้นไปจากขณะที่ได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ที่เป็นวิบากในชีวิตประจำวัน

แต่ละเอียดยิ่งไปกว่านั้น ผลของกรรม ยังหมายรวมถึง สภาพธรรมที่เป็นรูปธรรม ด้วย อันได้แก่ รูปที่เกิดจากกรรม การรู้เรื่องกรรมและผลของกรรม ย่อมทำให้รู้ความจริงว่า เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับเรา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องร้าย หรือ เรื่องดีก็ตาม ไม่ได้เกิดขึ้นโดยบังเอิญ ไม่ได้เกิดขึ้นโดยการบังคับบัญชา หรือไม่ได้เกิดขึ้นเพราะผู้อื่นเป็นผู้กระทำให้ (เมื่อไม่เข้าใจก็จะโทษคนอื่น หรือคิดว่าเป็นคนอื่นที่ทำให้) แต่แท้ที่จริงแล้ว เกิดขึ้นเพราะตัวเราเอง เป็นผู้กระทำเหตุไว้แล้ว เหตุ ก็คือ กุศลกรรม และ อกุศลกรรม อาจจะเป็นเหตุในชาตินี้ หรือ เป็นเหตุในอดีตชาติที่ผ่านๆ มา ก็ได้ ซึ่งไม่มีใครสามารถที่จะล่วงรู้ได้เลย กุศลกรรม ให้ผลที่ดี น่าปรารถนา น่าใคร่นาพอใจ ส่วนอกุศลกรรม ให้ผลที่ไม่ดี ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ ซึ่งแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ความเป็นผู้มีปัญญาเข้าใจอย่างนี้ ย่อมจะทำให้เป็นผู้มีความมั่นคงในเรื่องกรรมและผลของกรรม มากยิ่งขึ้น อันจะเป็นเหตุทำให้กุศล (ความดี) ประการต่างๆ เจริญขึ้นในชีวิตประจำวันได้ เป็นการเริ่มสะสมเหตุใหม่ที่ดี อันได้แก่กุศลประการต่างๆ พร้อมทั้งฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม สะสมความเข้าใจถูก เห็นถูกต่อไป และหลีกเลี่ยงจากบาปธรรมอันเป็นเหตุที่จะทำให้จิตใจเดือดร้อนในภายหลัง โดยประการทั้งปวง ครับ.

... ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 4 ส.ค. 2554

ขณะที่เ็ห็นใคร รูปงาม รวยทรัพย์ เป็นใหญ่ เป็นโต มียศ ฯลฯ หรือ เห็น ขอทาน รูปไม่งาม ยากจน ทั้งหมด ก็เป็นไปตามผลของกรรม แล้วแต่ว่ากรรม ไหนจะให้ผล เกิดมาำทำกุศลบ้าง ทำอกุศลบ้าง วนเวียนอย่างนี้ไม่มีวันจบ ถ้า มั่นคงในเรื่องกรรมและผลของกรรม ต้องฟังธรรมให้เข้าใจ สะสมปัญญามากขึ้น ซึ่ง เป็นทางเดียวที่จะทำให้ถึงความสิ้นกรรม ทั้งกุศลกรรม และ อกุศกรรม เมื่อบรรลุเป็น พระอรหันต์ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
วิริยะ
วันที่ 4 ส.ค. 2554
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ประสาน
วันที่ 4 ส.ค. 2554
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
คนไทยพบธรรม
วันที่ 9 ส.ค. 2554

จะเชื่อเรื่องกรรมอย่างมั่นคง ศึกษาเรื่องของสิ่งที่จะได้รับ ในกุศลกรรม และ กุศลกรรม เพราะมีอกุศลกรรมมากๆ อย่างน้อยไม่เห็นผลในชาติหน้า ชาตินี้ก็จะไม่ีมีความสบายใจ แล้ว ในขณะที่ประกอบอกุศลกรรมเป็นผลสำเร็จ จะอยู่ในใจเรา ตลอดไป เมื่อเข้าใจได้ อีกระดับว่าอกุศลกรรมนำไปสู่ทางที่ไม่ดี กุศลกรรมนำไปสู่ทางที่ดี ท่านก็ต้องใช้ปัญญา จากการฟังธรรมในขั้นประจักษ์แจ้ง จัดการกับกิเลส ให้ดับไปได้ในระดับที่เหมาะสม ขอ ขอบคุณครับที่เสนอหัวข้อในทางธรรมร่วมกันเพื่อประโยชน์ในส่วนรวม

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ