การมีความเมตตา

 
ภุมริน
วันที่  5 ส.ค. 2554
หมายเลข  18872
อ่าน  39,933

การมีความเมตตา กับ ความสงสาร มีความหมายเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 5 ส.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

เมตตา คือ ความเป็นมิตร ปรารถนาให้ผุ้อื่นมีความสุขแม้บุคคลนั้นไมได้ทุกข์อยู่ครับ

กรุณา คือ ความคิดสงสาร ปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์

ดังนั้นเมตตาจึงเป็นความหวังดี เป็นมิตร แม้ผู้นั้นไม่ได้เดือดร้อน เป็นทุกข์อะไร ส่วน

กรุณา เป็นความสงสาร คิดช่วยเหลือ เพราะบุคคลนั้นประสบทุกข์

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ หน้าที่ ๕๒๙

ที่ชื่อว่า เมตตา เพราะอรรถว่า ธรรมนี้ มีในมิตร หรือว่า ย่อมเป็นไปเพื่อมิตร.

ธรรมที่ชื่อว่า กรุณา เพราะอรรถว่า ย่อมกระทำหทัยของสาธุชนทั้งหลายให้หวั่นไหว ในเพราะคนอื่นมีทุกข์. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า กรุณา เพราะอรรถว่า ย่อมบำบัด หรือย่อมเบียดเบียน (ซึ่งทุกข์ของผู้อื่น) คือ ย่อมยังทุกข์ของผู้อื่นให้พินาศไป.--------------------------------------------------------------------------

การเห็นคนที่สูงอายุ คนสูงอายุย่อมมีความลำบากแม้ทางกายที่ไม่สะดวก หรือ เห็นคน

สูงอายุที่ได้รับความลำบากอยู่ในขณะนั้น มีการเดินลำบาก หรือ แก่มากๆ ขณะที่คิดด้วย

ความสงสาร คิดช่วยเหลือให้พ้นจากทุกข์ ขณะนั้นเป็นกรุณา ไม่ใช่เมตตา แต่ต้อง

ไม่ลืมครับว่าจิตเกิดดับสลับกันอย่างรวดเร็ว ดังนั้นเมื่อเกิดความกรุณา ขณะนั้นจิต

เป็นกุศลแล้วดับไป เกิดจิตที่เป็นความเศร้าหมองใจ ซึ่งเรามักใช้คำว่าสงสารที่เป็น

กรุณา แต่ขณะที่เศร้าใจ ขณะนั้นไม่ใช่กุศล ไม่ใช่กรุณา แต่เป็นโทสะที่เห็นคนสูงอายุ

หรือ เห็นคนที่เดือดร้อนจึงเกิดความรู้สึกเศร้าใจ ขณนั้นจึงเป็นอกุศลที่เป็นโทสะครับ

ดังนั้นจิตเกิดดับสลับระหว่างกุศลและอกุศลอย่างรวดเร็ว กรุณา สงสารเกิดขณะเดียว

นิดเดียว อกุศลตามามากมายครับ

ส่วนความมีเมตตา ก็เป็นพื้นฐานที่ทำให้มีความกรุณาเกิดขึ้นและเพิ่มขึ้น สงสารแล้ว

ก็คิดช่วยเหลือ ปรารถนาให้มีความสุขก็เป็นเมตตา สลับกับกรุณาก็ไ้ด้ครับ แต่ขณะที่

เห็นคนสูงอายุ เห็นความน่าสงสาร คือ ความที่เป็นคนที่สูงอายุช่วยตัวเองลำบาก เดิน

ลำบาก ขณะนั้เกิดจิตสงสาร เป็นกรุณา ไม่ใช่เมตตาครับ ขออนุโมทนา

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 5 ส.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ในภาษาไทย คำว่า ความเมตตา กับ ความสงสาร ดูเหมือนว่าจะเป็นอย่างเดียวกัน แต่ถ้าได้ศึกษาพระธรรมโดยละเอียดแล้ว จะเข้าใจว่า ความเมตตา กับ ความสงสาร (กรุณา) เป็นธรรมคนละประเภท กล่าวคือ เมตตา เป็นลักษณะของความมีไมตรี มีความเป็นเพื่อน ความหวังดี ความปรารถนาดีต่อผู้อื่น ไม่หวังร้ายต่อผู้อื่น ส่วน ความสงสาร (กรุณา) เป็นธรรมฝ่ายดีอีกประเภทหนึ่ง หมายถึง ความสงสารคิดจะช่วยบุคคลอื่นให้พ้นจากทุกข์ เมื่อเห็นผู้อื่นเป็นทุกข์ เช่นตัวอย่างที่ยกมา คือ เห็นคนแก่ ได้รับความลำบากแล้วมีการช่วยเหลือ ขณะนั้นเป็นกุศลจิตที่ประกอบด้วยกรุณา ที่จะช่วยเหลือผู้นั้นให้พ้นจากความทุกข์ที่เขาเป็นอยู่ เท่าที่จะเป็นไปได้ตามกำลังความสามารถของตนเอง แต่ถ้าเห็นคนอื่นเป็นทุกข์แล้ว เราเกิดความรู้สึกเป็นทุกข์ไปด้วย อย่างนี้ไม่ใช่กุศล แต่เป็นอกุศลจิตประเภทที่มีโทสะซึ่งเป็นความไม่สบายใจ เกิดขึ้น, เป็นความจริงที่ว่า เมื่อเห็นสัตว์อื่นมีความทุกข์ ถ้าจิตใจของเราเกิดความเศร้าหมอง โศกเศร้า ขณะนั้นย่อมเป็นอกุศล ซึ่งมีลักษณะที่ต่างจากความใคร่จะช่วยเหลือให้เขาพ้นจากทุกข์ประการนั้นๆ อย่างสิ้นเชิง และควรที่จะได้พิจารณาว่าในชีวิตประจำวัน ไม่ค่อยจะได้พบเห็นสัตว์ที่ประสบทุกข์บ่อยนัก จึงเป็นโอกาสของการอบรมเจริญเมตตา คือ ความเป็นมิตร เป็นเพื่อน มีไมตรีจิตที่ดีต่อกัน มีความปรารถนาดีต่อกัน ไม่หวังร้ายต่อกัน ซึ่งเป็นกุศลธรรมที่ควรอบรมเจริญให้มีขึ้นเป็นอย่างยิ่ง เป็นประโยชน์ในที่ทั้งปวง ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน เมตตา ไม่เคยเป็นโทษแก่ใครๆ เลยทั้งสิ้น ครับ. ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
nong
วันที่ 6 ส.ค. 2554

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
pat_jesty
วันที่ 7 ส.ค. 2554
หลายครั้งที่เห็นคนอื่นเดือดร้อนแล้วอยากช่วยเหลือเขา แต่ก็ช่วยอะไรไม่ได้ก็ทุกข์ใจ

ไปด้วย ที่แท้อกุศลก็เกิดขึ้นไม่ทันรู้ตัวจริงๆ ค่ะ

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ภุมรินทร์
วันที่ 14 ส.ค. 2554
ขอขอบคุณและขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
น้ำมนต์
วันที่ 14 ส.ค. 2554

ขออนุโมทนาบุญด้วยค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ